ผู้ใช้:DhanatWee/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

{{กล่องข้อมูล การรบ |ชื่อการรบ =สงครามกลางเมืองอเมริกา |สงคราม = |รูปภาพ = |คำบรรยาย= ตามเข็มนาฬิกา จากรูปบนสุด: ยุทธการเกตตีสเบิร์ก, ปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา, นักโทษของสมาพันธรัฐอเมริกา, เรือรบหุ้มเกราะ ยูเอสเอส แอตแลนตา (USS Atlanta), ซากเมืองของ ริชมอนด์, รัฐเวอร์จิเนีย, ยุทธการแฟรงค์ลิน |วันที่ = 12 เมษายน ค.ศ. 1861 - 9 เมษายน ค.ศ. 1865 (ตามสนธิสัญญาสงบศึก) [1]
(การปะทะครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1865) |สถานที่= ส่วนใต้ของสหรัฐอเมริกา(สมาพันธรัฐอเมริกา), ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือสหรัฐอเมริกา, ส่วนตะวันตกของสหรัฐอเมริกา, มหาสมุทรแอตแลนติก |ผลการรบ= ชัยชนะของฝ่ายสหภาพ (สหรัฐอเมริกา)

| ผู้ร่วมรบ1=สหรัฐ สหรัฐอเมริกา | ผู้ร่วมรบ2= สมาพันธรัฐอเมริกา |ผู้บัญชาการ1=สหรัฐ อับราฮัม ลินคอล์น
สหรัฐ วินฟิลด์ เอส. แฮนด์คอค
สหรัฐ จอร์จ บี. แม็คเคิลแลน
สหรัฐ วิลเลียม ที. เชอร์แมน
สหรัฐ ยูลิสซิส เอส. แกรนท์
สหรัฐ เดวิด จี. เฟรากัต

|ผู้บัญชาการ2= เจฟเฟอร์สัน เดวิส
โรเบิร์ต อี. ลี
โจเซฟ อี. จอนสตัน
สโตนวอลล์ แจ๊กสัน
สตีเฟน มัลเลอรี

|กำลังพล1= 2,213,363 คน |กำลังพล2=ราว 1,064,000 คน |ความสูญเสีย1= เสียชีวิตในหน้าที่ 140,414 นาย[2][3] เสียชีวิตในที่คุมขังของสมาพันธรัฐอเมริกา ราว 25,000 นาย[2] เสียชีวิตด้วยเหตุผลอื่น 224,097 นายอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>
อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref> ไม่นานหลังจากยุทธการนั้น ลินคอล์นประกาศเลิกทาส ซึ่งทำให้การเลิกทาสไม่เป็นเป้าประสงค์ในสงครามอีกต่อไป[4]

ใน ค.ศ. 1863 การบุกขึ้นเหนือของนายพลสมาพันธรัฐ โรเบิร์ต อี. ลี ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเกตตีสเบิร์ก ในทางตะวันตก สหภาพควบคุมเหนือแม่น้ำมิสซิสซิปปี หลังยุทธการชิโลห์ (Shiloh) และการล้อมวิคสเบิร์ก (Vicksburg) ซึ่งเป็นผลให้สมาพันธรัฐแบ่งออกเป็นสองและทำลายกองทัพตะวันตกไปเป็นอันมาก ด้วยความสำเร็จในทางตะวันตก ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ จึงได้รับอำนาจบังคับบัญชากองทัพตะวันออกใน ค.ศ. 1864 และจัดระเบียบกองทัพของวิลเลียม เทคุมเซห์ เชอร์แมน, ฟิลิป เชอริแดน, และคนอื่น ๆ ให้โจมตีสมาพันธรัฐจากทุกทิศทาง ซึ่งเพิ่มความได้เปรียบด้านกำลังพลของฝ่ายเหนือถึงขีดสุด แกรนท์ปรับโครงสร้างของกองทัพสหภาพ และวางตัวนายพลคนอื่นให้บังคับบัญชากองพลของกองทัพเพื่อสนับสนุนการบุกเวอร์จิเนียของเขา เขานำการทัพภาคพื้นดินเพื่อยึดริชมอนด์ แม้จะเผชิญกับการต้านทานอย่างดุเดือด เขาจะเปลี่ยนแผนและนำการล้อมปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งทำลายกองทัพที่เหลือของลีเกือบทั้งหมด แกรนท์มอบอำนาจให้เชอร์แมนยึดแอตแลนตาและเคลื่อนทัพไปยังทะเลโดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายสาธารณูปโภคของสมาพันธรัฐ เมื่อความพยายามป้องกันปีเตอร์สเบิร์กของสมาพันธรัฐล้มเหลว กองทัพสมาพันธรัฐล่าถอย แต่ก็ถูกตามล่าและพ่ายแพ้ในที่สุด ซึ่งส่งผลให้ลียอมจำนนต่อแกรนท์ที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1865

