ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บั้งไฟพญานาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
น.พ.มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาคมาอย่างยาวนาน เผยว่า ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจน[[ภาวะโลกร้อน]]ในปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป<ref name="เลาะริมโขง"/>
น.พ.มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาคมาอย่างยาวนาน เผยว่า ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจน[[ภาวะโลกร้อน]]ในปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป<ref name="เลาะริมโขง"/>


การที่บั้งไฟพญานาคกิน
== คำอธิบาย ==

=== ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ===
งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ 16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้<ref name="พิสูจน์">[http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000073245&Page=2 พิสูจน์ปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” กับหลักวิทยาศาสตร์] ผู้จัดการออนไลน์, 28 ตุลาคม 2547</ref>

น.พ.มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า "บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ"<ref name="พิสูจน์"/> เขายังพบว่า[[pH|ความเป็นกรดด่าง]]ของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืน[[วันออกพรรษา]] เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของ[[แรงโน้มถ่วง]]พลังงานรังสีของ[[ดวงอาทิตย์]] [[ดวงจันทร์]]และ[[โลก]]<ref name="เคมี">[http://manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9470000072690 บั้งไฟพญานาค: ปฏิกิริยาเคมีในลำโขง]</ref>

มีคำอธิบายที่คล้ายกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ใกล้เคียงในฟิสิกส์พลาสมา (plasma physics) โดยเป็นลูกพลาสมาลอยอิสระซึ่งสร้างจากไฟฟ้าสถิต (เช่น จาก[[ตัวเก็บประจุ]]) ถูกปล่อยสู่[[สารละลาย]]<ref>{{cite web |title=Free Floating Plasma Orb|url=http://www.aps.org/about/physics-images/archive/plasma-orb.cfm |publisher=American Physical Society}}</ref> ทว่า การทดลองบอลพลาสมาส่วนใหญ่กระทำโดยใช้ตัวเก็บประจุค่าแรงดันสูง ตัวกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟหรือเตาอบไมโครเวฟ มิใช่ภาวะธรรมชาติ

ในปี พ.ศ. 2555 [[ผู้จัดการออนไลน์]]ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือน[[เลเซอร์]]ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนกล่าวว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก<ref name="ผจก"/>

=== การกระทำของมนุษย์ ===
สารคดีของสถานีโทรทัศน์[[ไอทีวี]]ในปี พ.ศ. 2545 แสดงทหารลาวยิง[[กระสุนส่องวิถี]]ขึ้นฟ้า และมีเสียงเฮที่ดังมาจากฝั่งไทยที่มารอชมบั้งไฟพญานาค<ref>"เบื้องหลังบั้งไฟพญานาค", [[ถอดรหัส]], ไม่ทราบสตูดิโอ, 2545. [http://www.youtube.com/watch?v=QlngR2RJeLc]</ref> และเมื่อสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในเขต[[อำเภอโพนพิสัย]] [[จังหวัดหนองคาย]] และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 17–18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ชาวบ้านในพื้นที่ก็รู้ดีว่ามีการยิงลูกไฟในฝั่งลาวใน[[วันออกพรรษา]] แต่ลักษณะจะแตกต่างจากบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลาง[[แม่น้ำโขง]] และสามารถแยกแยะออกว่าอันไหนของจริง อันไหนคนทำ<ref>[http://www.most.go.th/fireball/principle1.htm ความเกี่ยวเนื่องของแหล่งพลังงานส่วนเกินกับปรากฏการณ์ธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง] กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี{{ลิงก์เสีย}}</ref>

ผศ. ดร.[[เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์]] นักวิชาการจาก[[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] อธิบายว่า ไม่มีก๊าซชนิดใดในโลกที่สันดาปเองแล้วกลายเป็นลูกไฟลอยสูงขึ้นไปสูง ๆ ได้ เว้นแต่มีการสันดาปด้วยเชื้อเพลิงขับ เช่น ดินปืน พลุ หรือกระสุนส่องแสง ขึ้นจากฝั่งตรงข้ามแต่หลอกตาเหมือนขึ้นจากน้ำ และยังตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมายังไม่มีภาพถ่ายวิดีโอใดๆเลยที่ชี้ให้เห็นว่าลูกไฟขึ้นจากน้ำได้จริง โดยมักเป็นภาพลูกไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว พร้อมขอให้มีการสร้างบั้งไฟพญานาคเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อพิสูจน์<ref>[http://www.youtube.com/watch?v=cM4kE53ZvwY&feature=player_embedded บั้งไฟพญานาค ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ] รวมบรรยายวิทยาศาสตร์ลวงโลกกับชีวิตคนไทย ในงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ปี 2554</ref>

