ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดโพธิ์ชัย (จังหวัดหนองคาย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
}}
}}


'''วัดโพธิ์ชัย''' ตั้งอยู่ที่ 873 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง [[อำเภอเมืองหนองคาย|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดหนองคาย]] เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดนิกาย[[มหานิกาย]]
'''วัดโพธิ์ชัย''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดนิกาย[[มหานิกาย]] ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง [[อำเภอเมืองหนองคาย|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดหนองคาย]]

== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
'''วัดโพธิ์ชัย''' เดิมเป็นวัดร้างตั้งอยู่บริเวณบ้านไผ่ มีชื่อเรียกกันว่า '''วัดผีผิว''' ไม่ปรากฏหลักฐานเมื่อแรกสร้าง แต่สันนิษฐานว่าเป็นพระอารามสำคัญของเวียงจันทน์มาแต่เดิม จนเมื่อท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) อุปฮาดเมืองยโสธร ได้รับอวยยศขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล และได้มาสร้างเมืองหนองคายขึ้นที่บ้านไผ่ มีการอัญเชิญพระเสริมและพระใส พระพุทธรูปสำคัญของเวียงจันทน์ที่ยึดมาได้คราวปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ มาไว้ที่วัดหอก่องในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณวัดหอก่องทำให้เกิดเป็นรอยแยกขนาดใหญ่ต่อหน้าพระเสริม ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันของชาวเมืองและขุนนางข้าราชการไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นอาเพศบ้านเมืองจะทุกข์ร้อน บ้างก็ว่าเป็นลางบอกเหตุว่าพระเสริมต้องการเสด็จไปวัดอื่น บ้างก็ว่าวัดหอก่องเป็นวัดเล็กไม่เหมาะสมที่จะนำพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ทรงสร้างมาประดิษฐานไว้ในที่แคบๆ เช่นนี้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น[[พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) | พระปทุมเทวาภิบาล]] ผู้เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมืองหนองคายจึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ในที่สุดก็มีมติว่าจะต้องหาสถานที่เพื่อสร้างเป็นวัดใหญ่ และอัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานอยู่ซึ่งสถานที่ดังกล่าวก็คือ วัดผีผิว
'''วัดโพธิ์ชัย''' เดิมชื่อ [[วัดผีผิว]] วัดนี้ใช้เป็นที่เผาผีหรือเผาศพ และมีผีดุ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นวัดโพธิ์ชัย ใน
[[สมัยกรุงรัตนโกสินทร์]] ปัจจุบันเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ[[ปางมารวิชัย]] [[สมัยเชียงแสน]] ชั้นหลัง หล่อด้วยทองสุก ([[ทองคำ]] ที่มีเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์ สีทองคำจะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่า สีทองสุก) มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 [[คืบ]] 8 นิ้ว สูงจากเบื้องล่างพระชงฆ์ ถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว มีห่วงกลมขนาด หัวแม่มือจำนวน 3 ห่วง ติดกับพระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์[[พระใส]] สำหรับผูกเชือกติดกับยานเวลาที่อัญเชิญลงมาแห่รอบเมืองให้ประชาชน ได้สรงน้ำในช่วง[[วันสงกรานต์]]


วัดผีผิวเป็นวัดร้างที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งอดีต ภายในประดิษฐานพระธาตุเจดีย์ลาวโบราณที่งดงาม และไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ดังนั้น จึงมีมติในการบูรณะวัดผีผิวและเปลี่ยนนามใหม่เป็น '''วัดโพธิ์ชัย''' เมื่อกรมเมืองหนองคายมีมติดังกล่าวแล้ว พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ผู้เป็นเจ้าเมืองก็ได้นำความเข้าปรึกษากับ'''ท่านญาครูหลักคำ''' ผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สุดของเมืองหนองคาย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคาย จึงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยมีท่านญาคูหลักคำเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการยกวัดโพธิ์ชัย คือการยกฐานะจากวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา พร้อมกับบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่เป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุและสามเณรขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๒ ดังปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ว่า
หลวงพ่อพระใส จัดสร้างขึ้นโดย [[พระราชธิดา]][[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] กษัตริย์แห่ง [[ล้านช้าง]] ทั้ง 3 พระองค์ คือ [[พระสุก]] [[พระเสริม]] และ[[พระใส]]


