ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีนพีซ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
เนื้อหามั่วไปหมด
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}[[ไฟล์:Greenpeace-MBK1.jpg|thumb|right|กิจกรรมของอาสาสมัครกรีนพีซในไทย หน้าศูนย์การค้า MBK]]
{{กล่องข้อมูล บริษัท
| company_name = กรีนพีซ
| company_logo = [[ไฟล์:Greenpeace_logo.svg|150px]]
| company_type = [[องค์กรสาธารณประโยชน์]]
| slogan = กรีนพีซดำรงอยู่ เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องการวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีผู้ลงมือทำ
| foundation = พ.ศ. 2512-ปัจจุบัน
| location = [[อัมสเตอร์ดัม]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]]
| key_people = บันนี แมคเดียร์มิด, เจนนิเฟอร์ มอร์แกน (ผู้บริหาร)
| type = [[สิ่งแวดล้อม]]
| genre =
| homepage = [http://www.greenpeace.org greenpeace.org]
}}

[[ไฟล์:Greenpeace-MBK1.jpg|thumb|right|กิจกรรมของอาสาสมัครกรีนพีซในไทย หน้าศูนย์การค้า MBK]]


'''กรีนพีซ''' ({{lang-en|Greenpeace}}) เป็น[[องค์การสาธารณประโยชน์]] (NGO) นานาชาติ<ref name="UN">[http://www.un.org/dpi/ngosection/dpingo-directory.asp?RegID=--&CnID=all&AcID=0&kw=greenpeace&NGOID=550 United Nations, Department of Public Information, Non-Governmental Organizations]</ref> ที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ ก่อตั้งในประเทศแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2514
'''กรีนพีซ''' ({{lang-en|Greenpeace}}) เป็น[[องค์การสาธารณประโยชน์]] (NGO) นานาชาติ<ref name="UN">[http://www.un.org/dpi/ngosection/dpingo-directory.asp?RegID=--&CnID=all&AcID=0&kw=greenpeace&NGOID=550 United Nations, Department of Public Information, Non-Governmental Organizations]</ref> ที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ ก่อตั้งในประเทศแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2514

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:54, 2 มีนาคม 2563

กิจกรรมของอาสาสมัครกรีนพีซในไทย หน้าศูนย์การค้า MBK

กรีนพีซ (อังกฤษ: Greenpeace) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ (NGO) นานาชาติ[1] ที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ ก่อตั้งในประเทศแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2514

กรีนพีซสนใจการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ และการล่าปลาวาฬในทะเลเปิด ในปัจจุบันกรีนพีซสากลได้งานรณรงค์ต่าง ๆ ได้แก่ การปกป้องมหาสมุทร เช่น การใช้อวนลากที่พื้นทะเล การจับปลาผิดกฎหมาย การจับปลามากเกินไป เป็นต้น การต่อต้านการดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ การหยุดยั้งสารพิษ การยุติแห่งพลังงานนิวเคลียร์ และ การปกป้องป่าโบราณ และการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน)

ปัจจุบัน กรีนพีซมีสำนักงานประจำประเทศและภูมิภาค อยู่ใน 41 ประเทศทั่วโลก โดยทุกสำนักงานจะทำงานร่วมกับ กรีนพีซสากล (Greenpeace International) ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชื่อที่ใช้ดำเนินการในประเทศไทยคือ มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรีนพีชเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสำนักงานอยู่ 3 ประเทศคือ ประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ ประเทศฟิลิปปินส์ และ ประเทศอินโดนีเซีย องค์การมีรายได้จากเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนทางการเงินรายบุคคลทั่วไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2.8 ล้านรายทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งเงินอุดหนุนจากองค์กรการกุศลต่าง ๆ แต่ไม่รับเงินช่วยเหลือจากธุรกิจหรือรัฐบาลใด[ต้องการอ้างอิง]

ยานพาหนะที่กลุ่มกรีนพีซใช้เดินทางไปทั่วโลก คือเรือแอมโซลิฟิโกพาลิม เรือที่กรีนพีซเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรอยู่ 3 ลำ แต่ลำที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ เรนโบว์ วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior เรือนักรบสายรุ้ง) ลำที่ใช้ในปัจจุบันเป็นลำที่สอง

