พูดคุย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ โครงการวิกิสถานศึกษา และ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ประวัติความเป็นมาโดยละเอียด[แก้]

น่าจะมีการรวบรวมความเป็นมามากกว่านี้ เช่นการโอนหน่วยงานต่างมาขึ้นกับ/ออกไปจาก มธก./มธ.

สงสัยบุคคลที่มีชื่อเสียง ของ มธ[แก้]

ทำไมจึงแยกท่านปรีดี ท่านป๋วย และท่านสัญญา ออกมาข้างนอก เพราะในรายชื่อศิษย์เก่าก็มีแล้ว มันจะไม่ซ้ำซ้อนกันหรือScorpianPK 16:25, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

งั้นเอาไปไว้ข้างนอก แต่ก็ต้องลบหัวข้อบุคคลที่มีชื่อเสียงออก เพราะไม่มีเนื้อหานะครับ --ธวัชชัย 16:16, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

  • งั้นคงต้องลบหัวข้อเดียวกันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยนะครับScorpianPK 16:25, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ขออนุญาตตอบนะครับ ผมเป็นคนใส่เองนะครับ เพราะอยากให้หัวข้อย่อยมีเนื้อหาบ้าง ไม่ใช่มีแต่ลิงก์ไปอีกหัวข้อหนึ่ง โดยมีแนวคิดที่ว่า ตัวบทความนั้นควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained) ในระดับนึง แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากให้รายชื่อยาว/เยอะจนเกินไป จึงเลือกเอาที่เด่นที่สุด รู้จักกันมากที่สุดทั้งภายในและนอกประชาคมธรรมศาสตร์มาสามชื่อก่อนครับ (ซึ่งสามชื่อนี้คงจะไม่มีข้อโต้แย้ง) แต่ถ้าเห็นว่ามีชื่อไหนที่เหมาะสม เหมาะจะนำมาใส่ในหัวข้อหลักของมหาวิทยาลัย ก็สามารถเพิ่มได้ครับ

ลองดูตัวอย่างที่ en:University of Cambridge#Selected notable members

หรือถ้าจะเทียบกับบทความประเภทอื่น ก็เป็นทำนองเดียวกับ ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์ กับ ประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งหัวข้อย่อยอันแรกจะเป็นข้อมูลทั่วไปคร่าว ๆ ให้เห็นภาพ ส่วนรายละเอียดจะไปอยู่ในหัวข้อหลักอีกอันต่างหาก ถ้ามองอย่างนี้ ผมเห็นว่าก็ไม่เป็นการซ้ำซ้อนนะครับ แต่เสริมกัน เพราะเนื้อหาต่าง ๆ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกันอยู่้แล้ว จะแยกเด็ดขาดแบบไม่มีอะไรซ้อนทับกันเลยคงเป็นไปไม่ได้

-- 172.173.64.199 00:52, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

    • ครับ ผมจะได้ยึดเอาเป็นบรรทัดฐาน เพราะเห็นอีกหลายตำแหน่งที่เขียนโดยให้ link ไปที่อื่น ที่สอบถามดูเพราะว่า อยากให้มันเกิดบรรทัดฐานเดียวกันในทุก ๆ บทความครับผม ขอเรียนถามอีกสักข้อ ถ้าเราเขียนไว้ข้างหน้าแล้ว จำเป็นจะต้องลบชื่อเหล่านั้น ใน link หรือไม่ หรือว่าไม่จำเป็นต้องลบออก ScorpianPK 16:20, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)
    • ไม่ต้องเอาออกครับ (เพราะแต่ละหน้าควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง) :) -- 172.174.31.192 16:28, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

บัณฑิตวิทยาลัย มธ.[แก้]

ม.ธรรมศาสตร์ได้ประกาศยุบบัณฑิตวิทยาลัยไปแล้วนะครับ จึงขอลบออกจากหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนนะครับ ScorpianPK 17:27, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ทำไมจึงจัดวิทยาลัยสหวิทยาการและวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษาอยู่ในหมวด "บัณฑิตวิทยาลัย" ครับ เพราะตอนนี้หน่วยงานแรกรับผิดชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สหวิทยาการสังคมศาสตร์) เป็นหลัก รวมถึงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสหวิทยาการฯ ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา รับผิดชอบเฉพาะหลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีเพียงอย่างเดียว โดยทั้งสองมีฐานะเทียบเท่าคณะครับ

