ฟีลา (บริษัท)
![]() | |
ประเภท | บริษัทเอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | |
ก่อตั้ง | เบลลา, อิตาลี 1911 |
สำนักงานใหญ่ | , |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | |
ผลิตภัณฑ์ | |
พนักงาน | 1,000 |
บริษัทแม่ | ฟีลาเกาหลี |
เว็บไซต์ | www |
ฟีลา (อังกฤษ: Fila, Inc) ตราสินค้าอุปกรณ์กีฬา, รองเท้า และเสื้อผ้าแฟชั่นสัญชาติเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีสำนักงานทั่วโลกกว่า 11 แห่ง
ฟีลา ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1909 โดยพี่น้องตระกูลฟีลาที่เมืองเบลลา, แคว้นปีเยมอนเต, ประเทศอิตาลี โดยเริ่มต้นจากการผลิตเสื้อผ้าให้แก่ผู้คนที่อาศัยตามแถบเทือกเขาแอลป์ โดยผลิตภัณฑ์หลักในช่วงแรกของบริษัทคือ ชุดชั้นใน ก่อนจะเปลี่ยนมาผลิตชุดกีฬาในช่วงทศวรรษที่ 70 เริ่มจากการได้รับการรับรองจากบิยอร์น บอร์ก นักเทนนิสชื่อดังชาวสวีเดน และได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อได้เข้าไปสู่แวดวงผลิตภัณฑ์กีฬาอย่างเต็มตัว
เดิมที ฟีลา เป็นตราสินค้าของบริษัทชอปโฮลดิงปาร์เตซิปาซีโอนี และขายให้กับ บริษัทกองทุนป้องกันความเสี่ยงสหรัฐเซอร์เบอรัสบริหารเงินทุน ในปี ค.ศ. 2003 หลังจากที่ทางบริษัทประสบกับภาวะกดดันด้านการเงิน เซอร์เบอรัสเป็นเจ้าของฟิลา ผ่าน บริษัทโฮลดิงกีฬาต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจฟีลาทั่วทุกมุมโลกด้วยข้อยกเว้น ฟีลาเกาหลี ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกออกมาดำเนินกิจกรรมต่างหากภายใต้ตราสินค้าเดียวกัน
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 บริษัทฟีลาอิตาลีและทั่วโลก ได้ถูกซื้อกิจการทั้งหมดจากฟีลาเกาหลี ซึ่งเป็นกลุ่มทุนของเอสบีไอ ซึ่งทำให้ฟีลากลายเป็นบริษัทสินค้ากีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้
ในปี ค.ศ. 2009 แอนตาสปอร์ตส์ของจีนได้รับสิทธิในการใช้ตราสินค้าในประเทศจีน (ในชื่อ "ฟูลโปรสเปก") จากเบลล์อินเตอร์เนชันแนล ฟีลาเกาหลียังคงเป็นเจ้าของหุ้นร้อยละ 15 ของกิจการร่วมค้า ฟูลโปรสเปก[2]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ฟีลาเกาหลี ได้ควบรวมกิจการผู้ผลิตอุปกรณ์กอล์ฟ บริษัทแอกคิวช์เนต กลายเป็นเจ้าของใหม่ของผลิตภัณฑ์ไม้ชั้นนำระดับโลก เช่นเดียวกับไทลีสต์ ที่ 1.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ[3][4]
อดีตและปัจจุบันสปอนเซอร์
[แก้]จอห์น บาร์นส์
บิยอร์น บอร์ก
บอริส เบกเคอร์
ฮวน เซบัสเตียน เบรอน
เจนนี ชิน[5]
ริดดิค โบว์[6]
เวสต์แฮมยูไนเต็ด (1999–2003)
นอตส์เคาน์ตี
ฟิออเรนตินา (1997–2000)
กิม ไกลส์เติร์ส
โฆษก
[แก้]ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]ฟีลา ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นแบบมังงะเรื่อง The Prince of Tennis ด้วยเป็นยี่ห้อของหมวกและรองเท้าของอิชิเซน เรียวมะ ตัวละครเอกในเรื่อง[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Executive Bios at Fila.com". Fila.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-04. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
- ↑ "DISCLOSEABLE TRANSACTIONS PROPOSED ACQUISITION OF FULL PROSPECT LIMITED AND FILA MARKETING (HONG KONG) LIMITED" (PDF). ANTA. Hong Kong Stock Exchange. 12 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 March 2011.
- ↑ "Fila Korea buys Titleist for global expansion". Yonhap News. 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
- ↑ Thomas, Denny; Robert MacMillan (2011-05-20). "Fila Korea buys Titleist golf company for $1.2 billion". Reuter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
- ↑ "JENNY SHIN". integration.filabrandcenter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 20 May 2016.
- ↑ "FILA Riddick Bowe Cross Trainers Commercial". ยูทูบ. 14 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
- ↑ "Infinite, the New Faces of Fila Korea". Dramafever. 2 January 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "B1A4 chosen as the new faces of 'FILA'". Allkpop. 2 December 2014.
- ↑ Ho, Stewart (9 September 2012). "Jung Il Woo Braves the Outdoors for Fila Sport". enewsWorld. CJ E&M. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kim Soo-hyun laid-back, suave in Fila commercial". Kpopherald. 5 March 2015.
- ↑ "the prince of tennis จร้าเพื่อนๆ(อัพเพิ่มแล้วนะจร้า)". เด็กดี.คอม. 4 June 2016. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.