ภูพิงค์ สุจริตกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูพิงค์ สุจริตกุล เป็นนักสัตววิทยาชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านแมงกะพรุนและเป็นผู้ค้นพบแมงกะพรุนชนิด Chironex indrasaksajiae

ครอบครัว[แก้]

ภูพิงค์ สุจริตกุล เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นบุตรของนายจำรูญ สุจริตกุล น้องชายนายโสรัจ สุจริตกุล อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ นางจิตราภรณ์ หาญหิรัญ น้องสาวนายสมชาย หาญหิรัญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[1] มีพี่น้องร่วมมารดา 3 คนคือ

  1. นายจำเริญ สุจริตกุล
  2. นายภูพิงค์ สุจริตกุล
  3. นางสาวจามรี สุจริตกุล

การศึกษา[แก้]

นายภูพิงค์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีด้านสัตววิทยาและปริญญาโทด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science) ที่ University of Auckland, New Zealand[2] ก่อนที่จะย้ายไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านชีววิทยาทางทะเล (Marine Biology) ที่ Griffith University, Australia

การงาน[แก้]

ภูพิงค์เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลทางด้านสมุทรศาสตร์ภายใต้ยูเนสโก (The Intergovernmental Oceanographic Commission of UNESCO) โดยเป็นคณะทำงานภายใต้โครงการด้านแมงกะพรุนพิษในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[3] สมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลออสเตรเลีย (Australian Marine Sciences Association: AMSA) ผู้แทนนักศึกษาปริญญาเอกแห่ง Australian River Institute, Griffith University [4]และรองประธานสมาคมนักเรียนไทยแห่ง Griffith University

เขาประสบอุบัติเหตุโดนแมงกะพรุนกล่องในสกุล Chironex ต่อยจนเกือบเสียชีวิต[5] เขาเป็นผู้ค้นพบ Chironex indrasaksajiae[6] ซึ่งได้ชื่อตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา เขาถูกวิจารณ์จากการตั้งชื่อชนิดแมงกะพรุนดังกล่าวว่าเป็นการเล่นพวก[2] เนื่องจากบิดาของเขาเป็นหลานของ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ผู้เป็นพระบิดาของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา

เขายังเป็นผู้บริหารโรงแรมเชน [7] และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท UQ Health Beauty and Travel (Thailand) จำกัด โดยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ [8]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.posttoday.com/life/healthy/239709
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-05.
  3. http://iocwestpac.org/final%20WESTPAC%20X%20working%20docs/X%2013%2014%20Jellyfish.pdf[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-05.
  5. https://decorrespondent.nl/4670/kwalcongres-dag-2-en-een-beetje-3-waar-is-man-bijt-kwal/873548853430-8f600bab
  6. Sucharitakul, P., Chomdej, S., Achalawitkun, T., & Arsiranant, I. (2017). Description of Chironex indrasaksajiae Sucharitakul sp. nov.(Cnidaria, Cubozoa, Chirodropida): a new species of box jellyfish from the Gulf of Thailand. Phuket Mar Biol Cent Res Bull, 74, 33-44.
  7. https://www.komchadluek.net/news/pr/402743
  8. https://uqbeauty.com/about-us