อีกทั้งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ดึงเอาหลักสูตรที่อยู่ในบัณฑิตวิทยาลัยเดิมออกมาให้เป็นความรับผิดชอบของแต่ละคณะโดยตรง แสดงว่าหมวดกลุ่มคณะที่เป็นบัณฑิตวิทยาลัยนั้นไม่มีที่ใช้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว จึงน่าจะลบออกไปนะครับ --Tonkun 00:24, 29 ธันวาคม 2550 (ICT)

ลองแก้ไขดูครับ ผมก็ไม่รู้จะให้ไปสอบถามผู้แก้ไขโดยตรงที่ไหน เพราะเท่าที่ดู ๆ น่าจะเป็นผู้ใช้ไอพีเป็นคนแก้ไขครับ ถ้าคุณ Tonkun ไม่เห็นด้วยก็แก้ไขได้นะครับ ส่วนบัณฑิตวิทยาลัยในบทความผมเข้าใจว่าผู้แก้ไขน่าจะหมายถึงระดับสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งผมว่า ถ้าจะเขียนทำนองนี้ควรใช้ "บัณฑิตศึกษา" มากกว่าบัณฑิตวิทยาลัย เพราะการใช้บัณฑิตวิทยาลัยในบทความนี้ส่งผลให้เข้าใจผิดว่ามีบัณฑิตวิทยาลัยตั้งมาใหม่ใน มธ มากกว่าครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:05, 29 ธันวาคม 2550 (ICT)

แก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ (ผมขอแบ่งหมวดหมู่ใหม่นิดนึงนะครับ) --Tonkun 02:08, 21 มกราคม 2551 (ICT)

เก็บกวาด จิตวิญญาณธรรมศาสตร์[แก้]

ติดป้ายเก็บกวาด[แก้]

ผมติดป้ายเก็บกวาด คิดว่าตรงส่วนจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ มันแปลกๆ นิดหน่อยครับ เดี๋ยวกะว่ารอคนที่มีความรู้ด้านนี้มาช่วยแก้ไขให้สมบูรณ์ท่าจะดี หรือถ้าไม่มีจริงก็อาจจะต้องลบออกไปทั้งย่อหน้าเลย --Manop | พูดคุย 00:17, 4 กันยายน 2007 (ICT)

ย้ายไม่มีอ้างอิง[แก้]

ข้อความด้านล่างโดนย้ายออกจากหน้าหลักโดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 125.24.44.248 (พูดคุยหน้าที่เขียน)


สิ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ถูกปลูกฝังมาแต่เริ่มแรกนั่นก็คือ สถาบันแห่งนี้มิได้สงวนไว้สำหรับพวกลูกหลานของบรรดาเสนาอำมาตย์หรือเจ้านายทั้งหลาย หากแต่มีไว้เพื่อประชาชนทั่วไปในแผ่นดินที่มุ่งหวังจะศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะไม่ต้องถูกเหล่าคนชนชั้นศักดินาทั้งหลายได้ตราหน้าว่าเป็นผู้ไร้การศึกษา และอำนาจนั้นควรสงวนไว้แต่เหล่าผู้ลากมากดีเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง] คนที่เข้ามาเรียนในสถาบันแห่งนี้นับแต่แรกสถาปนานั้นจึงมีอุดมการณ์ที่มั่นคงในความกล้าหาญต่อการต่อสู้ในระบบชนชั้น[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งในช่วงเริ่มแรกนั้นเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง เพราะได้สร้างวัฒนธรรมแห่งธรรมศาสตร์ที่แท้จริง[ต้องการอ้างอิง] ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวเองว่า "นักศึกษา" หรือการแสดงออกในเชิงอัตลักษณ์ในลักษณะของสังคมนิยม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมอมา ในแง่ความคิดและทัศนคติ ระหว่างอนุรักษนิยมและสังคมนิยม[ต้องการอ้างอิง]

ช่วงปี พ.ศ. 2477 - 2520 เป็นช่วงการสร้างจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่แท้จริง[ต้องการอ้างอิง] เพราะความคิดเชิงวิพากษ์และความกล้าหาญต่อจริยธรรมของชาวธรรมศาสตร์ได้รับการยกย่องและนับถือ ในแง่ของการต่อสู้เพื่อประชาชน และความเป็นธรรมในทุกภาคส่วนของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมักถูกกล่าวหาว่าเป็นมหาวิทยาลัยกบฏ[ต้องการอ้างอิง] เพราะในช่วงเวลาต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่มีการวิพากษ์วิจารณ์และต่อสู้กับระบบศักดินาและฝ่ายผู้มีอำนาจทั้งหลาย หรือแม้แต่สถาบันหลักของประเทศก็ตามหากมีการกระทำการไม่ถูกต้องเหมาะควร[ต้องการอ้างอิง]


