ภูเขาไฟรูปโล่

ภูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลาวาแข็งตัวเป็นหลัก ไม่มีเถ้าที่พ่นจากปากปล่องภูเขาไฟประกอบด้วยหรือหากมีก็ไม่มาก ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้มีความสูงไม่มากนักแลดูเหมือนโล่นักรบเมื่อมองจากด้านบน[1][2][3] ภูเขาไฟรูปโล่พบได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเวซูวีโย ภูเขาไฟเมานาเคอา นอกจากนี้ยังพบได้บนดาวเคราะห์หิน หรือดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเก็บแมกมาไว้ภายใน เช่นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ[4]
ภูเขาไฟรูปโล่ต่างจาก ภูเขาไฟเชิงประกอบตรงที่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีเถ้าถ่านทับถมสลับกับลาวาเย็นตัว ทำให้่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีความสูงมากกว่าภูเขาไฟรูปโล่
คุณลักษณะ
[แก้]ภูเขาไฟรูปโล่เกิดจากการไหลของลาวาที่ไม่หนืด เมื่อลาวาเย็นตัวลงก็จะแข็งตัวกลายเป็นชั้นทับถมขึ้นเป็นรูปทรงภูเขาเตี้ย ๆ มีมุมชันไม่มากคือไม่เกิน 10 องศา ความสูงมักอยู่ในช่วงประมาณ 1/20 ของความกว้าง[3] ในระยะแรกเมื่อก่อตัวจะเห็นเป็นลานลาวา (lava plateau) ต่างจากภูเขาไฟเชิงประกอบที่มีลักษณะเป็นการทับถมของเถ้าและลาวาสลับชั้น และต่างจากภูเขาไฟกรวยกรวดที่ประกอบด้วยเถ้าเป็นหลัก[2][3] ภูเขาไฟรูปโล่มักจะปะทุต่อเนื่องตลอดเวลาแทนการปะทุเป็นครั้งคราวอย่างภูเขาไฟเชิงประกอบ[5] ภูเขาไฟรูปโล่ใต้เมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ภูเขาไฟเมานาโลอาซึ่งสูง 4,169 m (13,678 ft) จากระดับน้ำทะเล และกว้าง 60 mi (100 km) ประมาณกันว่ามีปริมาตรหินบะซอลต์ที่ประกอบเป็นภูเขาไฟทั้งสิ้น 80,000 km3 (19,000 cu mi)[6][3] ฐานรากของภูเขาไฟจมตัวอยู่ใต้เปลือกโลกลึกประมาณ 8 km (5 mi)[7]
ภูเขาไฟรูปโล่ส่วนมากที่มีการศึกษามักอยู่ที่หมู่เกาะฮาวาย[8] เพราะเข้าถึงง่าย และภูเขาไฟปะทุตลอดเวลา มีภูเขาไฟคิเลาเอียปะทุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นแหล่งศึกษาหนึ่ง ลักษณะการปะทุและการปล่อยลาวาที่ไม่รุนแรงและเชื่องช้า กินเวลานานนี้เอง แม้ว่าจะมีการพ่นเถ้าถ่านบ้าง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกก่ารปะทุของภูเขาไฟนี้ว่า การปะทุฮาวาย (Hawaiian eruption)[9] การปะทุฮาวายเมื่อเกิดหลายครั้ง ก็จะเกิดเป็นชั้นลาวาแข็งบาง ๆ ทับถมกันจนเกิดเป็นภูเขาซึ่งมักมีแอ่งลาวาตรงกลาง[10] ภูเขาที่ว่านี้ไม่สูงนักเพราะการไหลแผ่กว้างของลาวา[6]
-
A pāhoehoe lava fountain on Kīlauea erupts.
-
Pāhoehoe flows enter the Pacific Ocean on Hawaiʻi island.
-
Puʻu ʻŌʻō, a parasitic cinder cone on Kīlauea, lava fountaining at dusk in June 1983, near the start of its current eruptive cycle.
-
The Thurston lava tube on Hawaiʻi island, now a tourist attraction in the Hawaiʻi Volcanoes National Park
ภูเขาไฟรูปโล่นอกโลก
[แก้]นอกเหนือจากบนโลกแล้ว ภูเขาไฟรูปโล่ยังพบได้บนดาวเคราะห์หินอื่นตลอดจนดาวบริวารที่เป็นกิน อาทิ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ[4]
ดาวอังคารมีความเร่งโน้มถ่วงน้อยกว่าโลก คืออยู่ที่ 3.711 m/s² ซึ่งน้อยกว่าของโลกที่ 9.806 m/s² ทำให้ดาวอังคารมีภูเขาไฟที่งอกสูงกว่าโลก โดยมีความสูงได้ถึง 14 mi (23 km) และกว้างได้ถึง 370 mi (595 km) เทียบกับภูเขาไฟเมานาเคอาซึ่งกว้าง 74 mi (119 km)และสูง 6 mi (10 km)[11][12][13] บนดาวอังคารมีภูเขาไฟรูปโล่ที่สูงที่สุดคือ ภูเขาไฟโอลิมปัสมอนส์
ดาวศุกร์มีความเร่งโน้มถ่วงพอ ๆ กับโลก คือ 8.87 m/s² ทำให้ปรากฏภูเขาไฟรูปโล่จำนวนมากคล้ายกับโลก นับได้มากกว่า 150 ลูก ลักษณะแบนราบกว่าบนโลก ภูเขาไฟบางลูกมีขนาดกว้างได้ถึง 700 km (430 mi)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Douglas Harper (2010). "Shield". Online Etymology Dictionary. Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 John Watson (1 March 2011). "Principal Types of Volcanoes". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "How Volcanoes Work: Shield Volcanoes". San Diego State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
- ↑ 4.0 4.1 Heather Couper & Nigel Henbest (1999). Space Encyclopedia. Dorling Kindersley. ISBN 0-7894-4708-8.
- ↑ "Shield Volcanoes". University of North Dakota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
- ↑ 6.0 6.1 Topinka, Lyn (28 December 2005). "Description: Shield Volcano". USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ 21 August 2010.
- ↑ J.G. Moore (1987). Subsidence of the Hawaiian Ridge. Volcanism in Hawaii: Geological Survey Professional Paper, Volume 1350, Issue 1.
- ↑ Marco Bagnardia; Falk Amelunga; Michael P. Poland (September 2013). "A new model for the growth of basaltic shields based on deformation of Fernandina volcano, Galápagos Islands". Earth and Planetary Science Letters. Elsevier. 377–378: 358–366. Bibcode:2013E&PSL.377..358B. doi:10.1016/j.epsl.2013.07.016.
- ↑ Regelous, M.; Hofmann, A. W.; Abouchami, W.; Galer, S. J. G. (2003). "Geochemistry of Lavas from the Emperor Seamounts, and the Geochemical Evolution of Hawaiian Magmatism from 85 to 42 Ma". Journal of Petrology. Oxford University Press. 44 (1): 113–140. doi:10.1093/petrology/44.1.113.
- ↑ "How Volcanoes Work: Hawaiian Eruptions". San Diego State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-03-03. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
- ↑ Watson, John (February 5, 1997). "Extraterrestrial Volcanism". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
- ↑ Masursky, H.; Masursky, Harold; Saunders, R. S. (1973). "An Overview of Geological Results from Mariner 9". Journal of Geophysical Research. 78 (20): 4009–4030. Bibcode:1973JGR....78.4031C. doi:10.1029/JB078i020p04031.
- ↑ Carr, M.H., 2006, The Surface of Mars, Cambridge, 307 p.
- ↑ "Large Shield Volcanoes". Oregon State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.