ข้ามไปเนื้อหา

พระใบฎีกาอินทร์ (หลวงพ่ออินทร์เทวดา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระใบฎีกาอินทร์

(อินทร์ , หลวงพ่ออินทร์เทวดา)
ชื่ออื่นหลวงพ่ออินทร์ วัดราษฎรบำรุง
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2419 (44 ปี)
มรณภาพ26 กันยายน พ.ศ. 2463
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราษฎรบำรุง ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 
อุปสมบทพ.ศ. 2440
พรรษา23 พรรษา
ตำแหน่ง- อดีตเจ้าคณะหมวดบ้านคอย
- อดีตเจ้าอาวาสวัดราษฎรบำรุง

พระใบฎีกาอินทร์ นิยมเรียกว่า “หลวงพ่ออินทร์ วัดราษฎรบำรุง” หรือ "หลวงพ่อวัดใหม่โรงหีบ" มีฉายาว่า "หลวงพ่ออินทร์เทวดา" เป็นพระเถราจารย์จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเจ้าคณะหมวดบ้านคอย อดีตเจ้าอาวาสวัดราษฎรบำรุง ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี[1]

ประวัติ[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

ชื่อ อินทร์ บ้างเขียนว่า อิน สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้ ชาตะวันอาทิตย์ เดือน 12 ปีชวด พ.ศ. 2419[2]

วัยเยาว์[แก้]

วัยเยาว์ไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากต้องช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพ

อุปสมบท[แก้]

บรรพชาและอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2440 ณ พัทธสีมาวัดพร้าว ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพร้าว เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์ปลื้ม วัดพร้าว เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ปลื้ม (อีกรูปหนึ่ง) วัดพร้าว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดพร้าว ศึกษาอักษรสมัย (หนังสือขอม) จากพระอาจารย์พริ้ง วชิรสุวณฺโณ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูธรรมสารรักษา) ท่านเล่าว่าเรียนคู่กับพระอาจารย์หวาด ซึ่งเป็นคู่แข่งกันมา ท่านสามารถเทศน์ปากเปล่าได้ พระอาจารย์หวาดเอาอย่างบ้าง แต่ไม่ได้เหมือน

ต่อมาย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อ เวลานั้นโรงไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าวัดเลียบ ซึ่งติดกับวัด) ตั้งใหม่ๆ กุฏิสะเทือนไปหมด บิณฑบาตก็ลำบาก ไม่พอฉัน จึงต้องกลับวัดพร้าวตามเดิม[2]

ผลงาน[แก้]

ผลงานพระใบฎีกาอินทร์ เท่าที่พบข้อมูล[1][2][3]

งานปกครอง[แก้]

งานสาธารณูปการ[แก้]

  • สร้างหอสวดมนต์ ขนาด 3 ห้อง (5 ห้องรวมเฉลียง) หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • สร้างกุฎิ เครื่องบนและฝาไม้สัก พื้นไม้มะม่วงป่า หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • สร้างกุฎิ เครื่องไม้สัก ขนาด 3 ห้อง ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • มีผู้ถวายเรือน ฝาสำหรวด (ฝากรุจาก) ขนาด 3 ห้อง นำมาสร้างเป็นกุฎิ ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • สร้างกุฎิ เครื่องบนไม้ป่า ฝาไม้สัก ขนาด 5 ห้อง ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • ทำนอกชานรอบหอสวดมนต์ เพื่อเชื่อมกุฏิกับหอสวดมนต์ติดต่อกันทั้ง 5 หลัง
  • สร้างศาลาการเปรียญ เครื่องไม้ป่า หลังคาลดระดับ 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง
  • หล่อพระพุทธรูปประจำศาลาการเปรียญ ที่วัดราษฎรบำรุง
  • หล่อระฆังประจำวัด ที่วัดราษฎรบำรุง
  • หล่อช่อฟ้าศาลาการเปรียญ ที่วัดราษฎรบำรุง
  • สร้างศาลาคู่ มีนอกชานกลาง ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 2 หลัง
  • สร้างกุฏิสงฆ์ ที่วัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 หลัง
  • สร้างหอไตร 2 ชั้น ชั้นบนทำหลังคาเป็น 4 มุข แต่ละมุขลดระดับ 3 ชั้น มียอดกลางแบบปราสาท ชั้นล่างทำเป็นพาไลกว้างออกไป เสาตั้งบนดิน ที่วัดราษฎรบำรุง จำนวน 1 หลัง (สร้างไม่เสร็จ เนื่องจากมรณภาพ)
  • เตรียมไม้ชิงชันเพื่อสร้างธรรมาสน์ (สร้างไม่เสร็จ เนื่องจากมรณภาพ)

งานสาธารณสงเคราะห์[แก้]

  • สร้างถนนจากวัดราษฎรบำรุงถึงบ้านหนองสระ ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สร้างสะพานข้ามลำน้ำห้วยไกร ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 แห่ง
  • สร้างศาลาที่พักกลางทาง ที่บ้านดอนกะพี้ ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 หลัง
  • ขุดสระน้ำสาธารณะ ที่บ้านหนองสระ ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 สระ
  • สร้างศาลากลางบ้าน ที่บ้านหนองสระ ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 หลัง
  • สร้างศาลาที่พักกลางทาง ระหว่างทางจากบ้านหนองสระถึงบ้านสระกระโจม ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ทราบจำนวนชัดเจน

งานพิเศษ[แก้]

  • พ.ศ. 2456 ช่วยเหลือราชการแผ้วถางป่า ทำถนน ขุดสระน้ำ และสร้างพลับพลารองรับการเสด็จของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในการเสด็จบวงสรวงและสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถี ที่ดอนทำพระ ตำบลบ้านคอย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. ยังไม่พบข้อมูล เป็นพระฐานานุกรมใน พระครูปลื้ม วัดพร้าว (เจ้าคณะแขวงศรีประจันต์) ที่ พระใบฎีกาอินทร์

อาพาธ - มรณภาพ[แก้]

พระใบฎีกาอินทร์ อาพาธเป็นวัณโรค กระทั่งวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2463 (วันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก) เวลา 21.57 น. ถึงแก่มรณภาพ สิริอายุย่างเข้า 44 ปี อุปสมบทได้ 23 พรรษา[2]

ศิษย์[แก้]

ศิษย์พระใบฎีกาอินทร์ อาทิ[1][2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 พีระศักดิ์ สุนทรวิภาต. (2563). ที่ระลึก 125 ปีชาตกาล 40 ปีมรณภาพ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กุศลบุญการพิมพ์.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 พระอธิการจุ้ย ตนฺติปาโล. (2525). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสิริยาภินันท์ (หลวงพ่อแช่ม ฐานคุโณ). สุพรรณบุรี: มนัสการพิมพ์
  3. พระศีลขันธโศภิต. (2499). ที่ระลึกในงานเปิดป้ายและฉลองอาคารเรียน โรงเรียนประชาบาลตำบลดอนเจดีย์ 1 (วัดราษฎร์บำรุง). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระใบฎีกาอินทร์ (หลวงพ่ออินทร์เทวดา) ถัดไป
พระครูปลื้ม
(รักษาการ)

เจ้าอาวาสวัดราษฎรบำรุง
(พ.ศ. 2446 — พ.ศ. 2463)
พระอาจารย์ทอง ศรีคำ
(รักษาการ)
เจ้าอธิการอินทร์ วัดโพธาราม
เจ้าคณะหมวดบ้านคอย
(พ.ศ. ยังไม่พบข้อมูล – พ.ศ. 2463)
ยังไม่พบข้อมูล