ล็อกบทความ[แก้]

เนื่องจากมีผู้ไม่ประสงค์ออกนามหลายท่านเหลือเกิน คิดว่าอย่างน้อยก็สอง ย้อนไปมาหลายรอบครับ และไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันในหน้าพูดคุย เลยล็อกบทความให้เฉพาะผู้ล็อกอินแก้ไขได้นะครับ --Manop | พูดคุย 02:49, 22 กันยายน 2007 (ICT)

ตามที่คุณ manop ได้ล็อกบทความนี้เมื่อวันที่ 22 กันยายน โดยแจ้งไว้ในขณะนั้นว่า จะล็อกถึงวันที่ 5 ตุลาคม แต่ขณะนี้วันที่ 11 ตุลาคมแล้ว เพราะเหตุใดจึงยังล็อกอยู่ครับ 58.136.73.116 15:48, 11 ตุลาคม 2007 (ICT)

ชี้แจงการแก้ไขหัวข้อย่อย "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์"[แก้]

คุณผู้ใช้ที่ชื่อ manop ได้กระทำการลบข้อความที่ผมชี้แจงเรื่องการแก้ไขจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ออกไป เมื่อ 03:55, 23 กันยายน 2007 ไม่ทราบว่าด้วยสาเหตุอันใด แต่จากข้อความข้างบนก่อนหน้า (ตรง "ล็อกบทความ") คุณ manop น่าจะเป็นคนเดียวกับที่ล็อกบทความและดูเหมือนจะต้องการคำชี้แจงในหน้าพูดคุยนี้ เลยสงสัยว่าอาจจะเป็นการกดผิด จึงขอนำย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านคำชี้แจง และพิจารณาเนื้อหาที่แก้ไข ตามเอกสารอ้างอิงที่ได้ให้ไว้ ดังนี้...


ข้อความส่วนนี้ โดนลบออก เนื่องจากละเมิดลิขสิทธิ์จากเว็บ http://www.thaitopic.com/mag/soc/dome02.html


จาก พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" จงไปสู่สุขคติ: -- --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 58.136.73.178 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ผมลบออกเองนะครับ เพราะคุณไม่ประสงค์ออกนาม "ลอกข้อความจากเว็บมาลงหน้านี้" นะครับ แล้วก็อีกอย่างจิตวิญญาณธรรมศาสตร์คงไม่ได้สอนให้มาเป็นพวกชอบออกความเห็นแต่ไม่ประสงค์ออกนามหรอกนะครับ --Manop | พูดคุย 01:39, 24 กันยายน 2007 (ICT)
ใจเย็นกันก่อนคับ เท่าที่อ่านมาผมไม่เห็นว่าจะผิด ถ้าจะใส่ข้อความที่เปนปัญหานั้นลงไปนะครับ การตีความเป็นวิจารณญาณของแต่ละบุคคล และเท่าที่อ่านดู ในบทความก็เขียนได้ตรงกับที่เขาใส่ไว้ในอ้างอิงไว้นะครับ แต่ว่าจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่ควรจะเขียนให้เป็นกลางไม่เช่นนั้นอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าข่ายโฆษณา หรืออาจถูกมองว่าเป็นทำนองเดียวกับวิสัยทัศน์ นโยบายไปนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:43, 24 กันยายน 2007 (ICT)


ผมขอโทษเรื่องลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ เพราะไม่ทราบว่ามันจะเป็นปัญหา ที่ยกมาใส่นั้นก็เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้นครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอนำส่วนนั้นออกนะครับ เหลือดังนี้...


