ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรัดเท้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
=== การยุติ ===
=== การยุติ ===


การคัดค้านการรัดเท้านั้นมีขึ้นในหมู่นักเขียนชาวจีนบางคนในช่วงศตวรรษที่ 18 ต่อมา ชาว[[ฮากกา]]ซึ่งสตรีไม่รัดเท้านั้นก่อ[[กบฏเมืองแมนแดนสันติ]] และประกาศให้การรัดเท้าผิดกฎหมาย<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=TYjGN4UM1mMC&pg=PA226&lpg=PA226#v=onepage&q&f=false |page=27-29 |title=The Taiping Ideology: Its Sources, Interpretations, and Influences|author=Vincent Yu-Chung Shih, Yu-chung Shi |publisher=University of Washington Press|year=1968 |isbn=978-0-295-73957-1 }}</ref><ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=UBqr_MEn4m4C&pg=PA57#v=onepage&q&f=false |title=For Our Daughters: How Outstanding Women Worldwide Have Balanced Home and Career|author= Olivia Cox-Fill|page=57|publisher=Praeger Publishers |year= 1996|isbn= 978-0-275-95199-3 }}</ref> เมื่อกบฏดังกล่าวถูกปราบราบคาบ เหล่านักเทศน์ศาสนาคริสต์จึงเริ่มให้การศึกษาแก่เด็กหญิง พยายามโน้มนาวให้เห็นว่า การรัดเท้าเป็นประเพณีป่าเถื่อน นักเทศน์เหล่านี้ยังใช้วิธีการหลายหลากเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของชนชั้นสูงให้ได้ ทั้งการให้ศึกษา การแจกใบปลิวและแผ่นพับต่าง ๆ รวมถึงการกดดันรัฐบาล[[ราชวงศ์ชิง]]<ref name=edwards>{{cite book |title=The Cross-cultural Study of Women: A Comprehensive Guide|author= Mary I. Edwards |url=https://books.google.com/books?id=cshaqqoV-kMC&pg=PA255#v=onepage&q&f=false |pages=255-256|publisher=Feminist Press at The City University of New York |year= 1986 |isbn=978-0-935312-02-7 }}</ref><ref name=blake /> ในปี 1875 สตรีคริสต์ศาสนิกชนราว 60 ถึง 70 คนใน[[เซี่ยเหมิน]]ประชุมกันโดยมีจอห์น แม็กกาววัน (John MacGowan) นักเทศน์ เป็นประธาน คนเหล่านั้นร่วมกันตั้ง "สมาคมเท้าปรกติ" (天足會) ขึ้นเพื่อรณรงค์ต่อต้านการรัดเท้า<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=UIaIP0jyBPAC&pg=PA14&lpg=PA14#v=onepage&q&f=false |title=Cinderella's Sisters: A Revisionist History of Footbinding|author= Dorothy Ko |publisher=University of California Press |year= 2008 |page=14-16 |isbn=978-0-520-25390-2 }}</ref> กิจกรรมทั้งนี้ต่อมาได้รับความสนับสนุนจากขบวนการสตรีเพื่อความชั่งใจในพระคริสต์ (Woman's Christian Temperance Movement) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1883 และได้รับความอุปถัมภ์จากคณะนักเทศน์ซึ่งเห็นว่า อาจอาศัยคริสต์ศาสนาส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศต่าง ๆ ได้ หนึ่งในสมาชิกคณะนักเทศน์นี้ได้แก่ [[Timothy Richard|ทิโมที ริชาร์ด]] (Timothy Richard) ผู้มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งจีนเป็นสาธารณรัฐในเวลาต่อมา<ref name="GoossaertPalmer2011">{{cite book|author1=Vincent Goossaert|author2=David A. Palmer|title=The Religious Question in Modern China|url=http://books.google.com/books?id=Bx83dlLMPdMC&pg=PA70|accessdate=31 July 2012|date=15 April 2011|publisher=University of Chicago Press|isbn=978-0-226-30416-8|pages=70–}}</ref>
