ตำลึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำลึง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Coccinia
สปีชีส์: C.  grandis
ชื่อทวินาม
Coccinia grandis
(L.) J.Voigt, Bryonia grandis L., Coccinia cordifolia auct. non (L.) Cogn., Coccinia indica Wight & Arn.

ตำลึง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis L. Voigt) เป็นไม้เลื้อยในวงศ์แตง ที่มีมือเกาะใช้สำหรับเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะ[แก้]

ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4–8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของนกนานาชนิด[1]

การเพาะพันธุ์[แก้]

  • ใช้เมล็ดจากผลแก่หยอดลงในหลุม ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย หลังจากที่ต้นกล้างอกก็ให้หาไม้มาปลักเพื่อให้ต้นตำลึงใช้เลื่อย
  • นำเถาแก่มาตัดให้ได้ขนาด 4-6 นิ้ว ปักลงในถุงเพาะชำ หลังจากรากและใบงอกแล้วก็นำไปปลูกลงหลุมตวย

สารเคมี[แก้]

ในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส ช่วยในการย่อยแป้ง และในตำลึงก็มีสารอาหารชื่อว่าบีตา-แคโรทีน

ประโยชน์[แก้]

สรรพคุณทางยา[แก้]

  • ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
  • เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
  • ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
  • รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
  • น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ประกอบอาหาร[แก้]

ยอดนำไปใส่ในแกงจืดกับหมูบะช่อ ผลตำลึงอ่อนรับประทานได้ รสหวาน ถ้าแก่แล้วจะออกรสขม ผลตำลึงอ่อนนำไปแกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน นำไปแช่อิ่มหรือดองแบบเดียวกับแตงกวา [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ลอตระกูล, วันทนีย์. "ตำลึง". oer.learn.in.th (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-08-09.
  2. นิดดา หงส์วิวัฒน์. ตำลึง เจ้าแห่งวิตามินเอในผักสีเขียว. ครัว.ปีที่ 18 ฉบับที่ 205 กรกฎาคม 2554 หน้า 24