ผู้ใช้:Jakkawan77/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

ประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

        สาธารณรัฐฟิลิปปินส์(อังกฤษ:Philippines)เป็นประเทศหมู่เกาะเขตร้อน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะต่างๆประมาณ 7,000 เกาะ มีพื้นดินประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาฟิลิปปินส์มีความหลากหลายทั้งในทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มีชนเผ่ากลุ่มน้อย 63 กลุ่ม ศาสนาที่สำคัญในประเทศคือ ศาสนาคริตส์โรมันคาทอลิก[1]

วิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

        ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ฟิลิปปินส์มีชนเผ่าต่างๆหลายกลุ่ม โดยมีหมู่บ้านเรียกว่าบารังไกย์ (ฺBarangay)ประกอดด้วยครอบครัวประมาณ 50 ครอบครัวขึ้นไปรวมตัวกัน ปกครองโดยผู้ที่ได้รับเลือกมาอย่างไม่เป็นทางการให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน อาจจะมาจากความแข็งแรง ฉลาดและเก่ง แต่ล่ะหมู่บ้านจะอยู่ตามลำพังต่างคนต่างอยู่ จะรวมตัวกันก็ต่อเมื่อมีภัยคุกคามจากภายนอก หรือรวมตัวทำการค้า เช่น มลายู อินโดนิเชีย ในช่วงถูกปกครองโดยสเปน ได้จัดตั้งการปกครองท้องถิ่นขึ้น คือ จัดตั้งจังหวัด เมือง และเทศบาล โดยมีการกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครอดังกล่าว แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บภาษีเป็นสำคัญ เมื่อสเปนหมดอำนาจ สหรัฐอเมริกาได้อ้างสิทธิการปกครองแทนสเปนอยู่ประมาณ 50 ปี ระหว่างนั้นได้ใช้ระบบการปกครองท้องถิ่นแบบอเมริกัน แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจที่แท้จริงกับคนพื้นเมือง ความสนใจยังอยู่ที่การเมืองระดับชาติเป็นหลัก[2] เมื่อได้รับเอกราช การเมืองการปกครองยังเน้นในระดับประเทศ การปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ในช่วงปี 1972-1986 ถึงแม้ว่าเป็นช่วงถูกปกครองโดยเผด็จการและมีแนวโน้มรวมอำนาจมากขึ้นก็ตาม มีการส่งเสริมให้รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการปกครองตนเองมากขึ้น รัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีมากอสยังออกกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างกาารปกครองท้องถิ่นซึ่งสะท้อนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ซึ่งในปี 1975 กำหนกให้รวมเมือง 4 เมืองและ 13 เทศบาลในนครหลวงเรียกว่า มหานครมะนิลา และมีเมืองมินดาเนาทางตอนใต้เป็นเขตการเมืองอีกที่หนึ่ง โดยให้ทั้งสองมีรัฐบาลเป็นของตัวเอง การกระจายอำนาจได้สร้างความเข้มแข็งให้แกท้องถื่นในระยะหลัง ส่วนหนึ่งเกิดจากความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรต่างชาติ เช่น หน่วยงานความช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกา[3] ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาตั้งฐานทัพในฟิลิปปินส์บนเนื้อที่ 200,000 เฮกตาร์[4]

การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น[แก้]

        การกระจายอำนาจเริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1984 และมีการประมวลกฎหมายปกครองท้องถิ่น  เมื่อปีค.ศ. 1991 และมีการบังคับใช้ในปีค.ศ. 1992 ประมวลกฎหมายนี้แบ่งเป็นสี่ภาคคือ ภาคทั่วไป ภาค  การเงิน ภาคองค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคข้อกำหนดสุดท้าย ประมวลกฎหมายนี้เน้นการกระจายอำนาจไป  ให้ท้องถิ่น แนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์แบ่งเป็นสองกระแสหลักคือ การ   กระจายหน้าที่ และ การกระจายอำนาจ  กระแสแรก คือรัฐบาลกระจายบริการ บางอย่างให้กับส่วนท้องถิ่น   ได้ดำเนินการบริการ พื้นฐานมากขึ้น จากเดิมหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น การสาธารณสุข การ  ก่อสร้างซ่อมบำรุงถนน  กระแสที่สอง คือการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นในบางเรื่อง เช่น การบริหารการเงิน   การคลัง การบริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน บริหารงานส่วนบุคคล

