Й

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Short I
อักษรซีริลลิก
А Б В Г Ґ Ѓ Д
Ђ Е Ѐ Ё Є Ж З
Ѕ И Ѝ І Ї Й Ј
К Л Љ М Н Њ О
П Р С Т Ћ Ќ У
Ў Ф Х Ц Ч Џ Ш
Щ Ъ Ы Ь Э Ю Я
ไม่ใช่กลุ่มภาษาสลาฟ
Ӑ Ӓ Ә Ӛ Ӕ Ғ Ҕ
Ӻ Ӷ Ԁ Ԃ Ӗ Ӂ Җ
Ӝ Ԅ Ҙ Ӟ Ԑ Ӡ Ԇ
Ӣ Ҋ Ӥ Қ Ӄ Ҡ Ҟ
Ҝ Ԟ Ԛ Ӆ Ԓ Ԡ Ԉ
Ԕ Ӎ Ӊ Ң Ӈ Ҥ Ԣ
Ԋ Ӧ Ө Ӫ Ҩ Ҧ Ҏ
Ԗ Ҫ Ԍ Ҭ Ԏ Ӯ Ӱ
Ӳ Ү Ұ Ҳ Ӽ Ӿ Һ
Ҵ Ҷ Ӵ Ӌ Ҹ Ҽ Ҿ
Ӹ Ҍ Ӭ Ԙ Ԝ Ӏ  
อักษรซีริลลิกโบราณ
Ҁ Ѻ Ѹ Ѡ Ѿ Ѣ
Ѥ Ѧ Ѫ Ѩ Ѭ Ѯ
Ѱ Ѳ Ѵ Ѷ    

Short I (Й, й) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากอักษร И และเครื่องหมายเสริมอักษร breve ใช้แทนเสียงพยัญชนะกึ่งสระ /j/ เหมือน y ในคำว่า yellow ของภาษาอังกฤษหรือ ในภาษาไทย

อักษร Short I เป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษารัสเซียเรียกว่า И краткое (I kratkoye อี ครัตโคเอีย) , เป็นอักษรตัวที่ 10 ในภาษาบัลแกเรียเรียกว่า И кратко (I kratko อี ครัตโค) , เป็นอักษรตัวที่ 14 ในภาษายูเครนเรียกว่า Йот (Yot ยอต) หรือ Ий (Yi อิย) และเป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษาเบลารุส แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีการใช้อักษร И ในภาษาเบลารุส

อักษร Short I มักจะถูกถ่ายอักษรให้เป็น j หรือ y ส่วนมากจะใช้เป็นพยัญชนะสะกดตัวสุดท้ายของคำ

อักษร Й (หรือในอีกแง่หนึ่งคือการเติม breve บนอักษร И) เริ่มมีการใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1516 และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ความแตกต่างระหว่าง И กับ Й เริ่มปรากฏในอักขรวิธีของภาษาเชิร์ชสลาโวนิก (ซึ่งใช้เป็นภาษารัสเซียเช่นกัน) แต่หลังจากเกิดการปฏิรูปอักขรวิธีในสหภาพโซเวียต โดย จักรพรรดิปอเตอร์ที่ 1 (Peter I) เครื่องหมายเสริมอักษรของภาษารัสเซียถูกตัดออกไปทั้งหมด แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ไม่นาน การใช้อักษร И กับ Й ก็กลับมาอีก แต่ก็ยังไม่ถือว่า Й เป็นอักษร จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประมาณทศวรรษที่ 30 จึงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

ในภาษาเซอร์เบียและภาษามาซิโดเนีย จะใช้ Je (Ј, ј) แทนอักษร Short I

การเปรียบเทียบอักษร[แก้]

ภาษา /ʲ i/ /i/ /ɪ/ /j/
ภาษารัสเซีย И,и Й,й
ภาษาเซอร์เบีย И,и Ј,ј
ภาษาเบลารุส І,і Й,й
ภาษายูเครน Ї,ї І,і И,и Й,й

ตำแหน่งอักขระ[แก้]

ชุดอักขระ อักษร ฐานสิบ ฐานสิบหก
ยูนิโคด ตัวใหญ่ 1049 U+0419
ตัวเล็ก 1081 U+0439
ISO 8859-5 ตัวใหญ่ 185 0xB9
ตัวเล็ก 217 0xD9
KOI8 ตัวใหญ่ 234 0xEA
ตัวเล็ก 202 0xCA
Windows-1251 ตัวใหญ่ 201 0xC9
ตัวเล็ก 233 0xE9

อ้างอิง[แก้]