ปาโมชช์ ถาวรฉันท์
ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 |
เสียชีวิต | 12 มีนาคม พ.ศ. 2552 (86 ปี) |
การศึกษา | โรงเรียนนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 3 ใน พ.ศ. 2487 |
ตำแหน่ง | เสนาธิการทหาร (อดีต) |
คู่สมรส | คุณหญิง ทรัพย์สิดี ถาวรฉันท์ |
พลเอก ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2552) อดีตนายทหาร และนักการเมือง อดีตเสนาธิการทหารบก, อดีตเสนาธิการทหาร, อดีตวุฒิสมาชิก
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. ปาโมชช์ เกิดที่ ต.ท่าฉลอม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นบุตรชายคนโตจากจำนวน 5 คน ของนายฉันท์ และนางเยื้อน ถาวรฉันท์
พล.อ. ปาโมชช์ ได้สมรสกับคุณหญิงทรัพย์สิดี ถาวรฉันท์ มีบุตรทั้งหมด 5 คน
การศึกษา
[แก้]พล.อ. ปาโมชช์ สำเร็จการศึกษาระดับประถมจาก โรงเรียนวัดสระเกศ ในปี พ.ศ. 2479 ระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ ใน พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารบก ในปี พ.ศ. 2484 และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 3 ใน พ.ศ. 2487 ได้รับการศึกษาต่างประเทศหลายแห่งเช่น
- หลักสูตรการปฏิบัติการปราบปรามกบฏศึก ฟอร์ทแบลก สหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรนายทหารข่าวชั้นสูง ฟอร์ดโฮลาเบิร์ด สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]พล.อ. ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ ได้เข้ารบในสงครามเกาหลี และปฏิบัติการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการเป็น ผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ใน พ.ศ. 2511 ซึ่งในขณะนั้น ฯพณฯ ท่านอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต และ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตที่เดียวกัน
หลังจากนั้นได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 3 ใน พ.ศ. 2520 เสนาธิการทหารบก ใน พ.ศ. 2524 และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเป็น เสนาธิการทหาร ใน พ.ศ. 2526
นอกจากนี้ พล.อ. ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ รับตำแหน่งราชการพิเศษอื่น ๆ ที่สำคัญเช่น
- ราชองครักษ์พิเศษ
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
ตำแหน่งงานอื่น ๆ
[แก้]- พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2532 : นายกสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527 : วุฒิสมาชิก
- พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2526 : กรรมการธนาคารทหารไทย
- พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2527 : กรรมการสภาทหารผ่านศึก ประเภทประจำการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2538 : ที่ปรึกษาบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
- พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2529 : กรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2530 : ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531 : กรรมการบริษัทน้ำตาลวังขนาย
- พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2533 : กรรมการสภาทหารผ่านศึก ประเภทนอกประจำการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2526 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2524 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[4]
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[5]
- พ.ศ. 2525 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- พ.ศ. 2515 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
ต่างประเทศ
[แก้]มาเลเซีย :
สหรัฐ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๓๘๘, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