ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Coke20101/หนังสือ/Verawat Kanoknukroh วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวเรื่อง
กรุณาเลือกภาพหน้าปกที่เหมาะสมสำหรับหนังสือนี้ ดูคำแนะนำเพิ่มที่ "แม่แบบ:Saved book"
หนังสือผู้ใช้นี้ เป็นการรวบรวมบทความวิกิพีเดียที่สร้างโดยผู้ใช้ ซึ่งสามารถบันทึกได้ง่าย สามารถเรนเดอร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถสั่งซื้อเป็นหนังสือตีพิมพ์ ถ้าคุณเป็นผู้สร้างหนังสือนี้และต้องการความช่วยเหลือ ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:หนังสือ (คำแนะนำทั่วไป) และ โครงการหนังสือวิกิพีเดีย (คำถามและความช่วยเหลือ)

[ ดาวน์โหลด PDF ] [ เปิดในตัวสร้างหนังสือ ] [ สั่งซื้อหนังสือตีพิมพ์ ]


[ ปรับปรุงล่าสุด ]


วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

[แก้]

[[วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์]] เป็น นักเขียน นักแปล นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี และนักอภิปรัชญา . เป็นนักประพันธ์ นิยายแนว Sci-fi. และ วรรณกรรมเยาวชน. แต่มาดังเปรี้ยงปร้าง กับการเขียนนิยายเกย์ คำว่า ชะนี เก้ง กวาง ปรากฎในนิยายไตรภาค ชุด "ซากดอกไม้" เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของ ตัวละครชื่อ "เฉียดเฉิดโฉม"

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

[แก้]

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ en:Verawat Kanoknukroh. มีชื่อเล่นว่า ทอม เป็นนักเขียน และนักวิทยาศาสตร์ ชาวไทย เกิดที่ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2509 เป็นบุตรของ พิศาล กนกนุเคราะห์ และ วันเพ็ญ ณ ลำพูน (นามสกุลเดิมของมารดาก่อนสมรส) มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นคือ Prof.Dr.Tetsuhiro Kaminishi และมีรากศัพท์ในภาษาละติน ที่ตีพิมพ์ในผลงานภาคภาษาอื่น คือ inauthor:"Wīrawat Kanoknukhro.̨" [1]

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เน้นเขียนนิยายเหนือจริง นิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซี รวมถึงเรื่องลึกลับ สหัสคดี นิยายครอบครัว นิยายวาย และ นิยายแนวจักรๆวงศ์ๆ วรรณกรรมเยาวชน รวมถึงบทความ สารคดี ปกิณกะ บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ .

งานส่วนใหญ่ในด้านบันเทิงคดี คือนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซีไซไฟ แต่นิยายที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุด และเป็นที่รู้จักคือ นิยายเกย์ หรือ ปัจจุบันเรียก นิยายวาย เรื่อง "ซากดอกไม้"

การศึกษา

[แก้]

ระดับมัธยมศึกษา

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ จบการศึกษาระดับ อนุบาล - ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาที่โรงเรียนศรีวิกรม์เป็นนักเรียนทุน ของกองทุน คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียน.

ระดับอุดมศึกษา

•ปริญญาตรี

จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ รับทุนการศึกษาพิเศษ "พสวท" ทุนเล่าเรียนหลวง ศึกษาจนจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

•ปริญญาโท

ต่อมา ได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ของมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ และทุนสำหรับวิจัยพิเศษจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ (ชื่อเรียกกระทรวงฯในเวลานั้น) จบหลักสูตรปริญญาโท สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม จากบัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกรดเฉลี่ย 3.92

•ปริญญาเอกและงานวิจัยหลังปริญญาเอก (Post Doctorate)

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ศึกษาต่อในแขนงวิชา ""เหนือกายภาพ"" หรือ อภิปรัชญา จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และ ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก Post Doctoral สหสาขาวิทยาการด้าน พิษวิทยา และการรับรู้เรื่องจิตของสมอง จากมหาวิทยาลัยโมนาช ออสเตรเลีย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการโคลัมโบ ด้วยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งอ็อกแลนด์ (UAT) ประเทศนิวซีแลนด์ [2] [3]

ความบังเอิญของชีวิต

[แก้]

ความบังเอิญ ไม่มีอยู่จริง ธรรมชาติคือผู้อยู่เบื้องหลังของความบังเอิญนั้น

แต่...

นิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี และ วรรณกรรมเยาวชน เป็นเรื่องถนัด และได้รับการตีพิมพ์ คิดเฉลี่ยปีละ 2-3 เล่ม ช่วงพีค เคยตีพิมพ์รวมเล่มออกมาถึง 6 เล่ม ในปีเดียวกัน ถ้าเราคิดกันตามสามัญสำนึกในแง่ของปัจเจก หรือวิญญูชน ชื่อเสียงน่าจะมาจากการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่า

แต่ เขาดังจากนิยายวาย ชื่อเรื่อง "ซากดอกไม้" หนังสือเล่มนี้ทำให้ชีวิต เริ่มแปรปรวน และยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้น เพราะมีโอกาสรับเชิญไปสัมภาษณ์ ในรายการโทรทัศน์ หลายครั้ง ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงคือ รายการ คืนนี้เรามีหนังสือเป็นเพื่อน จากนั้นชีวิต ก็กลายเป็นเรื่อง Talk of the Town ไปแล้ว เพราะในยุค 90 นั้นมีรายการโทรทัศน์เดียวที่เอาหนังสือมารีวิว ความยาวต่อตอนประมาณ 55-65 นาที ชื่อรายการอย่างเป็นทางการ คือ คืนนี้เรามีหนังสือเป็นเพื่อน

•ข้อสงสัย

มีผู้คนจำนวนมากที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องเพศสภาพของคนเขียน นั่นทำให้เสียงตอบรับจากนิยายเล่มนี้ มีจำนวนผู้คนสนใจหามาอ่านมากขึ้น นิยายเรื่องนี้ทำให้เกิดเต็มตัว

เริ่มต้นจาก ตีพิมพ์เป็นตอนๆในนิตยสาร "ผู้หญิง" จากนั้นก็มีการรวมเล่ม และตีพิมพ์เป็นสาธารณะ ในที่สุดและอาจเพราะยุคนั้นยังไม่มีใคร เขียนเรื่องแนวนี้ มีกระแสเรียกร้องให้เขียน ภาคต่อ จึงทำให้นักอ่านได้ อ่านภาคต่อ 2 และ 3 ได้แก่ ด้ายสีม่วง และห่วงจำแลง ตามลำดับ กว่าจะเขียนจนจบบริบูรณ์ ก็ใช้เวลาร่วม 11ปี เป็นการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์เกย์ บาร์เกย์ และซาวน่าเกย์ของเมืองไทย แบบย่อ สั้น กระชับและได้ใจความ แต่นักเขียนกลายเป็นเป้าเดียวที่ถูกด่า หรือ ถ้าจะเรียกว่า วิพากษ์วิจารณ์ ก็น่าจะได้ [4]

"ผู้หญิง" ส่วนใหญ่ ชอบนิยายไตรภาคเรื่องนี้มาก มากกว่าพวก "อีแอบ" คำว่า ชะนี เก้ง กวาง ก็มาจากนิยายชุดนี้ ตามมาด้วยศัพท์ที่ไม่เคยมีในคลังคำที่ไหนมาก่อน คือ คำว่า สว่างจิต สลัวจิต และแอบจิต รวมไปถึงคำว่า "ครอบจักรวาล" ที่เพศหญิงมีความรู้สึกดีเมื่อได้อ่าน เพราะ เหมือนเป็นการกำราบ คำว่า "จ้าวโลก" ให้ฟังแล้วดูเป็นอะไรที่มีความเล็กกระจิริด อย่างที่ไม่เคยได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังจากหนังสือหรือสื่ออื่นใดในยุคนั้นมาก่อน.

ผู้คนยิ่งกระหายอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น เพราะ "คนนอก" ไม่มีทางเห็นโลกอีกใบ ที่แปลกแยกออกไปเลย ถ้าไม่มี "ซากดอกไม้"

จากนั้น เมื่อพักนิยายที่เต็มไปด้วย สีสันฉูดฉาด ตัวละครหักเหลี่ยมเฉือนคมแล้ว ก็ขยับไปเขียนวรรณกรรมเยาวชน และนิยายวิทยาศาสตร์ ไซไฟ แฟนตาซีต่อทันที .