[5]รัฐบาลกลางให้อำนาจบางส่วนท้องถิ่น หรือเขตที่จัดตั้งการปกครองพิเศษ นโยบายต้องไม่ขัดแย้งกับ รัฐบาลกลางมีลักษณะเป็นประเทศเดี่ยว สองระบบ[6] ประเทศเดียวสองระบบคือ เมื่อรัฐบาลอนุมัติแล้วต้องมีกรอบของกฎหมาย เพื่อที่จะนำร่างกฏหมายหลักที่ไม่ใช่ในการปกครอง โดยจะต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักของประเทศ การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษก็เผื่อให้เขตนั้นมีความเป็นอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหารงาน มีการเลือกผู้บริหาร เลือกสภาผู้แทนของตัวเอง สรุปก็คือ ในการปกครองตนเองสามารถจัดระบบบริหารนิติบัญญัติและศาลได้ แล้วยังมีเสรีภาพตามกฎหมายหลักที่ผ่านสภาของประเทศ สาเหตุที่เกิดประเทศเดียวสองระบบก็คือ 1. เขตนั้นมีความเจริญในด้านกายภาพที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ ในการค้าต้องการพัฒนาเขตของตัวเองให้มีความเจริญ โดยมีอิสระในการเก็บภาษี และอิสระในบริหารเมือง 2. เกิดปัญหาระหว่างเชื้อชาติขึ้นในเขตนั้น อย่างในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ที่อยู่ในจังหวัดมินดาเนา ชาวมินดาเนา ส่วนหนึ่งเป็นมุสลิม ชาวเน้นการเดาต้องการปกครองตนเองโดยเชื้อชาติของเขาเอง ต้องการพัฒนาความเป็นอยู่โดยมีอิสระในการปกครองตัวเอง[7] การกระจายอำนาจจะให้ท้องถิ่นในฟิลิปปินส์มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1989 และมีการปกครองท้องถิ่นใหม่และได้มีการออกกฎหมายปกครองท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 1991 ได้มีการแบ่งอำนาจการกระจายจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่น[8]

โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น[แก้]

      ประเทศฟิลิปปินส์เป็นรัฐเดี่ยว มีลักษณะการปกครองท้องถิ่นที่มีมลรัฐเป็นหน่วยปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น แต่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม ซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้มารวมตัวกันเพื่อต่อรองกับรัฐบาลจนได้รับการตอบสนองปัญหาเฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว และเขตนครหลวงแห่งชาติ หรือ เขตมหานครมนิลา เพื่อส่งเสริมการประสานงานกัน ให้มีประสิทธิภาพในการบริการในเขตนครหลวง มีระดับของการปกครองท้องถิ่น คือ ระดับจังหวัด ระดับเมืองเทศบาล และ ระดับหมู่บ้าน[9] ตามรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์รัฐบาลท้องถิ่น "จะได้รับเอกราชในท้องถิ่น" และในกรณีที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ทำหน้าที่ "การกำกับดูแลทั่วไป" สภาคองเกรสตราพระราชบัญญัติรหัสรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ในปีพ. ศ. 2534 เพื่อกำหนดโครงสร้างการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีการตอบสนองและมีความรับผิดชอบมากขึ้นผ่านระบบการกระจายอำนาจด้วยกลไกการเรียกคืนความคิดริเริ่มและการลงประชามติที่มีประสิทธิภาพจัดสรรหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ความรับผิดชอบและทรัพยากรและกำหนดคุณสมบัติการเลือกตั้งการแต่งตั้งและการถอดถอนระยะเวลาเงินเดือนอำนาจและหน้าที่และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและการดำเนินงานของหน่วยงานท้องถิ่น[10]

บทบาทหน้าที่ขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

      ในปีค.ศ. 1983 มีการออกประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่นฉบับแรกโดยกำหนดบทบาทหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองท้องถิ่นรวมถึงการจำกัดอำนาจของรัฐบาลกลางในการอนุมัติการโยกย้ายพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการของท้องถิ่น ในทัศนะของผู้บริหารท้องถิ่นและนักวิชาการของท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินยังมีบทบาทหน้าที่ตามหน้าที่เรื่องที่เป็นของท้องถิ่นจริงๆเป็นต้นว่าการเก็บภาษีท้องถิ่น การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย การก่อสร้างและดูแลโรงฆ่าสัตว์ ตลาด สนามเด็กเล่น สถานศึกษา สถานที่ราชการในท้องถิ่นและหน้าที่อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีความพยายามที่จะส่งเสริมการปกครองตนเองของท้องถิ่นและได้มีการดำเนินการกระจายอำนาจดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการกระจายอำนาจในสมัยประธานาธิบดีมาร์กอสเป็นเพียงการกระจายอำนาจทางการบริหารไม่ใช่การกระจายอำนาจทางการเมือง[11]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น[แก้]