'''พระสุก''' นั้นได้จมลงที่[[แม่น้ำโขง]]ขณะอัญเชิญลงมายังกรุงเทพ บริเวณที่พระสุกจมลงชาวบ้านจึงเรียกว่า ''เวินพระสุก'' ยังปรากฏมาจนปัจจุบันนี้


''"...ศักราชได้ ๒๐๑ ปีกัดไค้ เจ้าเมืองหนองคาย (ยก) วัดโพไซย เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ วันเสาร์แล..."''
ส่วน'''พระเสริม'''นั้นได้อัญเชิญลงมายัง[[กรุงเทพ]]ฯ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่[[วัดปทุมวนาราม]]
''- พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์''


เมื่อทำการบูรณะและยกวัดเสร็จแล้ว พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ได้นิมนต์ท่านญาคูหลักคำมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระเสริมจากวัดหอก่องมาประดิษฐานที่สิม (พระอุโบสถ) วัดโพธิ์ชัย แต่นั้นมาวัดโพธิ์ชัยก็กลายมาเป็นวัดหลวงประจำเมืองหนองคาย เนื่องจากเจ้าเมืองเป็นผู้สร้างหรือบูรณะขึ้น อนึ่ง ภายหลังจากประกอบพิธียกวัดโพธิ์ชัยและอัญเชิญพระเสิมมาประดิษฐานยังวัดโพธิ์ชัยแล้ว ถัดจากนั้นมาอีก ๑๓ วัน คือ วันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญคือเกิดสุริยุปราคาขึ้น

หลัง พ.ศ. ๒๓๘๒ เป็นต้นมา พระเสิมและพระใสก็ได้รับการเคารพบูชาจากชาวเมืองหนองคายรวมถึงขุนนางข้าราชการจากกรุงเทพมหานครที่ได้เดินทางมาราชการที่เมืองหนองคายเป็นนิจ สมัยนั้นวัดโพธิ์ชัยมีท่านญาคูหลักคำเป็นเจ้าอาวาสก็ดำเนินการปกครองและพัฒนาวัดตามสมควร โดยได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากท่านเจ้าเมืองคือพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ทำให้วัดได้รับความเจริญมาตามลำดับ [2] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะได้พระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดบวรสถานมงคลหรือวัดพระแก้ววังหน้าที่ทรงให้สร้างขึ้นที่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทรงทราบว่ามีพระพุทธรูปล้านช้างที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงมีพระรับสั่งให้อัญเชิญมาตั้งตั้งครั้งสงครามปราบกบฎเวียงจันทน์แต่ยังคงค้างอยู่ที่เมืองหนองคาย ในปีพ.ศ. ๒๓๙๙ พระองค์ทรงมีพระบวราชโองการให้ขุนวรราชธานี และเจ้าเหม็น (โอรสเจ้าอนุวงศ์)เป็นข้าหลวงขึ้นมาอัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปกรุงเทพฯ ดังปรากฏในพงศาวดารย่อฯ ความตอนหนึ่งว่า ''"เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ มื้อเต่าเส็ด ขุนวรธานีแลเจ้าเหม็น เปนข้าหลวงมาเอาพระเสิม ยกจากเมืองหนองคายไปไทยก็ปีนั้น"''

และเมื่อขุนวรธานีและเจ้าเหม็น เป็นข้าหลวงอัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ดังนั้นหลวงพ่อพระใสจึงประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยจนถึงปัจจุบัน


วัดโพธิ์ชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จเป็นองค์ประธาน ยกช่อฟ้าพระ[[อุโบสถ]]วัดโพธิ์ชัย
วัดโพธิ์ชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จเป็นองค์ประธาน ยกช่อฟ้าพระ[[อุโบสถ]]วัดโพธิ์ชัย
บรรทัด 49: บรรทัด 54:
[[พ.ศ. 2523]] ประกอบพิธี[[ผูกพัทธสีมา]]
[[พ.ศ. 2523]] ประกอบพิธี[[ผูกพัทธสีมา]]
[[พ.ศ. 2524]] ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
[[พ.ศ. 2524]] ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ปัจจุบันมี [[พระธรรมมงคลรังษี (คำบ่อ อรุโณ)]] เป็นเจ้าอาวาส