การคัดค้านการรัดเท้านั้นมีขึ้นในหมู่นักเขียนชาวจีนบางคนในช่วงศตวรรษที่ 18 ต่อมา ชาว[[ฮากกา]]ซึ่งสตรีไม่รัดเท้านั้นก่อ[[กบฏเมืองแมนแดนสันติ]] และประกาศให้การรัดเท้าผิดกฎหมาย<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=TYjGN4UM1mMC&pg=PA226&lpg=PA226#v=onepage&q&f=false |page=27-29 |title=The Taiping Ideology: Its Sources, Interpretations, and Influences|author=Vincent Yu-Chung Shih, Yu-chung Shi |publisher=University of Washington Press|year=1968 |isbn=978-0-295-73957-1 }}</ref><ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=UBqr_MEn4m4C&pg=PA57#v=onepage&q&f=false |title=For Our Daughters: How Outstanding Women Worldwide Have Balanced Home and Career|author= Olivia Cox-Fill|page=57|publisher=Praeger Publishers |year= 1996|isbn= 978-0-275-95199-3 }}</ref> เมื่อกบฏดังกล่าวถูกปราบราบคาบ เหล่านักเทศน์ศาสนาคริสต์จึงเริ่มให้การศึกษาแก่เด็กหญิง พยายามโน้มนาวให้เห็นว่า การรัดเท้าเป็นประเพณีป่าเถื่อน นักเทศน์เหล่านี้ยังใช้วิธีการหลายหลากเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของชนชั้นสูงให้ได้ ทั้งการให้ศึกษา การแจกใบปลิวและแผ่นพับต่าง ๆ รวมถึงการกดดันรัฐบาล[[ราชวงศ์ชิง]]<ref name=edwards>{{cite book |title=The Cross-cultural Study of Women: A Comprehensive Guide|author= Mary I. Edwards |url=https://books.google.com/books?id=cshaqqoV-kMC&pg=PA255#v=onepage&q&f=false |pages=255-256|publisher=Feminist Press at The City University of New York |year= 1986 |isbn=978-0-935312-02-7 }}</ref><ref name=blake /> ในปี 1875 สตรีคริสต์ศาสนิกชนราว 60 ถึง 70 คนใน[[เซี่ยเหมิน]]นักเทศน์ เป็นประธาน คนเหล่านั้นร่วมกันตั้ง "สมาคมเท้าปรกติ" (天足會) ขึ้นเพื่อรณรงค์ต่อต้านการรัดเท้า<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=UIaIP0jyBPAC&pg=PA14&lpg=PA14#v=onepage&q&f=false |title=Cinderella's Sisters: A Revisionist History of Footbinding|author= Dorothy Ko |publisher=University of California Press |year= 2008 |page=14-16 |isbn=978-0-520-25390-2 }}</ref> กิจกรรมทั้งนี้ต่อมาได้รับความสนับสนุนจากขบวนการสตรีเพื่อความชั่งใจในพระคริสต์ (Woman's Christian Temperance Movement) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1883 และได้รับความอุปถัมภ์จากคณะนักเทศน์ซึ่งเห็นว่า อาจอาศัยคริสต์ศาสนาส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศต่าง ๆ ได้ หนึ่งใน


