ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรดอะมิโน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nathapat (คุย | ส่วนร่วม)
เอมีน คือ องค์ประกอบ NH2 ภาษาอังกฤษ (Amine)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
กรดอะมิโนมากกว่า 100 ชนิดพบในธรรมชาติบางตัวถูกตรวจพบได้ใน [[มีทีโอไรต์]] (meteorite) โดยเฉพาะประเภทที่รู้จักกันในชื่อ [[คาร์บอนาซีอัลคอนไดรต์]] (carbonaceous chondrite) [[จุลินทรีย์]] และ [[พืช]] บางครั้งผลิตกรดอะมิโนชนิดผิดปกติมากๆ ออกมา ซึ่งสามารถพบได้ใน [[ยาปฏิชีวนะ]] ประเภทเปปทีดิก เช่น [[นิซิน]] (nisin) หรือ [[อะลาเมตทิซิน]] (alamethicin) [[แลนไทโอนีน]] (Lanthionine) เป็นไดเมอร์ของอะลานีนที่เชื่อมกันด้วยพันธะแบบซัลไฟด์ซึ่งพบร่วมกับกรดอะมิโน [[การอิ่มตัว (เคมี)|อิ่มตัว]] ใน[[แลนติไบโอติก]] (lantibiotics-แอนติไบโอติกเพปไทด์ของ แหล่งกำเนิดจุลินทรีย์) [[1-อะมิโนไซโคลโพรเพน-1-คาร์บอกซิลิก แอซิก]] (1-Aminocyclopropane-1-carboxylic acid-ACC) เป็นกรดอะมิโนไซคลิกlic และเป็นผลผลิตระหว่างทางของการผลิต [[ฮอร์โมน]] พืช [[เอตทิลีน]] [http://www.brandsworld-online.com/innershine/beauty_tips.php?id=1 สาหร่ายแดง]
กรดอะมิโนมากกว่า 100 ชนิดพบในธรรมชาติบางตัวถูกตรวจพบได้ใน [[มีทีโอไรต์]] (meteorite) โดยเฉพาะประเภทที่รู้จักกันในชื่อ [[คาร์บอนาซีอัลคอนไดรต์]] (carbonaceous chondrite) [[จุลินทรีย์]] และ [[พืช]] บางครั้งผลิตกรดอะมิโนชนิดผิดปกติมากๆ ออกมา ซึ่งสามารถพบได้ใน [[ยาปฏิชีวนะ]] ประเภทเปปทีดิก เช่น [[นิซิน]] (nisin) หรือ [[อะลาเมตทิซิน]] (alamethicin) [[แลนไทโอนีน]] (Lanthionine) เป็นไดเมอร์ของอะลานีนที่เชื่อมกันด้วยพันธะแบบซัลไฟด์ซึ่งพบร่วมกับกรดอะมิโน [[การอิ่มตัว (เคมี)|อิ่มตัว]] ใน[[แลนติไบโอติก]] (lantibiotics-แอนติไบโอติกเพปไทด์ของ แหล่งกำเนิดจุลินทรีย์) [[1-อะมิโนไซโคลโพรเพน-1-คาร์บอกซิลิก แอซิก]] (1-Aminocyclopropane-1-carboxylic acid-ACC) เป็นกรดอะมิโนไซคลิกlic และเป็นผลผลิตระหว่างทางของการผลิต [[ฮอร์โมน]] พืช [[เอตทิลีน]] [http://www.brandsworld-online.com/innershine/beauty_tips.php?id=1 สาหร่ายแดง]


== กรดอะมิโนจำเป็น ==
== กรดอะมิโนจำเป็น จิงๆนะ==
บางตัวใน 20 ตัวของกรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า [[กรดอะมิโนจำเป็น]] (essential amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถ[[สังเคราะห์]] ได้โดย [[ร่างกายมนุษย์|ร่างกาย]] แต่ได้จาก [[สารประกอบเคมี|สารประกอบ]] ผ่าน [[ปฏิกิริยาเคมี]] ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน [[มนุษย์]] กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่
บางตัวใน 20 ตัวของกรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า [[กรดอะมิโนจำเป็น]] (essential amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถ[[สังเคราะห์]] ได้โดย [[ร่างกายมนุษย์|ร่างกาย]] แต่ได้จาก [[สารประกอบเคมี|สารประกอบ]] ผ่าน [[ปฏิกิริยาเคมี]] ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน [[มนุษย์]] กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่
* [[ไลซีน]] (lysine)
* [[ไลซีน]] (lysine)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 18 กรกฎาคม 2561

กรดอะมิโน (อังกฤษ: amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า -คาร์บอน

เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไทด์

โครงสร้างทั่วไป

โครงสร้างทั่วไปของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนเป็นหน่วยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโปรตีน โดยสร้าง พอลิเมอร์ ที่เป็นโซ่สั้นๆ เรียกว่า เพปไทด์ หรือ พอลิเพปไทด์ และกลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าโปรตีน โครงสร้างทั่วไปของโปรตีโนเจนิก แอลฟ่า อะมิโน แอซิด เป็นไปตามภาพด้านขวามือ

