ผู้ใช้:Tanakorn Asasing/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฤษณพงค์ พูตระกูล     

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล

รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล

(เกิด : 4 มิถุนายน 2519) ชื่อเล่น โต้ง เคยทำงานที่กองปราบปราม และเคยปฏิบัติช่วยงาน ผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายท่าน เช่น รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง

นายตำรวจนักวิชาการผู้ซึ่งสร้างผลงานให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้มากมาย ก่อนลาออกจากราชการตำรวจได้สมัครใจเป็น อาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยตํารวจสามพรานเป็นระยะเวลา 7 ปี ในช่วงระยะเวลาที่รับราชการใน โรงเรียนนายร้อยตํารวจสามพราน ได้ฝากผลงานไว้หลายเรื่อง เช่น เข้าร่วมคณะกรรมการ การปฏิรูปตำรวจ ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำโครงการ “ต้นกล้า คว้าดาว” เป็นต้น


ย้อนเส้นทางชีวิต รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล เกิดที่กรุงเทพมหานคร แต่ไปเติบโตอยู่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื่องจากแม่ทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่นั่น ส่วนพ่อเป็นเชฟโรงแรมโอเรียลเต็ล เริ่มต้นเรียนประถมในเมืองโอ่ง พอเข้าสู่วัยมัธยมครอบครัววางแผนส่งลูกที่กรุงเทพมหานคร ด้วยความหวังอยากให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มีอนาคต

เจ้าตัวเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแบบฉบับที่พ่อแม่เขาวาดหวังไว้ เพราะเห็ตบุคคลสำคัญเป็นผู้นำมีชื่อเสียงหลายคนจบจากรั้วโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์เล่าว่า ตอนเด็กอยากเป็นทหาร ชอบปั้นดินน้ำมันเป็นตุ๊กตาทาหารต่อสู้คนร้าย เวลาเปิดทีวีฟังเพลงชาติเช้าและเย็นต้องยืนตรง ทำให้ซึมซับ

กระนั้นก็ตาม พอสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารได้ กลับเปลี่ยนใจเลือกเหล่าตำรวจ เหตุผลเพราะมีคนแนะนำว่า ถ้าเป็นทหารวันหนึ่งประเทศไทยไม่ได้รบกับใครก็จะอยู่แต่ในกรมกอง ผิดกับตำรวจจะมีบทบาทมากกว่าในการแก้ปัญหาสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน “คุณพ่อกับคุณแม้ให้แง่คิดไว้ด้วยว่า  ถ้าลูกอยากจะทำงานเพื่อจะดูแลแก้ปัญหาสังคม ตำรวจนี่แหละ น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่า  พูดให้ผมได้ข้อคิด สุดท้ายตัดสินใจเลือกเหล่าตำรวจ”

แม้บทบาทในรั้วสีกากีจะยุติลง แต่อุดมการณ์และความตั้งใจที่จะสานต่อเกี่ยวกับการปฏิรูประบบงานตำรวจยังคงอยู่ รวมทั้งยังทำหน้าที่ในบทบาทนักวิชาการที่ให้ความรู้และแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยากับการนำไปใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย


ประวัติและการศึกษา

มัธยมศึกษา            - โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

                               - โรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 35)

ปริญญาตรี              - รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต(ตร.) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รุ่นที่ 51)

                               - นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปริญญาโท              - Master of Research in Sociology, School of Social Science, University of    Aberdeen, United Kingdom

- ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยมหิดล

ปริญญาเอก            - Ph.D. in Sociology, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom

- อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


ประวัติการรับราชการ

ตำแหน่ง และสถานที่ทำงานที่สำคัญที่ผ่านมา

- พนักงานสอบสวน (สบ 1) แผนก 4 กองกำกับการ 3 กองปราบปราม พ.ศ.2541-2547

- ปฏิบัติราชการนายตำรวจติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2542-2544

- ผู้ช่วยนายเวร (สบ 2) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2554-2555

- อาจารย์ คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2555-2562

- คณะทำงานปฏิรูปตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2557-2559

- อนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการตำรวจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) พ.ศ.2559

- ที่ปรึกษาสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ด้านการลดอันตราย (Harm reduction) พ.ศ.2556-2557

- ที่ปรึกษามูลนิธิ PSI ประเทศไทย พ.ศ.2557-2558

- คณะทำงานปฏิรูปตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2557-2561

- ที่ปรึกษาพิเศษโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พ.ศ.2559-2560