ฝ่ายปราชญ์ชาวจีนที่มีใจรักการปฏิรูปก็ชวนกันเห็นว่า การรัดเท้าเป็นด้านมืดในวัฒนธรรมของตน ควรกำจัดทิ้งโดยเร็ว<ref name="Levy">{{cite book|last=Levy|first=Howard S.|title=The Lotus Lovers: The Complete History of the Curious Erotic Tradition of Foot Binding in China|year=1991|publisher=Prometheus Books|location=New York|page=322}}</ref> ในปี 1883 [[คัง โหย่วเหวย์]] (康有為) บัณฑิต จึงตั้ง[[Foot Emancipation Society|สมาคมต่อต้านการรัดเท้า]] (Anti-Footbinding Society) ขึ้นใกล้เมือง[[กว่างโจว]] จากนั้น กลุ่มคัดค้านการรัดเท้าก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดทั่วไปในประเทศ มีคำอ้างว่า ผู้ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการรัดเท้าในครั้งนั้นรวมกันได้ถึง 300,000 คน<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=5agGK-l369UC&pg=PA257&lpg=PA257#v=onepage&q&f=false |title=American Doctors in Canton: Modernization in China, 1835–1935|author= Guangqiu Xu |publisher=Transaction Publishers |date= 2011 |page=257 |isbn= 978-1-4128-1829-2 }}</ref> ทว่า ขบวนการเหล่านั้นกลับชูเหตุผลด้านชาตินิยม แทนที่จะเป็นด้านสุขภาพอนามัย หรือด้านความมีประสิทธิภาพของชนชั้นแรงงาน<ref name=edwards /> นักปฏิรูปหลายรายที่ได้อิทธิพลของ[[Social Darwinism|ลัทธิสังคมนิยมแบบดาร์วิน]] เช่น [[เหลียง ฉี่เชา]] (梁啟超) โฆษณาว่า การรัดเท้าทำให้บ้านเมืองอ่อนด้อย เพราะสตรีขี้โรคย่อมมีบุตรอ่อนแอ<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=zohVoj_Xq5MC&pg=PA51#v=onepage&q&f=false |title=The Chinese Medical Ministries of Kang Cheng and Shi Meiyu, 1872–1937|author= Connie A. Shemo |page=51 |publisher=Lehigh University Press |year=2011 |isbn= 978-1-61146-086-5 }}</ref> จนเมื่อลุศตวรรษที่ 20 นักสตรีนิยม เช่น [[ชิว จิ่น]] (秋瑾) จึงเริ่มมีบทบาทในการต่อต้านการรัดเท้าบ้าง<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=qQ5VtyB0EgsC&pg=PA63&lpg=PA63#v=onepage&q&f=false |title=Chinese Women in Christian Ministry|author= Mary Keng Mun Chung |publisher=Peter Lang Publishing Inc |date= 1 May 2005 |isbn= 978-0-8204-5198-5 }}</ref><ref>{{cite web |url= http://www.executedtoday.com/2011/07/15/1907-qiu-jin-chinese-feminist-and-revolutionary/ |title=1907: Qiu Jin, Chinese feminist and revolutionary|date=July 15, 2011 |work=ExecutedToday.com }}</ref> ครั้นปี 1902 [[ซูสีไทเฮา]]ออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการรัดเท้า แต่กฎหมายนั้นยกเลิกไปภายหลัง<ref>"[http://www.historychannel.com.au/classroom/day-in-history/409/cixi-outlaws-foot-binding Cixi Outlaws Foot Binding]", ''History Channel''</ref>
ฝ่ายปราชญ์ชาวจีนที่มีใจรักการปฏิรูปก็ชวนกันเห็นว่า การรัดเท้าเป็นด้านมืดในวัฒนธรรมของตน ควรกำจัดทิ้งโดยเร็ว<ref name="Levy">{{cite book|last=Levy|first=Howard S.|title=The Lotus Lovers: The Complete History of the Curious Erotic Tradition of Foot Binding in China|year=1991|publisher=Prometheus Books|location=New York|page=322}}</ref> ในปี 1883 [[คัง โหย่วเหวย์]] (康有為) บัณฑิต จึงตั้ง[[Foot Emancipation Society|สมาคมต่อต้านการรัดเท้า]] (Anti-Footbinding Society) ขึ้นใกล้เมือง[[กว่างโจว]] จากนั้น กลุ่มคัดค้านการรัดเท้าก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดทั่วไปในประเทศ มีคำอ้างว่า ผู้ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการรัดเท้าในครั้งนั้นรวมกันได้ถึง 300,000 คน<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=5agGK-l369UC&pg=PA257&lpg=PA257#v=onepage&q&f=false |title=American Doctors in Canton: Modernization in China, 1835–1935|author= Guangqiu Xu |publisher=Transaction Publishers |date= 2011 |page=257 |isbn= 978-1-4128-1829-2 }}</ref> ทว่า ขบวนการเหล่านั้นกลับชูเหตุผลด้านชาตินิยม แทนที่จะเป็นด้านสุขภาพอนามัย หรือด้านความมีประสิทธิภาพของชนชั้นแรงงาน<ref name=edwards /> นักปฏิรูปหลายรายที่ได้อิทธิพลของ[[Social Darwinism|ลัทธิสังคมนิยมแบบดาร์วิน]] เช่น [[เหลียง ฉี่เชา]] (梁啟超) โฆษณาว่า การรัดเท้าทำให้บ้านเมืองอ่อนด้อย เพราะสตรีขี้โรคย่อมมีบุตรอ่อนแอ<ref>{{cite book |url=https://books.google.com/books?id=zohVoj_Xq5MC&pg=PA51#v=onepage&q&f=false |title=The Chinese Medical Ministries of Kang Cheng and Shi Meiyu, 1872–1937|author= Connie A. Shemo |page=51 |publisher=Lehigh University Press |year=2011 |isbn= 978-1-61146-086-5 }}</ref> จนเมื่อลุศตวรรษที่ 20 ครั้นปี 1902 [[ซูสีไทเฮา]]ออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการรัดเท้า แต่กฎหมายนั้นยกเลิกไปภายหลัง<ref>"[http://www.historychannel.com.au/classroom/day-in-history/409/cixi-outlaws-foot-binding Cixi Outlaws Foot Binding]", ''History Channel''</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:05, 19 พฤศจิกายน 2561