สงครามกลางเมืองอเมริกันเป็นหนึ่งในสงครามอุตสาหกรรมที่แท้จริงครั้งแรก ๆ ของโลก ทางรถไฟ โทรเลข เรือกลไฟ และอาวุธซึ่งผลิตเป็นจำนวนมากมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง แบบของสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งพัฒนาโดยเชอร์แมนในรัฐจอร์เจีย และสงครามสนามเพลาะรอบปีเตอร์สเบิร์กเกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทวีปยุโรป สงครามครั้งนี้ยังเป็นสงครามที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้ทหารเสียชีวิตกว่า 620,000 นาย และพลเรือนเสียชีวิตไม่ทราบจำนวน นักประวัติศาสตร์ จอห์น ฮัดเดิลสตัน ประเมินยอดผู้เสียชีวิตว่า ชายรัฐทางเหนือทุกคนที่อายุระหว่าง 20-45 ปี เสียชีวิตไป 10% และชายรัฐทางใต้ทุกคนที่อายุระหว่าง 18-40 ปี เสียชีวิตไป 30%[5] ชัยชนะของฝ่ายเหนือหมายถึงจุดจบของสมาพันธรัฐและทาสในสหรัฐอเมริกา และเสริมอำนาจแก่รัฐบาลกลาง ปัญหาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและเชื้อชาติของสงครามมีอิทธิพลต่อยุคบูรณะซึ่งดำเนินไปจนถึง ค.ศ. 1877

สาเหตุของสงคราม[แก้]

สาเหตุของสงครามเกิดจากความแตกต่างระหว่างแต่ละรัฐในสหรัฐอเมริกา ที่มีรูปแบบและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก ในขณะที่รัฐทางใต้ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทาสในการเกษตรกรรมขนาดใหญ่ รัฐทางเหนือกลับเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทาสมากนัก เมื่ออับราฮัม ลิงคอล์นซึ่งมีแนวคิดต่อต้านระบบทาสอย่างชัดเจน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐทางใต้ 13 รัฐที่ไม่พอใจ แยกตัวเป็นอิสระ และตั้งรัฐบาลใหม่ในนามว่าสมาพันธรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  1. "The Belligerent Rights of the Rebels at an End. All Nations Warned Against Harboring Their Privateers. If They Do Their Ships Will be Excluded from Our Ports. Restoration of Law in the State of Virginia. The Machinery of Government to be Put in Motion There". The New York Times. The New York Times Company. Associated Press. May 10, 1865.
  2. 2.0 2.1 Fox, William F. Regimental losses in the American Civil War (1889)
  3. Official DOD data
  4. Frank J. Williams, "Doing Less and Doing More: The President and the Proclamation—Legally, Militarily and Politically," in Harold Holzer, ed. The Emancipation Proclamation (2006) pp. 74–5.
  5. "Killing ground: photographs of the Civil War and the changing American landscape". John Huddleston (2002). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-6773-6.