พูดคุย:ตำลึง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำลึง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพฤกษาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับพืชและพฤกษศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ตำลึง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ตำลึง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสมุนไพรและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสมุนไพร ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ตำลึง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ตำลึง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิเภสัชกรรมและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับศาสตร์ทางเภสัชกรรม อาทิ ยา เครื่องยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเคมีที่นำมาปรุงแต่งเป็นยา กระบวนการผลิตและบริหารด้านยา ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ตำลึง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

แหล่งอ้างอิงเชื่อถือได้หรือ?[แก้]

แหล่งอ้างอิงที่ใช้ในบทความมีลักษณะเป็นผลงานนักเรียน ไม่ทราบว่าจะเหมาะสมตามนโยบายวิกิพีเดียหรือไม่ --Horus | พูดคุย 23:32, 11 กรกฎาคม 2552 (ICT)

คุณต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนครับว่า "ไม่มีแหล่งอ้างอิงใดที่เชื่อถือได้หมดใจ" แม้ว่าแหล่งอ้างอิงนั้นจะเป้นบทความที่เขียนโดยนักวิชาการหรือจากวารสารทางวิชาการ
บทความนักเรียน คุณอาจจะหมายถึง ไทยกู้ดวิว ซึ่งตามหลักแล้วไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่รู้ว่าใครเขียนกันแน่ แต่เรียกได้ว่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างเสถียรครับ
ขอย้ำให้เข้าใจตรงนี้นะครับว่า จุดประสงค์ของการอ้างอิงจริงจริงคือ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นต่อไปได้ว่า คนเขียนบทความนี้นั้น "มั่วหรือเปล่า" ตัวอย่างเช่น เขียนว่า "ก มีความสัมพันธ์กับ ข" แล้วอ้างอิงเว็บ ค แต่ในเว็บ ค ไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ก กับ ข เลย แค่เขียนถึง ก หรือ ข มันก็เท่านั้นเอง
ดังนั้น จงอย่าถามถึงความน่าเชื่อถือ เพราะมันไม่มีอะไรที่น่าเชื่อถือได้หมดใจมาแต่ต้นอยู่แล้ว แต่จงมองว่า
  1. เป็นแหล่งข้อมูลที่เสถียรหรือไม่
  2. ตัวเว็บเอง ดูแล้วพอน่าเชื่อถือหรือเปล่า อย่าง พวกบล็อก อะไรพวกนี้ ไม่น่าจะยอมรับได้อยู่แล้ว
    • แต่ ไทยกู้ดวิว ผมว่ายอมรับได้ ถึงแม้ว่าจะชอบมาลอกวิกิพีเดียไปก็เถอะ
  3. อันนี้สำคัญที่สุด แหล่งข้อมูล กล่าวอย่างที่ในตัวบทความกล่าวจริงหรือไม่
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:49, 11 กรกฎาคม 2552 (ICT)

อันนี้แถมให้อีกนิดนะครับ ครั้งหนึ่ง นพ. ชาวญี่ปุ่นนาม โนงุจิ ฮิเดโยะ (ช่วงต้น ศตวรรษที่ ๒๐) เนี่ยเคยได้รับการเสนอชื่อให้ชิงรางวัลโนเบลนะครับ แต่หลังจากที่แกเสียชีวิต งานของแกถูกปฏิเสธเสียหลายส่วนเลย (แต่มันช่วยไม่ได้หนิ แกพยายามจะค้นหาต้นตอโรคไข้เหลืองจนป่วยตายด้วยโรคไข้เหลืองเสียเอง แต่เจ้าต้นตอของโรคมันคือไวรัส ซึ่งคนสมัยนั้นไม่รู้จักกัน มันช่วยไม่ได้จริงจริง) แต่นี่เป็นสิ่งยืนยันคำพูดข้องบทของผมนะครับว่า "ไม่มีแหล่งอ้างอิงใดที่เชื่อถือได้หมดใจ" มาแต่ต้นอยู่แล้ว --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:03, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)

สุดท้าย อยากจะเน้นว่า วิกิพีเดีย ไม่มีความน่าเชื่อถือมาแต่ต้นอยู่แล้ว และวิกิพีเดียเองก็ไม่ได้บอกให้ใคร ๆ เชื่อวิกิพีเดียด้วย ดังนั้น อย่าพยายามมุ่งเน้นไปที่เรื่องของความน่าเชื่อถือของแหล่งอ้างอิงให้มากเลยครับ ขอเพียงเข้าข่าวว่ายอมรับได้ ก็พอแล้ว การมีอยู่ของข้อมูลน่าจะเป็นสิ่งทำคัญกว่าการมองเพียงว่า มันดูไม่น่าเชื่อถือแล้วกวาดทิ้งจนเรียบวุธนะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:09, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)