พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมเมธาภรณ์

(ระแบบ ฐิตญาโณ)
ส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2477 (81 ปี 24 วัน ปี)
มรณภาพ18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
นักธรรมชั้นเอก
ปริญญาตรีจาก สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
ปริญญาโท จากประเทศอินเดีย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2498
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผู้เขียนหนังสือศาสนาพุทธชื่อดังจำนวนมาก เช่น ชีวิตนี้ใครลิขิต นักศึกษาสงสัย ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พุทธทัศน์พัฒนา เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

ชาตภูมิ[แก้]

พระธรรมเมธาภรณ์ นามเดิม ระแบบ พรหมพันธุ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2477 ณ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายชวน-นางกวั้ง[1] พรหมพันธุ์ และเป็นพี่ชายต่างมารดาของนายจตุพร พรหมพันธุ์[2][3]

อุปสมบท[แก้]

พระธรรมเมธาภรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2492 ณ วัดมหิสสราราม โดยมีพระครูบริหารสังฆกิจ (เต้ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโทแล้วลาสิกขา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2498 ณ วัดเกาะจาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระครูโพธาภิรามุนี วัดสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์[1] ได้รับฉายาทางธรรมว่า "ฐิญาโณ"

ต่อมาได้เป็นศิษย์ของพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช[4]

การศึกษา[แก้]

  • ในเบื้องต้นจบการศึกษาชั้นมัธยม 1 จากโรงเรียนปากพนังวิทยา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • การศึกษาพระปริยัติสอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดเกาะจาก
  • สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
  • จบปริญญาโท จากประเทศอินเดีย

สมณศักดิ์[แก้]

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ดังนี้

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณคณาภรณ์[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมนิเทศ สรรพเขตศรัทธาปสาทกร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพดิลก สาธกพุทธศาสน์ ปฏิภาณวาทวิศิฏฐ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรธรรมภาณี ตรีปิฎกวจนาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]

มรณภาพ[แก้]

พระธรรมเมธาภรณ์ ถึงแก่มรณภาพ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 03:20 น. สิริอายุ 81 ปี 24 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พระเทพดิลก ระแบบ ฐิตญาโณ เป็นพระธรรมเมธาภรณ์". วัดบวรนิเวศวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. คำเตือนถึงเพื่อนเก่า จตุพร (ตู่) พรหมพันธุ์[ลิงก์เสีย] วัชระ เพชรทอง, แนวหน้า, 2-6-2007
  3. ป๋าเปรมผจญมาร พระมหาระแบบช่วยได้ ![ลิงก์เสีย] วัชระ เพชรทอง, แนวหน้า, 1-7-2007
  4. วีรกรรม“ตู่ จตุพร”หนีแม่-หนีเมีย-หนีม็อบ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๕, ตอนที่ ๒๔ ฉบับพิเศษ, ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๑, หน้า ๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๑๗ ฉบับพิเศษ, ๘ ธันวาคม ๒๕๓๒, หน้า ๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอนที่ ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๘, ตอนที่ ๑๒ ข, ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔, หน้า ๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]