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เริ่มซีรีส์นิยายวายใหม่ 6 ปี หลังจากจบซากดอกไม้ คราวนี้เป็นจตุรภาค ประกอบด้วย หลงทอง หล่อทอง เลี่ยมทอง และเงาทอง จำหน่ายในอเมซอน และ สำนักพิมพ์บีเอ็น ในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าจะเอาเป็นเล่มก็ได้ เพียงแต่ต้อง พรีออเดอร์ และ Print on demand เท่านั้น.****

มีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท และ เอก ได้นำนิยายทั้งสามเรื่องไปเป็นหัวข้อในการทำวิทยานิพนธ์ เมื่อมีคนชอบก็มีคนเกลียด บางรายเอาชื่อ ซากดอกไม้ ไปเป็นนามปากกาในการเขียนงานของตน เพื่อที่จะได้ถูกถามว่า ทำไมใช้ชื่อนี้ล่ะ...กูเกลียดนักเขียนเรื่องนี้ เป็นคำตอบสั้นแต่ได้ใจความ

ที่น่าทึ่งคือ ขณะที่ซากดอกไม้กำลังได้รับการกล่าวขานถึงในโลกวรรณกรรม ในโลกภาพยนตร์จอเงิน ก็มีหนังคุณภาพแนวเดียวกันออกมา คือ เรื่อง เพื่อน กูรักมึงว่ะ ซึ่งเป็นผลงานกำกับของ พชร์ อานนท์ ไปกวาดรางวัลในต่างประเทศ โดยที่ผู้คนส่วนใหญ่ในตอนนั้น ไม่ค่อยรู้รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่องนี้มากนัก แต่เป็นผลงานอีกเรื่อง ที่เป็นความภาคภูมิใจของผู้กำกับ.

มีนักวิจารณ์หนังสือใหม่ นำนิยายไตรภาคนี้ ไปวิพากษ์ลงหนังสือเกย์ในยุคนั้นหลายฉบับ เช่น มิดเวย์ [5] จีเอ็ม มิถุนา ( คือนิตยสารเกย์เล่มแรกในประเทศไทยที่มีภาพชายวาบหวิวชัดเจนที่สุด ขณะที่นีออนออกก่อนในเวลาไล่เลี่ยกันก็ยังไม่กล้าหวิวได้ขนาดนั้น ) [6] นีออน Maleและ Door Dek [7]

•ตอนขึ้นต้นสังคมเหมือนจะชม แต่ไปๆมาๆ กลับกลายเป็นว่า นิยายเรื่องนี้ จะทำให้เด็กใจแตก มองเกย์ หรือกะเทยเป็นพวกหื่นกาม วันๆ ไม่มีอันต้องทำอะไรนอกจากคิดถึงแต่เรื่องเซ็กส์อย่างเดียว ผลพวงเหล่านั้นกระทบต่อตัวนักเขียนอย่างแรง คิดว่า ความรู้สึก "อยากดัง" อาจสูญหายไปหมดแล้วก็เป็นได้

คาดว่า อาจจะด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้ เกิดนิยายสไตล์เดียวกัน ในภาคภาษาอังกฤษ มีชื่อตอนว่า

•Remains of Flowers.

•Purplr Loop

•Bareback in Bangkok .

ไม่มีใครรู้ว่า จริง ๆ แล้ว นักเขียนคิดถึงเรื่องต่างๆที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นว่าอย่างไร.

นี่คือกลางทางของการตัดสินใจเขียนนิยายเกย์ เป็นจุดกึ่งกลางของชีวิต ที่น่าสนใจมากกว่าจุดเริ่มต้น ซึ่งค่อยวกไปที่จุดเริ่มต้นในตอนถัดไป.

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ไม่ใช่คนแรกในเมืองไทยที่เขียนเรื่องราวทำนองนี้ , ไม่ว่าจะเป็น ประตูที่ปิดตาย ของ กฤษณา อโศกสิน , ใบไม้ที่ปลิดปลิว ของ ทมยันตี , หรือเรื่องเก้าอี้ทอง ของ สีฟ้า และอื่นๆ แต่ถ้าเปรียบกัน ซากดอกไม้และผองเผือกอีกสองภาค ได้เปิดโลกทัศน์ให้กับผู้คนจำนวนหนึ่ง. และคำว่า อัตลักษณ์ของอัญเพศ ก็เริ่มก่อหวอด และมีวิวัฒนาการตั้งแต่นั้นมา ชุมชน นิยายวาย ก็ถือกำเนิดเกิดขึ้นในเมืองไทย เริ่มต้นจากจุดสว่างในม่านมืด และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเหมือนไวรัส ซอมบี้ หรือ เชื้อไวรัส โคโลนา

