ภูเขาไฟคีเลาเวอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาไฟคีเลาเวอา
Looking up the slope of Kīlauea, a shield volcano on the island of Hawaiʻi which is the largest and the southeastern-most of the Hawaiian islands. In the foreground, the vent of the volcano has erupted fluid lava to the left. The crater is at the peak of Kilauea, visible here as a rising vapor column in the background. The peak behind the vapor column is Mauna Loa, a volcano that is separate from Kīlauea.
ภูเขาไฟคีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟรูปโล่บนเกาะฮาวายซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวาย
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
4,091 ฟุต (1,247 เมตร) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
50 ฟุต (15 เมตร) [2]
พิกัด19°25′16″N 155°17′12″W / 19.421097472°N 155.286762433°W / 19.421097472; -155.286762433พิกัดภูมิศาสตร์: 19°25′16″N 155°17′12″W / 19.421097472°N 155.286762433°W / 19.421097472; -155.286762433[1]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
คีเลาเวอาตั้งอยู่ในรัฐฮาวาย
คีเลาเวอา
คีเลาเวอา
ที่ตั้งเกาะฮาวาย สหรัฐ
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน300,000 ถึง 600,000 ปี[3]
ประเภทภูเขาภูเขาไฟรูปโล่, ภูเขาไฟจากจุดร้อน
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ
การปะทุครั้งล่าสุด20 ธันวาคม ค.ศ 2020 – ปัจจุบัน

ภูเขาไฟคีเลาเวอา เป็นภูเขาไฟรูปโล่และเป็นภูเขาไฟมีพลังในเกาะฮาวาย เป็นหนึ่งในภูเขาไฟ 5 ลูกที่ประกอบกันเป็นเกาะฮาวาย (อีก 4 ลูกมีเมานาโลอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไล) ตั้งอยู่แนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาะมีอายุระหว่าง 300,000 ถึง 600,000 ปี ยอดของภูเขาไฟลูกนี้โผล่พ้นระดับน้ำทะเลเมื่อประมาณ 100,000 ปีก่อน

คีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันสองของจุดร้อนฮาวายและเป็นจุดปะทุของเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ ในอดีตภูเขาไฟลูกนี้ไม่มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศและกิจกรรมในอดีตต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับภูเขาไฟเมานาโลอาทำให้คิดคีเลาเวอาอาจเป็นแอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กของภูเขาไฟที่ใหญ่กว่า โครงสร้างของคีเลาเวอานั้นมีขนาดใหญ่แอ่งภูเขาไฟบนยอดของมันเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและมีเขตเขาทรุด 2 แห่งที่ยังเคลื่อนไหวโดยที่หนึ่งแผ่ขยายเป็นระยะทาง 125 ก.ม.ทางตะวันออกส่วนอีกที่ 35 ก.ม.ทางตะวันตก ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังความลึกของเขาทรุดจะลึกลงเฉลี่ย 2 ถึง 20 มม.ต่อปี

คีเลาเวอามีการปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2526 และก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวนมากรวมถึงการทำลายเมืองคาลาปานา (Kalapana) ใน พ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ปล่องลาวาแห่งใหม่ได้แตกออกในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดปูนา (Puna, Hawaii) การระเบิดของภูเขาไฟใรครั้งนี้ยังทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษและเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จนทำให้ห้องอพยพคนกว่า 2,000 คนออกจากเขตเลอลานี วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 การปะทุทำลายบ้านเรือนอีก 27 หลังในเขตปกครองรองของเลอลานี วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 4:17 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นภูเขาไฟปะทุอย่างรุนแรงและพ้นเถ้าถ่านขึ้นไปในอากาศสูงกว่า 30,000 ฟุต[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "4088". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
  2. "Kilauea Prominence". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ May 5, 2018.
  3. "Kīlauea – Perhaps the World's Most Active Volcano". Hawaiian Volcano ObservatoryUnited States Geological Survey. 7 May 2009. สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
  4. "Hawaii volcano erupts from summit, shooting plume of ash". CBS News.