กรีนพีซขึ้นชื่อสำหรับการปฏิบัติโดยตรง (direct action)[2][3] และมีการอธิบายว่าเป็นองค์การสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดที่สุดในโลก[4][5] กรีนพีซยังเป็นที่มาของกรณีพิพาท[6] แรงจูงใจและวิธีการขององค์การได้รับเสียงวิจารณ์[7][8] และการปฏิบัติโดยตรงขององค์การทำให้เกิดการฟ้องดำเนินคดีต่อนักเคลื่อนไหวกรีนพีซ[9][10] เช่น การปรับและคำพิพากษารอการลงโทษจากการทำลายแปลงทดลองข้าวสาลีจีเอ็มโอ[11][12][13]

บทวิจารณ์

นักนิเวศวิทยาชาวแคนาดา แพทริค มัวร์ (Patrick Moore) สมาชิกสมัยแรกๆ ของกรีนพีซ ลาออกจากองค์กรในพ.ศ. 2529 เมื่อองค์กรตัดสินใจที่จะสั่งห้ามใช้คลอรีน[14]ในน้ำดื่ม[7] มัวร์อ้างว่ากรีนพีซในทุกวันนี้ได้รับแรงจูงใจจากการเมืองมากกว่าวิทยาศาสตร์ และไม่มีกรรมการคนไหนได้เรียนวิทยาศาสตร์[7] บรูซ ค็อกซ์ กรรมการของกรีนพีซประเทศแคนาดา ตอบโต้ว่ากรีนพีซไม่เคยต้องการสั่งห้ามใช้คลอรีนและกรีนพีซไม่ห้ามการใช้คลอรีนในน้ำดื่ม หรือในการใช้ทางเภสัชกรรม และยังกล่าวอีกว่า "คุณมัวร์อยู่คนเดียวความทรงจำเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อคลอรีน และ/หรือ การใช้วิทยาศาสตร์เป็นข้ออ้างเพื่ออกจากกรีนพีซ"[15] พอล วัตสัน (Paul Watson) สมาชิกคนแรกๆ ของกรีนพีซกล่าวว่ามัวร์ "ใช้สถานะที่เรียกว่าผู้ร่วมก่อตั้งของกรีนพีซเพื่อให้ข้อกล่าวหาของเขาน่าเชื่อถือ ฉันเองก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งของกรีนพีซ และฉันรู้จักแพทริค มัวร์มาถึง 35 ปี .[...] ข้อกล่าวหาของมัวร์นั้นไม่มีมูลความจริง"[16] เมื่อไม่นานมานี้ มัวร์ร่วมจับผิดทัศนคติของกรีนพีซเกี่ยวกับข้าวทอง ประเด็นซึ่งมัวร์ได้รับการสนับสนุนจากนักธรรมชาติวิทยา เช่น มาร์ค ไลนาส (Mark Lynas) [17] และอ้างว่ากรีนพีซได้ "สร้างการรณรงค์ด้วยข้อมูลผิดๆ โจมตีนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเพื่อนำข้าวทองสู่คนที่ต้องการ และสนับสนุนการทำลายข้าวทองโดยใช้กำลัง"[18]

แพทริค มัวร์ยังกลับตำแหน่งจากที่ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นสนับสนุนในพ.ศ. 2519[19][20][21][22] ในหนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย เดอะเอจ (The Age) เขาเขียนว่า "กรีนพีซนั้นผิดพวก พวกเราควรคำนึงถึงพลังงานนิวเคลียร์"[23] เขากล่าวอีกว่าทุกแผนการที่เป็นไปได้เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) หรือ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) ล้วนต้องเพิ่มการใช้พลังงานนิวเคลียร์[20] ฟิล แรดฟอร์ด (Phil Radford) ผู้อำนวยการบริหารของกรีนพีซสหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการบอกว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความเสี่ยงสูงเกินไป ใช้เวลานานเพื่อสร้างและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอ้างว่าประเทศส่วนใหญ่ รวมไปถึงสหรัฐอเมริกาสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน (renewable energy) ได้เกือบ 100% ขณะลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์จนหมดไปภายในพ.ศ. 2593[24][25]

