ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอวัธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอวธี)
ภาษาอวัธ
Avadhī
अवधी/औधी[1]  • 𑂃𑂫𑂡𑂲/𑂌𑂡𑂲[2]
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาอวัธในประเทศอินเดียและประเทศเนปาล
ออกเสียงเสียงอ่านภาษาฮินดี: [əʋ.d̪ʱi]
ประเทศที่มีการพูดอินเดียและเนปาล
ภูมิภาคอวัธ (อินเดีย)
จังหวัดลุมพินี (เนปาล)
ชาติพันธุ์ชาวอวัธ
จำนวนผู้พูด3.85 ล้านคน (อินเดีย, ค.ศ. 2011) [3]  (ไม่พบวันที่)
501,752 คน (เนปาล, ค.ศ. 2011) [4]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Pardesi
Gangapari
Uttari
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ฟีจี (ในฐานะภาษาฮินดีฟิจิ)
รหัสภาษา
ISO 639-2awa
ISO 639-3awa
Linguasphere59-AAF-ra
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอวัธ (อักษรโรมัน: Awadhi, เสียงอ่านภาษาฮินดี: [əʋ.d̪ʱi]; अवधी; 𑂃𑂫𑂡𑂲) หรือโอธี (Oudhi[5]/औधी/𑂌𑂡𑂲) เป็นภาษาโซนกลางในสาขาอินโด-อารยันที่มีผู้พูดในอินเดียเหนือ[6][7] ส่วนใหญ่พูดกันในภูมิภาคอวัธ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย[6] คำว่า อวัธ มีความเชื่อมโยงกับอโยธยา เมืองโบราณที่ถือเป็นบ้านเกิดของพระราม ซึ่งเคยมีผู้พูดเป็นจำนวนมากก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ภาษาฮินดูสตานีในคริสต์ศตวรรษที่ 19[8]

ในเชิงภาษาศาสตร์ อวัธเป็นภาษาเทียบเท่ากับภาษาฮินดูสตานี อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจัดให้เป็นสำเนียงของภาษาฮินดี ทำให้มีการเรียนการสอน การเขียนเอกสารทางการและการปกครองด้วยภาษาฮินดีแทนที่จะเป็นภาษาอวัธ และวรรณกรรมภาษานี้จะอยู่ในกลุ่มของวรรณกรรมฮินดี[9]

ชื่ออื่นของภาษาอวัธได้แก่ Baiswāri (ตามเขตการปกครองย่อยของBaiswara), [10] Pūrbī (แปลว่า "ตะวันออก") และ Kōsalī (ตามอาณาจักรโกศล) [6]

ขื่อของภาษา

[แก้]

ภาษาอวัธ (หรือ อวธีภาษา) เป็นสำเนียงหลักของภาษาฮินดีสำเนียงตะวันออก ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดทางภาคเหนือของอินเดีย และแพร่กระจายไปทั่วโลก คำว่า "อวธี" หมายถึงภาษาของดินแดนอวัธหรือโอธ แต่มีการใช้พูดแพร่หลายในดินแดนอื่นด้วย เช่น กันปูร์ อัลลอฮาบาด และบางส่วนของเนปาล ฟีจี มอริเชียส ซูรินาม ตรินิแดด มาเลเซีย กายอานา นอกจากนั้นยังมีผู้พูดภาษานี้ในมหาราษฏระ หรยาณา พิหาร ฌารขัณฑ์ อุตตราขัณฑ์ มัธยประเทศ

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาอวัธอยู่ในรัฐอุตรประเทศ อุตตรขัณฑ์ และพิหาร และพื้นที่ใกล้เคียงในเนปาล มีผู้พูดภาษาอวัธประมาณ 45 ล้านคนทั่วโลก นอกจากในประเทศอินเดียแล้วจะพบผู้พูดภาษานี้ในเนปาล ฟีจี กายอานา มาเลเซียและมอริเชียส ส่วนใหญ่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ ภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรไกถี มุสลิมที่พูดภาษานี้ใช้อักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย

วรรณกรรมพื้นบ้าน

[แก้]

มีงานเขียนจำนวนน้อยในภาษาอวัธ เพราะจะใช้ภาษาฮินดีหรือภาษาอูรดูในการเขียน แม้ว่าทุกวันนี้จะพิจารณาว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาฮินดี แต่ก่อนที่จะมีการปรับมาตรฐานภาษาฮินดี ภาษานี้เป็นหนึ่งในสองสำเนียงของภาษาฮินดี (อีกสำเนียงหนึ่งคือสำเนียงพรัช) ที่มีความสำคัญในการเขียน เอกสารเก่าที่สุดที่เกี่ยวกับภาษาอวัธคือ อุกติวยาติปราการณะเขียนโดย ทาโมทารา ปัณฑิตา ที่มีชีวิตในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 เขาเขียนเอกสารนี้เพื่อใช้สอนภาษาอวัธ เมื่อลัทธิซูฟีแพร่เข้ามาในอินเดีย ได้มีกวีที่เป็นมุสลิมเขียนบทกวีด้วยภาษาอวัธ กวีคนแรกคือเมาลานา ดาอุด บทกวีเหล่านี้เขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย

สำเนียงอวัธของภาษาเปอร์เซียมีกวีที่นับถือลัทธิซูฟีจำนวนมาก นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ในช่วงนี้คือ กอสวานี ตุลสิดาส หนังสือที่เขาเขียนคือ รามจริตมนัส ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระราม มาลิก มูฮัมหมัด ญายาซี เขียนปัทมวัท เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oldenburg, Veena Talwar (1984). The Making of Colonial Lucknow, 1856-1877. Princeton University Press. p. 5.
  2. Oldenburg, Veena Talwar (1984). The Making of Colonial Lucknow, 1856-1877. Princeton University Press. p. 5.
  3. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues - 2011" (PDF). www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  4. "National Population and Housing Census 2011" (PDF). Central Bureau of Statistics - Government of Nepal. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.
  5. Oldenburg, Veena Talwar (1984). The Making of Colonial Lucknow, 1856-1877. Princeton University Press. p. 5.
  6. 6.0 6.1 6.2 Saxena (1971:1)
  7. Grierson (1904:1)
  8. Saxena (1971:6)
  9. Masica (1993:9)- A vast central portion of the subcontinent, consisting of the Indian states of Uttar Pradesh, Bihar, Madhya Pradesh, Rajasthan, Haryana, and Himachal Pradesh, plus the Union Territory of Delhi, is known as the "HINDI area", because the official and general written language, that is to say, that of administration, press, school instruction, and modern literature, is Hindi, sometimes called MODERN STANDARD HINDI, and the whole area is heir to the "Hindi literary tradition" – Hindi being used here in a different and wider sense, to refer to pre-modern literatures in Braj and Awadhi, and often to those languages proper to Rajasthan and Bihar as well
  10. Grierson (1904:10)

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]