ปิ่น บุตรี ได้เขียนบทความลงในผู้จัดการออนไลน์ ในปี พ.ศ. 2556 ว่า สกู๊ป (ของไอทีวี) ที่ว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากการยิงปืนของทหารลาวนั้นถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ และยังถูกคนจับผิดและหาข้อมาหักล้าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของการยิงปืนที่ต้องมีเสียง ควัน และมีวิถีการพุ่งที่เร็วมากแถมสีก็แตกต่างกับลูกไฟประหลาดที่พวยพุ่งขึ้นมา พุ่งช้ากว่า ไม่มีควัน เสียงไม่ดังเท่า นอกจากนี้ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคยังมีบันทึกว่าเกิดขึ้นมานับร้อย ๆ ปี มาก่อนการยิงปืนของทหารนานแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130539|title= ออกพรรษาได้เวลา “บั้งไฟพญานาค”...ปรากฏการณ์มหัศจรรย์แห่งลำน้ำโขง|author= ปิ่น บุตรี|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>


== ตำนานและความเชื่อ ==
== ตำนานและความเชื่อ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 21 กรกฎาคม 2563

ภาพถ่ายกระสุนส่องวิถีเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที ในคืนวันออกพรรษาปี พ.ศ. 2555 ที่บ้านตาลชุม อำเภอรัตนวาปี

บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี พ.ศ. 2529 เรียก บั้งไฟผี[1] เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน[2] บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี

ลักษณะ

ลักษณะบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น จะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1–30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50–150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5–10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อย ๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ[3]

นายวินิจ พลพิทักษ์ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย อธิบายว่า ทั่วจังหวัดหนองคายมีตำแหน่งที่มักปรากฏบั้งไฟพญานาคประมาณ 20 จุด โดยพบที่อำเภอโพนพิสัยมากที่สุด บั้งไฟพญานาคยังขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บ่อน้ำ ลำห้วย ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากลำน้ำโขงราว 500 เมตร ก็มีผู้พบเห็น สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น.[3]

น.พ.มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาคมาอย่างยาวนาน เผยว่า ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจนภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป[3]

การที่บั้งไฟพญานาคกิน

ตำนานและความเชื่อ

บทความในผู้จัดการออนไลน์ว่า เดิมทีพญานาคอาศัยอยู่ในเมืองบาดาล มีนิสัยดุร้าย ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ก็เกิดความเลื่อมใสศาสนาพุทธ เลิกนิสัยดุร้าย และคิดบวช แต่ก็ติดที่เป็นสัตว์ไม่สามารถบวชได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ พญานาคจึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความนี้เมื่อรู้ถึงพญานาคที่อยู่เมืองบาดาล จึงเกิดบั้งไฟพญานาค และยังว่า ตราบเท่าที่ความเชื่อและศรัทธาของชาวบ้านเกี่ยวกับพญานาคยังคงอยู่ คนอื่น ๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ก็ควรยึดหลัก "ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่"[4]

เศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2558 นายอนุชิต สกุลคู ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จังหวัดหนองคายกว่า 3 แสนคน หากคิดว่าใช้จ่ายคนละ 500 บาท จะทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจากนี้ จังหวัดหนองคายยังเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว[5]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

มีการนำเรื่องข้อสงสัยที่มาของบั้งไฟพญานาค มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 โดย จิระ มะลิกุล ออกฉายเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งเรื่องราวเนื้อหาในภาพยนตร์นั้น บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ""เปิดหน้ากล้อง" พิสูจน์ "บั้งไฟพญานาค" มาจากฝั่งลาว". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. Let there be lights!, The Nation, retrieved on 2008-12-11
  3. 3.0 3.1 3.2 เลาะริมโขง รู้จักจุดชม"บั้งไฟพญานาค"
  4. "เล่าขานตำนานบั้งไฟพญานาค". ผู้จัดการออนไลน์.
  5. "มนต์บั้งไฟพญานาคหนองคาย เงินสะพัด150ล้านบาท!". ประชาชาติธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น