ข้ามไปเนื้อหา

อู่ เหลียนเต๋อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายแพทย์

อู่ เหลียนเต๋อ

MA, MD Cantab., LLD
伍連德
อู่ เหลียนเต๋อใน ค.ศ. 1935
เกิด10 มีนาคม ค.ศ. 1879(1879-03-10)
ปีนัง สเตรดเซ็ตเทิลเมนต์
เสียชีวิต21 มกราคม ค.ศ. 1960(1960-01-21) (80 ปี)
ปีนัง สหพันธรัฐมาลายา
สัญชาติมาลายา
ชื่ออื่นโก้ หลีน ตัก, อึ๋ง หลี่น ตัก
การศึกษาวิทยาลัยเอมมานูเอล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
อาชีพแพทย์, นักวิจัย, นักเขียนภาพ
ปีปฏิบัติงาน1903–1959
มีชื่อเสียงจากงานในกาฬโรคระบาดในแมนจูเรีย ค.ศ. 1910–11
ผลงานเด่นPlague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician
อู่ เหลียนเต๋อ
อักษรจีนตัวเต็ม伍連德
อักษรจีนตัวย่อ伍连德

อู่ เหลียนเต๋อ (จีน: 伍連德; Wu Lien-teh หรือ Wu Lian De; 10 มีนาคม 1879 – 21 มกราคม 1960) หรือรู้จักในชื่อ โก้ หลีน ตัก (Goh Lean Tuck) ในภาษาหมิ่น และ อึ๋ง หลี่น ตัก (Ng Leen Tuck) ในภาษากวางตุ้ง เป็นแพทย์ชาวมลายูผู้เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างกาฬโรคระบาดในแมนจูเรียเมื่อปี 1910–11

อู่เป็นนักเรียนแพทย์เชื้อสายจีนคนแรกที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[1] และเป็นชาวมลายูคนแรกที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 1935[2]

ชีวิตและการศึกษา

[แก้]

อู่เกิดที่เมืองปีนัง อาณานิคมของสหราชอาณาจักรในแหลมมลายู บิดาเป็นชาวจีนอพยพจากไถชาน มีอาชีพเป็นช่างทอง[3][4] มารดามีเชื้อสายฮักการุ่นที่สอง[5] อู่มีพี่น้องเป็นผู้ชายสี่คนและผู้หญิงหกคน อู่เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนปีนังฟรีสกูล[4]

อู่เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเอมมานูเอล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1896[6] หลังเขาได้รับทุนการศึกษาของพระบรมราชินีนาถสำหรับอาณานิคมอังกฤษที่มลายูและสิงคโปร์[3] เขามีชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในรั่วมหาวิทยาลัย โดยได้รับรางวัลและทุนการศึกษาจำนวนมาก เขาศึกษาระดับชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี ลอนดอน จากนั้นเขาศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล, สถาบันพาสเตอร์, มหาวิทยาลัยฮอลล์ และวิทยาลัยเซลังกอร์[3]

อู่เดินทางกลับมาที่อาณนิคมมลายูในปี 1903 ไม่นานหลังจากนั้นได้สมรสกับ รูธ ชู่เชียง หวง (Ruth Shu-chiung Huang) ผู้ซึ่งพี่/น้องสาวของเธอสมรสกับ ลิ้ม บุน เกง แพทย์ผู้สนับสนุนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสิงคโปร์ในเวลาต่อมา[4] ทั้งคู่เป็นธิดาของหว่อง ไน สยง ผู้นำปฏิวัติจีนและนักการศึกษาที่ย้ายมาอยู่ในบริเวณนี้ในราวปี 1901[4]

อู่และครอบครัวเดินทางกลับไปจีนในปี 1907[4] ที่ซึ่งขณะเขาอยู่ในประเทศจีน ภรรยาและบุตรสองในสามคนของเขาเสียชีวิตที่นั่น[4] ต่อมาอู่ได้สมรสใหม่และมีบุตรธิดารวมสี่คน

อู่ถูกคุมขังระหว่างการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 1931 ด้วยข้อหาต้องสงสัยเป็นสายลับให้แก่ทางการจีน[4]