นักข่าวชาวฝรั่งเศสภายใต้นามปากกา ออลีวีเย เวอร์มอนท์ (Olivier Vermon) เขียนในหนังสือของเขา La Face cachée de Greenpeace (หน้าที่ซ่อนอยู่ของกรีนพีซ) ว่าเขาได้เข้าร่วมกรีนพีซประเทศฝรังเศสและทำงานเป็นเลขา เวอร์มอนท์อ้างว่าเขาพบการประพฤติผิดๆ และยังคงเจออยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่อัมสเตอร์ดัมจนถึงหน่วยงานนานาชาติ เวอร์มอนท์กล่าวว่าเขาเจอเอกสารลับ[26] ซึ่งระบุว่ากว่าครึ่งของรายได้องค์กรที่มีมูลค่ากว่า 180 ล้านยูโร (7,268 ล้านบาท) ถูกใช้ไปกับเงินเดือนและโครงสร้างขององค์กร เขายังกล่าวหากรีนพีซว่ามีข้อตกลงที่ไม่เป็นทางการกับบริษัทที่สร้างมลพิษซึ่งจ่ายเงินให้กรีนพีซเพื่อไม่ให้โจมตีภาพลักษณ์ของบริษัท[27] นิตยสารเกี่ยวกับการปกป้องสัตว์ที่ชื่อว่า แอนิมอลพีเพิล (Animal People) รายงานว่าในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 กรีนพีซประเทศฝรั่งเศสและกรีนพีซสากลทำการฟ้องออลีวีเย เวอร์มอนท์ และสำนักพิมพ์ของเขา Albin Michel ในข้อหาตีพิมพ์ "ข้อความหมิ่นประมาท ไม่เป็นความจริง บิดเบือนข้อเท็จจริง และกล่าวหาอย่างไม่มีมูล"[28]

นักข่าว Wilson da Silva เขียนในนิตยสาร คอสมอส (Cosmos) เกี่ยวกับการที่กรีนพีซทำลายข้าวสาลีในกินนินเดอร์ร่า (Ginninderra) เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าองค์กร "สูญเสียพันธกิจแบบเดิม" และกลายเป็นเพียง "กลุ่มคนผู้กระตือรือร้น หัวรั้น ในการต่อต้านวิทยาศาสตร์ ที่น่าเศร้า ซึ่งไม่สนใจหลักฐาน แต่ทำเพื่อชื่อเสียง"[29]

แท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์

งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์บนวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ เนเจอร์กล่าวหาว่ากรีนพีซไม่สนใจความจริง ขณะวิจารณ์การทิ้งของแท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์ (Brent Spar tanker) และกล่าวหาว่ากลุ่มกรีนพีซกล่าวถึงปริมาณของน้ำมันในแท่นเยอะเกินความจริง[30] กรีนพีซอ้างว่าเรือบรรทุกน้ำมันดิบถึง 5,500 ตัน ทั้งที่ในความจริงมีน้อยกว่านั้นมาก[31] บริษัทเชลล์สหราชอาณาจักรใช้เวลา 3 ปีเพื่อประเมินทางเลือกในการกำจัด และสรุปว่าการกำจัดแท่นน้ำมันในทะเลลึกเป็น "ตัวเลือกที่สามารถปฏิบัติได้ซึ่งดีต่อธรรมชาติที่สุด" (Best Practicable Environmental Option - BPEO) อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ได้รับการสนับสนุนบ้างจากสังคมวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อยมากจนสามารถมองข้ามได้[31] รัฐบาลอังกฤษ และ คณะกรรมการออสโล-ปารีส (Oslo and Paris Commissions - OSPAR) ยอมรับวิธีแก้ปัญหานี้[31] ผลของการรณรงค์ต่อต้านข้อเสนอของเชลล์ (รวมไปถึงความรุนแรงและการคว่ำบาตรในเยอรมัน) ทำให้บริษัทยกเลิกการดำเนินการและประกาศว่าบริษัทล้มเหลวในการประชาสัมพันธ์แผนการสู่ประชาชน และยอมรับว่าพวกเขามองข้ามพลังของความคิดเห็นประชาชน[31]

ในพ.ศ. 2542 แท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์ปลดประจำการ และขาของโครงสร้างถูกพบว่ามีหินปะการังน้ำเย็น (Ophelia pertusa) ดังนั้นจึงมีการยื่นขอเสนอเพื่อเก็บขาของแท่นไว้ในก้นทะเล เพื่อเป็นถิ่นที่อยู่[31][32][33] กรีนพีซต่อต้านข้อเสนอ และอ้างว่าแนวหินโสโครกที่เกิดจากปะการังที่เป็นอันตราย ไม่ใช่หินปะการังเอง และการเคลื่อนย้ายจะไม่ช่วยให้แนวหินโสโครกพัฒนา แต่จะทำให้หินปะการังได้รับผลกระทบจากสารพิษในน้ำมัน[34]

