ผู้ใช้:Mekanourak/สมบัด สมพอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมบัด สมพอน (ลาว: ສົມບັດ ສົມພອນ, เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ใน แขวงคำม่วน, ประเทศลาว) เป็นนักพัฒนาสังคมชาวลาวและเจ้าของรางวัลแมกไซไซ

ชีวประวัติ[แก้]

สมบัด สมพอน เกิดในครอบครัวที่ยากจน และเป็นบุตรคนโตของพี่น้องทั่งหมด เขาได้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 เขาได้รับทุนเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยฮาวาย และเรียนจบปริญญาตรีสาขาการศึกษาในปี พ.ศ. 2517 และ ปริญญาโทสาขาเกษตรกรรมในปี พ.ศ. 2521[1]

สมบัดได้กลับมาประเทศลาวหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2524 งานแรกที่เขาทำคือ การแสดงวิธีการทำเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคนิคการประเมินชนบทแบบมีส่วนร่วมในลาวด้วย ในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการประเทศลาวให้ทำการก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (PADETC) เพื่อฝึกให้คนหนุ่มสาวและเจ้าหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น[2]

ตามชีวประวัติของเขาที่มีการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 PADETC ได้ดำเนินการริเริ่มหลายๆโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้ประกอบการรายย่อย รวมไปถึงการแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์, การรีไซเคิลขยะ และ และเตาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ และการประเมินผลรูปแบบใหม่สำหรับองค์กรธุรกิจเกษตรรายเล็ก โครงการเหล่านี้ได้ดำเนินงานในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมอาสาสมัครหนุ่มสาวและการฝึกเรียนรู้ในชั้นเรียน (ตั้งแต่ในระดับมัธยมศึกษา,วิทยาลัย และ บัณฑิตวิทยาลัย) PADETC ได้สอนให้อาสาสมัครหนุ่มสาวได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ความเป็นผู้นำ,การทำงานเป็นทีม,การบริหารจัดการโครงงาน และ ความหลากหลายในการดำรงชีวิต เรื่องราวความรู้ในท้องถิ่น เช่น การตะหนักถึงสิ่งแวดล้อม, การทำเกษตรที่ดี, การเป็นผู้ประกอบการ และ ปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น ปัญหาด้านยาเสพติด[3]

ตลอดชีวิตของสมบัดนั้น ได้พยายามที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องราวทางการเมืองหรือการมีส่วนร่วมใดๆมาตลอด ในปี พ.ศ. 2556 ภรรยาของเขาได้กล่าวว่า "ในบทความที่ผ่านมาจำนวนมากและแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของสมบัด บางครั้งเขาได้ถูกเรียกเก็บเงินจากการเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม คำเหล่านี้ไม่ต้องพูดถึงสมบัด ตัวเขาหรืองานของเขา มันคือความจริงที่สมบัดได้ผ่านการทำงานอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อยเพื่อก้าวไปสู่ความอยู่ดีกินดี และสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนยากจนในชนบท แต่ งานของสมบัดไม่เคยได้คาดคั้นหรือเป็นศัตรูกับนโยบายของรัฐบาลเลย ทุกโครงการและกิจกรรมที่สมบัดได้ดำเนินการทุกอย่าง ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น[4]

ปีถัดมา สมบัดได้มีบทบาทสำคัญในการแนะนำแนวคิดดัชนีความสุขมวลรวมมายังลาว ในปี พ.ศ. 2550 เขาได้เป็น 1 ในผู้จัดการการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3 ขณะที่ปี พ.ศ. 2555 เขาได้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสในหนังสั้นเรื่อง "ความสุขของประเทศลาว" ซึ่งได้ฉายในการประชุมเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 งานนี้มีความใกล้ชิดกับการมีส่วนร่วมของสมบัดในเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม ซึงตั้งโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เพื่อนของเขา[5]

การยอมรับ[แก้]

สมบัด สมพอนกับเดสมอนต์ ตูตูในปี พ.ศ. 2549

ในปี พ.ศ. 2544 สมบัด สมพอน ได้รับรางวัลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากการเสริมสร้างศักยภาพของคนยากจนในชนบทของลาวจาก คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับรางวัลแมกไซไซสำหรับการเป็นผู้นำชุมชน จากการที่เขา "ได้ตระหนักถึงความพยายามของเขาที่หวังที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศลาวโดยการฝึกอบรมและสร้างแรงจูงใจให้คนหนุ่มสาวที่จะกลายเป็นรุ่นผู้นำ"[6] สมบัดยังเป็นคนลาวเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้

