ข้ามไปเนื้อหา

ฟรีดริช เวอเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีดริช เวอเลอร์
เกิด31 กรกฎาคม ค.ศ. 1800(1800-07-31)
เอสแชร์ไชม์ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เสียชีวิต23 กันยายน ค.ศ. 1882(1882-09-23) (82 ปี)
เกิททิงเงิน เยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
มีชื่อเสียงจากการสังเคราะห์เวอเลอร์ของยูเรีย
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีอินทรีย์
ชีวเคมี
สถาบันที่ทำงานโรงเรียนโปลิเทคนิคในเบอร์ลิน
โรงเรียนโปลิเทคนิคในคัสเซิล
มหาวิทยาลัยกอตติงเกน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเลโอโปลด์ กเมลิน
เยินส์ ยาคอบ แบร์เซลิอุส
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกHeinrich Limpricht
Rudolph Fittig
Adolph Wilhelm Hermann Kolbe
Georg Ludwig Carius
Albert Niemann
Vojtěch Šafařík
Carl Schmidt (chemist)
Theodor Zincke
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆAugustus Voelcker[1]

ฟรีดริช เวอเลอร์ (เยอรมัน: Friedrich Wöhler, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1800 - 23 กันยายน ค.ศ. 1882) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน ผู้เป็นที่รู้จักกันดีจากการสังเคราะห์ยูเรีย และยังเป็นบุคคลแรก ๆ ที่พยายามแยกธาตุเคมีหลายธาตุ

ประวัติ

[แก้]

เวอเลอร์เกิดในเอสแชร์ไชม์ ในปี ค.ศ. 1823 เวอเลอร์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ในไฮเดลเบิร์กที่ห้องปฏิบัติการของเลโอโปลด์ กเมลิน ผู้ซึ่งจัดการให้เขาทำงานกับเยินส์ ยาคอบ แบร์เซลิอุสในสต็อกโฮล์ม เขาสอนวิชาเคมีตั้งแต่ ค.ศ. 1826 ถึง 1831 ที่โรงเรียนโปลิเทคนิคในเบอร์ลินจนกระทั่ง ค.ศ. 1839 เมื่อเขาประจำอยู่ที่โรงเรียนโปลิเทคนิคที่คัสเซิล หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์เคมีสามัญในมหาวิทยาลัยกอตติงเกน ที่ซึ่งเขาทำงานอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1882 ในปี ค.ศ. 1834 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกต่างชาติของราชสมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน

การพัฒนาความรู้วิชาเคมี

[แก้]

เวอเลอร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกเคมีอินทรีย์หลังจากที่เขาสามารถสังเคราะห์ยูเรียขึ้นโดยอุบัติเหตุในการสังเคราะห์เวอเลอร์ในปี ค.ศ. 1828[2] การสังเคราะห์ดังกล่าวถือเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ซึ่งพิสูจน์แย้งทฤษฎีพลังชีวิตซึ่งเคยเชื่อกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยการแสดงให้เห็นว่าสารประกอบอินทรีย์สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นได้จากสารตั้งต้นที่เป็นสารอนินทรีย์

งานสำคัญ การค้นพบและงานวิจัย

[แก้]

เวอเลอร์ยังเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบร่วมของเบริลเลียม, ซิลิกอน และซิลิกอนไนไตรด์ เช่นเดียวกับการสังเคราะห์แคลเซียมคาร์ไบด์ และอื่น ๆ ในปี ค.ศ. 1834 เวอเลอร์และยุสตุส ไลบิกได้ตีพิมพ์การสำรวจน้ำมันของอัลมอนด์ขม พวกเขาพิสูจน์จากการทดลองที่ว่ากลุ่มอะตอมคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนสามารถแสดงคุณสมบัติเหมือนกับธาตุ เข้าแทนที่ธาตุ และสามารถแลกเปลี่ยนธาตุในสารประกอบเคมีกันได้

นับตั้งแต่การค้นพบโพแทสเซียมโดยฮัมฟรี เดวี ได้มีการสันนิษฐานว่าอลูมินา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของดินเหนียว ประกอบด้วยโลหะอยู่รวมกับออกซิเจน เดวี โอแอร์สเทดท์ และแบร์เซลิอุสพยายามที่จะสกัดเอาโลหะนี้ออกมา แต่ไม่สำเร็จ ในภายหลัง เวอเลอร์ได้ทำงานในหัวข้อนี้ และค้นพบโลหะอะลูมิเนียมในปี ค.ศ. 1827 สำหรับเขามีการแยกธาตุอิตเทรียม เบริเลียมและไทเทเนียม การสังเกตที่ว่า "ซิลิเซียม" (ซิลิกอน) สามารถพบได้ในผลึก และหินสะเก็ดดาวบางชิ้นที่มีสารอินทรีย์ เขาวิเคราะห์อุกกาบาตจำนวนหนึ่ง และใช้เวลาอีกหลายปีในการเขียนหนังสือรวบรวมวรรณกรรมเกี่ยวกับอุกกาบาตใน Jahresberichte über die Fortschritte der Chemie เขาเป็นผู้ถือครองหินและเหล็กอุกกาบาตสะสมส่วนตัวที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เวอเลอร์และแซนต์ แคลร์ โดวิลล์ ค้นพบรูปผลึกของโบรอน และเวอเลอร์และบัฟค้นพบสารประกอบไฮโดรเจนของซิลิกอน (ซิเลน) และออกไซด์ของธาตุเดียวกัน เวอเลอร์ยังได้เตรียมยูเรียได้ให้ห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สิ่งมีชีวิตอีกด้วย

มรดก

[แก้]

การค้นพบของเวอเลอร์ได้มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อทฤษฎีเคมี ในใบแทรกของนิตยสารไซแอนติฟิกอเมริกัน ค.ศ. 1882 ได้หมายเหตุว่า "จากงานวิจัยสองหรือสามงาน เขาคู่ควรจะได้รับเกียรติยศสูงสุดเท่าที่บุคคลในแวดวงวิทยาศาสตร์จะสามารถได้รับ แต่ผลของงานของเขานั้นมีมากอย่างแท้จริง หากเขามิได้มีชีวิตอยู่ ลักษณะของวิชาเคมีจะแตกต่างไปจากที่เป็นในปัจจุบันอย่างมาก"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. John Christopher Augustus Voelcker, (1899) Oxford Dictionary of National Biography
  2. Friedrich Wöhler (1828). "Ueber künstliche Bildung des Harnstoffs". Annalen der Physik und Chemie. 88 (2): 253–256. doi:10.1002/andp.18280880206.
  3. Scientific American Supplement No. 362, 9 Dec 1882