ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อู่ เหลียนเต๋อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9294448 สร้างโดย 203.159.251.254 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
หกดหกดหกด
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
}}
}}
{{Chinese| t=伍連德|s=伍连德|p=Wu Liándé|w=Wu<sup>3</sup> Lien<sup>2</sup>-tê<sup>2</sup>|poj=Gó͘ Liân-tiak |j= Ng<sup>5</sup> Lin<sup>4</sup> Dak<sup>1</sup>}}
{{Chinese| t=伍連德|s=伍连德|p=Wu Liándé|w=Wu<sup>3</sup> Lien<sup>2</sup>-tê<sup>2</sup>|poj=Gó͘ Liân-tiak |j= Ng<sup>5</sup> Lin<sup>4</sup> Dak<sup>1</sup>}}
'''อู่ เหลียนเต๋อ''' ({{zh|t=伍連德}}; Wu Lien-teh หรือ Wu Lian De) (10 มีนาคม 1879 – 21 มกราคม 1960) หรือรู้จักในชื่อ '''โก้ หลีน ตัก''' (Goh Lean Tuck) ใน[[ภาษาหมิ่นใต้|ภาษาหมิ่น]] และ '''อึ๋ง หลี่น ตัก''' (Ng Leen Tuck) ใน[[ภาษากวางตุ้ง]] เป็นแพทย์ชาวมลายูผู้เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการ[[สาธารณสุข]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง[[Manchurian plague|โรคระบาดมันจูเรีย]]เมื่อปี 1910–11
'''อู่ เหลียนเต๋อ''' ({{zh|t=伍連德}}; Wu Lien-teh หรือ Wu Lian De) (10 มีนาคม 1879 – 21 มกราคม 1960) หรือรู้จักในกดหดหกดกหดดกหดชื่อ '''โก้ หลีน ตัก''' (Goh Lean Tuck) ใน[[ภาษาหมิ่นใต้|ภาษาหมิ่น]] และ '''อึ๋ง หลี่น ตัก''' (Ng Leen Tuck) ใน[[ภาษากวางตุ้ง]] เป็นแพทย์ชาวมลายูผู้เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการ[[สาธารณสุข]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง[[Manchurian plague|โรคระบาดมันจูเรีย]]เมื่อปี 1910–11


อู่เป็นนักเรียนแพทย์เชื้อสายจีนคนแรกที่ได้เข้าศึกษาใน[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]]<ref>Wu Lien-Teh, 2014. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Penang: Areca Books.</ref> และเป็นชาวมลายูคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[[รางวัลโนเบล]][[Nobel Prize in Physiology or Medicine|สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]ในปี 1935<ref>{{cite web|last=Wu|first=Lien-Teh|title=The Nomination Database for the Nobel Prize in Physiology or Medicine, 1901-1953|url=https://www.nobelprize.org/nomination/archive/show.php?id=11153}}</ref>
อู่เป็นนักเรียนแพทย์เชื้อสายจีนคนแรกที่ได้เข้าศึกษาใน[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]]<ref>Wu Lien-Teh, 2014. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Penang: Areca Books.</ref> และเป็นชาวมลายูคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[[รางวัลโนเบล]][[Nobel Prize in Physiology or Medicine|สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]ในปี 1935<ref>{{cite web|last=Wu|first=Lien-Teh|title=The Nomination Database for the Nobel Prize in Physiology or Medicine, 1901-1953|url=https://www.nobelprize.org/nomination/archive/show.php?id=11153}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:17, 10 มีนาคม 2564

ในบทความนี้นามสกุลคือ อู่

นายแพทย์

อู่ เหลียนเต๋อ

MA, MD Cantab., LLD
伍連德
นพ.อู่ เหลียนเต๋อ
เกิด10 มีนาคม ค.ศ. 1879(1879-03-10)
ปีนัง
เสียชีวิต21 มกราคม ค.ศ. 1960(1960-01-21) (80 ปี)
ปีนัง
ชื่ออื่นโก้ หลีน ตัก, อึ๋ง หลี่น ตัก
พลเมืองพลเมืองของสหราชอาณาจักรและอาณานิคม
การศึกษาวิทยาลัยเอมมานูเอล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
อาชีพแพทย์, นักวิจัย, นักเขียนภาพ
ปีปฏิบัติงาน1903–1959
มีชื่อเสียงจากการทำงานในโรคระบาดมันจูเรีย ปี 1910–11
ผลงานเด่นPlague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician
อู่ เหลียนเต๋อ
อักษรจีนตัวเต็ม伍連德
อักษรจีนตัวย่อ伍连德

อู่ เหลียนเต๋อ (จีน: 伍連德; Wu Lien-teh หรือ Wu Lian De) (10 มีนาคม 1879 – 21 มกราคม 1960) หรือรู้จักในกดหดหกดกหดดกหดชื่อ โก้ หลีน ตัก (Goh Lean Tuck) ในภาษาหมิ่น และ อึ๋ง หลี่น ตัก (Ng Leen Tuck) ในภาษากวางตุ้ง เป็นแพทย์ชาวมลายูผู้เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างโรคระบาดมันจูเรียเมื่อปี 1910–11

