พูดคุย:เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศฝรั่งเศสและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิอิสริยาภรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับเครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของแต่ละประเทศ โดยแต่ละบทความนั้นจะต้องมีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และสมบูรณ์ และใช้ไปอ้างอิงได้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการทหารและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธ ทหาร การทหาร และสงคราม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

สอบถาม[แก้]

  1. ชื่อไทยของเครื่องอิสริยาภรณ์ เป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการหรือแต่งขึ้นมาเองหรือเปล่าครับ รวมทั้งการเรียกลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์ เขาเรียกว่า ประถมาภรณ์ - เบญจมาภรณ์ อย่างเป็นทางการหรือเปล่าครับ
  2. สมเด็จพระพี่นางฯ จำได้ว่าพระองค์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ในชั้น Grand Officier และพระองค์ได้รับก่อนสิ้นพระชนม์ไม่นาน แต่ในบทความระบุว่าพระองค์ได้รับชั้น Grand-Croix หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ ผมอาจจะตกข่าวเรื่องนี้ไป แต่อ้างอิงที่ใส่มาก็ระบุว่าได้ชั้น Grand Officier เท่านั้นไม่ใช่หรือครับ ขอบคุณครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 20:31, 23 พฤษภาคม 2551 (ICT)

วิสัชนา[แก้]

๑. ชื่อ "เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณเป็นตำนานโรจน์รวงยิ่งแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส" ไม่เป็นทางการค่ะ แปลมาจากชื่อฝรั่งเศสแล้วปรับปรุงให้เหมือนของไทยค่ะ (ความจริงแล้วน่าจะปรับปรุงอีกนะ)

๒. ประถมาภรณ์ ทุติยาภรณ์ ฯลฯ เป็นทางการคะ่ เป็นการเทียบที่ใช้ทั่วไป ทั้งตามอย่างที่ไทยเทียบกะของต่างด้าว และตามคำแนะันำของกระทรวงการต่างประเทศค่ะ

๓. เรื่องพระพี่นางไม่รู้นะคะ จำได้ว่าเขาเชิญมาให้่ตอนตั้งพระโกฏิแล้วไม่ใช่ไหรอคะ เดี๋ยวไปหาแหล่งอ้างอิงก่อนเนาะ (หรือใครจะช่วยปรับปรุงแก้ไขก็เชิญเลยค่ะ)

——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๒๐:๕๗ นาฬืกา (GMT)

  1. ถ้าไม่เป็นทางการอย่าใช้ชื่อไทยเลยครับ ใช้การทับศัพท์ก็พอเพียงและเป็นที่รู้จักกันมากกว่า
  2. เป็นการเทียบจากไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเทียบให้อังกฤษกลับมาเป็นไทยก็ได้นะครับ แปลจากต้นฉบับมาเลยไม่เหมาะกว่าเหรอครับ ผมว่าระบุเป็น ชั้นอัศวิน ชั้นเจ้าพนักงาน...ตามต้นฉบับก็น่าจะพอ อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี มีหลายชั้นเช่นกัน ก็ไม่ได้ระบุให้ใช้ ประถมาภรณ์....นะครับ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการใช้ก็ตามสบายครับผม --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:13, 23 พฤษภาคม 2551 (ICT)
๑. แก้เป็นแต่เลชียงโดเนอร์แล้วค่ะ
๒. ส่วนที่เรียกว่า เบญจมาภรณ์ ตริตาภรณ์ ฯลฯ นั้นเป็นอย่างทางการค่ะ ดูนี่ค่ะ
——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๒๑:๒๙ นาฬืกา (GMT)
  1. ผมหมายถึง เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณเป็นตำนานโรจน์รวงยิ่งแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ครับ ไม่ควรใส่ไว้ในบทความด้วยนะครับ
  2. ที่ให้มาอ่านแล้วครับ และเข้าใจว่าเป็น "การเทียบชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยในภาคภาษาอังกฤษ" ครับ เจตนาของบทความคือแค่นั้นครับ ส่วนถ้าจะตีความให้มาเป็น "การเทียบชั้นเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย" ก็ตามใจครับมิได้ขัดขวางการตีความแต่อย่างไรครับผม ปล. ลิ้งที่แนบมานั้นเป็นของกระทรวงการคลังครับ ไม่ใช่กระทรวงการต่างประเทศแต่อย่างไร--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:41, 23 พฤษภาคม 2551 (ICT)
๑. อะ ดูผิดเป็นกระทรวงการต่างประเทศอะ แฮ่ ๆ... เค้าผิดโดยสุจริตค่ะ อิ ๆ
๒. แต่มันก้ไม่ได้แตกต่างกันนิค่ะ จะเทียบของไทยกะของต่างชาติหรือต่างชาติเป็นไทย เพราะอย่าง "เบญจมาภรณ์" แปลว่า "เครื่องประดับลำดับที่ห้า" ก็ (น่าจะ) ใช้เรียก "(เลชียงโดเนอร์ชั้น) เชอวาลีเยร์" ซึ่งเป็นลำดับที่ห้าได้เหมือนกัน เพราะอะไรที่ต่างชาติมีเหมือนไทยแล้ว และถ้าเรียกชื่อโดยเทียบกับสิ่งที่ไทยมีแล้วเป็นประโยชน์แก่การเข้าใจและอื่น ๆ กับทั้งไม่ได้เสียหายอะไร ก็น่าจะกระทำได้นะคะ เช่น ชื่อหัวหน้าส่วนราชการเมกา "Controller General" (หรือ Comptroller General) ราชบัณฑิตก็อาศัยหลักการเดียวกันให้ัเรียกว่า "อธิบดีกรมบัญชีกลาง"
——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๒๒:๑๑ นาฬืกา (GMT)
  • เท่าที่เขียนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยมาเห็นว่า การลำดับชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทยใช้ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3...เป็นตัวบอกชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ครับ เช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า แบ่งเป็น 3 ชั้น แล้วจึงระบุชื่อชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมาครับ ไม่ได้ใช้ว่า ชั้นประถมาภรณ์ เพื่อเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นที่ 1 นะครับ ดังนั้น ชั้นประถมาภรณ์ ก็ไม่พบว่ามีการใช้สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยนะครับ อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ถ้าต้องการใช้ก็ตามสะดวกครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 22:33, 23 พฤษภาคม 2551 (ICT)

Honneur[แก้]

อ่านว่า " ɔnœr " (โอเนอ) จึงแก้ "ดงเนอร์" เป็น "โดเนอร์" ค่ะ

——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๒๑:๒๙ นาฬืกา (GMT)

ย้าย[แก้]

ย้ายข้อความต่อไปนี้มาไว้ตรงนี้ก่อนนะคะ เดี๋ยวไว้ไปใส่ในบทความหลังจากเพิ่มเนื้อหาแล้่ว

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์แห่งประเทศไทยทรงได้รับถวายทุติยาภรณ์เลชียงโดเนอร์ขณะที่ทรงพระประชวรและประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550[1] [2]

คำปฏิญาณของเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์นี้มีว่า “ด้วยรักในเกียรติภูมิและมาตุภูมิ” (ฝ. Honneur et Patrie, โอเนอร์เอปาตรี)

——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๐๖ นาฬืกา (GMT)

ชาวไทยที่เคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้[แก้]

1. ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้รับ Grand-Croix de Légion d'honneur --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.192.254 (พูดคุย | ตรวจ) 08:51, 26 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

  1. การประดิษฐานพระโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท. (2551, 23 กุมภาพันธ์). เดลินิวส์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uc.in.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=53315&NewsType=2&Template=1. (22 พฤษภาคม 2551).
  2. สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประเทศไทย. (2550, 25 ธันวาคม). พิธีทูลเกล้าฯถวายอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศสแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ambafrance-th.org/spip.php?article872. (23 พฤษภาคม 2551).