ผู้ใช้:Pichaya.ne/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิชย เนียมสูงเนิน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดพิชย เนียมสูงเนิน
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 (30 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย นครราชสีมา ประเทศไทย

พิชย เนียมสูงเนิน ชื่อเล่น แซ็ก

ประวัติ[แก้]

พิชย เนียมสูงเนิน ชื่อเล่น แซ็ก ที่อยู่ปัจจุบัน ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator: DBA) [2] เพราะ งาน DBA เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการบำรุงรักษา ประสิทธิภาพการทำงาน ความถูก ต้องสมบูรณ์และรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล รวมถึงหน้าที่อื่นๆเช่นการมีส่วนร่วมในการวางแผน การจัดเก็บข้อมูล การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นความท้าทายในการทำงาน บ่งบอกถึงความรับผิดชอบอย่างมากต่อการดูแลระบบหรือฐานข้อมูล ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่ข้าพเจ้าสนใจอยากทำ

อื่นๆ[แก้]

กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม

บทควาทด้านไอที[แก้]

ภัยมืด! ของการใช้ Wi-Fi สาธารณะ [6][แก้]

เชื่อว่าเวลาระหว่างเดินทางไปตามห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ ระหว่างรอรถบัส หรือ ทำงานนอกสถานที่ คุณจะต้องหาร้านหรือจุดนั่งเล่นเพื่อใช้บริการ Wi-Fi สาธารณะ แต่ก็ต้องระมัดระวังในการเชื่อมต่อWi-Fi ด้วย วันนี้มีผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ Wi-Fi สาธารณะของชาวสหรัฐอเมริกา ที่น่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยอย่างมากและพฤติกรรมนี้ดูแล้วไม่แตกต่างกับคนชอบออนไลน์ชาวไทยด้วย

Avast บริษัทด้าน Antivirus ชื่อดัง ได้ผลสำรวจพฤติกรรมคนที่เชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ ที่ไม่มีระบบตรวจสอบป้องกันกว่า 13,000 ราย แล้วสรุปเป็นภาพ Infographic ดังนี้

  • คนอเมริกันส่วนใหญ่ใช้ Wi-Fi เพื่อเลี่ยงการใช้ปริมาณข้อมูล 3G 4G บนมือถือ และสะดวกสบาย (โดยไม่ต้องใส่ Password )
  • 9 ใน 10 เชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะแบบไม่มีอะไรป้องกัน แทบทุกเดือน โดย เชื่อมต่อแทบทุกสัปดาห์มากถึง 43%
  • ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะที่ไม่มีอะไรตรวจสอบป้องกันนี้ ทำให้ อุปกรณ์ไอที 76% เช่นมือถือ แท็บเล็ต มีความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนตัวถูกแฮครั่วไหลได้ และอาจโดนสวมรอยได้ง่ายด้วย
  • มีเพียง 6% เท่านั้น ที่ใช้ ด้วยเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เพื่อป้องกันการโดนแฮคระหว่างการเชื่อมต่อ Wi-Fi

วิธีป้องกันการถูกแฮคเมื่อใช้ WiFi สาธารณะคือ ต้องเชื่อมต่อ ด้วยเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น ข้อมูลจาก Avast blog

ผลการทดสอบชี้ Android 5.0 Lollipop เสถียรกว่า iOS 8 [7][แก้]

งานนี้ แอปเปิล คงต้องรีบปรับปรุงกันอย่างด่วนเสียแล้ว เมื่อทาง Crittercism ได้เผยผลการทดสอบการใช้งานระหว่าง ระบบปฏิบัติการ Android 5.0 Lollipop กับ iOS 8 แล้วพบว่า Android 5.0 Lollipop เสถียรกว่า iOS 8 เสียอีก

โดย Android 5.0 Lollipop มีอัตราการเกิด app crash หรือแอปฯ เด้ง อยู่ที่ 2.0% ในขณะที่ iOS 8 มีอัตราการเกิดแอปฯ เด้ง 2.2% ซึ่งมากกว่า 0.2% และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง iOS 8 และ iOS 7 พบว่า iOS 7 มีอัตราการเกิดแอปฯ เด้งที่ 1.9% ซึ่งน้อยกว่า iOS 8 อีกด้วย นั่นหมายความว่า iOS 7 นั้น เสถียรกว่า iOS 8 ครับ