การรัดเท้า (จีน: 缠足; พินอิน: chánzú; อังกฤษ: foot binding) เป็นจารีตที่ให้รัดเท้าของหญิงสาวให้คับแน่น เพื่อมิให้นิ้วเท้างอกขึ้นได้อีก เท้าที่ถูกบีบรัดนั้นจะได้มีสัณฐานเรียวเล็กคล้ายดอกบัว เรียกว่า "บัวทองสามนิ้ว" (จีน: 三寸金莲; พินอิน: sān cùn jīnlián; "three-inch golden lotus") การประพฤติเช่นนี้เชื่อว่าเริ่มในหมู่ชนชั้นสูงที่เป็นนางระบำรำฟ้อนในราชสำนักจีนช่วงห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (คริสต์ศตวรรษที่ 10 หรือ 11) แล้วจึงเป็นที่นิยมขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง ก่อนจะแพร่หลายทั่วไปในชาวจีนทุกชนชั้น ในฐานะที่เป็นเครื่องแสดงชั้นวรรณะ (เพราะสตรีที่ครอบครัวมีอันจะกินและไม่จำต้องใช้เท้าทำงานเท่านั้นจึงจะรัดเท้าได้) และเป็นเครื่องหมายแห่งความงามในวัฒนธรรมจีนโบราณ ทว่า ความนิยมและวิธีปฏิบัตินั้นผิดแผกกันไปในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศจีน

ในปี 1664 พระเจ้าคังซีทรงพยายามจะห้ามมีการรัดเท้าอีกต่อไป แต่ไม่เป็นผล[1] ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวจีนนักปฏิรูปหลายคนท้าทายจารีตนี้แต่ก็ไร้ผล แม้ซูสีไทเฮามีพระเสาวนีย์ห้ามการรัดเท้าเป็นเด็ดขาด ก็ล้มเหลวเช่นกัน อย่างไรก็ดี กิจกรรมต่อต้านการรัดเท้าที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องสืบ ๆ มาช่วยให้การรัดเท้าสิ้นสูญไปเมื่อต้นศตวรรษที่ 20[2]

การรัดเท้าทำให้ผู้ถูกรัดต้องพิการชั่วชีวิต หญิงชราชาวจีนบางคนซึ่งเคยถูกรัดเท้าและมีชีวิตอยู่ในเวลานี้ต้องเผชิญความลำบากหลายประการเพราะความพิกลพิการอันเนื่องมาจากถูกรัดเท้า[2]

ประวัติ

ต้นกำเนิด

มีข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับที่มาของการรัดเท้า[3] เล่ากันว่า ต๋าจี่ (妲己) พระสนมของพระเจ้าโจ้ว (紂) แห่งราชวงศ์ซาง มีเท้าแป (club foot) นางจึงขอให้พระเจ้าโจ้วรับสั่งให้สตรีทุกคนในราชสำนักผูกรัดเท้าจนมีรูปเหมือนเท้าของนาง เพื่อที่ว่าเท้าอันพิการของนางจะได้กลายเป็นมาตรฐานแห่งความงดงามและภูมิฐาน อีกเรื่องหนึ่งว่า พัน ยฺวี่หนู (潘玉奴) หญิงคณิกาคนโปรดของพระเจ้าเซียว เป่าเจฺวี้ยน (蕭寶卷) แห่งอาณาจักรฉีใต้ มีเท้าที่เล็กกระจุ๋มกระจิ๋ม ครั้นนางฟ้อนรำด้วยเท้าเปล่าไปบนพื้นอันประดับประดาด้วยดอกบัวทอง พระเจ้าแผ่นดินทรงพอพระทัยนักและตรัสว่า "ก้าวไหนมีบัวนั่น" (步步生蓮) เสมือนปัทมาวดี นางในตำนานซึ่งย่างก้าวไปที่ใดก็บังเกิดดอกบัวผุดขึ้นใต้เท้านางเสมอ เชื่อกันว่า เรื่องหลังนี้เป็นที่มาของชื่อ "บัวบาท" (lotus feet) ที่ใช้เรียกเท้าที่ถูกรัดจนเล็กเรียว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเรื่อง พัน ยฺวี่หนู เคยรัดเท้าของนางหรือไม่ประการใด[4] อย่างไรก็ดี เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า การรัดเท้านั้นเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าหลี่ อฺวี้ (李煜) แห่งอาณาจักรถังใต้ในสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร[1] เพราะพระเจ้าหลี่ อฺวี้ ทรงให้สร้างดอกบัวทองคำสูงหกฟุตตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา และให้เหย่า เหนียง (窅娘) พระสนม รัดเท้าด้วยผ้าขาวให้มีรูปดังจันทร์เสี้ยว แล้วขึ้นไประบำด้วยปลายเท้าบนดอกบัวประดิษฐ์นั้น[3][1] นางร่ายรำได้ประณีตงดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ได้เห็น คนทั้งหลายจึงเอาอย่างนาง[5] สตรีชั้นสูงเริ่มรัดเท้าของตนบ้าง และการประพฤติเช่นนี้ก็แพร่หลายต่อ ๆ กันไป[6]

การรัดเท้าเป็นที่นิยมยิ่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ศตวรรษที่ 10–12) และงานเขียนที่ว่าด้วยหรืออ้างถึงการรัดเท้า ฉบับเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏนั้น ก็ปรากฏว่า ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 11[7][8] งานเขียนในศตวรรษที่ 12 ก็ยังบ่งบอกถึงความนิยมรัดเท้า เช่น จาง ปางจี (張邦基) นักเขียนในสมัยราชวงศ์ซ่ง ว่า เท้าที่ถูกรัดนั้นจะงามถ้ามีรูปโค้งและมีขนาดเล็ก[9][10] ครั้นถึงศตวรรษที่ 13 เชอ โร่วฉุ่ย (车若水) นักเขียนซึ่งยึดถือหลักเหตุผลนิยม เขียนตำหนิว่า "เด็กน้อยสี่ขวบห้าขวบไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็จับมารัดเท้าให้เล็กจนเด็กเจ็บไม่รู้จบรู้สิ้น จะเท้าเล็กกันไปเพื่ออะไร" (妇人纒脚不知起于何时,小儿未四五岁,无罪无辜而使之受无限之苦,纒得小来不知何用。)[11][12] แม้มีผู้ไม่เห็นด้วย แต่หลักฐานทางโบราณคดีชี้ว่า ในศตวรรษที่ 13 นั้น หมู่ภริยาและธิดาของขุนนางนิยมรัดเท้ากันอย่างยิ่ง แต่วิธีรัดเท้าในสมัยราชวงศ์ซ่งเช่นที่พบตามศพต่าง ๆ นั้นแตกต่างจากที่ปฏิบัติกันในอีกหลายร้อยปีให้หลัง เพราะในช่วงราชวงศ์ซ่ง รัดเท้าโดยบิดหัวแม่เท้าขึ้น และเท้าไม่ได้เล็กเหมือนในสมัยหลัง จึงเกิดข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งว่า ความนิยมบีบรัดให้เท้าเล็กเพียงสามนิ้วจนเรียกกันว่า "บัวทองสามนิ้ว" นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง หากเกิดขึ้นภายหลัง[13][14]

