ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการเกตตีสเบิร์ก)
ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามตะวันออกของสงครามกลางเมืองอเมริกา

ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก โดย Thure de Thulstrup
วันที่1–3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863
สถานที่39°48′40″N 77°13′30″W / 39.811°N 77.225°W / 39.811; -77.225พิกัดภูมิศาสตร์: 39°48′40″N 77°13′30″W / 39.811°N 77.225°W / 39.811; -77.225
ผล ฝ่ายสหภาพชนะ[1]
คู่สงคราม
 สหรัฐ  สมาพันธรัฐ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ จอร์จ จี. มีด
สหรัฐ จอห์น เอฟ. เรย์โนลส์ 
สหรัฐ วินฟีลด์ เอส. แฮนค็อค
สหรัฐ แดเนียล ซิกเกิลส์
สหรัฐ จอร์จ ไซคส์
สหรัฐ จอห์น เซดจ์วิก
สหรัฐ โอลิเวอร์ โอติส ฮาวเวิร์ด
สหรัฐ เฮนรี วอร์เนอร์ สโลคัม
สหรัฐ อัลเฟรด พลีสันตัน
สหรัฐ รอเบิร์ต โอ. ไทเลอร์
สหรัฐ เฮนรี แจ็กสัน ฮันต์
สมาพันธรัฐอเมริกา โรเบิร์ต อี. ลี
สมาพันธรัฐอเมริกา เจมส์ ลองสตรีต
สมาพันธรัฐอเมริกา ริชาร์ด เอส. อีเวลล์
สมาพันธรัฐอเมริกา เอ. พี. ฮิลล์
สมาพันธรัฐอเมริกา เจ. อี. บี. สจวต
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สหรัฐ กองทัพโปโตแมค[2] กองทัพเวอร์จิเนียเหนือ[3]
กำลัง
104,256 นาย ("แสดงตัวในวันรบ")[4][5] 71,000–75,000 นาย (ประมาณการ)[6]
ความสูญเสีย
รวม 23,049 นาย
(ถูกฆ่า 3,155 นาย;
บาดเจ็บ 14,529 นาย;
ถูกจับ/หายตัว 5,365 นาย)
[7][8]
23,000–28,000 นาย (ประมาณการ)[9][10]
ทั้งสองฝั่งรวมกัน: ม้าถูกฆ่า 3,000-5,000 ตัว

ยุทธการเกตตีสเบิร์ก (อังกฤษ: Battle of Gettysburg, สำเนียงท้องถิ่น /ˈɡɛtɪsbɜːrɡ/ ( ฟังเสียง)[11]; 1 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยเป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสหรัฐอเมริกา นำนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด กับฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา นำโดยนายพลโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี โดยสมรภูมิแห่งนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย การปะทะกันกินเวลาทั้งสิ้น 3 วัน ยุทธการดังกล่าวนับว่าเป็นสมรภูมิที่นองเลือดมากแห่งหนึ่งในสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยมียอดผู้เสียชีวิตเกือบ 10,000 คน และบาดเจ็บอีกเกือบ 30,000 คน ในยุทธการนี้ กองทัพโปโตแมค ภายใต้การนำของพลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด สามารถเอาชนะกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ ภายใต้การนำของพลเอก โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ซึ่งเป็นการหยุดความพยายามในการโจมตีฝ่ายเหนือของโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี สงครามครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เนื่องจากชันชนะอย่างเด็ดขาดของฝ่ายสหภาพและการล้อมวิกส์เบิร์กที่เกิดขึ้นพร้อมกัน[12][13]