ในปี 1937 ระหว่างที่จีนส่วนใหญ่ถูกปกครองโดยญี่ปุ่นและการถดถอยของกลุ่มชาตินิยม อู่ถูกบีบบังคับให้หนีและกลับไปยังมลายู โดยไปอยู่อาศัยที่อิเปาะห์ ทั้งที่อยู่อาศัยและตำราการแพทย์จีนโบราณของเขาถูกเผาทำลาย[7][4] ในปี 1943 อู่ถูกกลุ่มต่อสู้ซ้ายจัดชาวมลายูจับเพื่อเรียกค่าไถ่ และเกือบถูกต้องโทษประหารชีวิตด้วยข้อหาสนับสนุนนักสู้ต่อต้านอำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังเขายอมจ่ายค่าไถ่ให้แก่กลุ่มต่อสู้ดังกล่าว แต่เขารอดมาได้หลังเขาได้ช่วยรักษาเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นไว้[4]

การทำงาน

[แก้]

ในเดือนกันยายน 1903 อู่เข้าร่วมสถาบันวิจัยการแพทย์ในกัวลาลัมเปอร์ในฐานะนักเรียนวิจัยคนแรกของสถาบัน อู่ใช้ชีวิตช่วงต้นในวิชาชีพวิจัยของเขาในการศึกษาโรคเหน็บชาและหนอนตัวกลม ก่อนที่จะเริ่มเปิดคลินิกรักษาเอกชนในปลายปี 1904 ที่เมืองปีนัง[5]

ฝิ่น

[แก้]

อู่เป็นหนึ่งในบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคมคนสำคัญในขณะนั้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1900s เขาเป็นเพื่อกับ Lim Boon Keng และ Song Ong Siang ผู้มีส่วนในการปฏิรูปสังคมพลเรือนสิงคโปร์ เขาเข้าร่วมกับทั้งสองคนในฐานะบรรณาธิการของ The Straits Chinese Magazine[4] และได้จัดตั้งสมาคมต่อต้านฝิ่นร่วมกับเพื่อน ๆ ขึ้นในปีนัง และจัดงานเสวนาระดับชาติเรื่องการต่อต้านฝิ่นในปี 1906 มีผู้เข้าร่วมราว 3000 คน[8][4]

อู่เริ่มทำงานให้แก่รัฐบาลจีนในปี 1907 และได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์กองทัพที่เทียนจินในปี 1908[3]

โรคระบาดปอดบวม

[แก้]

วิชาชีพตอนปลาย

[แก้]

การเสียชีวิตและการเชิดชูเกียรติ

[แก้]

อู่ประกอบวิชาชีพแพทย์จนเขาเสียชีวิตด้วยวัย 80 ปี ที่ซึ่งไม่นานก่อนหน้า เขาพึ่งซื้อบ้านหลังใหม่ในปีนังเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณและพึ่งเขียนอัตชีวประวัติความยาว 667 หน้าของเขาเสร็จสมบูรณ์ในชื่อ Plague Fighter, the Autobiography of a Modern Chinese Physician[9] ระหว่างเริ่มต้นเกิดโรคระบาดปอดบวม ในมันจูเรียและมองโกเลีย มีผู้เสียชีวิตกว่า 60,000 ราย[10] ในวันที่ 21 มกราคม 1960 เขาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองขณะอยู่ในบ้านพักของเขาที่ปีนัง[5]

อู่มอบชุดหนังสือสะสมของเขารวมกว่า 20,000 เล่ม ให้แก่มหาวิทยาลัยหนานหยาง ที่ซึ่งต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์[5]

ในปี 2015 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์บินได้เปิดสถาบันอู่ เหลียนเต๋อ ซึ่งตั้งชื่อเพื่อระลึกถึงเขา[11] ในปี 2019 The Lancet เริ่มให้รางวัลประจำปี วคลีย์-อู่ เหลียนเต๋อ (Wakley-Wu Lien Teh Prize) โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่อู่และ ธอมัส วคลีย์[12]

ในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้มีการหยิบยกเรื่องราวของอู่มาเล่าขาน และมีการถกเถียงถึงความสำคัญของเขาต่อวงการระบาดวิทยาที่นำมาใช้ในการรับมือกับโรคโควิด-19[13][14][15][16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wu Lien-Teh, 2014. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Penang: Areca Books.
  2. Wu, Lien-Teh. "The Nomination Database for the Nobel Prize in Physiology or Medicine, 1901-1953".
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Obituary: Wu Lien-Teh". The Lancet. Originally published as Volume 1, Issue 7119 (ภาษาอังกฤษ). 275 (7119): 341. 6 February 1960. doi:10.1016/S0140-6736(60)90277-4. ISSN 0140-6736.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 Lee, Kam Hing; Wong, Danny Tze-ken; Ho, Tak Ming; Ng, Kwan Hoong (2014). "Dr Wu Lien-teh: Modernising post-1911 China's public health service". Singapore Medical Journal. 55 (2): 99–102. doi:10.11622/smedj.2014025. PMC 4291938. PMID 24570319.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Wu Lien Teh 伍连徳 – Resource Guides". National Library Singapore (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 26 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-26. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
  6. "Tuck, Gnoh Lean (Wu Lien-Teh) (TK896GL)". A Cambridge Alumni Database. University of Cambridge.
  7. W.C.W.N. (20 February 1960). "Obituary: Dr Wu Lien-Teh". The Lancet. Originally published as Volume 1, Issue 7121 (ภาษาอังกฤษ). 275 (7121): 444. doi:10.1016/S0140-6736(60)90379-2. ISSN 0140-6736.
  8. Cooray, Francis; Nasution Khoo Salma. Redoutable Reformer: The Life and Times of Cheah Cheang Lim. Areca Books, 2015. ISBN 9789675719202
  9. "Obituary: WU LIEN-TEH, M.D., Sc.D., Litt.D., LL.D., M.P.H". Br Med J (ภาษาอังกฤษ). 1 (5170): 429–430. 6 February 1960. doi:10.1136/bmj.1.5170.429-f. ISSN 0007-1447. PMC 1966655.
  10. Flohr, Carsten (1996). "The Plague Fighter: Wu Lien-teh and the beginning of the Chinese public health system". Annals of Science. 53 (4): 361–380. doi:10.1080/00033799608560822. ISSN 0003-3790. PMID 11613294.
  11. Ma, Zhongliang; Li, Yanli (2016). "Dr. Wu Lien Teh, plague fighter and father of the Chinese public health system". Protein & Cell. 7 (3): 157–158. doi:10.1007/s13238-015-0238-1. ISSN 1674-800X. PMC 4791421. PMID 26825808.
  12. Wang, Helena Hui; Lau, Esther; Horton, Richard; Jiang, Baoguo (6 July 2019). "The Wakley–Wu Lien Teh Prize Essay 2019: telling the stories of Chinese doctors". The Lancet (ภาษาอังกฤษ). 394 (10192): 11. doi:10.1016/S0140-6736(19)31517-X. ISSN 0140-6736. PMID 31282345.
  13. Wilson, Mark (24 March 2020). "The untold origin story of the N95 mask". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
  14. Wu Lien-te; World Health Organization (1926). A Treatise on Pneumonic Plague (ภาษาอังกฤษ). Berger-Levrault.
  15. Wai, Wong Chun (11 February 2020). "Wu Lien-Teh: Malaysia's little-known plague virus fighter". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
  16. Toh, Han Shih (1 February 2020). "Lessons from Chinese Malaysian plague fighter for Wuhan virus". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.

บทอ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Wu Lien-Teh, 1959. Plague Fighter: The Autobiography of a Modern Chinese Physician. Cambridge. (Reprint: Areca Books. 2014)
  • Yang, S. 1988. Dr. Wu Lien-teh and the national maritime quarantine service of China in 1930s. Zhonghua Yi Shi Za Zhi 18:29-32.
  • Wu Yu-Lin. 1995. Memories of Dr. Wu Lien-Teh: Plague Fighter. World Scientific Pub Co Inc.
  • Flohr, Carsten. 1996. The plague fighter: Wu Lien-teh and the beginning of the Chinese public health system. Annals of Science 53:361-80
  • Gamsa, Mark. 2006. The Epidemic of Pneumonic Plague in Manchuria 1910–1911. Past & Present 190:147-183
  • Lewis H. Mates, ‘Lien-Teh, Wu’, in Douglas Davies with Lewis H. Mates (eds), Encyclopedia of Cremation (Ashgate, 2005): 300–301. Lien-Teh, Wu
  • Penang Free School archive PFS Online