ปัจจุบัน          

- รองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรมมหาวิทยาลัยรังสิต

- อนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ด้านการพัฒนาองค์กร

- กรรมการสมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

- กรรมการมูลนิธิโอโซน ประเทศไทย

- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัย กระทรวงยุติธรรม

- ที่ปรึกษาด้านงานตำรวจ สมาคมป้องกันการทรมานในที่คุมขังแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (The Association for Prevention of Torture)

- ผู้ประสานงานประเทศไทยกับเครือข่ายหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนานาชาติและสาธารณสุข ( Global Law Enforcement and Public Health: GLEPH)


งานวิชาการ                         

ประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

- ประธานก่อตั้ง และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

- ประธานร่างหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

-  อาจารย์พิเศษหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

- อาจารย์พิเศษคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรนานาชาติ ‘Master of Arts in Governance (MAG)’คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-  อาจารย์พิเศษหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

มหาวิทยาลัยรังสิต

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการมหาวิทยาลัยศรีปทุม

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรนิติวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

- อาจารย์พิเศษหลักสูตรบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ

- ประธานสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

- กรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

- กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช-มงคลพระนคร

- กรรมการจัดงานการประชุมวิชาการด้านสังคมศาสตร์ฯ ในสหราชอาณาจักร ณ University of Aberdeen, UK ปี ค.ศ.2008

- ได้รับเชิญจาก Oxford University, UK ให้นำเสนองานวิจัยเรื่อง Police reform in Thailand ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ณ Oxford University, UK ปี พ.ศ.2554

- ได้รับคัดเลือกจาก Athens Institute for Education and Research, Greece ให้นำเสนอบทความเรื่อง Policing and reform in Thailand ในลักษณะ Oral presentation ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ณ กรุงเอเธน ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม พ.ศ.2555

- ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 39 ว่าด้วยเรื่องตำรวจ และจิตวิทยา บริหารงานยุติธรรม (The 39th Annual Conference of the Society for Police and Criminal Psychology) ให้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงยุติธรรมไทยในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) ระหว่างวันที่ 26-28ก.ย.2556 ณ เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา

- ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 13 จัดโดย International Institute of Social and Economic Sciences ณ โรงแรมการ์เดนบีช รีสอร์ต (Garden Beach Resort) เมืองแอนทิป ประเทศฝรั่งเศส ให้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) เรื่อง“ทัศนคติของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน” ระหว่างวันที่ 15-18 ก.ย.2557 ณ เมืองแอนทิป ประเทศฝรั่งเศส

- ได้รับการเชิญจาก Open Society Foundation จากสำนักงานนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด การบังคับใช้กฎหมายและงานด้านสาธารณสุข ในการประชุมเอดส์โลก ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 18-25 ก.ค.2557

- ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอข้อมูลด้านยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมายและงานด้านสาธารณสุขในประเทศไทยในการประชุมนานาชาติด้านการบังคับใช้กฎหมายและงานสาธารณสุข ครั้งที่ 2 (International Conference on Law Enforcement & Public Health2014) และทำหน้าที่ประธานในการดำเนินการสัมมนาฯในหัวข้อการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ ระหว่างวันที่ 5-8 ต.ค.2557

- ได้รับเชิญจาก UNAIDS ประเทศพม่า ให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการแก้ไขการแพร่กระจายของโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 12-13 มี.ค.2558

- ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 41 ว่าด้วยเรื่องตำรวจ และจิตวิทยา บริหารงานยุติธรรม (The 41th Annual Conference of the Society for Police and Criminal Psychology) ให้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง ‘The role of law enforcement in community based drug treatment and the impact on crime prevention’ ในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) ระหว่างวันที่ 1-3 ต.ค.2558 ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้ร่วมเดินทางไปกับ พล.ต.ท.ศักดา เตชะ-เกรียงไกร ผบช.รร.นรต. (ยศ และตำแหน่งในขณะนั้น) โดยการเชิญของมูลนิธิฮันซ์ไซเดล ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานตำรวจ ณ เมืองไอซสเตท ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 1 5-23 ก.ย.2556 นำมาซึ่งการสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรอบรมต่างๆ ระหว่างหน่วยงานตำรวจไอซสเตท และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้ร่วมเดินทางไปกับ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย รอง ผบช.สกพ. (ยศ และตำแหน่งในขณะนั้น) โดยการเชิญของมูลนิธิฮันซ์ไซเดล ประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ เมืองไอร์ลิ่ง ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 18-27 ก.ค.2558

- ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบงานตำรวจโดยให้ศึกษางานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความที่เกี่ยวข้องด้านตำรวจทั้งหมด ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555)

- ได้รับเชิญจากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ให้นำเสนอแนวคิดการทำงานของตำรวจกับภาคประชาสังคมที่เกี่ยวกับงานด้านยาเสพติดในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 ต.ค.2558

- ได้รับเชิญจากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ให้นำเสนอแนวคิดการบังคับใช้กฎหมายกับนโยบายยาเสพติดในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation)  ณ เมืองดาการ์ ประเทศบังคลาเทศ ระหว่างวันที่ 19-23 พ.ย.2558

- ได้รับคัดเลือกจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนให้ศึกษาทัศนคติของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (พ.ศ.2556)

- ได้รับเชิญจาก ป.ป.ส.ให้ศึกษาวิจัยเรื่องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลคดีผลิต ครอบครอง เสพพืชเสพติด (กัญชาและกระท่อม) ก.พ.-ส.ค.58

- ได้รับเชิญจากกระทรวงยุติธรรมให้ศึกษาวิจัยเชิงทดลองในการนำมาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดหญิงในประเทศไทย ม.ค.58-ม.ค.59

- ได้รับเชิญจาก ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ม.รังสิต และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัย: ชุมชนเมืองเอก มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ย.57 - ก.พ.58

- ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ให้เป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายยาเสพติดและการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด พ.ย.2556-ปัจจุบัน

- จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมตำรวจด้านยาเสพติดและงานสาธารณสุขให้แก่สำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime; UNODC) เพื่อใช้อบรมข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ

- ได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษามูลนิธิ PSI ประเทศไทย (ได้รับเงินสนับสนุนหลักจากกองทุนโลก) ก.พ.-ธ.ค.2557

- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์, สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

- วิทยากรรับเชิญให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ เช่น การปฏิรูปตำรวจ และกฎหมาย โดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม, ยุทธศาสตร์การบำบัดผู้ติดยาเสพติดโดย ป.ป.ส., การบังคับใช้กฎหมายและนโยบายยาเสพติด จัดโดยสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC), การประสานความร่วมมือระหว่างผู้บังคับใช้กฎหมายและภาคประชาสังคม จัดโดยมูลนิธิ PSI ประเทศไทย, การแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดโดยศูนย์วิชาการยาเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, การบังคับใช้กฎหมายและการ ลดอันตราย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

-ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 39 ว่าด้วยเรื่องตำรวจ และจิตวิทยา บริหารงานยุติธรรม (The 41th Annual Conference of the Society for Police and Criminal Psychology) ให้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงยุติธรรมไทยในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) ระหว่างวันที่ 1-3 ต.ค.58 ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา

-  ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิชาการในลักษณะปากเปล่า (Oral presentation) เรื่อง An analysis of drug problems in Thailand ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 4 (4th International Conference on Interdisciplinary Social Science Studies) ระหว่างวันที่ 4 – 6 ก.ค.2559 ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมืองเคมบริดจ์ ประเทศ สหราชอาณาจักร

- ได้รับเชิญจากตำรวจสิงคโปร์ (Singapore Police Force) เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานตำรวจในการประชุม “ASEAN Conference of Criminal & Operations Psychology” ระหว่างวันที่ 12-15 ก.ค.2559 ณ ประเทศสิงคโปร์

-ได้รับเชิญจากตำรวจประเทศเนเธอร์แลนด์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างตำรวจกับชุมชน ในการประชุม “the 1st World LGBT Conference for Criminal Justice Professionals” ระหว่างวันที่ 4-8 ส.ค.2559 ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

-ได้รับเชิญจากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ให้เป็นวิทยากรและร่วมให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะในการประชุม Fortieth Meeting of Heads of National Drug Law Enforcement Agencies, Asia and the Pacific ณ เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2559

- ได้รับเชิญจาก People’s Public Security University of China เข้าร่วมนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมตำรวจเพื่อพัฒนาความร่วมมือรองรับกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในการประชุม The International Policing Forum on “International law enforcement cooperation and police force training” at People’s ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 18-21 ธ.ค.2559

- ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิชาการในลักษณะปากเปล่า ในการประชุมวิชาการ the IRES-IIER, 260th International conferences on Economics and Social Sciences (ICESS) ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน 2560

-ได้รับคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3rd International Conference on New Findings in Humanities and Social Sciences ให้นำเสนอผลงานวิชาการในลักษณะปากเปล่า ระหว่างวันที่ 14-15 ก.ย.2561 ณ สถาบันยุโรปศึกษา (The Institute for European Studies: IES) กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม

-ได้รับคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Society for Police and Criminal Psychology ให้นำเสนอผลงานวิชาการในลักษณะปากเปล่า ระหว่างวันที่ 22-24 ต.ค.2562 ณ เมืองอริโซน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา

-ได้รับเชิญให้นำเสนอประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Society for Police and Criminal Psychology ในลักษณะปากเปล่า ระหว่างวันที่ 5-7 พ.ย.2563 ทางออนไลน์ โดยจัดให้มีขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

-ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าตำรวจ ณ เกาะเจอร์ซี่ (Jersey) และหัวหน้าตำรวจคัมเบีย (Cumbria) ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เสนอแนะ การพัฒนาระบบงานตำรวจ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจ และกระบวนการยุติธรรม ระหว่างวันที่ 24 ก.พ.-3 มี.ค.2566

ได้รับเชิญจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประเทศแทนซาเนีย

- ได้รับเชิญจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประเทศแทนซาเนีย บรรยายให้ความรู้แก่นายตำรวจ หัวข้อ Community Policing ระหว่างวันที่ 18-24 มิ.ย.2566 ณ Police School, Kilimanjaro and Moshi, Tanzania สนับสนุนโดยมูลนิธิ Hanns Seidel Foundation, Germany

- ได้รับเชิญให้นำเสนอประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในลักษณะปากเปล่า 23rd Annual Conference of the European Society of Criminology ระหว่างวันที่ 6-9 ก.ย.2566 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี


กรรมการ

- สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง International Policing Advisory Group (IPAG) ที่เมือง Melbourne, Australia

- ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ประสานงานหลักในประเทศไทย (Country Focal Point) ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนานาชาติและการป้องกันการแพร่กระจายของเอชไอวี (Law Enforcement And HIV Network; LEAHN) (www.leahn.org)

-กรรมการวิจัย และกรรมการวารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

-กรรมการวารสารวิชาการนานาชาติด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (International Journal of Social Sciences) มหาวิทยาลัยรังสิต

-กรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านบัญชีและการฟอกเงิน มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2557

-ได้รับเชิญเข้าร่วมคณะอนุกรรมการปฏิรูปตำรวจด้านการกระจายอำนาจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

-ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการวิชาการ The Communication Institute of Greece, Greece

-ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการวิชาการ Journal of Research on Contemporary Society, Long bridge Publishing Company Limited

-ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการวิชาการ Journal of Sociology and Criminology, City University of Hong Kong

-กรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2558

-ได้รับเชิญเข้าร่วมคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการตำรวจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป  ประเทศ (สปท.)

-ได้รับเชิญเข้าร่วมคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ด้านการสรรหา และระบบการฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

-อนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติด้านการพัฒนาองค์กร


บทความวิชาการ

บทความวิชาการตีพิมพ์ เผยแพร่

- ‘Policing and Reform in Thailand’. Paper presented at the Atiner International Conference on Sociology, 6-7 May 2012.

- ‘Police Reform in Thailand Post-2006’. International Journal of Criminology and Sociology, Vol.2, 371-384.

- ’ The Rangsit Journal of Social Sciences and Humanities, Vol.1, No 1, p. 35-42.

- ‘Police Reform and Policing in Thailand’. Special edition, Journal of Ministry of Justice.

- ‘Public and police officers’ views towards Thailand’s Border Patrol Police. Presented at the International Academic Conference Paper, Antibes, France.

- Advocating for collaboration between Thai civil society and law enforcement: strategies, mechanisms and approaches.

- “รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของเด็กเร่ร่อน” วารสารสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- “การศึกษาทบทวนองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบงานตำรวจ ศึกษาผลงานวิจัยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พ.ศ.2550-ปัจจุบัน” วารสารวิชาการคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.2557)

- “การบังคับใช้กฎหมายท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง” วารสารกระบวนการยุติธรรม, ฉบับปีที่ 7 เล่ม 2, หน้า 33-43.

- “โครงการวิจัยเชิงทดลองนำมาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดหญิงในประเทศไทย” วารสารกระบวนการยุติธรรม, ฉบับปีที่ 9 หน้า 33-49.

- การพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ไทยในมุมมองเชิงเปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซีย. วารสารกระบวนการยุติธรรม, ปีที่ 14 เล่มที่ 3 (ก.ย.- ธ.ค.64) หน้า 147-169.

- ‘An Analysis of Drug Problems in Thailand’. Presented at the 4th International Conference on Interdisciplinary Social Science Studies, Cambridge, UK.

- ‘The study of policy proposal to solve road traffic accident in Thailand’. Paper presented at the meeting of the International Conference on Economics and Social Sciences (ICESS), Rome, Italy.

- ‘Policy and practices for the ASEAN Community offenders’. Paper presented at the International conference on Applied Research in Engineering, Science and Technology 14th – 15th September 2018, Brussels, Belgium.

- ‘The role of law enforcement in community based drug treatment and the impact on crime prevention’. International Journal of Criminology and Sociology, 7, 250-259.

- ‘The correctional system in Thailand in comparison with Malaysia’. Paper presented at the International Conference on Society for Police and Criminal Psychology (SPCP), Arizona, USA.

- ‘Police-Community Issues and the Police As Community’. Online presentation at the International Conference on Society for Police and Criminal Psychology (SPCP), USA.

- ‘Envisaging the future for policing and public health globally’. Online presentation at the International Conference on Etf Regional Research Updates. Center for Law Enforcement and Public Health (CLEPH), Australia.

- Law enforcement and public health approaches in the Asia-Pacific region. ‘Journal of Community Safety and Well-Being’, 7

- ‘Community safety in respect of implementing the Use of Community-Oriented Public Police Auxiliaries in Thailand through Comparisons with the United Kingdom.’ Presentation at the International Conference on 23rd Annual Conference of the European Society of Criminology, Florence, Italy.

ผลงานวิจัย

- การศึกษาทบทวนองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบงานตำรวจ

- โครงการสำรวจ 1.ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการบริการและการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน, 2.ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และ 3.ระดับความเชื่อมั่นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีต่อภาพลักษณ์กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

- โครงการพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัย: ชุมชนเมืองเอก มหาวิทยาลัยรังสิต. แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

- โครงการวิจัยเชิงทดลองนำมาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดหญิงในประเทศไทย. กระทรวงยุติธรรม

- โครงการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลคดีผลิต ครอบครอง เสพพืชเสพติด  (กัญชาและกระท่อม). สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ป.ป.ส.)

- การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการงานตำรวจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อการดูแลความปลอดภัยสาธารณะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


- การศึกษาข้อเสนอในเชิงนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

- การประเมินผลโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัย. กระทรวงยุติธรรม.

- วิพากษ์รายงานสถานการณ์อาชญากรรมประจำปี พ.ศ.2558. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

- ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนจราจรเพื่อใช้ในด้านความปลอดภัยทางถนน. สนับสนุนโดยศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกและโรงพยาบาลขอนแก่น.

- วิพากษ์รายงานสถานการณ์อาชญากรรมประจำปี พ.ศ. 2558. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

- วิพากษ์รายงานสถานการณ์อาชญากรรมประจำปี พ.ศ. 2559. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

- วิพากษ์รายงานสถานการณ์อาชญากรรมประจำปี พ.ศ. 2561. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

- โครงการพัฒนาหลักสูตรระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อยกระดับการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน. สนับสนุนโดยกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.

- การพัฒนาและจัดทำหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับให้บริการฝึกอบรมให้กับบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย. สนับสนุนโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน).

- การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบงานราชทัณฑ์ไทยเปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซีย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

- วิเคราะร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า.

- วิเคราะร่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา สถาบันพระปกเกล้า.

- ชุมชนปลอดภัยกับการประยุกต์ใช้แนวคิดผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจในประเทศไทยเปรียบเทียบประเทศสหราชอาณาจักร. สนับสนุนทุนวิจัยโดยมหาวิทยาลัยรังสิตและแหล่งทุนภายนอก. (ระหว่างดำเนินการ)

- Training modules on HIV for Police Services. Bangkok: UNODC.

- role of law enforcement in community based drug treatment and the impact on crime prevention. Bangkok: UNODC.

- Envisaging the future for policing and public health globally. Center for Law Enforcement and Public Health (CLEPH), Australia.


หนังสือ

- การป้องกันอาชญากรรมในทศวรรษหน้ากับการพัฒนาระบบงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

- ปฏิรูปตำรวจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอเซียดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.

- ตำรวจมหาวิทยาลัย: บทเรียนจากมหาวิทยาลัยรังสิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอเซียดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.

