พระองคุลิมาลเถระ
พระองคุลิมาลเถระ | |
---|---|
องคุลีมาล (ขวา) ไล่ตามพระพุทธเจ้าหมายจะตัดนิ้วของพระองค์เป็นนิ้วที่ 1,000 ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะโปรดให้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อเดิม | อหิงสกะ |
ชื่ออื่น | อหิงสกะ, พระองคุลิมาล, อหิงสกะกุมาร, องคุลิมาลโจร, โจรองคุลิมาล |
สถานที่เกิด | เมืองสาวัตถี |
สถานที่บวช | ป่าองคุลิมาล |
วิธีบวช | เอหิภิกขุอุปสัมปทา |
สถานที่บรรลุธรรม | ป่าองคุลิมาล |
อาจารย์ | อาจารย์ในเมืองตักสิลา |
ฐานะเดิม | |
ชาวเมือง | สาวัตถี |
บิดา | ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิ นามว่า "คัคคะ" |
มารดา | นางมันตานี |
วรรณะเดิม | วรรณะแพศย์ |
สถานที่รำลึก | |
สถานที่ | ซากบ้านมารดาองคุลิมาล ภายในเมืองสาวัตถี และป่าองคุลีมาล สถานที่หลบซ่อนตัว บวช และบรรลุธรรมของท่าน |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา |
องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากภาษาบาลี องฺคุลิมาล, จาก องฺคุลิ (นิ้วมือ) + มาล (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย
แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตในราชสำนักของ พระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี บิดามีนามว่า "คัคคะ" มารดามีนามว่า นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา [1] และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก[2]
เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.และคณะ. (2557). พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University.รายงานการวิจัย, กองวิชาการ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 271 หรือ ขุ.อป.(ไทย) 32/585/89
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ อังคุลิมาลสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 15-7-52