เรียนท่านผู้แก้ไขทุกท่าน

จาก พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" จงไปสู่สุขคติ (หรือเข้าได้จาก [1] อีกที่หนึ่ง):

(โปรดดูย่อหน้าที่ 7, 8 และ 10 ในบทความดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถคัดลอกมาใส่ในหน้านี้ได้ ... ตามที่คุณ manop ได้แจ้งว่าเป็นการ "ละเมิดลิขสิทธิ์")

พิชิตกล่าวว่า สิ่งที่หายไปคือ เงื่อนไขแวดล้อมของ "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" (ย่อหน้า (7) "ความจำเป็นที่จะต้องมี "กองหน้าปัญญาชน" ที่ชูธงเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคมดังเช่นทศวรรษ 2510-2520 จึงหมดไป เงื่อนไขแวดล้อมของ "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ได้มลายหายไป")

แต่ตัว "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" นั้นยังคงอยู่ เพียงแต่ไม่ได้อยู่เพียงในท่าพระจันทร์เท่านั้น แต่ "ได้ยกระดับไปสู่ ประชาสังคม วงกว้างที่เริ่มตื่นตัวและรู้จักต่อสู้ด้วยตนเองในปัจจุบัน" (ย่อหน้า 10)

ดังนั้นที่เพิ่มย่อหน้าที่สามเข้ามาในบทความมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่หัวข้อย่อย "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ว่า

อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ที่พัฒนาและเฟื่องฟูขึ้นในเงื่อนไขเผด็จการทหาร ที่กดขี่ข่มเหงและทุจริต ลิดรอน สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน แต่เมื่อเวลาผ่านไปพร้อมกับการสูญสิ้นของระบอบเผด็จการทหาร จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ก็ได้หายไป และไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นเหมือนอดีตที่ผ่านมา


จึงเป็นการตีความข้อเขียนของพิชิตผิดเพี้ยนไป


ซึ่งเนื้อหาที่พิชิตเขียนดังที่อธิบายข้างบนนั้น ได้ถูกสรุปไว้ครบถ้วนแล้วที่ย่อหน้าที่สอง ของหัวข้อย่อย "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์"

อย่างไรก็ตามจิตวิญญาณธรรมศาสตร์นี้ อาจไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น โดย พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า หากวิญญาณธรรมศาสตร์ หมายถึงจิตใจที่ต่อต้านเผด็จการ ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคมแล้ว จิตวิญญาณที่ว่านี้ ก็ได้ยกระดับไปสู่ประชาสังคมวงกว้างที่เริ่มตื่นตัวและรู้จักต่อสู้ด้วย ตนเองแล้ว ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อีกต่อไป ดังจะเห็นได้ชัดจากการต่อสู้ครั้งพฤษภาทมิฬ ที่ไม่ได้มี "ขบวนการนิสิตนักศึกษา" หรืออาจารย์ธรรมศาสตร์เข้ามามีบทบาทโดยตรง แต่เป็นประชาสังคมไทยที่ลุกขึ้นต่อสู้ช่วงชิงประชาธิปไตยกลับคืนมากันเอง นับเป็นพัฒนาการสำคัญอีกก้าวหนึ่งของประชาสังคมไทย


ย่อหน้าที่สามข้างต้น จึงสมควรถูกลบออก เพราะข้อมูลไม่ตรงกับที่อ้างอิง และย่อหน้าที่สองก็ได้เก็บประเด็นที่ว่าคนจากม.ธรรมศาสตร์ไม่ได้เข้าร่วมอย่างโดดเด่นในเหตุการณ์ต่อสู้ที่ผ่านมา(เกือบ)ล่าสุดเรียบร้อยแล้ว (ทั้งสองย่อหน้านี้อ้างอิงบทความเดียวกัน เพียงแต่ใส่ชื่อลิงก์ไม่เหมือนกัน)


หากสนใจ ท่านสามารถดูเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ ปาฐกถา “จิตวิญญาณธรรมศาสตร์” โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ เมื่อพ.ศ. 2544 ซึ่งนิธิก็ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์นั้นแม้จะเริ่มที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ที่ท่าพระจันทร์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่เพียงแค่นั้น นอกจากนี้นิธิยังพูดถึงจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในแง่ เสรีภาพทางการศึกษา หรือความกระหายใคร่รู้ของคนในสังคมที่เป็นปัจจัยนำในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้


