ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาอัลไต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: li:Altaïsche taole
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[หมวดหมู่:ตระกูลภาษาอัลไตอิก| ]]
[[หมวดหมู่:ตระกูลภาษาอัลไตอิก| ]]
{{Link GA|de}}
{{Link GA|de}}

[[ar:لغات ألطية]]
[[ast:Familia altaica]]
[[az:Altay dilləri]]
[[bat-smg:Altajaus kalbas]]
[[be-x-old:Алтайскія мовы]]
[[bg:Алтайски езици]]
[[br:Yezhoù altaek]]
[[ca:Llengües altaiques]]
[[cs:Altajské jazyky]]
[[da:Altaiske sprog]]
[[de:Altaische Sprachen]]
[[dsb:Altajske rěcy]]
[[el:Αλταϊκές γλώσσες]]
[[en:Altaic languages]]
[[eo:Altaja lingvaro]]
[[es:Lenguas altaicas]]
[[et:Altai keeled]]
[[eu:Altaitar hizkuntzak]]
[[fa:زبان‌های آلتایی]]
[[fi:Altailaiset kielet]]
[[fr:Langues altaïques]]
[[fy:Altayske talen]]
[[ga:Teangacha Altaecha]]
[[gag:Altay dilleri]]
[[gv:Çhengaghyn Altaiagh]]
[[he:שפות אלטאיות]]
[[hi:अल्ताई भाषा-परिवार]]
[[hr:Altajski jezici]]
[[hsb:Altajske rěče]]
[[hu:Altaji nyelvcsalád]]
[[hy:Ալթայան լեզուներ]]
[[id:Bahasa Altai]]
[[io:Altaika linguaro]]
[[it:Lingue altaiche]]
[[ja:アルタイ諸語]]
[[ka:ალთაური ენები]]
[[kk:Алтай тілдері]]
[[kn:ಆಲ್ಟಾಯಿಕ್ ಭಾಷೆಗಳು]]
[[ko:알타이어족]]
[[ku:Zimanên altayî]]
[[la:Linguae Altaicae]]
[[li:Altaïsche taole]]
[[lij:Lengue altaiche]]
[[lt:Altajaus kalbos]]
[[lv:Altajiešu valodas]]
[[mhr:Алтай йылме-влак]]
[[mk:Алтајски јазици]]
[[ml:അൾതായിക്]]
[[mn:Алтай хэлний язгуур]]
[[ms:Bahasa-bahasa Altaik]]
[[nl:Altaïsche talen]]
[[nn:Altaiske språk]]
[[no:Altaiske språk]]
[[oc:Lengas altaïcas]]
[[pl:Języki ałtajskie]]
[[pms:Lenghe altàiche]]
[[pt:Línguas altaicas]]
[[qu:Altay rimaykuna]]
[[ro:Limbi altaice]]
[[ru:Алтайские языки]]
[[sh:Altajski jezici]]
[[simple:Altaic languages]]
[[sk:Altajské jazyky]]
[[sl:Altajski jeziki]]
[[sr:Алтајски језици]]
[[stq:Altaiske Sproaken]]
[[sv:Altaiska språk]]
[[tk:Altaý dilleri]]
[[tr:Altay dilleri]]
[[tt:Алтай телләре]]
[[ug:ئالتاي تىللىرى سىستېمىسى]]
[[uk:Алтайські мови]]
[[ur:الطائی زبانیں]]
[[uz:Oltoy tillari]]
[[vi:Hệ ngôn ngữ Altai]]
[[yo:Àwọn èdè Altaic]]
[[zh:阿尔泰语系]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:05, 9 มีนาคม 2556

ตระกูลภาษาอัลไตอิก (อังกฤษ: Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก

ลักษณะของภาษาในตระกูล

ภาษาต่างๆ ในตระกูลภาษานี้มีลักษณะที่ร่วมกันอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • การเรียงลำดับคำแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
  • ไม่ระบุเพศ พจน์ของคำ
  • มีการใช้คำปรบท (Postposition) ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกันกับคำบุพบท เพียงแต่ว่าจะปรากฏอยู่ด้านหลังของคำที่จะกล่าวถึง
  • ไม่มีคำประพันธสรรพนาม (relative pronouns)
  • ไม่ปรากฏคำกิริยา “มี” แต่ใช้การเติมปัจจัย (Suffix) หรือสัมพันธการก (Genitive case) ท้ายคำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทน
  • เป็นภาษารูปคำติดต่อ (Agglutinative language) กล่าวคือ มีการเติมหน่วยคำอิสระหรืออนุภาค (Particle) ท้ายคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำในระบบวากยสัมพันธ์
  • มีความสอดคล้องกลมกลืนของสระ (Vowel harmony) กล่าวคือ ระบบสระในคำหนึ่งคำจะต้องเป็นสระประเภทเดียวกัน
  • ไม่มีการเติมอุปสรรคแต่ใช้ปัจจัยท้ายคำเพื่อบอกหน้าที่คำในประโยค
  • ระบบเสียงพยัญชนะไม่สลับซับซ้อนรวมทั้งเป็นคำแบบพยางค์ปิดเป็นส่วนใหญ่

สาขาย่อย

ตระกูลภาษาอัลตาอิกนี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ ได้ดังนี้

สาขาภาษาเตอร์ก (Turkic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 80 ล้านคน ใช้มากในประเทศตุรกี เอเชียกลาง สาธารณรัฐยาคุตในประเทศรัสเซีย และมณฑลซินเจียงในประเทศจีน สาขานี้แบ่งออกได้เป็น

สาขาภาษามองโกล (Mongolic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 3 ล้านคน ใช้มากในประเทศมองโกเลีย มณฑลมองโกเลียใน ดินแดนจุงกาเรียในประเทศจีน สาธารณรัฐคาลมิเกียและไซบีเรียในประเทศรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

  • กลุ่มภาษามองโกลตะวันตกหรือออยรัท (Western Mongol or Oirat) ได้แก่ ภาษาออยรัท ภาษาคาลมิก ภาษาตอร์กุต
  • กลุ่มภาษามองโกลตะวันออกหรือคาลฆา (Eastern Mongol or Khalkha) ได้แก่ ภาษาคาลฆา ภาษาเบอร์ยัท ภาษาคอร์ชิน ภาษาออร์ดอส ภาษาทูเมต ภาษาฌาฮาร์
  • กลุ่มภาษาต้าเอ้อร์ (Daur) ได้แก่ ภาษาต้าเอ้อร์

สาขาภาษาตุงกุส (Tungusic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 80,000 คน ใช้มากในไซบีเรียตะวันออก และแถบแมนจูเรียในประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • กลุ่มภาษาตุงกุสเหนือ (Northern Tungus) ได้แก่ ภาษาอีเวนกิ ภาษาอีเวน ภาษาเนกิดัล
  • กลุ่มภาษาตุงกุสใต้ (Southern Tungus) ได้แก่ ภาษาแมนจู ภาษาพูยอ ภาษาซีเปอ ภาษานานาจ ภาษาโอโรเชิน ภาษาอูดิเฮ

สาขาภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่น (Korean-Japonic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 180 ล้านคนในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอกินาวาแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม (Proto-Altaic) เดียวกัน

แม่แบบ:Link GA