หลายร้อยปีหลังการรัดเท้าเกิดนิยมขึ้นในราชวงศ์ซ่ง ปรากฏว่า การรัดเท้าเป็นที่ยึดถือปฏิบัติโดยทั่วกันในครอบครัวผู้ดี ก่อนจะแพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป[15] ครั้นปลายราชวงศ์ซ่ง ปรากฏว่า ชายบางคนมักบริโภคเครื่องดื่มด้วยถ้วยใบน้อยที่ติดไว้กับรองเท้าพิเศษสำหรับใส่เท้าที่ถูกรัด ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน มีบางคนดื่มกินโดยใช้รองเท้าพิเศษนั้นโดยตรง จึงเกิดสำนวนว่า "ซดบัวทอง" (toast to the golden lotus) และธรรมเนียมดังว่านี้มีอยู่จนปลายราชวงศ์ชิง[3]

เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 จำนวนสตรีจีนทั่วไปที่รัดเท้านั้นคิดได้ร้อยละ 40 ถึง 50 ส่วนสตรีชั้นสูงที่เป็นชาวฮั่นนั้นรัดเท้ากันทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100[2] เท้าอันถูกรัดรึงจนแคบเล็กผิดธรรมชาตินั้นกลายเป็นเครื่องหมายแห่งความงาม ทั้งเป็นเงื่อนไขแรก ๆ ในการหาคู่ สตรียากจนอยากได้สามีรวยก็อาจทำได้โดยมีเท้าสวย มีตัวอย่างในมณฑลกว่างตงเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นั้น ยึดถือกันเป็นประเพณีว่า สำหรับครอบครัวชนชั้นล่าง ลูกสาวคนโตต้องถูกรัดเท้า จะได้เป็นกุลสตรี ส่วนลูกสาวคนรองลงมา ไม่ต้องรัดเท้า เพราะมีไว้ใช้งานต่างทาสหรือทำไรไถนา ในช่วงนี้ นิยมกันว่า เท้ายิ่งเล็กยิ่งดี ยิ่งเล็กได้สามนิ้วตามมาตราวัดของจีน (4 นิ้วตามมาตราตะวันตก) ก็ยิ่งประเสริฐ เท้าอันรัดจนเล็กนี้ถือเป็นเกียรติเป็นศรีแก่ตัวหญิงผู้ถูกรัดและแก่วงศ์ตระกูลของนาง[16][17] ความภาคภูมิใจดังกล่าวยังปรากฏผ่านรองเท้าและผ้าหุ้มที่เย็บปักด้วยไหมอย่างวิจิตรอลังการสำหรับไว้ใส่เท้าที่ถูกรัด อนึ่ง เพราะเท้าเล็กผิดรูป จึงจำต้องย่อเข่าเวลาเดิน จะได้ทรงตัวและเคลื่อนไหวสะดวก ชายบางคนเห็นว่า สตรีที่เดินด้วยท่าทางอย่างนี้ชวนให้กระสันรัญจวนใจเหลือประมาณ[18]

