พิมเสน
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
endo-1,7,7-Trimethyl- bicyclo[2.2.1]heptan-2-ol
| |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.006.685 | ||
KEGG | |||
ผับเคม CID
|
|||
UNII | |||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ | |||
C10H18O | |||
มวลโมเลกุล | 154.253 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | เกล็ดสีขาวถึงไม่มีสี | ||
กลิ่น | ฉุนคล้ายการบูร | ||
ความหนาแน่น | 1.011 g/cm3 (20 °C)[1] | ||
จุดหลอมเหลว | 208 องศาเซลเซียส (406 องศาฟาเรนไฮต์; 481 เคลวิน) | ||
จุดเดือด | 213 องศาเซลเซียส (415 องศาฟาเรนไฮต์; 486 เคลวิน) | ||
ละลายได้บ้าง (D-form) | |||
ความสามารถละลายได้ ใน ตัวทำละลายอื่น | ละลายในคลอโรฟอร์ม เอทานอล แอซีโทน อีเทอร์ เบนซีน โทลูอีน เดคาลิน เททราลิน | ||
ความอันตราย | |||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
จุดวาบไฟ | 65 องศาเซลเซียส (149 องศาฟาเรนไฮต์; 338 เคลวิน) | ||
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | External MSDS | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
Bornane (hydrocarbon) | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
พิมเสน (อังกฤษ: borneol) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดไบไซคิก (มีสองวงแหวนในโครงสร้าง) และเป็นสารกลุ่มเทอร์พีน มีสูตรเคมีคือ C10H18O มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวถึงไม่มีสี มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีเถ้า มีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.011[2]
พิมเสนพบในพืชหลายชนิดเช่น หนาด (Blumea balsamifera), เปราะหอม (Kaempferia galanga), พืชวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) และพืชสกุล Artemisia[3] พิมเสนเป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์กลายเป็นสารกลุ่มคีโตน (การบูร) ได้ง่ายมาก จึงมีชื่อเรียกในอดีตว่า Borneo camphor พิมเสนสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชันระหว่างการบูรกับโซเดียมบอโรไฮไดรด์ (NaBH4) ซึ่งจะได้พิมเสนในรูปไอโซบอร์เนออล (isoborneol)
พิมเสนมีสรรพคุณขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด[4] ใช้ผสมในน้ำมันหอมระเหย[5] และเป็นสารไล่แมลง[6] อย่างไรก็ตามพิมเสนทำให้ระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 3.56. ISBN 0-8493-0486-5.
- ↑ คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 499, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
- ↑ Wong, K. C.; Ong, K. S.; Lim, C. L. (2006). "Composition of the essential oil of rhizomes of Kaempferia Galanga L.". Flavour and Fragrance Journal. 7 (5): 263–266. doi:10.1002/ffj.2730070506.
- ↑ พิมเสน - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ↑ Plants containing borneol เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Dr. Duke's Phytochemical and Ethnobotanical Databases)]
- ↑ "Chemical Information". sun.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
- ↑ Material Safety Data Sheet, Fisher Scientific
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พิมเสน
- "Borneol - MSDS" (PDF). USC Upstate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.