และเมื่อเปรียบเทียบกับระหว่าง ระบบปฏิบัติการ Android ในเวอร์ชันต่างๆ พบว่า Lollipop ได้รับการปรับปรุงให้มีความเสถียรมากขึ้น โดยเวอร์ชัน KitKat มีอัตราการเกิดแอปฯ เด้งที่ 2.6% เท่ากันกับ Ice Cream Sandwich

ส่วน iOS 9 ที่มีกำหนดการเปิดตัวในช่วงกลางปีนี้ จะได้รับการพัฒนามากกว่าเดิมแค่ไหน ต้องติดตามกันต่อไปครับ

สวนกระแส โทรศัพท์ฝาพับ กลับมาได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอีกครั้ง[8][แก้]

แม้ว่า iPhone 6 และ iPhone 6 Plus จะได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ล่าสุด กลับต้องเจอกลับคู่แข่ง นั่นก็คือ มือถือฝาพับ ที่หวนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในญี่ปุ่นครับ

โดยสำนักข่าว Reuters เผยว่า เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ยอดการจัดส่งสินค้าประเภท มือถือฝาพับ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ ยอดส่งมอบสินค้าประเภท สมาร์ทโฟน กลับมีแนวโน้มที่กลับกัน แม้ว่ายอดส่งมอบ มือถือฝาพับ ในปี 2014 จะอยู่ที่ 10.58 ล้านเครื่อง เทียบกับ ยอดสมาร์ทโฟน ที่ 27.70 ล้านเครื่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปีแล้วพบว่า ยอดส่งมอบสมาร์ทโฟน ลดลง 5.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นอย่าง Panasonic และ NEC ต่างถอนตัวจาก ตลาดสมาร์ทโฟน แล้ว และกลับมาทำ มือถือฝาพับ แทน เนื่องจากความต้องการค่อนข้างสูง

LAN Technology[แก้]

LAN (Local Area Network)เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไปกล่าวคือ เครือข่ายโดยส่วนใหญ่จะมีระบบแลนเป็นองค์ประกอบหลัก เครือข่ายแบบแลนอาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่สลับซับซ้อน เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพันๆเครื่อง และมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกมากแต่ลักษณะสำคัญของแลน ก็คือเครือข่ายประเภทนี้จะคลอบคลุมพื้นที่จำกัด

โทโปโลยี โทโปโลยีของเครือข่าย(Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตามลักษณะทายกายภาพ (Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงต่ำแหน่งของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้โทโปโลยีของเครือข่ายอาจจะมีผลต่อสมรรถนะของเครือข่ายได้

การเลือกโทโปโลยีของเครือข่ายต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะโทโปโลยีจะมีผลต่อชนิดของสายสัญญาณที่ใช้ รวมถึงลักษณะการเดินสายสัญญาณนี ้ผ่านชั ้นเพดานและผนังของอาคารโทโปโลยียังเป็นตัว กำหนดลักษณะการสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วย ต่างโทโปโลยีกันต้องใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลที่ต่างกันและวิธีการนี้จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย


โทโปโลยีแบบบัส ( BUS Topology )[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วม หรือบัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน


โทโปโลยีแบบดาว ( Star topology )[แก้]

คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อด้วยสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รวมศูนย์ที่เรียกว่า ฮับ (Hub) สำหรับการเชื่อมต่อแบบนี้เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดจะส่งข้อมูลไปที่ฮับก่อนแล้วฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับ การต่อแบบนี้เริ่มใช้ในสมัยแรกๆ โดยการเชื่อมต่อเทอร์มินอลเข้ากับเครื่องเมนเฟรม


โทโปโลยีแบบวงแหวน ( Ring Topology )[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถานสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป


โทโปโลยีแบบเมซ ( Mesh Topology )[แก้]

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่องไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุกๆเครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

อ้างอิง. [9]

WAN Technology[แก้]

WAN (Wide Area Network) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สําหรับการเชื่อมต่อ LAN (Local Area Network)ที่อยู่ห่างไกลกันและไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดย LAN ตัวอย่งเครือข่าย WAN ที่รู้จักกันดีและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ในโลก คืออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ครอบครอมคลุมทั่วโลกข้อจำกัดในการออกแบบเครือข่าย WANนั่นคือระยะทาง เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญญาณประเภทใดก็แล้วแต่เมื่อต้องส่งไประยะไกลๆ กำลังของสัญญาณนั้นๆ ก็จะอ่อนลง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลการออกแบบ WAN นั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนแบนด์วิธเพื่อระยะทาง ดังนั้นจึงทำให้แบนด์วิธของ WAN น้อยกว่าของ LAN มากแต่รับส่งข้อมูลได้ระยะที่ไกลกว่า

