ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ28 มีนาคม พ.ศ. 2417
สิ้นพระชนม์6 สิงหาคม พ.ศ. 2481 (64 ปี)
พระสวามีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
พระบุตร9 องค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระมารดาหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี (28 มีนาคม พ.ศ. 2417 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2481) มีพระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติที่ หม่อมเจ้าอาภาพรรณี เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ประสูติแต่หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา เป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ และเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ครั้นในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ด้วยเป็นพระสสุรี

พระประวัติ

[แก้]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ประสูติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2417 เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่จากทั้งหมดห้าพระองค์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา มีพระกนิษฐาและพระอนุชา คือ หม่อมเจ้าหญิงกลาง, หม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย, หม่อมเจ้าน้อย, หม่อมเจ้ากลาง และหม่อมเจ้าปรีดียากร ตามลำดับ

พระองค์มีกิติศัพท์ด้านความงามเป็นที่ลือเลื่อง[1] ครั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดาผู้ทรงสิริโฉมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติในปี พ.ศ. 2420 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสกับกรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า "ฉันไม่แพ้เธอแล้ว" กล่าวกันว่าทรงงามทันสมัยไม่หยาดเยิ้มแต่ดูเก๋

เสกสมรส

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีพระโอรส-ธิดารวม 9 องค์ ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าเสรีสวัสดิกมล สวัสดิวัตน์ (6 กันยายน พ.ศ. 2445 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2454)
  2. หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ (8 มกราคม พ.ศ. 2446 — 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2514) เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร, หม่อมแตงนวล และหม่อมประเทือง สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
  3. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 — 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  4. หม่อมเจ้าใหม่ สวัสดิวัตน์ (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 — 17 มีนาคม พ.ศ. 2448)
  5. หม่อมเจ้าแดง สวัสดิวัตน์ (25 เมษายน พ.ศ. 2450 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2450)
  6. หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ (25 เมษายน พ.ศ. 2452 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ วุฒิชัย
  7. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ (15 มกราคม พ.ศ. 2453 — 26 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี
  8. หม่อมเจ้ารอดรมาภัฎ สวัสดิวัตน์ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 — 4 สิงหาคม พ.ศ. 2460)
  9. หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์ (9 มีนาคม พ.ศ. 2460 — 24 กันยายน พ.ศ. 2528) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ภัทราตรีทศ เทวกุล

ปลายพระชนม์

[แก้]

เมื่อถึงปีมะเส็งในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ด้วยเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี[2] แต่หลังการยึดอำนาจของคณะราษฎร พระองค์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ พระสวามี และเจ้านายชั้นสูงหลายพระองค์ได้เสด็จลี้ภัยบนเกาะปีนัง[3]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2481 สิริพระชันษา 64 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • หม่อมเจ้าอาภาพรรณี คัคณางค์ (28 มีนาคม 2417 – 16 เมษายน พ.ศ. 2458)
  • หม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (16 เมษายน พ.ศ. 2458 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2481)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ปกเกล้าปกกระหม่อม (3)". เดลินิวส์. 15 มกราคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-26. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ก, ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๑๗๔
  3. "ติดเกาะ! ตามสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไป "ลี้ภัยการเมือง" ที่ปีนัง". สารคดี. 18 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/D/2929.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 40, ตอน 0 ง, 27 มกราคม พ.ศ. 2466, หน้า 3765
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114