พาสคีย์
พาสคีย์ (อังกฤษ: passkey) เป็นวิธีลงชื่อเข้าบัญชีผู้ใช้ในเว็บไซต์หรือในแอปโดยผู้ใช้ไม่ต้องจำรหัสผ่านโดยเฉพาะๆ[1] กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นข้อมูลดิจิทัลส่วนบุคคลที่ใช้เป็นวิธีพิสูจน์ตัวผู้ใช้ (authentication) โดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน[2][3][4] เป็นมาตรฐานที่โปรโหมตโดยเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และสมาคมไฟโดอัลไลอานซ์ (FIDO Alliance)[5] เป็นข้อมูลที่มักเก็บไว้ในระบบปฏิบัติการ (เช่น วินโดวส์) หรือในเว็บเบราว์เซอร์ (เช่น โครม) แล้วซิงก์ (ทำให้มีเหมือนๆ กัน) ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระบบเหมือนๆ กัน (เช่น ใช้โครม) โดยอาศัยกลุ่มเมฆ (คราวด์)[2][6] แต่ก็ยังอาจจำกัดอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวเช่นกุญแจความปลอดภัย (security key) ต่างหากๆ เช่นยูบิคีย์[3] เป็นมาตรฐานที่สะดวกใช้และทนทานต่อปัญหาฟิชชิงได้ดีกว่าวิธีพิสูจน์ผู้ใช้ที่เคยมีมาก่อน เช่น การใช้ที่อยู่อีเมลบวกกับรหัสผ่าน[5][7] เป็นระบบที่ปลอดภัยเพราะผู้ใช้ต้องมีตัวอุปกรณ์เอง (เช่น สมาร์ตโฟน กุญแจความปลอดภัย หรือคอมพิวเตอร์) เป็นปัจจัยความปลอดภัยประการที่หนึ่ง และมักต้องพิสูจน์ตนเองด้วยลักษณะทางชีวมิติ (เช่น ลายนิ้วมือ) เป็นปัจจัยความปลอดภัยประการที่สอง โดยไม่ต้องจำรหัสผ่านสำหรับปัจจัยทั้งสอง
ในการตลาด คำว่า พาสคีย์ เป็นคำที่เลือกใช้แทนคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ไฟโด หรือเว็บออเทน เพราะมีโอกาสทำให้สับสนน้อยกว่า[8] แม้จะเข้าใจกันผิดๆ บ้างว่า พาสคีย์ใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ของแอปเปิลเท่านั้น[8]
ประวัติ
[แก้]คำว่า พาสคีย์ เริ่มเป็นคำนิยมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022 เมื่อบริษัทแอปเปิลประกาศว่าจะสนับสนุนมาตรฐานนี้ในระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแมคโอเอส[7][2] เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ยินคำนี้ จึงมักคิดกันว่าเป็นลูกเล่นที่มีเฉพาะในผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล แต่จริงๆ บริษัทอื่นๆ รวมทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิลต่างก็ใช้คำนี้เช่นกัน[8] ดังนั้นในภาษาอังกฤษ จึงควรใช้เป็นนามสามัญ (คือ สะกดเป็นอักษรเล็ก ยกเว้นเมื่อใช้หน้าประโยค)[8][3][5] ส่วนกูเกิลได้ประกาศว่าระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และเว็บบราวเซอร์กูเกิล โครมจะสนับสนุนพาสคีย์ในเดือนตุลาคม 2022[9] และสามารถใช้กับบัญชีกูเกิลส่วนตัวได้ในเดือนพฤษภาคม 2023[10]
ส่วนบริษัทตัวจัดการรหัสผ่าน Dashlane เป็นบริษัทแรกที่สนับสนุนการเก็บพาสคีย์ไว้ในส่วนขยายของเว็บบราวเซอร์ในเดือนสิงหาคม 2022[6] ตามด้วย NordPass ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023[11] ในเดือนพฤษภาคม 2023 กูเกิลจึงประกาศว่าสามารถเริ่มใช้พาสคีย์ในบริการลงชื่อเข้าบัญชีต่างๆ ได้แล้ว[12]
โปรแกรมตัวจัดการรหัสผ่านอื่นๆ ต่างก็มีแผนสนับสนุนมาตรฐานนี้[13][14]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "The beginning of the end of the password". 2003-05-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-21.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Shein, Esther (2022-06-06). "Apple touts Passkey, its new privacy feature, at WWDC 2022". TechRepublic. TechnologyAdvice. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Passkeys (Passkey Authentication)". FIDO Alliance. FIDO Alliance. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ "Passwordless login with passkeys". Google Developers. Google. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Expansion of FIDO standard and new updates for Microsoft passwordless solutions". Tech Community. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ 6.0 6.1 "Ushering in the Passwordless Future at Dashlane". Dashlane. Dashlane. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ 7.0 7.1 Clemons, Taylor (2022-06-06). "WWDC 2022: Apple announces Passkey feature to eliminate passwords across platforms". ZDNET. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Shakir, Umar (2022-08-06). "Reminder: passkeys are not just from Apple". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ Nield, David (2022-10-16). "How to Use Passkeys in Google Chrome and Android". WIRED. Condé Nast. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ Burt, Jeff (2023-05-04). "Google opens up passkeys to personal account holders". The Register. Situation Publishing. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ "What Is a Passkey?". NordPass. Nord Security. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ ThioJoe (2023-05-28). "Google Accounts Just Got an AWESOME New Feature". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2023-06-17.
- ↑ "Save and sign in with passkeys using 1Password in the browser". 1Password. 1Password. 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-17.
- ↑ "Bitwarden Roadmap 2023". Vimeo. Bitwarden. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.