ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


==ครอบครัว==
==ครอบครัว==
เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ ลักลอบได้เสียกับ “'''จ้อย'''” เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อย พระมารดาของ[[หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล]] ขณะไปอยู่วังดำรงสถิตของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้กำเนิดโอรสคนแรก<ref>ชีวประวัตินักเขียน "ยาขอบ" (นาย[[โชติ แพร่พันธุ์]] .ชมรมนักเขียนต้นฉบับ )</ref> คือ
เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ ลักลอบได้เสียกับ “'''จ้อย'''” เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อย พระมารดาของ[[หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล]] ขณะไปอยู่[[วังดำรงสถิต]]ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้กำเนิดโอรสคนแรก<ref>ชีวประวัตินักเขียน "ยาขอบ" (นาย[[โชติ แพร่พันธุ์]] .ชมรมนักเขียนต้นฉบับ )</ref> คือ
* เจ้าอินทรเดช เทพวงศ์ หรือ [[โชติ แพร่พันธุ์]] เจ้าของนามปากกา '''ยาขอบ''' สมรสกับจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตร 1 คน คือ
* เจ้าอินทรเดช เทพวงศ์ หรือ [[โชติ แพร่พันธุ์]] เจ้าของนามปากกา '''ยาขอบ''' สมรสกับจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตร 1 คน คือ
# มานะ แพร่พันธุ์
# มานะ แพร่พันธุ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:41, 22 มกราคม 2562

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์
ไฟล์:เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์.jpg
โอรสเจ้านครแพร่
พิราลัยพ.ศ. 2463
หม่อม
  • หม่อมจ้อย
พระบุตรเจ้าอินทรเดช เทพวงศ์
เจ้าอินทร์ศร เทพวงศ์
เจ้าอินทร์ทรงรัศมี เทพวงศ์
ราชวงศ์ราชวงศ์เทพวงศ์
พระบิดาเจ้าพิริยเทพวงษ์
พระมารดาแม่เจ้าบัวไหลราชเทวี

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ หรือ''เจ้าอินทร์แปง'' เป็นราชโอรสองค์เดียวในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 (องค์สุดท้าย) กับแม่เจ้าบัวไหล ราชเทวีในเจ้าพิริยเทพวงษ์ ผู้มีสิทธิในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ถัดไปหากไม่เกิดการจาลาจลในปี พ.ศ. 2445[1]

พระประวัติ

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ เป็นราชโอรสองค์เดียวในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 กับแม่เจ้าบัวไหล ราชเทวี มีพระเชษฐภคินี คือ

  • เจ้ากาบคำ
  • เจ้าเวียงชื่น
  • เจ้าสุพรรณวดี
  • เจ้ายวงคำ
  • เจ้ายวงแก้ว
  • เจ้าหอมนวล

เป็นรัชทายาทผู้ที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ถัดไปหากไม่เกิดการจาลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 เจ้าพิริยเทพวงษ์ต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และไม่ได้กลับมาอีกเลย จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยที่นั่นในปี พ.ศ. 2455 ส่วนแม่เจ้าบัวไหล และเจ้าอินทร์แปลงพร้อมด้วยบุตรหลานองค์อื่นๆได้อพยพไปอยู่กรุงเทพฯ ตามพระบรมราชโองการ ภายใต้การควบคุมดูแลของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นเวลา 4-5 ปี จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนบ้านเมืองได้[2] และหลังจากเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ทางกรุงเทพฯก็ได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่นับแต่นั้น

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2463 ขณะไปเยี่ยมโชติ แพร่พันธุ์ บุตรชายคนโตที่อยู่กรุงเทพ และได้จัดพิธีฌาปณกิจ ณ เมรุวัดสระเกศ กรุงเทพฯ

ครอบครัว

เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ ลักลอบได้เสียกับ “จ้อย” เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อย พระมารดาของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ขณะไปอยู่วังดำรงสถิตของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้กำเนิดโอรสคนแรก[3] คือ

  • เจ้าอินทรเดช เทพวงศ์ หรือ โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา ยาขอบ สมรสกับจรัส แพร่พันธุ์ มีบุตร 1 คน คือ
  1. มานะ แพร่พันธุ์

ภายหลังเจ้าอินทร์แปลงกับจ้อยได้เลิกรากัน ต่อมาเจ้าอินทร์แปลงได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนมาอยู่เมืองนครแพร่ และได้เสกสมรสกับ “เจ้าคำเกี้ยว วงศ์พระถาง” (ธิดาเจ้าวงศ์ กับเจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง) แต่ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน ต่อมาได้เสกสมรสอีกครั้งกับ“เจ้าเทพเกษร ณ น่าน” (ราชธิดาในพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน กับแม่เจ้ายอดหล้า) มีโอรสด้วยกัน 2 คน คือ

  • เจ้าอินทร์ศร เทพวงศ์ สมรสกับคำป้อ เทพวงศ์ มีธิดา 2 คน คือ
  1. มาลี ถนอมคุณ (เทพวงศ์)
  2. มาลัย รูปวิเชตร (เทพวงศ์)
  • เจ้าอินทร์ทรงรัศมี เทพวงศ์ สมรสกับอุไร เทพวงศ์ มีบุตร 1 คน คือ
  1. จงรักษ์ เทพวงศ์

การทำงาน

เจ้าอินทร์แปลง เคยรับราชการในกรมมหาดเล็กที่กรุงเทพฯ และในปีพ.ศ. 2458 ท่านได้ถวายฎีกาขอพระบรมราชานุญาตรับสัมปทานป่าไม้ป่าห้วยแม่แฮด เมืองนครแพร่


ป่าไม้เมืองแพร่ยังมีว่างอยู่เท่านี้ นอกนั้นตกเป็นของชาวต่างประเทศเช่าทำ คนพื้นเมืองไม่มีที่อาไศรยหากิน แม้อาไศรยเขาบ้างก็ได้แต่นำช้างของตนไปรับจ้างลากลงมาจากลำห้วย ได้ประโยชน์ย่อมเยาว์แพ้เปรียบชาวต่างประเทศยิ่งนัก จึงขอพระราชทานเช่าทำป่า 3 รายนี้ (ตำบลแม่แฮด ห้วยม่วง ห้วยรากไม้) มีกำหนด 30 ปี

— นายอินแปลง
บุตรเจ้าพิริยเทพวงษ์

โดยเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า


ให้นายอินแปลงไปหาเสนาบดีมหาดไทยเพื่อจะได้พูดคุยกันอีกคราว 1 จะดี

— ร.6
พระราชกระแส

แต่ทว่าผลการเจรจาเป็นอย่างไรไม่มีรายละเอียด เพราะสุดท้ายรัฐบาลก็ไม่ได้อนุญาตให้ทำสัมปทาน[4]

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. เจ้าพิริยเทพวงษ์ (ทายาท).หมู่บ้าน วัง ฟ่อน
  2. ประวัติแม่เจ้าบัวไหล . จากเว็บไต์โลกล้านนา
  3. ชีวประวัตินักเขียน "ยาขอบ" (นายโชติ แพร่พันธุ์ .ชมรมนักเขียนต้นฉบับ )
  4. ภาพเก่า เล่าอดีต ตอนที่ 5 เมืองแพร่ เมืองไม้สัก .ชัยวัฒิ ไชยชนะ .ค้นหา 18 กันยายน พ.ศ. 2559