แม้จะยังเดินไปมาและทำงานในไร่นาได้ แต่หญิงที่ถูกรัดเท้าต้องประสบข้อจำกัดมากมาย ไม่เหมือนหญิงปรกติ กระนั้น ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ก็ยังปรากฏว่า นักเต้นรำหญิงที่เท้าถูกรัดนั้นได้รับความนิยมสูง โดยให้เป็นนักแสดงละครสัตว์ที่ยืนบนม้าซึ่งกำลังวิ่งหรือพยศเป็นต้น เหล่าหญิงสาวชาวบ้านแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนานซึ่งเท้าถูกรัดยังจับระบำรำฟ้อนกันเป็นวงประจำถิ่นเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวชมในช่วงปลายศตวรรษที่ 20[19] ส่วนในท้องที่อื่น ๆ สตรีวัย 70 ถึง 80 ซึ่งเท้าถูกรัดนั้นจะคอยช่วยเหลือคนงานในทุ่งนาอย่างจำกัดจำเขี่ย มีปรากฏมาจนถึงช่วงเข้าศตวรรษที่ 21[2]

การยุติ

การคัดค้านการรัดเท้านั้นมีขึ้นในหมู่นักเขียนชาวจีนบางคนในช่วงศตวรรษที่ 18 ต่อมา ชาวฮากกาซึ่งสตรีไม่รัดเท้านั้นก่อกบฏเมืองแมนแดนสันติ และประกาศให้การรัดเท้าผิดกฎหมาย[20][21] เมื่อกบฏดังกล่าวถูกปราบราบคาบ เหล่านักเทศน์ศาสนาคริสต์จึงเริ่มให้การศึกษาแก่เด็กหญิง พยายามโน้มนาวให้เห็นว่า การรัดเท้าเป็นประเพณีป่าเถื่อน นักเทศน์เหล่านี้ยังใช้วิธีการหลายหลากเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของชนชั้นสูงให้ได้ ทั้งการให้ศึกษา การแจกใบปลิวและแผ่นพับต่าง ๆ รวมถึงการกดดันรัฐบาลราชวงศ์ชิง[22][23] ในปี 1875 สตรีคริสต์ศาสนิกชนราว 60 ถึง 70 คนในเซี่ยเหมินนักเทศน์ เป็นประธาน คนเหล่านั้นร่วมกันตั้ง "สมาคมเท้าปรกติ" (天足會) ขึ้นเพื่อรณรงค์ต่อต้านการรัดเท้า[24] กิจกรรมทั้งนี้ต่อมาได้รับความสนับสนุนจากขบวนการสตรีเพื่อความชั่งใจในพระคริสต์ (Woman's Christian Temperance Movement) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1883 และได้รับความอุปถัมภ์จากคณะนักเทศน์ซึ่งเห็นว่า อาจอาศัยคริสต์ศาสนาส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศต่าง ๆ ได้ หนึ่งใน