นิยายของนักเขียนท่านอื่นเบื้องต้นนั้น แน่นอน คนเขียนคือนักเขียนหญิง. แต่ ซากดอกไม้ แตกต่างออกไป เพราะ เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ พุ่งเป้ามาที่นักเขียนว่า ทำไมจึงเขียนได้ลงลึกขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นย่านบาร์เกย์ บนถนนสุรวงศ์ พัฒน์พงษ์ ราชดำริ ศาลาแดง นานา ทองหล่อ เพชรบุรี ย่านอาร์ซีเอ และ สะพานควาย หรือแม้กระทั่งบาร์เกย์ที่เปิดบริการเป็นดอกเห็ดในบริเวณฝั่งตรงข้าม มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกไล่เรียงหยิบยกมาเล่าต่อเนื่องเป็นฉากต่อฉาก , หรือซาวน่าเกย์ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่มุมมืดของวังสราญรมย์ ที่มักจะมีเงาตะคุ่ม ๆ แฝงอยู่ ทุกสิ่งที่กล่าวมามีในนิยายชุดไตรภาคนี้ ผลของการตัดสินจึงระบุไปในทิศทางเดียวกันหมดอย่างเป็นเอกฉันท์ ว่า หรือนักเขียนนั่นแหละที่เป็น....

จิตประภัสสร

[แก้]

•จุดเริ่มต้นของจิตประภัสสร คือ การนำพาชีวิตให้ก้าวข้าม ไปตามเสียงเพรียกของหัวใจ แม้อาจล้มลุกคลุกคลานบ้าง แต่สุดท้าย ชีวิตก็จะลุกขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เป็นนักวิชาการ นักเขียน นักแปล และนักคิด เคยมีผลงานตามหน้านิตยสารมากมาย อาทิ สกุลไทย อิมเมจ ขวัญเรือน แพรว มติชน วัยหวาน ลลนา ผู้หญิง อัพเดท มิติที่ 4 ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ หนูจ๋า สตรีสาร คุณหญิง เป็นต้น โดยมีผลงานชิ้นแรกได้รับการตีพิมพ์ใน นิตยสารสตรีสาร เรื่อง "สวนทาง" [8][9]

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ มีผลงานเรื่องสั้น มากกว่า 400 เรื่อง บทความวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และการเมืองมากกว่า 3,000 บทความ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารไทย และวารสารนานาชาติ ประมาณ 120 เรื่อง รวมทั้งผลงานที่มีการจดสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร

นอกจากนี้แล้ว วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ยังมี นามปากกาอื่นที่เคยใช้ คือ ทางรถไฟสายใหม่ ครองแครงกรอบ พุทธิมาศ มณีมุกดา ,กนกวัฒน์ รวีธาร, เฉียดเฉิดโฉม ปรัศนียา หลานอากิระคุโรซาวะ แรเงา ทองล่องชาด บุศย์น้ำทอง . เฉลว เชิงดอย. ทอมมรดกไทย หรือ tommdt. ส่วนภาษาอังกฤษที่เป็นฉายาแฝงคือ Tommyveka , Tommy Veka , Tetsuhiro Kami, •Tommy Hilfiger•

เคยแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมเยาวชนมาแล้วมากกว่า 10 เรื่อง อาทิ เด็กเตลิด หนีตายในความทรงจำ. หลอนอำมหิต. ผอมพิฆาต . เปลวพิศวาส .ฆาตกรรมหวาน.

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนักชีวเคมีระดับโมเลกุลชาวไทย ผู้ประพันธ์หนังสือซากดอกไม้ ด้ายสีม่วงและห่วงจำแลง รวมทั้งผลงานด้านอื่น แยกย่อยในส่วนของลิขสิทธิ์ หนังสือ วรรณกรรม รวมทั้งสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร

•ต้นสังกัดของ วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

วรรณกรรมภาษาไทย

สังกัด สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก , สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , นายอินทร์.

วรรณกรรมภาษาอังกฤษ

Printed , Published and Distribution by Amazon, Penquin, Barne and Noble, Lulu Publishing.

บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ และบทละครเวที

ในข้อกำหนดเพื่อทำสัญญา มีหมายเหตุว่า ห้าม ทำงานข้ามช่อง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องร่วมงานกับ สังกัดอื่น ต้องแจ้งขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น.

