ปันตุน
ปันตุน * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | มาเลเซีย อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 01613 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2563 (คณะกรรมการสมัยที่ 15) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ปันตุน (มลายูและอินโดนีเซีย: pantun / ڤنتون; มลายูปัตตานี: ปาตง) หรือ บันตน เป็นรูปแบบบทกวีมุขปาฐะมลายูที่ใช้ในการกล่าวถึงความคิดและอารมณ์ที่ซับซ้อน[1] โดยทั่วไปประกอบด้วยจำนวนแถวแบบคู่[2] และใช้แผนสัมผัสแบบ ABAB[3] ปันตุน ที่สั้นที่สุดมีเพียงสองแถว ซึ่งรู้จักกันในชื่อภาษามลายูว่า ปันตุนดัวเกอรัต (pantun dua kerat) ส่วน ปันตุน ที่ยาวที่สุดคือ ปันตุนเออนัมเบอลัซเกอรัต (pantun enam belas kerat) โดยมีถึง 16 แถว[4] โครงสร้างของ ปันตุน ประกอบด้วย 2 ส่วนเสมอคือ เปิมบายัง (pembayang) หรือ ซัมปีรัน (sampiran) ที่ไม่มีการเชื่อมโยงเชิงตรรกะหรือการเล่าเรื่องในทันที พบในส่วนครึ่งแรก และ มักซุด (maksud) หรือ อีซี (isi) ที่พบในส่วนครึ่งหลังของ ปันตุน[5][6][7][8][9] อย่างไรก็ตาม บทกวีเชื่อมโยงกันอยู่เสมอด้วยการสัมผัสและการเชื่อมโยงคำแบบอื่น ๆ เช่น การเล่นสำนวนและการซ้ำเสียง[10] นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางอ้อมแต่จำเป็น และข้อความส่วนแรกมักกลายเป็นคำอุปมาสำหรับข้อความส่วนที่สอง[11] ปันตุน รูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุดคือแบบบท 4 บาท (4 แถว)[12] และบท 2 บาท (2 แถว)[13] ซึ่งทั้งสองรูปแบบพบได้มากในวรรณคดีและวัฒนธรรมร่วมสมัยในสมัยใหม่[14]
บันทึก ปันตุน แบบแรกสุดสืบได้ถึงสมัยรัฐสุลต่านมะละกาในคริสต์ศตวรรษที่ 15[15] แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่ามี ปันตุน ที่อาจเก่าแก่พอ ๆ กับภาษามลายูเอง ซึ่งเติบโตและกระจายในสมัยศรีวิชัย ซึ่งเป็นบ่านเกิดของผู้ก่อตั้งมะละกา ปันตุน ในสมัยมะละกาปรากฏในพงศาวดารมลายู วรรณกรรมภาษามลายูที่สำคัญที่สุด[16] และถือเป็นศิลปะชั้นสูงและเป็นส่วนสำคัญของวรรณกรรมมลายูคลาสสิก นอกจากนี้ยังเจริญรุ่งเรืองในฐานะส่วนหนึ่งของการสื่อสารประจำวันของสังคมมลายูดั้งเดิม และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงออกในเพลงมลายู[17] พิธีกรรม ศิลปะการแสดง และการเล่าเรื่องทุกรูปแบบ[18]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ซาอาบารายงานว่า คำว่า pantun คาดว่ามีวิวัฒนการมาจากศัพท์ภาษามลายูว่า sepantun[19] (อักษรยาวี: سڤنتون) หมายถึง 'เหมือนกับ'[20] คำนี้ใช้เพื่อบ่งบอกถึงอุปมาที่เป็นสำนวนสุภาษิตหรืออุปมา[21] ซึ่งเป็นภาพพจน์หนึ่งที่พบได้ทั่วไปใน ปันตุน ดั้งเดิม หรือสุภาษิตจากวรรณกรรมมลายูคลาสสิก[22] ความหมายเก่าของปันตุนในภาษามลายูก็สื่อถึงรูปแบบสุภาษิตที่ใช้การอ้างทางอ้อม[23] ซึ่งมีบทบาทคล้ายกับ ปันตุน ในฐานะบทกวีที่สร้างขึ้นในรูปแบบ ซินดีร์ (sindir; การอ้างทางอ้อม) และ เกียซ (kias; แนวเทียบ)[24]
อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอแนะว่า pantun มีที่มาจากศัพท์ penuntun[25] ('ผู้นำทาง')[26] จากอุปสรรคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม pe(n) และคำกริยา tuntun (อักษรยาวี: تونتون) หรือ 'ชี้นำ'[27] ส่วน Brandstetter เสนอแนะว่าคำนี้มีที่มาจากศัพท์ tun และคำที่มีเสียงคล้ายกันในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนซึ่งมีหลายความหมาย เช่น tuntun ('จัดอย่างดี') ในภาษากาปัมปางัน tonton ('การจัดเตรียมที่มีทักษะ') ในภาษาตากาล็อก tuntun ('เส้นใย') atuntun ('จัดอย่างดี') matuntun ('นำทาง') ในภาษาชวาเก่า และ pantun ('สุภาพ' หรือ 'สมควรได้รับความเคารพ') ในภาษาโตบาบาตัก Winstedt สนับสนุนความเห็นนี้ โดยระบุว่า ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนหลายภาษา คำที่บอกถึง 'สิ่งที่เรียงกันเป็นแถว' ค่อย ๆ ได้รับความหมายใหม่เป็น 'คำที่จัดเรียงอย่างดี' ในรูปแบบร้อยแก้วหรือในบทกวี[28] อารี เวอลียันโต (Ari Welianto) เสนอแนะว่า pantun มีที่มาจากศัพท์ภาษามีนังกาเบาว่า patuntun ซึ่งแปลว่า "ชี้นำ"[29]
ประวัติ
