ข้าวทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวทอง (ขวา) เปรียบเทียบกับข้าวขาว (ซ้าย)
กระบวนการสร้างบีตา-แคโรทีนในเอนโดสเปิร์มของข้าวทอง เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องแสดงเป็นสีแดง

ข้าวทอง (อังกฤษ: Golden rice) เป็นพันธุ์ข้าว (Oryza sativa) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม ให้ข้าวสามารถสังเคราะห์บีตา-แคโรทีน (เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ) ได้[1] เพื่อใช้เป็นอาหารในแหล่งพื้นที่ที่มีการขาดวิตามินเอ[2]

การสร้างสายพันธุ์[แก้]

อินโก โปเตรคูส (Ingo Potrykus) แห่งสถาบันวิทยาการพืช สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช (Institute of Plant Sciences at the ETH Zürich Swiss Federal Institute of Technology) ร่วมกับปีเตอร์ เบเยอร์ (Peter Beyer) แห่งมหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค (Freiburg University) ได้ร่วมกันสร้างสายพันธุ์ข้าวทองขึ้น โดยโครงการได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และได้ตีพิมพ์ผลงานในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งการสร้างสายพันธุ์ข้าวทอง ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นักวิจัยสามารถปรับแต่งกระบวนการชีวสังเคราะห์ได้ทั้งกระบวนการ

พันธุ์ข้าวตามธรรมชาตินั้นมีการผลิตสารบีตา-แคโรทีนออกมาอยู่แล้วเพียงแต่สารนั้นจะอยู่ที่ใบ ไม่ได้อยู่ในส่วนของเอนโดสเปิร์ม ซึ่งอยู่ในเมล็ดข้าว พันธุ์ข้าวทองนั้นถูกสร้างขึ้นโดยการตัดต่อยีนสังเคราะห์บีตา-แคโรทีน ไพโตนซินเตส (psy, phytoene synthase) จาก ต้นแดฟโฟดิล (daffodil, Narcissus pseudonarcissus) และ ซีอาร์ทีหนึ่ง (crt1) จาก แบคทีเรีย เออวินเนีย ยูเรโดวารา (Erwinia uredovara) เข้าไปในจีโนมของข้าวตรงส่วนที่เกี่ยวข้องกับเอนโดสเปิร์ม จึงทำให้ข้าวที่ได้มีบีตา-แคโรทีน อยู่ในเอนโดสเปิร์ม

การพัฒนาสายพันธุ์[แก้]

ต่อมาข้าวทองได้ถูกผสมกับสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และข้าวอเมริกันสายพันธุ์โคโคดราย (Cocodrie)[3] การทดลองภาคสนามในไร่ของพันธุ์ข้าวทองครั้งแรก ถูกดำเนินการโดยศูนย์การเกษตร มหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตต (Louisiana State University) ในปี พ.ศ. 2547[3] การทดลองภาคสนามจะช่วยให้ผลการประเมินคุณค่าทางอาหารของพันธุ์ข้าวทองได้แม่นยำขึ้น และจากการทดลองในขั้นต้นพบว่า พันธุ์ข้าวทองที่ปลูกจริงในไร่มีปริมาณสารบีตา-แคโรทีนมากกว่าที่ปลูกในเรือนกระจกราวๆ 4 ถึง 5 เท่า[4]

พ.ศ. 2548 ทีมนักวิจัยของบริษัทซินเจนต้า (Syngenta) ได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวทองขึ้นมาอีกสายพันธุ์ ชื่อว่า พันธุ์ข้าวทอง 2 (Golden Rice 2) โดยการรวมเอาไฟโตนซินเตสยีนจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับซีอาร์ทีหนึ่งของพันธุ์ข้าวทองเดิม พันธุ์ข้าวทอง 2 นี้มีรายงานว่าสามารถให้แคโรทีนอยด์ได้มากถึง 37 ไมโครกรัม/กรัม หรือ มากกว่าพันธุ์ข้าวทองดั้งเดิมถึง 23 เท่า และเพิ่มการสะสมบีตา-แคโรทีน (มากถึง 31 ไมโครกรัม/กรัม จาก 37 ไมโครกรัม/กรัม ของแคโรทีนอยด์)[5]

การอนุมัติ[แก้]

อินโค โปไตรคูส คาดว่าสายพันธุ์ข้าวทองน่าจะผ่านปัญหาเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ และสามารถที่จะออกสู่ตลาดได้ในปี พ.ศ. 2555[6]

ในปี พ.ศ. 2561 แคนาดาและสหรัฐอนุมัติให้ทำการการเพาะปลูกข้าวทองได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ประกาศว่ามีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค[7] สาธารณสุขแคนาดาประกาศว่าข้าวทองจะไม่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ และปริมาณสารอาหารของข้าวทองเหมือนกันกับพันธุ์ข้าวทั่วไปยกเว้นมีสารโปรวิตามินเอในระดับสูง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ye, X; Al-Babili, S; Klöti, A; Zhang, J; Lucca, P; Beyer, P; Potrykus, I (2000). "Engineering the provitamin A (beta-carotene) biosynthetic pathway into (carotenoid-free) rice endosperm". Science. 287 (5451): 303–5. doi:10.1126/science.287.5451.303. PMID 10634784.
  2. One existing crop, genetically engineered "golden rice" that produces vitamin A, already holds enormous promise for reducing blindness and dwarfism that result from a vitamin-A deficient diet. - Bill Frist, physician and politician, in a Washington Times commentary - November 21, 2006 [1]
  3. 3.0 3.1 LSU AgCenter Communications. ‘red Rice’ Could Help Reduce Malnutrition เก็บถาวร 2013-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2004
  4. "Testing the performance of Golden Rice". Goldenrice.org. 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ 2013-08-26.
  5. Paine, Jacqueline A; Shipton, Catherine A; Chaggar, Sunandha; Howells, Rhian M; Kennedy, Mike J; Vernon, Gareth; Wright, Susan Y; Hinchliffe, Edward; Adams, Jessica L (2005). "Improving the nutritional value of Golden Rice through increased pro-vitamin A content". Nature Biotechnology. 23 (4): 482–7. doi:10.1038/nbt1082. PMID 15793573.
  6. Potrykus, Ingo (2010) Regulation must be revolutionized Nature, Vol 466, P561, doi:10.1038/466561a; retrieved August 10, 2010
  7. Coghlan, Andy (May 30, 2018). "GM golden rice gets approval from food regulators in the US". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
  8. "Provitamin A biofortified rice event GR2E (golden rice)". Health Canada, Government of Canada. 16 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]