== หลวงพ่อพระใส ==
== หลวงพ่อพระใส ==
{{บทความหลัก|พระใส}}
{{บทความหลัก|พระใส}}

{{โครงส่วน}}
'''หลวงพ่อพระใส''' เป็นพระประธานของวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ[[ปางมารวิชัย]] [[สมัยเชียงแสน]] ชั้นหลัง หล่อด้วยทองสุก ([[ทองคำ]] ที่มีเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ประมาณ ๙๒ เปอร์เซนต์ สีทองคำจะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่า สีทองสุก) มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง [[คืบ]] นิ้ว สูงจากเบื้องล่างพระชงฆ์ ถึงยอดพระเกศ คืบ นิ้ว มีห่วงกลมขนาด หัวแม่มือจำนวน ห่วง ติดกับพระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์[[พระใส]] สำหรับผูกเชือกติดกับยานเวลาที่อัญเชิญลงมาแห่รอบเมืองให้ประชาชน ได้สรงน้ำในช่วง[[วันสงกรานต์]]

หลวงพ่อพระใส จัดสร้างขึ้นโดย [[พระราชธิดา]][[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] กษัตริย์แห่ง [[ล้านช้าง]] ทั้ง พระองค์ คือ [[พระสุก]] [[พระเสริม]] และ[[พระใส]]

'''พระสุก''' นั้นได้จมลงที่[[แม่น้ำโขง]]ขณะอัญเชิญลงมายังกรุงเทพ บริเวณที่พระสุกจมลงชาวบ้านจึงเรียกว่า ''เวินพระสุก'' ยังปรากฏมาจนปัจจุบันนี้ ส่วน'''พระเสริม'''นั้นได้อัญเชิญลงมายัง[[กรุงเทพ]]ฯ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่[[วัดปทุมวนาราม]]




== ความสำคัญ ==
== ความสำคัญ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:07, 6 มีนาคม 2560

วัดโพธิ์ชัย
หลวงพ่อพระใส ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโพธิ์ชัย
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท
พระประธานหลวงพ่อพระใส
เว็บไซต์www.watphochai.net
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโพธิ์ชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดนิกายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ประวัติ

วัดโพธิ์ชัย เดิมเป็นวัดร้างตั้งอยู่บริเวณบ้านไผ่ มีชื่อเรียกกันว่า วัดผีผิว ไม่ปรากฏหลักฐานเมื่อแรกสร้าง แต่สันนิษฐานว่าเป็นพระอารามสำคัญของเวียงจันทน์มาแต่เดิม จนเมื่อท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) อุปฮาดเมืองยโสธร ได้รับอวยยศขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล และได้มาสร้างเมืองหนองคายขึ้นที่บ้านไผ่ มีการอัญเชิญพระเสริมและพระใส พระพุทธรูปสำคัญของเวียงจันทน์ที่ยึดมาได้คราวปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ มาไว้ที่วัดหอก่องในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณวัดหอก่องทำให้เกิดเป็นรอยแยกขนาดใหญ่ต่อหน้าพระเสริม ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันของชาวเมืองและขุนนางข้าราชการไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นอาเพศบ้านเมืองจะทุกข์ร้อน บ้างก็ว่าเป็นลางบอกเหตุว่าพระเสริมต้องการเสด็จไปวัดอื่น บ้างก็ว่าวัดหอก่องเป็นวัดเล็กไม่เหมาะสมที่จะนำพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ทรงสร้างมาประดิษฐานไว้ในที่แคบๆ เช่นนี้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระปทุมเทวาภิบาล ผู้เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมืองหนองคายจึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ในที่สุดก็มีมติว่าจะต้องหาสถานที่เพื่อสร้างเป็นวัดใหญ่ และอัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานอยู่ซึ่งสถานที่ดังกล่าวก็คือ วัดผีผิว

วัดผีผิวเป็นวัดร้างที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งอดีต ภายในประดิษฐานพระธาตุเจดีย์ลาวโบราณที่งดงาม และไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ดังนั้น จึงมีมติในการบูรณะวัดผีผิวและเปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดโพธิ์ชัย เมื่อกรมเมืองหนองคายมีมติดังกล่าวแล้ว พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ผู้เป็นเจ้าเมืองก็ได้นำความเข้าปรึกษากับท่านญาครูหลักคำ ผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สุดของเมืองหนองคาย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคาย จึงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยมีท่านญาคูหลักคำเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการยกวัดโพธิ์ชัย คือการยกฐานะจากวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา พร้อมกับบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่เป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุและสามเณรขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๒ ดังปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ว่า