หมายเหตุ: วาทกรรม "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" นี้เข้มข้นถกเถียงกันเอามากเมื่อไม่กี่ปีก่อน เมื่อจะมีการย้ายการเรียนการสอนปริญญาตรีไปศูนย์รังสิต และเอาเข้าจริง ปริญญา ชาญวิทย์ พิชิต ที่ใช้ในอ้างอิง สามคนนี้ก็เห็นไม่ตรงกันเท่าไหร่ ที่พิชิตเขียนบทความ ""จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" จงไปสู่สุขคติ" ข้างบนนั้นออกมา ก็เพื่อมาชนกับความเห็นของกลุ่มที่คัดค้านไม่ให้ย้าย (ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาญวิทย์ด้วย) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่มีความเห็นไหนที่บอกว่า "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ได้หายไปแล้ว" เพราะข้ออ้างหลักอันหนึ่งของกลุ่มที่คัดค้านไม่ให้ย้ายนั้นบอกว่า "กลัวว่าจิตวิญญาณธรรมศาสตร์" จะหายไป (แสดงว่ามันยังไม่หาย) โดยพิชิตโต้ว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิศาสตร์ที่ตั้งของท่าพระจันทร์อีกต่อไปแล้ว มันออกไปสู่ประชาสังคมเรียบร้อยแล้ว (นั่นก็คือยังไม่หายอีกเช่นกัน) สรุปคือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันในแนวคิดที่ว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์นั้นยึดโยงอยู่กับท่าพระจันทร์หรือไม่ (ไม่ใช่ว่าจิตวิญญาณฯยังมีอยู่หรือไม่)


โอกาสนี้ขอเรียนท่านผู้แก้ไขที่สนใจด้วยว่า หากเป็นไปได้ช่วยทำการค้นคว้าด้วยก่อนจะทำการแก้ไขใดๆ ที่ไม่แน่ใจหรืออาจเป็นที่ถกเถียงกัน หรือหากไม่สามารถทำได้ อย่างน้อยก็อย่าใส่ว่าได้อ้างอิงแล้วแต่กลับเป็นการอ้างอิงที่ผิดเพี้ยน เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจทำให้ละเลยการตรวจสอบไปได้ เพราะนึกว่าได้ตรวจสอบไปแล้ว (ใส่ว่า "ยังไม่ได้อ้างอิง" น่าจะช่วยมากกว่า) (จากบทเรียนในกรณีนี้ มีความเห็นว่า ต่อไปวิกิพีเดียน่าจะแก้นโยบายการอ้างอิงให้เข้มงวดขึ้น โดยให้ระบุว่าหน้าที่เท่าไหร่ด้วย หรือถ้าเป็นเว็บที่ไม่มีเลขที่หน้า ก็น่าจะระบุเป็นย่อหน้าหรือหัวข้อย่อยแทน จะได้ตรวจสอบกันได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเข้าใจผิดกัน และแก้กลับไปกลับมาแบบนี้)


ด้วยภราดรภาพ


อ่านแล้วมันไม่เป็นสารานุกรมนะครับ เหมือนการโน้มน้าวหรือโฆษณา ไม่เป็นกลาง ไม่ใช่การนำเสนอข้อเท็จจริง เนื่องจากวิกิพีเดียไม่ใช่สื่อกลางสำหรับการแสดงความคิดเห็น บทความต่างๆ จะต้องมีความสมดุลกันระหว่างการอ้างถึงการวิพากษ์วิจารณ์จากแหล่งอื่นและ ทัศนคติข้อเท็จจริงที่สมเหตุสมผล ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง อีกอย่างการอ้างอิงไม่ได้หมายถึงการใส่เครดิตว่าไปคัดลอกมาจากที่ไหนนะครับ --Octahedron80 07:25, 24 กันยายน 2007 (ICT)

ขอบคุณสำหรับคำวิพากษ์วิจารณ์ครับ ขอชี้แจงว่า ในหัวข้อย่อยในหน้าบทความนั้น ไม่ได้มีการคัดลอกเนื้อหาจากที่ใดเลย แต่เป็นการสรุปความจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน (ปัจจุบันมี 3 แหล่ง และกำลังจะเพิ่มเนื้อหาจากปาฐกถานิธิ [2] อีกแหล่งหนึ่ง) ส่วนที่เป็นปัญหาว่ามีการคัดลอกนั้น เป็นการคัดลอกบางส่วนของบทความของพิชิตมาใส่ในหน้าพูดคุยนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาในหน้าบทความครับ 58.136.73.46


ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์[แก้]

ผมได้ทำการค้นคว้าเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เล็กน้อย และพบว่าการนำบางส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์มาใช้เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์วิจารณ์ ติชม (เช่นที่ผมได้ทำในหน้าพูดคุยก่อนหน้านี้) น่าจะเข้าข่ายได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังที่ได้อภิปรายไว้ที่สภากาแฟครับ [3]

จำนวนหลักสูตร[แก้]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 99 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ[1]

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์[แก้]