ที่ปรึกษาโครงการวิจัย

- CHAMPION-IDU: INNOVATIONS, BEST PRACTICE AND LESSONS LEARNED. https://www.psi.org/wp-content/uploads/2015/07/Small-CHAMPION-IDU-INNOVATIONS-BEST-PRACTICE-AND-LESSONS-LEARNED.pdf

- IMPROVING COOPERATION AND INTERACTION WITH LAW ENFORCEMENT OFFICIALS. Vienna: UNODC

- โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจงานป้องกันปราบปราม. กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

- โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานสอบสวน. กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

โครงการ         

- จัดทำโครงการ “ต้นกล้า คว้าดาว” โครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และสอนการป้องกันอาชญากรรมให้แก่เยาวชนhttp://www.youtube.com/watch?v=670srly-bMc, http://www.jr-rsu.net/article/985

- ผู้จัดสัมมนาปัญหาอาชญากรรมกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนร่วมจัดโดยโรงเรียนนายร้อยตำรวจ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยรังสิต, United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) และมูลนิธิ PSI ประเทศไทย ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 (วิทยากรเข้าร่วม เช่น ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ม.ล.ปนัดดา ดิษกุล, นายวันชัยรุจนวงศ์, นายธวัชชัย ไทยเขียว เป็นต้น)

- ผู้จัดทำโครงการชุมชนเข้มแข็ง ลดอาชญากรรม เตรียมพร้อมประชาคมอาเซียน ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนนายร้อยตำรวจ, กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี และมหาวิทยาลัยรังสิต

- ผู้จัดทำโครงการสัมมนาปฏิรูปตำรวจ ณ ร.ร.นายร้อยตำรวจ ปี พ.ศ.2558 โดยการเชิญตัวแทนนายตำรวจระดับผู้กำกับการจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

- ผู้จัดทำโครงการเสวนาปฏิรูปตำรวจและร่วมเป็นวิทยากร ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2559 ผู้ร่วมรายการ ได้แก่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, ศ.ดร.อุดม รัฐอำมฤต และคุณฟองสนาน จามรจันทร์

- ผู้จัดทำโครงการ “ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต” โดยความร่วมมือของกระทรวงยุติธรรม,สภ.ปากคลองรังสิต, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, มหาวิทยาลัยรังสิต และชุมชนหลักหก หมู่บ้านเมืองเอก จ.ปทุมธานี

เกียรติคุณ

- ข้าราชการตำรวจที่มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเยี่ยมของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2556

- หนังสือชื่นชมการทำงานในฐานะเป็นที่ปรึกษาและการทำงานให้สังคม จากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime; UNODC)

- หนังสือชื่นชมการทำงานในการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในกระบวนการยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยรังสิต

- รางวัลเกียรติยศพราน 51 จากเพื่อนนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 51 ในการทำงานอุทิศตนให้สังคม ประจำปี พ.ศ.2558

- เข็มวิทยฐานะการบริหารงานยุติธรรมระดับสูงและประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์ผู้ทำประโยชน์ด้านกระบวนการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม สิงหาคม 2564

- รางวัลเพชรรัตนชาติ สาขา ครูต้นแบบดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติและวันครูแห่งชาติ ประจำปี 2566 กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมูลนิธิคุ้มเกล้าเยาวชนคนสร้างชาติ

- หนึ่งในผู้ได้รับการคัดเลือกจาก British Council ในฐานะศิษย์เก่าแห่งประเทศสหราช-อาณาจักร รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม (Social Action Award :Short-listed Alumni) ปี 2023

เผยแพร่ความรู้ และความคิดเห็นทางวิชาการแก่สาธารณชนผ่านสื่อมวลชนต่างๆ

- ให้ความรู้ และแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยาฯ กับการนำไปใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ หนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, สื่อออนไลน์ เช่น รายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์, เรื่องเด่นเย็นนี้, โหนกระแส ช่อง 3ช่อง 5, รายการสดยามเช้ากับมังกรไพศาล ช่อง 9, รายการเรื่องจริงผ่านจอช่อง 7, รายการตอบโจทย์ TPBS World ภาคภาษาไทย และอังกฤษ และรายการเถียงให้รู้เรื่อง สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส, รายการคมชัดลึก สถานีโทรทัศนเดอะเนชั่น, สถานีโทรทัศน์อัมรินทร์ทีวี, True4 U, RSU Wisdom TV, รายการรู้ทันประเทศไทย, นสพ.ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชนรายวัน, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และผู้จัดการออนไลน์ ฯลฯ

แนวคิดที่สนใจ:  ระบบงานตำรวจสมัยใหม่, การป้องกันอาชญากรรม, กระบวนการยุติธรรม, อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม, ยาเสพติด และการลดอันตราย