สังกัดบทโทรทัศน์ คือ สถานีช่อง3 ค่ายโพลีพลัส ก่อนหน้านั้น สังกัดสถานีช่อง 7, บริษัท Nitespot ,GMM Grammy ตามลำดับ.

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ สามารถเขียนนิยาย นิยายวิทยาศาสตร์ เรื่องสั้น บทความ สารคดี บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ รวมทั้งยังเป็นภาคีสมาชิกของ PGA. สมาชิกผู้ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์แห่งอเมริกาอีกด้วย.

ผลงานด้านวรรณกรรม

[แก้]

สามารถแยกเป็นประเภทหลักๆ ได้ 4 ประเภทคือ

•บันเทิงคดี

•สารคดี

•ตำราทางวิชาการ

•บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์และบทละครเวที

งานลิขสิทธิ์หนังสือ งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ได้ถูกป้องกันการสูญหาย โดยบันทึกไว้ในรูปแบบไมโครฟิล์ม และ จัดพิมพ์แยกทั้งปกอ่อนและปกแข็ง งานเหล่านี้ได้มีการรวบรวมเป็นทะเบียนไว้ใน ส่วนศึกษาเฉพาะ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ,รวมทั้งสำนักมันสมองแห่งชาติ และคลังสิทธิบัตรไทย . ไม่มีเปิดเป็นสาธารณะ เนื่องจากเหตุผลทางด้านป้องกันการจารกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ .

แต่การจัดเก็บมีการบันทึกทะเบียนไว้ชัดเจน และครบถ้วน มีรายละเอียดของส่วนราชการปรากฏในการสืบค้นผ่านทางออนไลน์ มากพอสมควร " แต่หลังจากมีการบันทึกร่วมทางข้อกฎหมาย ตามฟอร์มของส่วนราชการ " และเผยแพร่ในทีมวิจัยเฉพาะทาง ในลักษณะของ cluster บนเว็บไซต์ของ linkedin และ research gate ที่มีหมายเหตุกำกับคือ for authorised person only. ทำให้ลิงค์ต่างๆ ไม่ปรากฎ ผ่านการสืบค้นทางสาธารณะต่อไป ดังนั้น บทความนี้ จึงหาข้อมูลอ้างอิงทางออนไลน์ยากมาก แต่ ถ้าเป็นข้อมูลในรูปแบบจับต้องได้ ย่อมต้องมีแน่นอน ข้อมูลสำคัญที่มีรายละเอียดของทีมผู้ร่วมวิจัย สามารถหาได้บนเว็บไซต์สำหรับการอ้างอิงทั้งสองเว็ป และถ้าใช้การค้นภายในแอพพลิเคชั่นก็จะพบเพียงหัวข้อ และ คำอธิบายสั้นๆ . บทความนี้จึงมีความยากลำบากในการหาลิ้งค์ทางออนไลน์ . เพื่อนำมาใช้อ้างอิง ดังนั้น จุดใดก็ตามที่ยังไม่มีการอ้างอิงให้เห็นชัดเจน ก็จะไม่กล่าวถึง รอให้คนที่รู้จริง มาช่วยแก้ไขได้อย่าง เสรีและรวดเร็ว.

โปรดพึงระลึกไว้เสมอว่า บางครั้งการป้องกันอย่างรัดกุมจนแน่นหนามาก การขโมย big data ในโลกปัจจุบันส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นทุกวินาที เพราะถ้านักโจรกรรมถอดสลักได้ ทุกช่องทางของเว็บไซต์นั้นจะ หลุดจากพันธนาการ และข้อมูลสำคัญก็จะถูกคัดลอกไปจนหมด เหตุการณ์เช่นนี้ ที่เห็นได้ชัดคือ การปล้นธนาคารแบบไร้ร่องรอย****หรือการขโมยขั้นตอนโปรโตคอล ในการโคลนนิ่งแกะดอลลี่****

กฎที่ว่า จุดอันตรายที่สุด คือจุดที่ปลอดภัยที่สุด. ยังคงใช้ได้ดีเสมอ.

แต่สุดท้าย ก็ยังพอมีอะไร ๆ เพื่อใช้อ้างอิงได้ ถ้าพยายาม.