อู่เป็นนักเรียนแพทย์เชื้อสายจีนคนแรกที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[1] และเป็นชาวมลายูคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 1935[2]

ชีวิตและการศึกษา

อู่เกิดที่เมืองปีนัง อาณานิคมของสหราชอาณาจักรในแหลมมลายู บิดาเป็นชาวจีนอพยพจากไถชาน มีอาชีพเป็นข่างทอง[3][4] มารดามีเชื้อสายฮักการุ่นที่สอง[5] อู่มีพี่น้องเป็นผู้ชายสี่คนและผู้หญิงหกคน อู่เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนปีนังฟรีสกูล[4]

อู่เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเอมมานูเอล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1896[6] หลังเขาได้รับทุนการศึกษาของพระบรมราชินีนาถสำหรับอาณานิคมอังกฤษที่มลายูและสิงคโปร์[3] เขามีชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในรั่วมหาวิทยาลัย โดยได้รับรางวัลและทุนการศึกษาจำนวนมาก เขาศึกษาระดับชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี ลอนดอน จากนั้นเขาศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล, สถาบันพาสเตอร์, มหาวิทยาลัยฮอลล์ และวิทยาลัยเซลังกอร์[3]

อู่เดินทางกลับมาที่อาณนิคมมลายูในปี 1903 ไม่นานหลังจากนั้นได้สมรสกับ รูธ ชู่เชียง หวง (Ruth Shu-chiung Huang) ผู้ซึ่งพี่/น้องสาวของเธอสมรสกับ ลิ้ม บุน เกง แพทย์ผู้สนับสนุนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสิงคโปร์ในเวลาต่อมา[4] ทั้งคู่เป็นธิดาของหว่อง ไน สยง ผู้นำปฏิวัติจีนและนักการศึกษาที่ย้ายมาอยู่ในบริเวณนี้ในราวปี 1901[4]

อู่และครอบครัวเดินทางกลับไปจีนในปี 1907[4] ที่ซึ่งขณะเขาอยู่ในประเทศจีน ภรรยาและบุตรสองในสามคนของเขาเสียชีวิตที่นั่น[4] ต่อมาอู่ได้สมรสใหม่และมีบุตรธิดารวมสี่คน

อู่ถูกคุมขังระหว่างการรุกรานมันจูเรียของกองทัพญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 1931 ด้วยข้อหาต้องสงสัยเป็นสายลับให้กับทางการจีน[4]

ในปี 1937 ระหว่างที่จีนส่วนใหญ่ถูกปกครองโดยญี่ปุ่นและการถดถอยของกลุ่มชาตินิยม อู่ถูกบีบบังคับให้หนีและกลับไปยังมลายู โดยไปอยู่อาศัยที่อิเปาะห์ ทั้งที่อยู่อาศัยและตำราการแพทย์จีนโบราณของเขาถูกเผาทำลาย[7][4] ในปี 1943 อู่ถูกกลุ่มต่อสู้ซ้ายจัดชาวมลายูจับเพื่อเรียกค่าไถ่ และเกือบถูกต้องโทษประหารชีวิตด้วยข้อหาสนับสนุนนักสู้ต่อต้านอำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังเขายอมจ่ายค่าไถ่ให้กับกลุ่มต่อสู้ดังกล่าว แต่เขารอดมาได้หลังเขาได้ช่วยรักษาเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นไว้[4]

การทำงาน

ในเดือนกันยายน 1903 อู่เข้าร่วมสถาบันวิจัยการแพทย์ในกัวลาลัมเปอร์ในฐานะนักเรียนวิจัยคนแรกของสถาบัน อู่ใช้ชีวิตช่วงต้นในวิชาชีพวิจัยของเขาในการศึกษาภาวะขาดไธอามีนและหนอนตัวกลม ก่อนที่จะเริ่มเปิดคลินิกรักษาเอกชนในปลายปี 1904 ที่เมืองปีนัง[5]

ฝิ่น

อู่เป็นหนึ่งในบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคมคนสำคัญในขณะนั้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1900s เขาเป็นเพื่อกับ Lim Boon Keng และ Song Ong Siang ผู้มีส่วนในการปฏิรูปสังคมพลเรือนสิงคโปร์ เขาเข้าร่วมกับทั้งสองคนในฐานะบรรณาธิการของ The Straits Chinese Magazine[4] และได้จัดตั้งสมาคมต่อต้านฝิ่นร่วมกับเพื่อน ๆ ขึ้นในปีนัง และจัดงานเสวนาระดับชาติเรื่องการต่อต้านฝิ่นในปี 1906 มีผู้เข้าร่วมราว 3000 คน[8][4]