เครือข่าย WAN ประกอบด้วยซับเน็ตย่อยๆ ดังนั้น เส้นทางในการถ่ายโอนข้อมูลจึงต้องส่งจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งในแต่ละซับเน็ตและก็ใช่ว่าทุกๆ โหนดจะมีลิงก์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมือนกับโทโพโลยีแบบเมช โดยบางโหนดอาจมีลิงก์ที่เชื่อมต่อกับโหนดตัวเองมากกว่าหนึ่งลิงก์ในขณะที่ลิงก์บางลิงก์มีการเชื่อมต่อกับบางโหนดเท่านั้น แต่ก็สามารถใช้เทคนิคด้วยการสวิตช์ไป มาระหว่างโหนดของลิงก์ต่างๆ เพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางได้เรียกว่าเทคนิคนี้ว่า เครือข่ายสวิตชิง(Switching Network)

เทคนิควิธีการสวิตชิงมีอยู่ 3 วิธีสำคัญๆ คือเซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching) เมสเสจสวิตชิง (Message Switching) และแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching) เซอร์กิตสวิตชิงและเมสเสจสวิตชิง

เซอร์กิตสวิตชิง (Circuit Switching)[แก้]

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลเมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของระบบเซอร์กิตสวิตชิง ได้แก่ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อมายังชุมสายโทรศัพท์หรือ CO (Central Office) ซึ่งมีสวิตช์ติดตั้งอยู่ระหว่างชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่นๆได้บางครั้งอาจผ่านชุมสายโทรศัพท์หลายๆชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ให้พิจารณาจากรูปที่ 9-3 (a) ฝั่งต้นทางในที่นี้คือ S ซึ่งต้องการสื่อสารกับฝั่งปลายทางคือ T ผ่านเครือข่ายและด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิงนั้นจะสร้างเส้นทาง เพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ได้มีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ เส้นทางดังกล่าวจะถูกถือครองในระหว่างการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสารถึงจะถูกปลดออก (Release)

เมสเสจสวิตชิง (Massage Switching)[แก้]

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรกเมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้วก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้นและไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward

แพ็กเกจสวิตชิ่งแบบดาต้าแกรม แพ็กเกจสวิตชิ่งแบบดาต้าแกรม

แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet Switching)[แก้]

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้น จัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิงด้วยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูลและ้วยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัด ดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ตจะมีการแตกออกเป็นหลายๆแพ็กเก็ต ขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตได้ส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ต เหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูง เช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได้รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิง ข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงก็ คือเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิงแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิงนั้นมีค่าน้อยกว่าโดยค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรกจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่างๆ บนเส้นทางที่ใช้หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแล้ว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าที่ต่ำทีเดียวโดยการ สื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิงนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีดาต้าแกรม (Datagram Approach) และเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

อ้างอิง.[10]

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP Model OSI Model
Application Layer Application Layer
Presentation Layer
Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
Physical Layer
ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้



อ้างอิง.[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]
  2. [2]
  3. [3]
  4. [4]
  5. [5]
  6. [6]
  7. [7]
  8. [8]
  9. [9]
  10. [10]
  11. [11]
  1. http://www.rajsima.ac.th
  2. https://kwankwanjk.wordpress.com/ความรู้เบื้องต้นเกี่ยว/ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล-database-administr/
  3. http://www.kku.ac.th
  4. http://www.rmutsb.ac.th
  5. http://www.rmutsv.ac.th
  6. http://www.it24hrs.com/2015/dark-off-free-wifi-unprotected
  7. http://www.techmoblog.com/android-lollipop-more-stable-than-ios-8
  8. http://www.techmoblog.com/flip-phones-iphones-newest-rival-japan
  9. http://zigmagirl.exteen.com/20081206/entry-12
  10. http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/com_network/sheet/chap482/chap9Wan.pdf
  11. http://osimode01.weebly.com/tcpip358536333610osi-model.html