บันเทิงคดี

[แก้]

ได้แก่ เด็กหลอดแก้ว ดีเอ็นเอ บ้านน้อยหลังนี้สำหรับเราสองคน ปีหนึ่งเพื่อนกันกับวันอัศจรรย์ของผม พยับดาว น้ำค้างหยดเก่า กลมนุสส์ เมืองอมตะ เศษเสี้ยวรอยต่อ ซากดอกไม้ ด้ายสีม่วง ห่วงจำแลง พิมานหมอก เร้นพลบ สู่สุขาวดี คมสังหรณ์ หล่อทอง เลี่ยมทอง หลงทอง เงาทอง พิจิก โครงทิพย์ร่างทอง กิ่งประกายพรึก . เฟรชชี่รีไทร์ กู๊ดบายซีเีนียร์ เรื่องนี้ ตอนตีพิมพ์สองครั้งแรกใช้ชื่อว่า บันทึกที่เล็ดลอดจากรั้วสีม่วง ต่อมาสำนักพิมพ์ดอกหญ้าขอให้เปลี่ยนใช้ชื่อใหม่

กิ่งประกายพรึก ใช้นามปากกามณีมุกดา

เปลือยแว่บๆ ใช้นามปากกาพุทธิมาศ

พายุทะเลทราย เป็นชุดนิยายภาคต่อของฉากในตะวันออกกลาง ใช้นามปากกา กิโมโน

หลานอากิระ คุโรซาวะ ถ้าให้เดา ก็ต้องพอเดาออกว่าใช้ในการเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์ หรือใช้เขียนบทภาพยนตร์ก็มี

หรือแม้ว่าในกรณีได้รับรางวัล บนถ้วยรางวัล หรือโล่ จะปรากฏรายละเอียดเฉพาะชื่อเรื่อง และนามปากกาที่ใช้กับรางวัลนั้นๆ บางทีก็ระบุเฉพาะสำนักพิมพ์ที่ส่งเรื่องเข้าประกวด จุดนี้เองจึงพยายามรวบรวมนามปากกาให้มากที่สุดและถูกต้องที่สุด .

เพื่อที่บางครั้งผู้ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล จะสามารถหาได้จากที่นี่ เป็นที่แรกที่เชื่อได้ และไปต่อยอดเอาเอง.

เช่นเดียวกับ มุมมอง point of view. บางคนอาจมองว่าอาชีพนักเขียนเป็นงานสบาย อิสระ แต่ในความเป็นจริง นักเขียนยุคใหม่ที่จะอยู่รอด ต้องทำงานกับเพื่อนนักเขียนด้วยกัน มีบรรณาธิการ คอยแก้ไข ปรับปรุง ดังนั้นพึงระลึกว่า การเขียนเป็นงานยากและหนัก หนักกว่างานบริหารมาก เพราะนักเขียนจำเป็นต้องมีความคิดแหลมคม มองเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นไม่เห็น . ซึ่งนั่นอาจเป็นเสน่ห์ของการเป็นนักเขียนก็ได้.

สรุปคือบทความนี้จะแตะเฉพาะส่วนที่มีแหล่งอ้างอิงแล้วเท่านั้น วิกิพีเดียคือ social network system ชนิดหนึ่ง เหมือนเฟซบุ๊ก ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อผลิตผลงานที่ดี ดีมาก หรือยอดเยี่ยมที่สุด ดังนั้น นี่อาจเป็นโครงเหล็กเล็กๆ ในบางส่วนกำลังรอใครมาเสริมแต่งเพิ่มให้สมบูรณ์และถูกต้องยิ่งขึ้น .

เล็ก ๆน้อยๆ กับเรื่องราวของรางวัล

มีนัดกับไอน์สไตน์ รางวัลนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซียอดเยี่ยม พ.ศ.2554 จากกระทรวงเทคโนโลยีและการพลังงาน.

แผนกลืนกินอมฤตษานคร เรื่องสั้นดัดแปลงเป็นภาษาต่างประเทศ เหรียญเงิน คอสตาบุ๊คอะวอร์ด สาขานิยายเสียดสีการเมือง ในกรุงสารขัณฑ์. พ.ศ.2559 . ซึ่งเรื่องสั้นนี้ในภาคภาษาไทย ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตนายกสมาคมนักเขียนไทย และศิลปินแห่งชาติ ทำหน้าที่บรรณาธิการ.