หลังจากที่นายพล โรเบิร์ต อี. ลี ประสบชัยชนะที่ยุทธการชาร์ลอตส์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1863 นายพลลี ได้นำทัพผ่านช่องเขาเชอนานโดห์ เพื่อเริ่มการโจมตีฝ่ายเหนือเป็นครั้งที่สอง และเมื่อกองทัพของเขามีกำลังใจในการรบสูง ลีตั้งใจที่จะขยับการปะทะขึ้นไปทางเหนือของเวอร์จิเนีย และหวังว่า นักการเมืองของฝ่ายเหนือ จะยอมเซ็นสนธิสัญญายอมแพ้ เมื่อเขาเข้าโจมตีเมืองแฮริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย หรือแม้แต่ฟิลาเดลเฟีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเพนซิลเวเนีย เพื่อเป็นการตอบโต้นายพลลี พลตรี โจเซฟ ฮุกเกอร์ จึงได้รับการทาบทามจาก ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ให้ไล่ล่าลี แต่ฮุกเกอร์ ได้ถูกปลดจากตำแหน่งก่อนยุทธการเกติสเบิร์กราว 3 วัน และ ถูกทดแทนโดย พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด

บางส่วนของทั้งสองกองทัพ ปะทะกันในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 บริเวณแนวสันเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ซึ่ง พลจัตวา จอหน์ บูฟอรด์ ผู้นำกองทหารม้าของฝ่ายเหนือ ได้ตั้งแนวป้องกันไว้ นายพลลีจึงสั่งให้ทหารราบ สองกองพัน นำโดย พลจัตวา เจมส์ เจ. อาร์ชเชอร์ และ พลจัตวา โจเซฟ อาร์. เดวิสเข้าโจมตีจุดนั้นโดยทันที เพื่อเข้ายึดแนวสันเขา ก่อนที่กำลังเสริมของฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นทหารราบ สองกองพล จะมาถึง หลังจากนั้นไม่นาน ทหารราบฝ่ายใต้อีกสองกองพัน นำโดย พลตรี แฮรรี่ เฮทฮ์ ได้เข้าโจมตีทหารม้าฝ่ายเหนือ ซึ่งได้ลงจากหลังม้าแล้ว ทำให้ทหารฝ่ายเหนือล่าถอยเข้าไปในเมือง

ในวันที่สองของยุทธการเกตติสเบิร์ก ส่วนใหญ่ของทั้งสองกองทัพ ได้รวมกลุ่มใหม่แล้ว ฝ่ายเหนือได้ตั้งแนวป้องกัน เป็นรูปเบ็ดตกปลา ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กรกฎาคม นายพลลี ได้ส่งทหารจำนวนมากเข้าโจมตีปีกซ้ายของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาลิตเตลราวน์ทอป, ทุ่งวิตฟิลล์, เดวิลส เดน และ ไร่พิชออร์ชารด์ และที่ปีกขวาของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาคัลปส์ฮิลล์ และที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ ถึงแม้จะถูกโจมตีอย่างหนัก ฝ่ายเหนือสามารถคงแนวป้องกันไว้ได้

ในวันที่สามของยุทธการเกตติสเบิร์ก การปะทะยังดำเนินต่อไปที่เขาคัลปส์ฮิลล์ และการปะทะกับทหารม้าของฝ่ายเหนือ ท้งทางปีกซ้างและขวา แต่การปะทะครั้งใหญ่ที่สุดคือที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ รู้ในนามของ พิกก์เกตส์ ชารจ์ นำโดย จอรจ์ เอ็ดเวิรด์ พิกก์เกต์ ฝ่ายใต้ถูกต้านโดยการระดมยิงปืนใหญ่ของฝ่ายเหนือ และปืนไรเฟิล ซึ่งมีระยะหวังผลมากกว่าปืนมัสเกตหลายเท่า ในที่สุด ฝ่ายใต้ได้ถอยทัพออกจากเมือง ด้วยความสูญเสียมหาศาล

นายพลลี ได้นำทหารราว 50,000 นาย ถอยทัพกลับสู่ เวอร์จิเนีย ผ่านสภาพอากาศที่เลวร้าย ในการปะทะสามวัน มีความสูญเสียทั้งสองฝ่าย รวมแล้ว ราว 46,000 นาย ถึง 51,000 นาย