      ประธานาธิบดีจะกำกับดูแลหน่วยการปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าการทำงานต่างๆของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นอยู่ในขอบเขตและอำนาจที่กำหนดไว้ให้ ด้วยประธานาธิบดีจะมีอำนาจโดยตรงในการกำกับดูแลจังหวัด เมืองในชุมชนหนาแน่นและเมืองที่เป็นอิสระและขณะเดียวกันก็จะกำกับดูแลเมืองทั่วไปและเทศบาลผ่านทางจังหวัดและจะกำกับบารังไกผ่านทางเมืองและเทศบาล หน่วยงานและสำนักงานของรัฐบาลกางที่มีการจัดทำโครงการต่างๆในท้องถิ่นต้องประสานงานกับหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินโครงการต่างๆเรานั้นได้ เช่น หน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาลในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างในท้องถิ่นหน่วยงานของรัฐจะปรึกษาหารือกับหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น[12]

การสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง[แก้]

     ในการบริหารส่วนท้องถิ่นจะมีเทศบาลที่คอยจะติดต่อกับประชาชนในพื้นที่โดยให้ทั้งความเป็นธรรมและบริการที่ดีแก่ประชาชนจนถึงขั้นสนิทสนม เพราะงานของรัฐบาลกลางที่จะเชื่อมต่อกับประชาชนส่วนใหญ่จะผ่านเทศบาลเป็นตัวกลาง เช่น การขออนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆเสียภาษี[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศ.ดรใปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์, บริษัท แอล เอส เพรส จำกัด, พิมพ์ปี2542, หน้า 2
  2. ศ.ดรใปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์, บริษัท แอล เอส เพรส จำกัด, พิมพ์ปี2542, หน้า 3
  3. ศ.ดรใปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์, บริษัท แอล เอส เพรส จำกัด, พิมพ์ปี2542, หน้า 3-6
  4. สีดา สอนศรี, การเมืองในฟิลิปปินส์ 1987, โครงการตำราวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม, พิมพ์ปี2531, หน้า54
  5. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ (ปีที่พิมพ์ 2542 บริษัท แอล เอส เพรส จำกัด กรุงเทพมหานคร) หน้าที่ 8
  6. ศราวุฒิ อารีย์,โมโรมุสลิมและเขตปกครองตนเอง : ประสบการณ์จากฟิลิปปินส์ (1), http://www.deepsouthwatch.org/node/292, (สืบค้นวันที่ 22/11/2559)หน้าที่ 1 บรรทัดที่ 6-16
  7. ศราวุฒิ อารีย์,โมโรมุสลิมและเขตปกครองตนเอง : ประสบการณ์จากฟิลิปปินส์ (1), http://www.deepsouthwatch.org/node/292, (สืบค้นวันที่ 22/11/2559 )หน้าที่ 2 บรรทัดที่ 1-27
  8. สีดา สอนศรี, คู่มือประเทศฟิลิปปินส์, (บริษัท กรีน พริ้น จำกัด กรุงเทพมหานคร ) หน้าที่ 106
  9. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ (ปีที่พิมพ์ 2542 บริษัท แอล เอส เพรส จำกัด กรุงเทพมหานคร) หน้า 13
  10. วิกิเพียเดีย สารานุกรมเสรี. (2554). Local government in the Philippines. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Local_government_in_the_Philippines
  11. ณัฐธิดา บุญธรรม. ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเชียน:สาธารณรัฐฟิลิปปินส์. http://kpi2.kpi.ac.th/kpith/pdf/ผลงาน/หนังสือเผยแพร่/AEC/ฟิลิปปิน. (สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560)หน้าที่ 34 บรรทัดที่ 10-23
  12. ณัฐธิดา บุญธรรม. ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเชียน:สาธารณรัฐฟิลิปปินส์. http://kpi2.kpi.ac.th/kpith/pdf/ผลงาน/หนังสือเผยแพร่/AEC/ฟิลิปปิน. (สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560)หน้าที่ 82 บรรทัดที่ 1-17 และ หน้า 83 บรรทัดที่ 9-13
  13. เศวต โกมลภูติ, สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ปีที่พิมพ์ 2515) หน้าที่ 67