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัย จะเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหลักสูตรนานาชาติของคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยที่เปิดอยู่ก่อนแล้ว โดยวิทยาลัยได้อนุมัติการจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว[2][3] ชื่อของวิทยาลัยนี้มาจากชื่อของผู้ประศาสน์การคนแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  1. สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, คู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (โครงการปกติและโครงการพิเศษ) ปีการศึกษา 2550, น.3
  2. มติชน, 'สุรพล'ชนะคะแนนโหวต สภามธ. 25-6 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมธ.สมัยที่ 2, มติชน, 24 กันยายน พ.ศ. 2550
  3. งานประชาสัมพันธ์, ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ป้ายไม่เป็นสารานุกรม[แก้]

ขอนำออกจากหัวข้อจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ เพราะไม่มีเหตุผลแจ้งไว้ครับ

หัวข้อนี้เป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ในช่วงจะย้ายไปศูนย์รังสิต ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากของเดิม และสรุปภาพรวมไว้ที่ย่อหน้าแรกของหัวข้อ รวมทั้งตรวจสอบการอ้างอิงแล้วก็สมบูรณ์ดี และมีข้อมูลจากทั้งคนในมหาลัยและนอกมหาลัย ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 125.24.213.8 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

เหตุผลก็มีบอกแล้วนะครับว่า {{ไม่เป็นสารานุกรม}} ผมลองอ่านดูแล้วก็เหมือนเรียงความ + หัวข้อข่าว แต่ถ้าคุณ (คนเขียน) เห็นว่าควรนำป้ายออก สามารถนำออกได้ครับ แต่ถ้ามีผู้อื่นไม่เห็นด้วย ก็คงนำป้ายมาติดใหม่ ว่าไปแล้วผมอ่านจนจบผมยังไม่รู้เลยครับเป็นเรื่องของการย้ายไปศูนย์รังสิต อ่านแล้วงงนิดหน่อย ตอนนี้ผมลบ ย้าย ออกไปหมดแล้วนะครับ เป็นหัวข้อใหม่ จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ซึ่งอ่านดูแล้วไม่ค่อยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเท่าไร น่าจะเกี่ยวกับคำมากกว่า ซึ่งถ้ารวมน่าจะไปรวมในส่วนประวัติ --Manop | พูดคุย 00:30, 20 ธันวาคม 2007 (ICT)
อืม เท่าที่อ่านดูนะครับ เหมือนเป็นคอลัมภ์ข่าวยังไงพิกล เอาคำวิจารณ์ของคนอืน ๆ มาลง แล้วสุดท้ายก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่นะครับ ลองพยายามปรับปรุงให้มันอ่านแล้วเข้าใจ ๆ หน่อยท่าจะดีครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 00:43, 20 ธันวาคม 2007 (ICT)

สัญญาอนุญาตภาพสัญลักษณ์ ม.ธ.[แก้]

เครื่องหมายราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ซึ่งใน พรบ.ฉบับนี้บัญญัติไว้ตามมาตราที่ 6 ห้ามมิให้บุคคลใช้เครื่องหมายนี้ มาตราที่ 7 ห้ามมิให้มีการดัดแปลงแก้ไขเครื่องหมาย และมาตราที่ 8 กำหนดโทษบุคคลที่ทำผิดตามมาตรา 6 และ 7 แล้วทำไมภาพตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำหรับวิกิพีเดียจึงถือเป็นภาพสาธารณสมบัติ (Public domain) ได้ 02:06, 24 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

อ่านอีกทีนะครับ commons:Template:PD-TH-exempt/th --taweethaも 07:05, 24 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ตัวพระราชบัญญัติถือเป็นสาธารณสมบัติ แต่เครื่องหมายที่ พรบ บัญญัติถือเป็นสาธารณสมบัติหรือไม่ และถ้าถือเป็นสาธารณสมบัติจริง เหตุใดจึงมีการบัญญัติ ห้ามมิให้ผู้อื่นใช้ก่อนได้รับการอนุญาตจากหน่วยงาน ห้ามไม่ให้มีการดัดแปลงแก้ไขเครื่องหมายราชการ รวมถึงกำหนดบทลงโทษ แบบนี้เรียกว่าเป็นสาธารณสมบัติจริงหรือ11:33, 24 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

คุณครวญจะมีที่อยู่ด้วยนะค่ะ

แหล่งอ้างอิงครบแล้ว[แก้]

ตอนนี้ผมได้หาแหล่งอ้างอิงมาใส่ท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิงครบแล้วครับ พร้อมจะเป็นบทความคัดสรรแล้วครับ--114.109.116.11 18:12, 19 มกราคม 2557 (ICT)