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ได้กล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องทหารที่เสียชีวิตในยุทธการนี้ ในสุทรพจน์อันโด่งดังของเขา สุนทรพจน์เกตติสเบิรก์แอดเดรส

ก่อนการรบ[แก้]

นายพลโรเบิร์ต อี. ลี

ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อนจะเกิดการปะทะกันที่เกตตีสเบิร์กนั้น ฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา หรืออเมริกาฝ่ายใต้ มักเป็นฝ่ายชนะในสงคราม อันเนื่องมาจากมีผู้บัญชาการฝีมือดีอย่างนายพลโรเบิร์ต อี. ลี แห่งกองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ซึ่งถึงแม้ฝ่ายอเมริกาใต้จะเสียเปรียบอเมริกาเหนือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังพลที่ฝ่ายเหนือมีมากกว่าฝ่ายใต้อย่างนับไม่ถ้วน แต่นายพลลีก็สามารถกำชัยเหนือฝ่ายเหนือมาได้หลายครั้ง ซึ่งในยุทธการเกตตีสเบิร์กครั้งนี้ก็เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของฝ่ายใต้ ที่สร้างความเสียหายให้ชาวอเมริกันทั้ง 2 ฝ่ายอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียว

ในช่วงกลาง [ค.ศ. 1863 นายพลลีได้ส่งกองกำลังกว่า 70,000 คน รุกเข้าไปในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีเป้าหมายที่จะยึดเมืองแฮร์ริสเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญด้านการขนส่งของฝ่ายเหนือ โดยเฉพาะทางรถไฟ โดยนายพลลีสามารถรุกเข้ามาได้ถึงเมืองเกตตีสเบิร์กได้ แต่ก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับกองกำลังฝ่ายเหนือกว่า 90,000 คน ซึ่งบัญชาการโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด แห่งกองทัพโปโตแมค

1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863[แก้]

กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีกองกำลังฝ่ายเหนือของนายพลจอห์น บัลฟอร์ท ที่มีกำลังพลประมาณ 3,000 นาย ซึ่งกองกำลังฝ่ายเหนือได้ถอยร่นลงไปตั้งรับที่เนินเขาคีมีทีรีฮิลล์ ทางตอนใต้ของเมืองเพื่อตั้งหลัก และรอกำลังเสริมจากกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลจอร์จ จี. มีด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในวันแรกฝ่ายใต้มีชัยในสงคราม

2 กรกฎาคม ค.ศ. 1863[แก้]

นายพลจอร์จ จี. มีด
นายพลจอร์จ เอ. คัสเตอร์

กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีแนวตั้งรับของฝ่ายเหนือด้านซ้ายและขวา แต่ด้วยชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าของฝ่ายเหนือ กล่าวคือเป็นเนินสูง ทำให้กองทัพฝ่ายใต้ถูกตีถอยกลับไปได้ทุกครั้ง ในขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลมีดก็ทยอยเข้าเสริมกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่นายพลโรเบิร์ต อี. ลี ยังคงมั่นใจว่าจะต้องได้รับชัยชนะ ซึ่งในวันที่สองฝ่ายเหนือเริ่มมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายใต้ได้มากขึ้น ฝ่ายใต้เริ่มบอบช้ำจากการโจมตีในชัยภูมิที่เสียเปรียบ

3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863[แก้]

หลังจากการโจมตีโอบปีกทั้งซ้าย ขวาของฝ่ายใต้ประสบความพ่ายแพ้ ที่สำคัญกองกำลังที่ตีตลบหลังก็ถูกสกัดโดยนายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ แห่งกรมทหารม้าที่ 7 ทำให้กองทัพฝ่ายใต้เริ่มวิตกกังวลอย่างหนัก แต่นายพลลียังคงมั่นใจว่าจะกำชัยเหนือฝ่ายเหนือได้ แต่ก็ถูกทัดทานจากนายพลเจมส์ ลองสตรีท ซึ่งนายพลลียังต้องการเข้าตีกองกำลังฝ่ายเหนือให้ถอยร่นกลับไปโดยไม่สนคำทัดทานใดๆ ซึ่งการที่ฝ่ายใต้ไม่สามารถตีแนวตั้งรับด้านข้างของฝ่ายเหนือได้ นายพลลีคิดว่าน่าจะเป็นเพราะฝ่ายเหนือป้องกันแนวตั้งรับด้านข้างมากกว่าด้านอื่นๆ จึงได้ตัดสินใจที่จะบุกแนวหน้าที่น่าจะมีการป้องกันเข้มข้นน้อยกว่าด้านอื่นๆ