สารคดี

[แก้]

อาทิเช่น ปลอมตัวเป็นผู้ดีอังกฤษ ขอดเกล็ดโตเกียว ลุยเดี่ยวเที่ยวฮ่องกง ตะลอกต๊อกแต๊กไปสิงคโปร์ ร้อยเรื่องริมทาง ภาค 1-4 หลักกรรมและอัตลักษณ์การเวียนว่ายตายเกิด สนุกนึก ภาค1-6 รังสีมรณะ วิทยาศาสตร์พิศวง มหันตภัยเงียบจากนอกโลก เทคโนโลยียุคใหม่ สัตว์โลกผู้น่ารัก กรรมวิธีพิทักษ์โลก โลกสังเคราะห์ ในโลกนี้มีอะไรซุกซ่อนอยู่ กลวิทยาศาสตร์ รักในเงาจันทร์ เปลือยแว่บๆ ลีลาแจ๊ส Jazzanova Jukebox Volume 1. และเรื่องลึกลับ ภาค 1-3 ทั้งชีวิตอยู่แต่ในน้ำ แจ๊คเดอะริปเปอร์ ฆาตกรพันหน้า สามเรื่องสุดท้ายมีการนำไปใช้ในการสอน หน้าปกจึงระบุตำแหน่งทางวิชาการ และวุฒิการศึกษา แบบเต็ม ซึ่งเป็นการจัดการเองของบรรณาธิการและฝ่ายการตลาด.

ตำรา

[แก้]

นอกจากหนังสือประเภทบันเทิงคดี และสารคดีแล้ว ยังมีหนังสือกลุ่มตำราวิชาการและตำรากึ่งวิชาการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะคือ มีเอกสารอ้างอิงประกอบจำนวนมาก และ มีบรรณานุกรม นามานุกรม และ ดัชนีคำค้น ที่ไม่รวมงาน เอกสารประกอบการสอน หนังสือเรียนและหนังสือแนวสหัสคดี และปกิณกะ เช่น

มนุษย์กับสภาพแวดล้อม 100 นักวิทย์โลกไม่ลืม Y3K รหัสอันตราย หลักการเบื้องต้นพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ดีเอ็นเอโนเบลเบื้องหลังคลิกค์และวัตสัน การเปรียบเทียบรางวัลวรรณกรรมโนเบลระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การจัดจำแนกชนิดและประเภทของอนุภาคไวรัส.

บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ และบทละครเวที

[แก้]

วรรณกรรมประเภทนี้ เป็นการจ้างวานที่จ่ายเงินดีที่สุด และที่สำคัญ จะได้รับเงินสดเป็นก้อนใหญ่ทีเดียว หลังจากมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเรียบร้อย- ผู้เขียน .

นี่เองคือ เหตุเกิดเพราะต้น เมื่อทราบดังนี้ จึงไม่แปลกใจอะไร ที่ทำไมผู้คนถึงอยากเป็นนักแสดงมากขึ้น .

จากนี้จะเป็นการแจกแจงรายละเอียดของคนหลังม่านว่า นักเขียนท่านนี้ ได้ผ่านอะไรมาบ้าง ในวงการสื่อโทรทัศน์ .

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เขียนผลงานส่งให้ สตรีสาร เป็นประจำ เป็นสตรีสารภาคพิเศษ ต่อมา ทางรายการ โลกผู้เยาว์ ได้ติดต่อไป เพื่อให้เข้าร่วมรายการในฐานะ นักสะสมแสตมป์ สัมภาษณ์ออกสื่อว่า เริ่มสะสมตอนไหน อย่างไร จนกระทั่งได้พบ อาจารย์ คุณ นิลวรรณ ปิ่นทอง ตอนนั้น ซึ่งเป็นบรรณาธิการสตรีสาร และเจ้าของ แต่เจ้าของตัวจริง คือ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ .

เนื่องจาก ทางช่อง7 กำลังปรับปรุงแผนรายการ และมีรายการโลกผู้เยาว์ ซึ่งเป็นรายการเด็ก อาจารย์และคุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ได้สนทนา จนกระทั่ง นำไปสู่การเป็นพิธีกรช่วย ของ วาณิช จรุงกิจอนันต์ . นั่นคือ การเรียนรู้ธุรกิจจอแก้วทีละนิดทีละหน่อย ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับ ธุรกิจจอแก้ว ตอนนั้นแหละที่วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ รู้ว่า ธุรกิจนี้ทำเงินได้ดีมาก ๆ ๆ..

แล้วทำไม ถึงหลงติดยาว จนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเบื้องหน้าและเบื้องหลังของวงการบันเทิงได้.

