ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาโนไก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาโนไก
Noghay, Nogay
ногай тили nogay tili
ногайша nogayşa
ประเทศที่มีการพูดรัสเซีย, โรมาเนีย, บัลแกเรีย, ตุรกี, คาซัคสถาน, ยูเครน, อุซเบกิสถาน
ภูมิภาคคอเคซัส
ชาติพันธุ์ชาวโนไก 108,000 คน (สำมะโน ค.ศ. 2020)[1]
จำนวนผู้พูด[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนซีริลลิก, ละติน[2]
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ รัสเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-2nog
ISO 639-3nog
แผนที่ชาวโนไกในคอเคซัส
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาโนไกอยู่ในสถานะภาษาใกล้สูญอย่างแน่นอน[3]
แผนที่ภาษาศาสตร์ของภูมิภาคคอเคซัส: โนไกอยู่ในพื้นที่สีน้ำเงินอ่อน หมายเลข "26"

ภาษาโนไก (Ногай тили, Nogay tili, Ногайша, Nogayşa) หรือภาษาตาตาร์โนไก เป็นภาษาเตอร์กิกที่มีผู้พูดในรัสเซียยุโรปตะวันออกเฉียงใต้, คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, ยูเครน, บัลแกเรีย, โรมาเนีย และตุรกี ถือเป็นภาษาบรรพบุรุษของชาวโนไก ในฐานะภาษาที่อยู่ในสาขาเคียปชัก ทำให้ภาษานี้มีความใกล้ชิดกับภาษาคาซัค การากัลปัก และตาตาร์ไครเมีย ใน ค.ศ. 2014 มีการตีพิมพ์วรรณกรรมภาษาโนไกเล่มแรก (Akşa Nenem) ที่เขียนด้วยอักษรละติน[4]

การจัดอันดับ

[แก้]

โดยทั่วไปภาษาโนไกจัดให้อยู่ในสาขาเคียปชัก–โนไก จากเตอร์กิกเคียปชัก[5] ภาษากลุ่มเตอร์กิกเคียปชักยังมีภาษาตาตาร์ไซบีเรียในประเทศรัสเซีย ภาษาคาซัคในประเทศคาซัคสถาน และภาษาการากัลปักในประเทศอุซเบกิสถาน

มีสำเนียงที่ได้รับการรับรอง 3 สำเนียง:[6]

บริเวณนอกคอเคซีัสใต้ มีวิธภาษาอื่นที่อาจถือเป็นภาษาย่อย หรือภาษาเฉพาะ ได้แก่:

ประวัติ

[แก้]

ชาวนาไกเป็นลุกหลานของนาไกข่าน ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจงกีสข่าน ซึ่งได้ขยายอาณาเขตไปจนถึงแม่น้ำดานูบในราวพุทธศตวรรษที่ 18

สัทอักษร

[แก้]

ชุดตัวอักษร

[แก้]

ประวัติรูปเขียนโนไกแบ่งออกเป็น 4 ขั้น:

  • ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1920 — ไม่มีรูปเขียน โดยใช้เคียปชักและ/หรือชากาทายแทนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
  • 1926-1928 — อักษรอาหรับมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาษาโนไก
  • 1928—1938 — รูปเขียนอิงจากอักษรละติน
  • ตั้งแต่ ค.ศ. 1938 — รูปเขียนอิงจากอักษรซีริลลิก

ชุดตัวอักษรโนไกอิงจากอักษรซีริลลิกประดิษฐ์ขึ้นใน ค.ศ. 1938 โดยรวมชุดตัวอักษรรัสเซียทั้งหมด ยกเว้น Ё ё และเพิ่มทวิอักษร Гъ гъ, Къ къ, Нъ нъ จากนั้นจึงเพิ่มทวิอักษร Оь оь, Уь уь ในปีเดียวกัน แต่ใน ค.ศ. 1944 ทวิอักษร Гъ гъ, Къ къ ถูกนำออกจากชุดตัวอักษรนี้

การปฏิรูปรูปเขียนโนไกครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1960 ที่มีการเพิ่มอักษร Аь аь และ Ё ё ตามผลการอภิปรายที่ Karachay-Cherkessia Research Institute, Language and Literature หลังจากนั้น ชุดอักษรโนไกกลายเป็นรูปแบบปัจจุบัน[9]

ชุดตัวอักษรโนไกสมัยใหม่
А а Аь аь Б б В в Г г Д д Е е Ё ё Ж ж З з
И и Й й К к Л л М м Н н Нъ нъ О о Оь оь П п
Р р С с Т т У у Уь уь Ф ф Х х Ц ц Ч ч Ш ш
Щ щ Ъ ъ Ы ы Ь ь Э э Ю ю Я я

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาโนไก at Ethnologue (26th ed., 2023) Closed access
  2. "türkevi araştırmalar merkezi". www.turkevi.org. สืบค้นเมื่อ 2024-01-28.
  3. "Nogai in Russian Federation". UNESCO WAL. สืบค้นเมื่อ 23 July 2024.
  4. "İlk Nogayca roman kitabı yayınlandı… – türkevi araştırmalar merkezi".
  5. "Glottolog 4.4 - Nogai". glottolog.org. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  6. Baskakov, N.A. (1940). Nogaysky yazyk i ego dialekty Ногайский язык и его диалекты: грамматика, тексты и словарь [The Nogai language and its dialects: grammar, texts, and dictionary] (ภาษารัสเซีย). Moscow: Akademii Nauk SSSR. OCLC 12067444.
  7. "Yazyki | Malye yazyki Rossii" Языки | Малые языки России [Languages | Minor languages of Russia]. minlang.iling-ran.ru (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-05-11.
  8. Alekseev, F.G. (2017). "Yazyki Astrakhanskoi oblasti" Языки Астраханской области [Languages of Astrakhan Oblast]. Malye Yazyki. 4: 16–18.
  9. Калмыкова, С. А. (1972). Вопросы совершенствования алфавитов тюркских языков СССР: Алфавит ногайского языка. Наука (ภาษารัสเซีย): 118–125.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]