พญาเกียรติ์แห่งเมาะตะมะ
พญาเกียรติ์ ဗညားကျန်း | |
---|---|
อุปราชแห่งเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | 1422–1442/43 |
ก่อนหน้า | พญาธรรมราชา (ในฐานะ ผู้ว่าราชการ) |
ถัดไป | ตะละมีซอ? (ในฐานะ ผู้ว่าราชการ) |
กษัตริย์ | พญาธรรมราชา (1422–1424) พญารามที่ 1 (1424–1442/43) |
ผู้ว่าราชการแห่งทะละ | |
ครองราชย์ | ใน ค.ศ. 1414–1422 |
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ |
ถัดไป | พญารามที่ 1 (ก่อกบฏ) |
กษัตริย์ | พระเจ้าราชาธิราช (1414–1421) พญาธรรมราชา (1421–1422) |
ประสูติ | ป. ค.ศ. 1395 พะโค อาณาจักรหงสาวดี |
สวรรคต | ค.ศ. 1442/43 เมาะตะมะ อาณาจักรหงสาวดี |
พระราชบิดา | พระเจ้าราชาธิราช |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พญาเกียรติ์ (มอญ: ဗညာကေန်; พม่า: ဗညားကျန်း, เสียงอ่านภาษาพม่า: [bəɲá dʑáɴ], ค.ศ. 1395 – 1442/43) อุปราชแห่งเมาะตะมะจาก ค.ศ. 1422 ถึง 1442/43 พระราชโอรสของ พระเจ้าราชาธิราช พญาเกียรติ์เป็นเจ้าเมืองทะละ จาก ค.ศ. 1414 ถึง 1422 ได้รับพระอิสริยยศเป็น พญาทะละ
พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พญาเกียรติ์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าราชาธิราชแห่งหงสาวดี พระนามของพระราชมารดาสูญหายไปกับประวัติศาสตร์ พระองค์น่าจะเสด็จพระราชสมภพกลางคริสต์ทศวรรษ 1390[note 1] เจ้าชายทรงเติบโตในพระราชวังที่พะโคร่วมกับพระเชษฐาร่วมพระราชบิดา 2 พระองค์ คือ พญาธรรมราชาและพญาราม กับพระอนุชา (ร่วมพระราชบิดา-?) คือ Binnya Set[note 2] โดยยังมีพระเชษฐภคินี/ขนิษฐา (ร่วมพระราชบิดา) 3 พระองค์ คือ Mi Kyaw, ตะละมีซอ และเชงสอบู[note 3]
พญาเกียรติ์ในวัยพระเยาว์ตรงกับช่วงเวลาที่พะโคก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1390[1] ในที่สุดอาณาจักรก็สงบสุขหลังจากที่พระเจ้าราชาธิราชปราบกบฏภายในได้หลายครั้ง และการรุกรานสามรอบโดยอาณาจักรอังวะทางเหนือที่พูดภาษาพม่าในช่วง ค.ศ. 1385 ถึง 1391[2][3] พระเจ้าราชาธิราชก่อสงครามกับอังวะใหม่ทั้งใน ค.ศ. 1401 และใน ค.ศ. 1408[note 4] แต่พญาเกียรติ์และเหล่าพระเชษฐาไม่ได้เข้าร่วมสงครามจนกระทั่งการทัพฤดูแล้ง ค.ศ. 1412–1413 ในเดือนเมษายน/พฤษภาคม ค.ศ. 1413 พระราชบิดาของให้พญาเกียรติ์และพระเชษฐาสองพระองค์ไปป้องกันทะละ (ปัจจุบันอยู่ใน อำเภอตูนเต้ และ อำเภอดะละ ของภาคย่างกุ้ง)[4][5]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เนื่องจากพระเชษฐาสองพระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1393 ตาม (Schmidt 1906: 20–21, 118–119) และ (Pan Hla 2005: 203) และพระองค์เสด็จไปแนวหน้าร่วมกับพระเชษฐาทั้งสองพระองค์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1413 ตาม (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 245) และ (Hmannan Vol. 2 2003: 17) พญาเกียรติ์น่าจะไม่เด็กไปกว่าพระเชษฐาของพระองค์
- ↑ (Hmmanan Vol. 2 2003: 55): พญาเกียรติ์มีพระชนมายุน้อยกว่าทั้งพญาธรรมราชากับพญาราม (Pan Hla 2005: 357, footnote 1): รายงานจากพงศาวดารมอญฉบับปากลัด พระองค์เป็นที่รู้จักในบรรดาศักดิ์ อนุราชา ซึ่ง Pan Hla ผู้รวบรวม กล่าวว่า คำนี้สามารถตีความเป็นเจ้าชายที่สาม ส่วน Binnya Set พงศาวดารไม่ได้ระบุว่าพระราชมารดาของพระองค์คือใคร
- ↑ นอกจากเชงสอบูแล้ว พงศาวดารราชาธิราช (Pan Hla 2005: 224) กล่าวถึงพระราชธิดาของพระเจ้าราชาธิราชอีก 2 พระองค์—Tala Mi Kyaw และตะละมีซอ
- ↑ (Pan Hla 2005: 205) for the 1401–1402 invasion; (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 228) and (Hmannan Vol. 1 2003: 477) for the 1408 Arakan expedition.
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Athwa, Sayadaw (1906) [1766]. แปลโดย P.W. Schmidt. "Slapat des Ragawan der Königsgeschichte". Die äthiopischen Handschriften der K.K. Hofbibliothek zu Wien (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Alfred Hölder. 151.
- Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Kala, U (2006) [1724]. Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Maha Sithu (2012) [1798]. Myint Swe; Kyaw Win; Thein Hlaing (บ.ก.). Yazawin Thit (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2nd printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Pan Hla, Nai (2005) [1968]. Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
- Phayre, Major Gen. Sir Arthur P. (1873). "The History of Pegu". Journal of the Asiatic Society of Bengal. Oxford University. 42.
- Royal Historical Commission of Burma (2003) [1832]. Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3. Yangon: Ministry of Information, Myanmar.