อู่เริ่มทำงานให้กับรัฐบาลจีนในปี 1907 และได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์กองทัพที่เทียนจินในปี 1908[3]

โรคระบาดปอดบวม

วิชาชีพตอนปลาย

การเสียชีวิตและการเชิดชูเกียรติ

อู่ประกอบวิชาชีพแพทย์จนเขาเสียชีวิตด้วยวัย 80 ปี ที่ซึ่งไม่นานก่อนหน้า เขาพึ่งซื้อบ้านหลังใหม่ในปีนังเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณและพึ่งเขียนอัตชีวประวัติความยาว 667 หน้าของเขาเสร็จสมบูรณ์ในชื่อ Plague Fighter, the Autobiography of a Modern Chinese Physician[9] ในวันที่ 21 มกราคม 1960 เขาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองขณะอยู่ในบ้านพักของเขาที่ปีนัง[5]

อู่มอบชุดหนังสือสะสมของเขารวมกว่า 20,000 เล่ม ให้กับมหาวิทยาลัยนันยัง ที่ซึ่งต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์[5]

ในปี 2015 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์บินได้เปิดสถาบันอู่ เหลียนเต๋อ ซึ่งตั้งชื่อเพื่อระลึกถึงเขา[10] ในปี 2019 The Lancet เริ่มให้รางวัลประจำปี วคลีย์-อู่ เหลียนเต๋อ (Wakley-Wu Lien Teh Prize) โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่อู่และ ธอมัส วคลีย์[11]

ในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้มีการหยิบยกเรื่องราวของอู่มาเล่าขาน และมีการถกเถียงถึงความสำคัญของเขาต่อวงการระบาดวิทยาที่นำมาใช้ในการรับมือกับโรคโควิด-19[12][13][14]

อ้างอิง

  1. Wu Lien-Teh, 2014. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Penang: Areca Books.
  2. Wu, Lien-Teh. "The Nomination Database for the Nobel Prize in Physiology or Medicine, 1901-1953".
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Obituary: Wu Lien-Teh". The Lancet. Originally published as Volume 1, Issue 7119 (ภาษาอังกฤษ). 275 (7119): 341. 6 February 1960. doi:10.1016/S0140-6736(60)90277-4. ISSN 0140-6736.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 Lee, Kam Hing; Wong, Danny Tze-ken; Ho, Tak Ming; Ng, Kwan Hoong (2014). "Dr Wu Lien-teh: Modernising post-1911 China's public health service". Singapore Medical Journal. 55 (2): 99–102. doi:10.11622/smedj.2014025. PMC 4291938. PMID 24570319.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Wu Lien Teh 伍连徳 – Resource Guides". National Library Singapore (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 26 September 2018. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
  6. "Tuck, Gnoh Lean (Wu Lien-Teh) (TK896GL)". A Cambridge Alumni Database. University of Cambridge.
  7. W.C.W.N. (20 February 1960). "Obituary: Dr Wu Lien-Teh". The Lancet. Originally published as Volume 1, Issue 7121 (ภาษาอังกฤษ). 275 (7121): 444. doi:10.1016/S0140-6736(60)90379-2. ISSN 0140-6736.
  8. Cooray, Francis; Nasution Khoo Salma. Redoutable Reformer: The Life and Times of Cheah Cheang Lim. Areca Books, 2015. ISBN 9789675719202
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :5
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :7
  11. Wang, Helena Hui; Lau, Esther; Horton, Richard; Jiang, Baoguo (6 July 2019). "The Wakley–Wu Lien Teh Prize Essay 2019: telling the stories of Chinese doctors". The Lancet (ภาษาอังกฤษ). 394 (10192): 11. doi:10.1016/S0140-6736(19)31517-X. ISSN 0140-6736. PMID 31282345.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :6
  14. Toh, Han Shih (1 February 2020). "Lessons from Chinese Malaysian plague fighter for Wuhan virus". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Wu Lien-Teh, 1959. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Cambridge. (Reprint: Areca Books. 2014)
  • Yang, S. 1988. Dr. Wu Lien-teh and the national maritime quarantine service of China in 1930s. Zhonghua Yi Shi Za Zhi 18:29-32.
  • Wu Yu-Lin. 1995. Memories of Dr. Wu Lien-Teh: Plague Fighter. World Scientific Pub Co Inc.
  • Flohr, Carsten. 1996. The plague fighter: Wu Lien-teh and the beginning of the Chinese public health system. Annals of Science 53:361-80
  • Gamsa, Mark. 2006. The Epidemic of Pneumonic Plague in Manchuria 1910–1911. Past & Present 190:147-183
  • Lewis H. Mates, ‘Lien-Teh, Wu’, in Douglas Davies with Lewis H. Mates (eds), Encyclopedia of Cremation (Ashgate, 2005): 300–301. Lien-Teh, Wu
  • Penang Free School archive PFS Online