จากการสอบถามเจ้าตัวโดยตรง คำตอบที่ได้คือ ไม่รู้เหมือนกัน อาจเป็นพรหมลิขิต กระมัง.

แล้วอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่งก็เดินทางมาถึงเจ้าตัว แบบงง ๆ ขนาดงงก็ยังอยู่ในวงการนักเขียน และเบื้องหลังวงการบันเทิง เป็นเวลาเนิ่นนานนับ 38ปีได้

•ผลงานด้านบทโทรทัศน์

บทโทรทัศน์ ที่ได้มีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้ช่วย นักเขียนอาวุโสหลายท่าน และพอเริ่มมีประสบการณ์ จึงได้ขยับเป็นนักเขียนบทโทรทัศน์อย่างเต็มตัวไปแล้ว

ทั้งหมดของชื่อเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ได้เข้าไปมีบทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป งานหลักคือเขียนบท แต่บางทีก็ไปช่วยคัดเลือก นักแสดงหน้าใหม่.

•สาธร ดอนเจดีย์

•ใยดวงไฟจึงไม่ส่องฉัน

•ปลาบู่ทอง

•หลวิชัยคาวี

•เหิรฟ้า

•ขวานฟ้าหน้าดำ

•หุบเขากินคน

•นิราศสามภพ

•สนทนาประสาจน

•เขี้ยวเสือไฟ

•ชิงช้าชาลี

•ว้าวุ่น

•ปีหนึ่งเพื่อนกันกับวันอัศจรรย์ของผม

•ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน

•หน้ากาก

•แดนพิศวง

•สาปอสูร

•เรือนแรม

•สางเขียว

•กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้

•ระบำมาร

•สมมติว่าเขารักฉัน

•เพชรตาแมว

บทบาทพิธีกร ทำงานเป็นทีม และมีระบบการออกแบบวางแผนที่ดี

•โลกผู้เยาว์

•บ้านเลขที่5

•สโมสรผึ้งน้อย

•วิทยาศาสตร์ปริทรรศน์

•คุยเฟื่องเรื่องแจ๊ส

•สุนทราภรณ์ในวันนั้นจนถึงวันนี้

•เป็นพิธีกรและวิทยากร สอนทางไกลด้วยการยิงสัณญานผ่านดาวเทียม ในโครงการสารานุกรมไทยฉบับปกแข็ง ตามพระราชดำริ ของ ในหลวงรัชกาลที่9 ทำหน้าที่ ย่อยเรื่องยากให้ง่าย และดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ ทำให้สมาชิกที่รับชมมีความรู้ รับผิดชอบวิชาเคมี เคมีฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน.

•ผลงานด้านบทภาพยนตร์

•มาร์ส (ภาพยนตร์ไซไฟเรื่องแรก)

•โรงแรมผี

•สวัสดีความรัก

•เล่ห์รตี

•ปราสาททราย (รัตนาวดี)

•ซีอุย รีเมค

•ผลงานด้านบทละครเวที

•รถรางสายนั้นชื่อปรารถนา

•ปีศาจแห่งโรงละคร

  1. "การสะกดชื่อและนามปากกาและฉายาแฝงในภาษาอื่นของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์".
  2. "เก็บถาวร ประวัติอย่างเป็นทางการของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ที่เคยปรากฏในวิกิพีเดีย ไทย และอังกฤษ ถูกเก็บเนื่องจากอ้างอิงไม่เพียงพอ". bloggang.com.
  3. "เก็บถาวร ขยายความประวัติย่อ และ ผลงานย่อของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์". bloggang.com.
  4. "หน้าปกนิตยสารเกย์ที่โจมตีซากดอกไม้อย่างรัวไม่ยั้ง". postjung.com.
  5. "การวิพากษ์เกี่ยวกับทางสายกลางของรักรวมเพศที่เริ่มต้นจากนิตยสารเกย์เล่มแรกของประเทศไทย". waymagazine.org.
  6. "มิถุนาคือ นิตยสารเกย์เล่มแรกในประเทศไทย". eap.bl.uk.
  7. "ปกนิตยสารเกย์อันคลาสสิค". postjung.com.
  8. "บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ใน เขียนนิยาย บันทึกคำสัมภาษณ์โดย รตชา หรือ กีรตี ชนา".
  9. "เขียนนิยาย•อีบุค โดย รตชา". mebmarket.com.