ในวันที่สามของการรบ นายพลลีได้มอบหมายให้นายพลจอร์จ พิคเกตต์ นำกองกำลังกว่า 10,000 นายเข้าโจมตีแนวตั้งรับแนวหน้าของฝ่ายเหนือ ได้มีการระดมยิงปืนใหญ่ถล่มแนวหน้าของฝ่ายเหนืออยู่หลายชั่วโมง ก่อนจะเคลื่อนพลเข้าโจมตี แต่ทว่านายพลลีคาดการณ์แสนยานุภาพฝ่ายเหนือต่ำไป เพราะเข้าระยะยิงของปืนยาว ทหารฝ่ายเหนือก็ได้ระดมยิงกราดเข้าใส่ทหารฝ่ายใต้ ประกอบด้วยชัยภูมิที่ฝ่ายเหนือได้เปรียบ ทำให้ฝ่ายใต้ต้องประสบกับพ่ายแพ้ยับเยินกลับไปอีกครั้ง ซึ่งในการรบครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในยุทธการเกตตีสเบิร์ก ทหารฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือเสียชีวิตหลายพันนาย ยุทธการเกตตีสเบิร์กได้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือ นายพลลีจึงต้องยกทัพกลับไปยังสมาพันธรัฐอเมริกา ก่อนที่สงครามกลางเมืองจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนืออีกเช่นกันในอีกหลายปีต่อมา

อ้างอิง[แก้]

  1. Coddington, p. 573. See the discussion regarding historians' judgment on whether Gettysburg should be considered a decisive victory.
  2. Official Records, Series I, Volume XXVII, Part 1, pages 155–168
  3. Official Records, Series I, Volume XXVII, Part 2, pages 283–291
  4. Official Records, Series I, Volume XXVII, Part 1, page 151
  5. Busey and Martin, p. 125: "Engaged strength" at the battle was 93,921.
  6. Busey and Martin, p. 260, state that "engaged strength" at the battle was 71,699; McPherson, p. 648, lists the strength at the start of the campaign as 75,000.
  7. Official Records, Series I, Volume XXVII, Part 1, page 187
  8. Busey and Martin, p. 125.
  9. Busey and Martin, p. 260, cite 23,231 total (4,708 killed;12,693 wounded;5,830 captured/missing).
    See the section on casualties for a discussion of alternative Confederate casualty estimates, which have been cited as high as 28,000.
  10. Official Records, Series I, Volume XXVII, Part 2, pages 338–346
  11. Robert D. Quigley, Civil War Spoken Here: A Dictionary of Mispronounced People, Places and Things of the 1860s (Collingswood, NJ: C. W. Historicals, 1993), p. 68. ISBN 0-9637745-0-6.
  12. The Battle of Antietam, the culmination of Lee's first invasion of the North, had the largest number of casualties in a single day, about 23,000.
  13. Rawley, p. 147; Sauers, p. 827; Gallagher, Lee and His Army, p. 83; McPherson, p. 665; Eicher, p. 550. Gallagher and McPherson cite the combination of Gettysburg and Vicksburg as the turning point. Eicher uses the arguably related expression, "High-water mark of the Confederacy".

บรรณานุกรม[แก้]

บันทึกความทรงจำและข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

สื่อจากแหล่งข้อมูลภายนอก
Images
GettysburgPhotographs.com
Battlefields.org maps & photos
Gettysburg.edu paintings & photos
Videos
GettysburgAnimated.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]