ผู้ใช้:Chainwit./ทดลองเขียนหน้า4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เส้นเวลาของบริการสุขภาพในประเทศไทยนี้แสดงวิวัฒนาการและเหตุการณ์สำคัญของการกำเนิดสถาบัน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สมัยใหม่ (หลังปลาสเตอร์)

ภาพกว้าง[แก้]

เวลา เหตุการณ์สำคัญ
ไม่ทราบปี
รัชสมัยรัชกาลที่ 3
เริ่มจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์และสร้างจารึกวัดโพธิ์ เพื่อบันทึกตำรับยาแผนไทยที่มีความเชื่อถือได้และถูกต้องแม่นยำ ถือเป็นการบันทึกรวบรวมการแพทย์แผนไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยภาษาไทยครั้งแรก[1]
13 มกราคม พ.ศ. 2380 แดน บีช บรัดเลย์ นายแพทย์และมิชชันนารีชาวอเมริกันทำการผ่าตัดด้วยวิทยาการการแพทย์แบบตะวันตกสำเร็จ เป็นการเริ่มต้นการแพทย์ตะวันตกสู่ความสนใจของชนชั้นนำสยาม[2]
26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดศิริราชพยาบาล เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกในสยาม และทรงดำริให้จัดตั้งกรมการพยาบาลขึ้นเพื่อกำกับดูแลโรงพยาบาลศิริราช
5 กันยายน พ.ศ. 2433 ก่อตั้งโรงเรียนแพทยากร เป็นสถาบันแพทยศาสตร์แห่งแรกในสยาม (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
20 สิงหาคม พ.ศ. 2440 สถานทูตและชุมชนชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ก่อตั้งโรงพยาบาลบีเอ็นเอชขึ้น เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในสยาม
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 จัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นภายใต้กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2464 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเจรจากับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยสองสถาบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นับเป็นจุดเริ่มต้นการวางรากฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสมัยใหม่ในประเทศไทย
พ.ศ. 2481
  • สมัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้เริ่มผลักดันแนวคิดรัฐเวชกรรมและการสร้างระบบสาธารณสุขขึ้นภายใต้กรอบของวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่อย่างเป็นรูปธรรม
  • จัดตั้งกองอาหารและยา (กองบริโภคสงเคราะห์) โดยนายแพทย์ยงค์ ชุติมาริเริ่มการสนับสนุนการบริโภคในทางสุขภาพขึ้น
10 มีนาคม พ.ศ. 2485 สถาปนากรมสาธารณสุขขึ้นเป็น “กระทรวงสาธารณสุข” พร้อมทั้งรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กระจายอยู่ภายใต้กระทรวงทบวงอื่น ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างการทำงานของสาธารณสุขที่เป็นระบบ
พ.ศ. 2511 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 เป็นจุดเริ่มต้นของแพทยสภาและการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพของแพทย์ในประเทศไทย
พ.ศ. 2545 ประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยภายใต้ชื่อโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภงษ์ ภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

เส้นเวลาฉบับเต็ม[แก้]

เวลา ประเภทเหตุการณ์ เหตุการณ์ สถานที่
พ.ศ. 2440 หน่วยงาน
(สถาบันการแพทย์)
ก่อตั้งโรงพยาบาลบีเอ็นเอชขึ้น นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของประเทศ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2470 ความสำเร็จ ผ่าตัดคลอดสำเร็จครั้งแรกในประเทศโดยพระยาดำรงแพทยาคุณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พ.ศ. 2496 ความสำเร็จ การผ่าตัดหัวใจครั้งแรกในประเทศโดยศาสตราจารย์นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พ.ศ. 2522 แพทยศาสตร์ศึกษา หมอชาวบ้านฉบับแรกเริ่มตีพิมพ์ Yokohama
พ.ศ. 2527 หน่วยงาน
(แพทยศาสตร์ศึกษา)
ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2528 โรคระบาด
(โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
พบผู้ป่วยโรคเอดส์รายแรกในประเทศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พ.ศ. 2532 หน่วยงาน
(แพทยศาสตร์ศึกษา)
ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ของเอกชนแห่งแรกในประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
พ.ศ. 2550 ความสำเร็จ ผ่าตัดแฝดสยามโดยรอดชีวิตทั้งคู่สำเร็จครั้งแรกในโลก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติการแพทย์แผนไทย...จากอดีตสู่ปัจจุบัน !!". MedThai. สืบค้นเมื่อ 2020-5-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ธัชชัย ยอดพิชัย. "โอสถศาลาหมอบรัดเลย์" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 3 มกราคม 2552 หน้า 110-115