ข้ามไปเนื้อหา

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม โยเซ็ฟ เช็ลลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม โยเซ็ฟ เช็ลลิง
Friedrich Wilhelm Joseph Schelling
เกิด27 มกราคม ค.ศ. 1775(1775-01-27)
เลออนแบร์ค, ดัชชีเวือร์ทเทิมแบร์ค, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เสียชีวิต20 สิงหาคม ค.ศ. 1854(1854-08-20) (79 ปี)
บาทรากัซ, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การศึกษามหาวิทยาลัยทือบิงเงิน
มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
ยุคศตวรรษที่ 19
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สถาบันมหาวิทยาลัยเยนา
มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค
มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน
มหาวิทยาลัยมิวนิก
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
ความสนใจหลัก
Naturphilosophie, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, สุนทรียศาสตร์, อภิปรัชญา, ญาณวิทยา, ปรัชญาคริสเตียน
ได้รับอิทธิพลจาก
ลายมือชื่อ

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม โยเซ็ฟ เช็ลลิง (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Joseph Schelling) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในสามแกนนำหลักที่พัฒนาอุดมการณ์เยอรมัน (German idealism) ร่วมกับโยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ อดีตอาจารย์ที่ปรึกษา กับเกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล เพื่อนร่วมชั้นและคู่แข่งในเวลาต่อมา ทฤษฎีปรัชญาของเช็ลลิงเป็นที่กล่าวขานว่าค่อนข้างยากต่อการเข้าใจ

ประวัติ

[แก้]

เช็ลลิงเกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เลออนแบร์ค ในดัชชีเวือร์ทเทิมแบร์ค (ปัจจุบันคือรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค) จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นบุตรของนายโยเซ็ฟ ฟรีดริช เช็ลลิง (Joseph Friedrich Schelling) กับนางก็อทลีบีน มารี (Gottliebin Marie) เด็กชายเช็ลลิงเข้าเรียนที่โรงเรียนโบสถ์เบเบินเฮาเซิน ใกล้กับเมืองทือบิงเงิน ซึ่งบิดาของเขาเป็นอนุศาสนาจารย์และนักตะวันออกศึกษาที่โรงเรียนนั้น[5] ในปีค.ศ. 1783 เช็ลลิงเข้าเรียนที่โรงเรียนละตินในเนือร์ทิงเงิน (Nürtingen) และได้รู้จักกับฟรีดริช เฮิลเดอร์ลิง ซึ่งแก่กว่าห้าปี ต่อมาในปีค.ศ. 1790 เช็ลลิงในวันสิบห้าปีเข้าเรียนที่ศาสนวิชชาลัยทือบิงเงิน (Tübinger Stift) เร็วกว่าคนปกติถึงห้าปี[6] ที่ศาสนวิชชาลัย เช็ลลิงได้เป็นเพื่อนร่วมห้องกับเฮเกิลและเฮิลเดอร์ลิง จนทั้งสามสนิทสนมกัน[7]

เมื่อเช็ลลิงได้ศึกษาเรื่องปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและปรัชญากรีกโบราณ ความสนใจทางด้านเทววิทยาก็ค่อยเบนไปหาวิชาปรัชญา เช็ลลิงจบการศึกษามหาบัณฑิตในปีค.ศ. 1792 และจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตในปีค.ศ. 1795 ขณะเดียวกัน เขาก็เริ่มอ่านหนังสือของอิมมานูเอล คานต์ และโยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดต่อเขาอย่างมาก[8] ต่อมาในปีค.ศ. 1797 เช็ลลิงไปเยือนเมืองไลพ์ซิชในฐานะอาจารย์พิเศษและผู้ปกครองเด็กสองคนที่ตระกูลขุนนางฝากฝัง เช็ลลิงถือโอกาสเข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช เขาลุ่มหลงศาสตร์สมัยใหม่อย่างวิชาเคมีและชีววิทยา เขาได้ไปเยือนเมืองเดรสเดินในปีเดียวกัน และมีโอกาสได้พบกับสองพี่น้องชเลเกิล รวมทั้งโนวาลิส[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Joseph B. Maier, Judith Marcus, and Zoltán Tarrp (ed.), German Jewry: Its History and Sociology: Selected Essays by Werner J. Cahnman, Transaction Publishers, 1989, p. 212.
  2. 2.0 2.1 Robert J. Richards, The Romantic Conception of Life: Science and Philosophy in the Age of Goethe, University of Chicago Press, 2002, p. 129.
  3. Pinkard, Terry (2002). German Philosophy 1760-1860. The Legacy of Idealism. Cambridge University Press. p. 172. ISBN 978-0-521-66381-6.
  4. Voegelin and Schelling on Freedom and the Beyond by Steven F. McGuire Das in voegelinview, April 2, 2012.
  5. Adamson & Mitchell 1911, p. 316.
  6. John Morley (ed.), The Fortnightly Review, Voll. 10, 12, London: Chapman & Hall, 1870, p. 500.
  7. Frederick C. Beiser, บ.ก. (1993). The Cambridge Companion to Hegel. Cambridge University Press. p. 419. ISBN 978-1-139-82495-8.
  8. Adamson & Mitchell 1911, p. 316–318.
  9. Robert J. Richards, The Romantic Conception of Life: Science and Philosophy in the Age of Goethe (2002), p. 149.