                                                           "...ศักราชได้ ๒๐๑ ปีกัดไค้ เจ้าเมืองหนองคาย (ยก) วัดโพไซย เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ วันเสาร์แล..."
                                                                                                                                                                - พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์


เมื่อทำการบูรณะและยกวัดเสร็จแล้ว พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ได้นิมนต์ท่านญาคูหลักคำมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระเสริมจากวัดหอก่องมาประดิษฐานที่สิม (พระอุโบสถ) วัดโพธิ์ชัย แต่นั้นมาวัดโพธิ์ชัยก็กลายมาเป็นวัดหลวงประจำเมืองหนองคาย เนื่องจากเจ้าเมืองเป็นผู้สร้างหรือบูรณะขึ้น อนึ่ง ภายหลังจากประกอบพิธียกวัดโพธิ์ชัยและอัญเชิญพระเสิมมาประดิษฐานยังวัดโพธิ์ชัยแล้ว ถัดจากนั้นมาอีก ๑๓ วัน คือ วันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญคือเกิดสุริยุปราคาขึ้น

หลัง พ.ศ. ๒๓๘๒ เป็นต้นมา พระเสิมและพระใสก็ได้รับการเคารพบูชาจากชาวเมืองหนองคายรวมถึงขุนนางข้าราชการจากกรุงเทพมหานครที่ได้เดินทางมาราชการที่เมืองหนองคายเป็นนิจ สมัยนั้นวัดโพธิ์ชัยมีท่านญาคูหลักคำเป็นเจ้าอาวาสก็ดำเนินการปกครองและพัฒนาวัดตามสมควร โดยได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากท่านเจ้าเมืองคือพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ทำให้วัดได้รับความเจริญมาตามลำดับ [2] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะได้พระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดบวรสถานมงคลหรือวัดพระแก้ววังหน้าที่ทรงให้สร้างขึ้นที่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทรงทราบว่ามีพระพุทธรูปล้านช้างที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงมีพระรับสั่งให้อัญเชิญมาตั้งตั้งครั้งสงครามปราบกบฎเวียงจันทน์แต่ยังคงค้างอยู่ที่เมืองหนองคาย ในปีพ.ศ. ๒๓๙๙ พระองค์ทรงมีพระบวราชโองการให้ขุนวรราชธานี และเจ้าเหม็น (โอรสเจ้าอนุวงศ์)เป็นข้าหลวงขึ้นมาอัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปกรุงเทพฯ ดังปรากฏในพงศาวดารย่อฯ ความตอนหนึ่งว่า "เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ มื้อเต่าเส็ด ขุนวรธานีแลเจ้าเหม็น เปนข้าหลวงมาเอาพระเสิม ยกจากเมืองหนองคายไปไทยก็ปีนั้น"

และเมื่อขุนวรธานีและเจ้าเหม็น เป็นข้าหลวงอัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ดังนั้นหลวงพ่อพระใสจึงประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยจนถึงปัจจุบัน

วัดโพธิ์ชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเป็นองค์ประธาน ยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2523 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา พ.ศ. 2524 ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ปัจจุบันมี พระธรรมมงคลรังษี (คำบ่อ อรุโณ) เป็นเจ้าอาวาส


หลวงพ่อพระใส

หลวงพ่อพระใส เป็นพระประธานของวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน ชั้นหลัง หล่อด้วยทองสุก (ทองคำ ที่มีเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ประมาณ ๙๒ เปอร์เซนต์ สีทองคำจะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่า สีทองสุก) มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว สูงจากเบื้องล่างพระชงฆ์ ถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว มีห่วงกลมขนาด หัวแม่มือจำนวน ๓ ห่วง ติดกับพระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์พระใส สำหรับผูกเชือกติดกับยานเวลาที่อัญเชิญลงมาแห่รอบเมืองให้ประชาชน ได้สรงน้ำในช่วงวันสงกรานต์

หลวงพ่อพระใส จัดสร้างขึ้นโดย พระราชธิดาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่ง ล้านช้าง ทั้ง ๓ พระองค์ คือ พระสุก พระเสริม และพระใส

พระสุก นั้นได้จมลงที่แม่น้ำโขงขณะอัญเชิญลงมายังกรุงเทพ บริเวณที่พระสุกจมลงชาวบ้านจึงเรียกว่า เวินพระสุก ยังปรากฏมาจนปัจจุบันนี้ ส่วนพระเสริมนั้นได้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพฯ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดปทุมวนาราม


ความสำคัญ

อ้างอิง