ในปี พ.ศ. 2553 ศูนย์ อีสต์-เวสต์ ได้ยอมรับการทำงานเพื่อสังคมของเขาผ่านการเผยแพร่ "50 ปี 50 เรื่อง" [7] ในปี พ.ศ. 2554 ได้ปาฐกถาพิเศษ ณ การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค เอพีไอ ครั้งที่ 10; เอพีไอ คือเครือข่ายของปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียโดยได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธินิปปอน. ในปี พ.ศ. 2555 เขาได้ปาฐกถาพิเศษในการประชุมเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ที่กรุงเวียงจันทน์ คณะกรรมการจัดการแข่งขันระหว่างประเทศของ AEPF ได้กล่าวว่าสมบัดคือ "หนึ่งในผู้ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและมีอิทธิพลระยะยาวสำหรับประชาชน เป็นศูนย์กลางและได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศลาว"[8]

การหายตัวไปและการตอบสนอง[แก้]

สมบัดถูกลักพาตัวไปใน กรุงเวียงจันทน์ ในช่วงเย็นของวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กล้องวงจรปิด ได้โชวถึงภาพที่มีตำรวจเรียกเขาลงมาจากรถและนำเขาขึ้นรถปิ๊กอัพไป[9]รัฐบาลลาวได้ปฏิเสธการรับผิดชอบของการหายตัวเขาไปในทันที[10]

การหายตัวไปของสมบัด สมพอนสร้างความกังวลให้กับคนและรัฐบาลทั่วโลก ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ, สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ, สภาชิกสภาจากเอเชียและยุโรป องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ (เอ็นจีโอ) และอีกหลายๆองค์กร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาวดำเนินการที่ควรจำเป็น เพื่อให้แน่ใจในการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยของเขา [11] เดสมอนต์ ตูตู ได้เขียนจดหมายไปยัง ทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีลาว ให้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน แต่ว่าไม่มีการตอบสนองใดๆเลย[12]

ใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2556, องค์การนิรโทษกรรมสากล เรียกร้องรัฐบาลลาวให้ดำเนินการโดยด่วน [13] ตามมาด้วยการเผยแพร่เอกสารสรุปการบรรยาย 26 หน้าเรื่อง ลาว:จับจากกล้อง การบังคับการหายตัวไปของสมบัด สมพอน (Laos: Caught on Camera - the enforced disappearance of Sombath Somphone)[14]

ศูนย์วิเคราะห์นโยบายสาธารณะในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, องค์กรวิจัยนโยบายสาธารณะเอกชน (เอ็นจีโอ) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาวและหน่วยความปลอดภัยปล่อยตัวสมบัด สมพอน อย่างต่อเนื่อง [15] ศูนย์วิเคราะห์นโยบายสาธารณะยังมักยกประเด็นสมบัด สมพอนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับการฆ่าล้างชาวลาวและชาวม้งและความขัดแย้งทางศาสนาในลาว [16]

หนึ่งเดือนหลังการหายตัวไปของเขา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน, ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลลาว "ให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และทำทุกอย่างในอำนาจของตนเพื่อที่จะดำเนินการเรื่องทันทีและปล่อยตัวสมบัดกลับบ้านไปหาครอบครัวของเขา".[17] วันที่24 มีนาคม, จอห์น เคร์รี ซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อ ออกแถลงการณ์ในวันที่ครบรอบ 100 วันนับตั้งแต่สมบัดถูกลักพาตัวไป เขากล่าวว่า "เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างต่อเนื่อง การหายตัวไปอย่างอธิบายไม่ได้ของสมบัด สมพอน ผู้ที่ซึ่งได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางและสร้างแรงบันดาลใจให้พลเมืองลาวซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากขึ้นในประเทศของเขา ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการกระทำผิดของรัฐบาลลาวในการใช้กฎหมายและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับโลกนี้[18]

สามคณะผู้แทนของสมาชิกรัฐสภาจากเอเชียและยุโรปเดินทางมายังกรุงเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อหารือเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัดกับรัฐบาลลาว การเยือกครั้งแรกในเดือนมกราคม วัลเดน เบลโล สมาชิกสภาคองเกรสจากฟิลิปปินส์และผู้ก่อตั้ง โฟกัสออนเดอะโกลบอลเซาท์ (Focus on the Global South) ระบุว่า "เราอยู่ห่างไกลจากความพึงพอใจกับคำตอบที่เราได้" [19]วุฒิสภาชิกดัตช์ ทู เอลซิลฟา กล่าวหลังจากการไปเยือนในเดือนมีนาคม "ถ้าเจ้าหน้าที่ลาวคิดว่าปัญหาของการหายตัวไปของสมบัดจะหายไป พวกเขาคิดผิด"[20]ในเดือนกันยายน 3 คณะผู้แทน ประกอบด้วยผู้แทนจากเดนมาร์กและเบลเยียม ได้ข้อสรุปว่า "ทางการลาวดูห่างไกลไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจหรือความสามารถเพียงพอที่จะหาทางออกกับกรณีนี้และได้ปฏิเสธข้อเสนอการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคใด ๆ เพื่อตรวจสอบ"[21]