หมู่ "R" แทน โซ่ข้าง (side chain) หรือหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งมีความเฉพาะสำหรับกรดอะมิโนแต่ละตัว กรดอะมิโนแบ่งตามคุณสมบัติของหมู่ฟังก์ชัน ได้เป็น [1]

กรดอะมิโนที่นอกเหนือจากกรดอะมิโนมาตรฐาน

กรดอะมิโน 20 ตัวถูกตั้งรหัสโดยมาตรฐานรหัสพันธุกรรม และถูกเรียกว่า โปรตีโนเจนิก หรือกรดอะมิโนมาตรฐาน นอกเหนือจากกรดอะมิโน 20 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนแล้ว ยังพบกรดอะมิโนอื่นๆอีก เช่น

กรดอะมิโนมากกว่า 100 ชนิดพบในธรรมชาติบางตัวถูกตรวจพบได้ใน มีทีโอไรต์ (meteorite) โดยเฉพาะประเภทที่รู้จักกันในชื่อ คาร์บอนาซีอัลคอนไดรต์ (carbonaceous chondrite) จุลินทรีย์ และ พืช บางครั้งผลิตกรดอะมิโนชนิดผิดปกติมากๆ ออกมา ซึ่งสามารถพบได้ใน ยาปฏิชีวนะ ประเภทเปปทีดิก เช่น นิซิน (nisin) หรือ อะลาเมตทิซิน (alamethicin) แลนไทโอนีน (Lanthionine) เป็นไดเมอร์ของอะลานีนที่เชื่อมกันด้วยพันธะแบบซัลไฟด์ซึ่งพบร่วมกับกรดอะมิโน อิ่มตัว ในแลนติไบโอติก (lantibiotics-แอนติไบโอติกเพปไทด์ของ แหล่งกำเนิดจุลินทรีย์) 1-อะมิโนไซโคลโพรเพน-1-คาร์บอกซิลิก แอซิก (1-Aminocyclopropane-1-carboxylic acid-ACC) เป็นกรดอะมิโนไซคลิกlic และเป็นผลผลิตระหว่างทางของการผลิต ฮอร์โมน พืช เอตทิลีน สาหร่ายแดง

กรดอะมิโนจำเป็น จิงๆนะ

บางตัวใน 20 ตัวของกรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถสังเคราะห์ ได้โดย ร่างกาย แต่ได้จาก สารประกอบ ผ่าน ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน มนุษย์ กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่

ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้

คำว่า กรดอะมิโนโซ่สาขา หมายถึงกรดอะมิโนอะลิฟาติกซึ่งได้แก่: ลิวซีน, ไอโซลิวซีน และ วาลีน

ลักษณะทางโครงสร้าง

ไอโซเมอริซึม (Isomerism)

ยกเว้น ไกลซีน ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชัน R = H กรดอะมิโนที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ที่จะมี 2 ออพติคัล ไอโซเมอร์ เรียกว่า D และ L กรดอะมิโน L จะแทนกรดอะมิโนจำนวนมากมายที่พบใน โปรตีน กรดอะมิโน D พบใน โปรตีน ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดพิเศษ เช่น หอยทากกรวย (cone snail) และพบเป็นส่วนประกอบจำนวนมากของ ผนังเซลล์ (cell wall) ของ แบคทีเรีย

ปฏิกิริยา (Reactions)

โปรตีนจะถูกสร้างโดยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ของกรดอะมิโนโดย พันธะเพปไทด์ ในกระบวนการที่เรียกว่า ทรานสเลชัน (translation)

การเกิดพันธะเพปไทด์
1. กรดอะมิโน ; 2, โครงสร้างzwitterion; 3, แสดงพันธะเพปไทด์ระหว่างกรดอะมิโน 2 ตัว (ดูด้วย พันธะเคมี)

อ้างอิง

  1. Lehninger, A.L., Nelson, D.L., and Cox, M.M. 1993. Principle of Biochemistry. 2nd ed. New York.: Worth
  • Doolittle, R.F. (1989) Redundancies in protein sequences. In Predictions of Protein Structure and the Principles of Protein Conformation (Fasman, G.D. ed) Plenum Press, New York, pp. 599-623
  • David L. Nelson and Michael M. Cox, Lehninger Principles of Biochemistry, 3rd edition, 2000, Worth Publishers, ISBN 1-57259-153-6
  • On the hydrophobic nature of cysteine.

ดูเพิ่ม

  • Doolittle, R.F. (1989) Redundancies in protein sequences. In Predictions of Protein Structure and the Principles of Protein Conformation (Fasman, G.D. ed) Plenum Press, New York, pp. 599-623
  • David L. Nelson and Michael M. Cox, Lehninger Principles of Biochemistry, 3rd edition, 2000, Worth Publishers, ISBN 1-57259-153-6
  • Meierhenrich, U.J.: Amino acids and the asymmetry of life, Springer-Verlag, Berlin, New York, 2008. ISBN 978-3-540-76885-2

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม