ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหลาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| name = งูหลาม
| name = งูหลาม
| status = nt
| status = nt
| status_ref = <ref name=IUCN>{{IUCN| id = 193451| taxon = ''Python bivittatus''| assessors = Stuart, B., Nguyen, T.Q., Thy, N., Grismer, L., Chan-Ard, T., Iskandar, D., Golynsky, E. & Lau, M.W.N.| assessment_year = 2012| version = 2012.1| accessdate = 17 October 2012}}</ref>
| status_ref = <ref name="iucn">[http://www.iucnredlist.org/details/19023/0 จาก [[IUCN]] {{en}}]</ref>
| status_system = iucn2.3
| status_system = iucn2.3
| image = Everglades2 013.jpg
| image = Everglades2 013.jpg
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
| binomial = ''Python bivittatus''
| binomial = ''Python bivittatus''
| binomial_authority = ([[Kuhl]], [[ค.ศ. 1820|1820]])
| binomial_authority = ([[Kuhl]], [[ค.ศ. 1820|1820]])
| synonyms = *''Python molurus bivittatus'' <small>[[Heinrich Kuhl|Kuhl]], 1820</small><ref>{{NRDB species|genus=Python |species=bivittatus }}</ref>
| synonyms = *''Python molurus bivittatus'' <small>[[Heinrich Kuhl|Kuhl]], 1820</small>
|synonyms_ref = <ref name=IUCN/>
|range_map = Python bivittatus Area.svg
|range_map = Python bivittatus Area.svg
|range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
|range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:26, 20 ธันวาคม 2557

งูหลาม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Pythonidae
สกุล: Python
สปีชีส์: P.  bivittatus
ชื่อทวินาม
Python bivittatus
(Kuhl, 1820)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[1]
  • Python molurus bivittatus Kuhl, 1820

งูหลาม หรือ งูหลามพม่า (อังกฤษ: Burmese python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python bivittatus) เป็นงูขนาดใหญ่ ไม่มีพิษ

ลักษณะและความยาว

มีลักษณะคล้ายกับงูเหลือม (P. reticulatus) ซึ่งเป็นงูในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่างูเหลือม โดยความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร (พบใหญ่ที่สุด 5.18 เมตร น้ำหนัก 74 กิโลกรัม ที่อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ สหรัฐอเมริกา[2] ทำลายสถิติตัวที่มีความยาว 5 เมตร ในประเทศพม่า)[3] มีลำตัวที่อ้วนป้อมกว่า อีกทั้งหางก็สั้นกว่า และมีขีดที่บนหัวเป็นสีขาว เรียกว่า "ศรขาว" อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างจากงูเหลือม รวมทั้งอุปนิสัยที่ไม่ดุต่างจากงูเหลือม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานมากกว่า นิยมกันมากในตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกและลวดลายแตกต่างไปจากปกติ ซึ่งสวนสัตว์นครราชสีมานับเป็นสถานที่แห่งแรกของโลก ที่สามารถเพาะพันธุ์งูหลามเผือกได้สำเร็จ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553[4]

งูหลามทอง ซึ่งเป็นงูที่สีกลายไปจากปกตินิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและจัดแสดงตามสวนสัตว์

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของพม่า สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ ยกเว้น ภาคใต้ ออกไข่ครั้งละประมาณ 40 ฟอง ระยะฟักเป็นตัวประมาณ 2 เดือน มีอายุยืนประมาณ 15 ปี มีพฤติกรรมการหากินคล้ายคลึงกับงูเหลือม แต่มักจะหากินบนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้นต้นไม้หรือลงน้ำเหมือนงูเหลือม[5]

เคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของงูหลามอินเดีย (P. molurus) จากการศึกษาโดยละเอียดแล้ว ด้วยความแตกต่างในหลาย ๆ ส่วน ชนิดย่อย P. molurus bivittatus ที่เคยใช้ จึงถูกยกให้เป็นชนิดต่างหากและใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างในปัจจุบัน [6]

สำหรับในประเทศไทย งูหลามจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535

การเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันงูหลามได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้วในหลายพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ด้วยการมีนำเข้าไปในฐานะสัตว์เลี้ยง ซึ่งได้มีหลายส่วนถูกปล่อยหรือหลุดออกจากที่เลี้ยงได้ มีรายงานว่าได้กินแอลลิเกเตอร์ไปทั้งตัวจนท้องแตกตาย ในอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ ในพื้นที่ชุ่มน้ำของรัฐฟลอริดา [7]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Stuart, B., Nguyen, T.Q., Thy, N., Grismer, L., Chan-Ard, T., Iskandar, D., Golynsky, E. & Lau, M.W.N. (2012). "Python bivittatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 17 October 2012.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. ฮือฮา! พบงูหลามยักษ์ยาวเกือบ 5.2 เมตรที่ฟลอริดา ชี้ตัวใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์
  3. จับงูหลามยักษ์ยาวกว่า 5 เมตรในพม่า มอบสวนสัตว์ย่างกุ้ง จากผู้จัดการออนไลน์
  4. เพาะสำเร็จแล้วงูหลามทองแท้
  5. งูหลาม
  6. Jacobs, H.J., M. Auliya & W. Böhme. 2009. Zur Taxonomie des Dunklen Tigerpythons, Python molurus bivittatus Kuhl, 1820, speziell der Population von Sulawesi. Sauria, 31(3): 5-16
  7. งูเหลือมพม่า ในอุทยานแห่งชาติ Everglades

แม่แบบ:Link FA