อ้างอิง

  1. United Nations, Department of Public Information, Non-Governmental Organizations
  2. Chiara Ciorgetti – From Rio to Kyoto: A Study of the Involvement of Non-Governmental Organizations in the Negotiations on Climate Change N.Y.U. Environmental Law Journal, Volume 7, Issue 2
  3. "Another summit, another Greenpeace gatecrasher". AFP. 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  4. Henry Mintzberg & Frances Westley – Sustaining the Institutional Environment BNET.com
  5. Canada: A People's History – Greenpeace CBC
  6. Paul Huebener, McMaster University. "Paul Huebener: Greenpeace, ''Globalization and Autonomy Online Compendium''". Globalautonomy.ca. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  7. 7.0 7.1 7.2 Moore, Patrick (2008-04-22). "Why I Left Greenpeace". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
  8. "Top Secret: Greenpeace Report Misleading and Incompetent". Roughlydrafted.com. 2006-09-02. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  9. Shaw, Anny (2010-01-07). "Greenpeace activists arrested for gatecrashing royal gala dinner in Copenhagen released from jail". London: The Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  10. "Greenpeace members charged in Mount Rushmore G-8 protest". CNN.com. 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  11. GMO crops vandalized in Oregon, Karl Haro von Mogel, Biology Fortified, 24 June 2013.
  12. "Greenpeace activists in costly GM protest". Sydney Morning Herald. 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  13. "GM crop destroyers given suspended sentences". Canberra Times. 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  14. Baden, John A. "The anti-chlorine chorus is hitting some bum notes". Seattle Times.
  15. Cox, Bruce (2008-05-20). "Bruce Cox defends Greenpeace (and takes on Patrick Moore)". National Post. สืบค้นเมื่อ 2010-01-04.
  16. Watson, Paul (July 31, 2005). "Solutions instead of sensationalism". The San Francisco Examiner.
  17. Mark Lynas (28 August 2013), The True Story About Who Destroyed a Genetically Modified Rice Crop Slate
  18. Patrick Moore (8 October 2013), By opposing Golden Rice, Greenpeace defies its own values – and harms children The Globe and Mail
  19. Moore, Patrick (1976) Assault on Future Generations, Greenpeace report, pp. 47-49.
  20. 20.0 20.1 Moore, Patrick (2006-04-16). "Going Nuclear". Washington Post.
  21. Going Nuclear. Washington Post (2006-04-16)
  22. Nuclear energy? Yes please! The Independent (2007-02-15)
  23. Moore, Patrick (2007-12-10) Greenpeace is wrong — we must consider nuclear power. The Age
  24. Energy Revolution, Greenpeace report. June 2010
  25. "Radford, New Greenpeace Boss on Climate Change, Coal, and Nuclear Power". The Wall Street Journal. April 14, 2009.
  26. Olivier Vermont (1997), Albin Michel (บ.ก.), La Face cachée de Greenpeace (ภาษาFrench), p. 337, ISBN 978-2-226-08775-1{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  27. Développement durable : le concept dévoyé qui ne doit plus durer !, from the Author of "La Servitude Climatique".
  28. "Animal People, March 1997". Animalpeoplenews.org. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  29. Wilson da Silva. "The sad, sad demise of Greenpeace". Cosmos. July 14, 2011
  30. Editorial comment (1995). "Brent Spar, broken spur". Nature. 375 (6534): 708–709. Bibcode:1995Natur.375..708. doi:10.1038/375708a0. {{cite journal}}: ตรวจสอบ |bibcode= length (help)
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 Case Study: The Environmental Conflict Surrounding the Decommissioning of Brent Spar, IAEA. The article refers to "Case Study: Brent Spar", Fisheries Research Services, FRS Marine Laboratory, PO Box 101, 375, Victoria Road, Aberdeen. AB11 9DB UK.
  32. Bell, N. & Smith, J.; McClive; Western; Reed; Sinclair (1999). "Coral growing on North Sea oil rigs". Nature. 402 (6762): 601–2. Bibcode:1999Natur.402..601B. doi:10.1038/45127. PMID 10604464.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. Gass, S. & Roberts, J.M.; Roberts (2006). "The occurrence of the cold-water coral Lophelia pertusa (Scleractinia) on oil and gas platforms in the North Sea : Colony growth, recruitment and environmental controls on distribution". Marine pollution bulletin. 52 (5): 549–559. doi:10.1016/j.marpolbul.2005.10.002. PMID 16300800.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=17830117
  34. "Oil rig home to rare coral". BBC News, Sci/Tech, Oil rig home to rare coral. 8 December 1999. สืบค้นเมื่อ 11 February 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