ฝ่ายปราชญ์ชาวจีนที่มีใจรักการปฏิรูปก็ชวนกันเห็นว่า การรัดเท้าเป็นด้านมืดในวัฒนธรรมของตน ควรกำจัดทิ้งโดยเร็ว[25] ในปี 1883 คัง โหย่วเหวย์ (康有為) บัณฑิต จึงตั้งสมาคมต่อต้านการรัดเท้า (Anti-Footbinding Society) ขึ้นใกล้เมืองกว่างโจว จากนั้น กลุ่มคัดค้านการรัดเท้าก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดทั่วไปในประเทศ มีคำอ้างว่า ผู้ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการรัดเท้าในครั้งนั้นรวมกันได้ถึง 300,000 คน[26] ทว่า ขบวนการเหล่านั้นกลับชูเหตุผลด้านชาตินิยม แทนที่จะเป็นด้านสุขภาพอนามัย หรือด้านความมีประสิทธิภาพของชนชั้นแรงงาน[22] นักปฏิรูปหลายรายที่ได้อิทธิพลของลัทธิสังคมนิยมแบบดาร์วิน เช่น เหลียง ฉี่เชา (梁啟超) โฆษณาว่า การรัดเท้าทำให้บ้านเมืองอ่อนด้อย เพราะสตรีขี้โรคย่อมมีบุตรอ่อนแอ[27] จนเมื่อลุศตวรรษที่ 20 ครั้นปี 1902 ซูสีไทเฮาออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการรัดเท้า แต่กฎหมายนั้นยกเลิกไปภายหลัง[28]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Chinese Foot Binding". BBC.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Lim, Louisa (19 March 2007). "Painful Memories for China's Footbinding Survivors". Morning Edition. National Public Radio.
  3. 3.0 3.1 3.2 Marie-Josèphe Bossan (2004). The Art of the Shoe. Parkstone Press Ltd. p. 164. ISBN 978-1-85995-803-2.
  4. Dorothy Ko (2002). Every Step a Lotus: Shoes for Bound Feet. University of California Press. pp. 32–34. ISBN 978-0-520-23284-6.
  5. Dorothy Ko (2002). Every Step a Lotus: Shoes for Bound Feet. University of California Press. p. 42. ISBN 978-0-520-23284-6.
  6. Victoria Pitts-Taylor, บ.ก. (2008). Cultural Encyclopedia of the Body. Greenwood. p. 203. ISBN 978-0-313-34145-8.
  7. "Han Chinese Footbinding". Textile Research Centre.
  8. Xu Ji 徐積 《詠蔡家婦》: 「但知勒四支,不知裹两足。」; Su Shi 蘇軾 《菩薩蠻》:「塗香莫惜蓮承步,長愁羅襪凌波去;只見舞回風,都無行處踪。偷穿宮樣穩,並立雙趺困,纖妙說應難,須從掌上看。」
  9. Dorothy Ko (2008). Cinderella's Sisters: A Revisionist History of Footbinding. University of California Press. pp. 111–115. ISBN 978-0-520-25390-2.
  10. "墨庄漫录-宋-张邦基 8-卷八".
  11. Valerie Steele, John S. Major (2000). China Chic: East Meets West. Yale University Press. p. 38-40. ISBN 978-0-300-07931-9.
  12. 车若水. "脚气集".
  13. Dorothy Ko (2008). Cinderella's Sisters: A Revisionist History of Footbinding. University of California Press. p. 187-191. ISBN 978-0-520-25390-2.
  14. Dorothy Ko (2002). Every Step a Lotus: Shoes for Bound Feet. University of California Press. pp. 21–24. ISBN 978-0-520-25390-2.
  15. Valerie Steele, John S. Major (2000). China Chic: East Meets West. Yale University Press. p. 37. ISBN 978-0-300-07931-9.
  16. Hill Gates (2014). Footbinding and Women's Labor in Sichuan. Routledge. p. 8. ISBN 978-0-415-52592-3.
  17. Manning, Mary Ellen (10 May 2007). "China's "Golden Lotus Feet" - Foot-binding Practice". สืบค้นเมื่อ 29 January 2012.
  18. Janell L. Carroll (2009). Sexuality Now: Embracing Diversity. Cengage Learning. p. 8. ISBN 978-0-495-60499-0.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wsj
  20. Vincent Yu-Chung Shih, Yu-chung Shi (1968). The Taiping Ideology: Its Sources, Interpretations, and Influences. University of Washington Press. p. 27-29. ISBN 978-0-295-73957-1.
  21. Olivia Cox-Fill (1996). For Our Daughters: How Outstanding Women Worldwide Have Balanced Home and Career. Praeger Publishers. p. 57. ISBN 978-0-275-95199-3.
  22. 22.0 22.1 Mary I. Edwards (1986). The Cross-cultural Study of Women: A Comprehensive Guide. Feminist Press at The City University of New York. pp. 255–256. ISBN 978-0-935312-02-7.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ blake
  24. Dorothy Ko (2008). Cinderella's Sisters: A Revisionist History of Footbinding. University of California Press. p. 14-16. ISBN 978-0-520-25390-2.
  25. Levy, Howard S. (1991). The Lotus Lovers: The Complete History of the Curious Erotic Tradition of Foot Binding in China. New York: Prometheus Books. p. 322.
  26. Guangqiu Xu (2011). American Doctors in Canton: Modernization in China, 1835–1935. Transaction Publishers. p. 257. ISBN 978-1-4128-1829-2.
  27. Connie A. Shemo (2011). The Chinese Medical Ministries of Kang Cheng and Shi Meiyu, 1872–1937. Lehigh University Press. p. 51. ISBN 978-1-61146-086-5.
  28. "Cixi Outlaws Foot Binding", History Channel