ระหว่างการประชุมระดับสูงกับรัฐบาลลาวที่จัดขึ้นในกรุงเวียงจันทน์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จำนวนของผู้บริจาคต่างประเทศแสดงความกังวลของพวกเขาเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัด คำสั่งจากองค์การพัฒนายุโรปเรียกร้องให้รัฐบลาว "ดำเนินการตรวจสอบที่ครอบคลุมและมีความโปร่งใสของคดีนี้อย่างเต็มที่และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของสหประชาชาติเช่น คณะที่ทำงานเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายในเจนีวา"[22]

ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556 , ครบรอบหนึ่งปีของการหายสาบสูญของสมบัด สมพอน ถูกประกาศโดยแถลงการณ์ของรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์, อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา[23] และการเดินขบวนประท้วงสถานทูตลาวในกรุงเทพ[24] โตเกียว[25] และ แคนเบอร์รา องค์การนิรโทษกรรมสากลออกมาเรียกร้องอีกครั้งเพื่อให้มีการดำเนินการ[26]ขณะที่เอ็นจีโอเอเชีย 62 กลุ่ม ได้เรียกร้องให้มีการสอบสวนใหม่ [27] ขณะเดียวกัน คณะรายงานพิเศษเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคมแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวขอให้รัฐบาลลาว "ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และขั้นตอนพิเศษของมัน โดยเฉพาะการเลือกตั้งสภาสิทธิมนุษยชนในปี2016"[28]

สื่อระหว่างประเทศยังได้รายงานการหายตัวไปของสมบัด เช่น บีบีซี, อัลจาซีรา ฟอกซ์นิวส์, ดอยช์ เวเลย์, เลอมงด์, เดอะการ์เดียน, เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล, เอบีซี ออสเตรเลีย และสื่ออีกๆอีกมากมาย[29]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sombath Somphone: Farmer, Scholar, Scientist, Community Developer
  2. PADETC - 10 years in balance (report)
  3. Sombath Somphone: Biography
  4. An Open Letter to Sombath’s Well-Wishers, From Ng Shui Meng, wife of Sombath Somphone
  5. 'Unhappy Laos' - article at website of International Network of Engaged Buddhists
  6. The 2005 Ramon Magsaysay Award for Community Leadership, Citation for Sombath Somphone
  7. Sombath Somphone - Preparing a Generation of Leaders in Laos in 'East West Centre: 50 years, 50 stories', University of Hawaii, 2010
  8. AEPF statement of concern over the disappearance of Mr. Sombath Somphone
  9. CCTV footage showing the abduction of Sombath Somphone ที่ยูทูบ
  10. 'Statement of the Lao spokesman on the Missing of Mr. Sombath Somphone', KPL news agency, 19 December 2012
  11. A collection of statements of concern relating to the disappearance of Sombath Somphone
  12. Archbishop Tutu speaks out for Sombath
  13. Amnesty International: Lao Citizen Abducted, Not Seen or Heard From, 18 January 2013
  14. Amnesty International: Laos must ensure return of disappeared civil society leader, 13 June 2013
  15. The Centre for Public Policy Analysis (CPPA), Washington, D.C. http://www.centerforpublicpolicyanalysis.org
  16. Business Wire (4 March 2013) "Laos: Attacks Intensify Against Lao, Hmong People" http://www.businesswire.com/news/home/20130304006755/en/Laos-Attacks-Intensify-Lao-Hmong-People
  17. Press Statement by Hillary Clinton, U.S. Secretary of State, 16 January 2013
  18. Press Statement by John Kerry, U.S. Secretary of State, 24 March 2013
  19. Statement of Rep. Walden Bello on the Preliminary findings of ASEAN Parliamentary Delegation to the Lao PDR on the disappearance of Sombath Somphone
  20. The clock is ticking for Laos with the case of Sombath Somphone
  21. Statement of the Third Parliamentary Delegation to the Lao PDR on the enforced disappearance of Sombath Somphone
  22. European Development Partners’ Statement at Lao PDR’s Round Table Meeting Vientiane, 19th November 2013
  23. Global Concern - a complete list of statements made by international organisations
  24. Bangkok Post - Rally at Lao embassy for missing activist
  25. Action in front of the Lao embassy in Tokyo (article in Japanese)
  26. Laos: Further information: Fears grow for Lao civil society leader
  27. Sombath Somphone one year on: 62 NGOs call for a new investigation into his enforced disappearance
  28. A year on, the enforced disappearance of Sombath Somphone continues with impunity in Lao PDR
  29. Links to more than 175 news reports on the disappearance of Sombath Somphone

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]