[แก้]นักวิชาการบางคนเชื่อว่า ปันตุน มีมาก่อนการรู้หนังสือและอาจเก่าแก่เท่ากับภาษามลายู[30] มูฮัมมัด ฮาจี ซัลเละฮ์ (Muhammad Haji Salleh) เชื่อว่า ปันตุน เติบโตและแพร่ขยายจากศรีวิชัย และส่วนใหญ่น่าจะมาจากรอบเมืองปาเล็มบังหรือมลายู เมื่อสมัยที่ปาเล็มบังยังมีอำนาจ ประชากรจากทั้งสองเมืองรู้จัก ปันตุน ของแต่ละฝ่าย และถึงแม้ทั้งสองจะใช้ภาษาเดียวกัน แต่ทั้งคู่เป็นศัตรูทางการเมือง[31] ถึงกระนั้น เป็นที่รู้กันว่า ปันตุน ได้มาถึงรูปแบบอันประณีตในช่วงเปิดตัวของวรรณกรรมมลายูคลาสสิกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15[32][33] ผลงานวรรณกรรมที่โดดเด่นอย่างพงศาวดารมลายูกับฮีกายัตฮังตัวะฮ์มีตัวอย่างแรกของ ปันตุน[34][35]
การขยายตัวของภาษามลายูผ่านเส้นทางการค้า, ท่าเรือ และการอพยพเป็นเวลาอย่างน้อย 500 ปี ทำให้ ปันตุน กลายเป็นรูปแบบวรรณกรรมเดี่ยวที่มีพลังมากที่สุด[36] ปัจจุบัน บทกวีชนิดนี้เป็นที่รู้จักในภาษามลายูย่อยอย่างน้อย 40 ภาษา และภาษาที่ไม่ใช่ภาษามลายู 35 ภาษาทั้งในคาบสมุทรมลายูกับเกาะหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร[37]
รายละเอียด
[แก้]โครงสร้างของ ปันตุน ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เปิมบายัง (pembayang) หรือเงาแห่งความหมาย กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่สื่อถึงความหมายเชิงวัฒนธรรม พบในส่วนครึ่งแรกของ ปันตุน กับ มักซุด (maksud) แปลว่าความหมาย เป็นเนื้อหาหลักที่ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจ พบในครึ่งหลังของ ปันตุน
ลักษณะของ ปันตุน ประกอบด้วยข้อความที่เป็นอิสระ จัดวางเป็นวรรคขนานกันเป็นคู่ ๆ แต่ละวรรคประกอบด้วยคำพื้นฐาน 4 คำ ซึ่งอาจเติมหน่วยคำเพิ่ม โดยทั่วไปจึงมี 5–10 พยางค์ สัมผัสสระเป็นแบบ a-b-a-b หรือ a-a-a-a (แบบกลอนหัวเดียว)
ตัวอย่าง ปันตุน ภาษามลายู
- Tanam selasih di tengah padang,
- Sudah bertangkai diurung semut,
- Kita kasih orang tak sayang,
- Halai-balai tempurung hanyut.
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilkinson 1908, p. 28
- ↑ Daillie 1988, p. 38
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Daillie 1988, p. 38
- ↑ Wright 1908, p. 230
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ "Pantun". ich.unesco.org. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2021.
- ↑ Milyartini, Rita (2018). "Singing Keroncong and the Values Behind it". Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 255 (2018): 137–138. doi:10.2991/icade-18.2019.31. ISBN 978-94-6252-671-6. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
- ↑ Chadwick, R.J. (1994). "Unconsummated metaphor in the Minangkabau pantun". School of Oriental & African Studies. 22 (1994): 83–113. doi:10.1080/03062849408729808. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Muhammad Haji Salleh 2018, p. 46
- ↑ Ding 2008, p. 13
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Winstedt 1969, p. 137
- ↑ Liaw 2013, p. 442
- ↑ Ding 2008, p. 6,7 & 13
- ↑ Za'aba 1962, p. 219
- ↑ "sepantun". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
- ↑ Wright 1908, p. 230
- ↑ Za'aba 1962, p. 219
- ↑ "pantun". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
- ↑ Daillie 1988, p. 79 & 149
- ↑ Harun Mat Piah 2007, p. 58
- ↑ "penuntun". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
- ↑ "tuntun". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
- ↑ Liaw 2013, p. 442
- ↑ Ari Welianto (2020-03-03). "Struktur dan Jenis Pantun". Kompas.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ Daillie 1988, p. 3
- ↑ Haji Salleh, Muhammad (2011). "Sailing the Archipelago in a boat of rhymes: Pantun in the Malay World". Wacana Journal. 13 (1): 83. doi:10.17510/wjhi.v13i1.10. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ Hirsch 2014, p. 440
- ↑ Winstedt 1969, p. 137
- ↑ Winstedt 1969, p. 137
- ↑ Kassim Ahmad 1966, pp. 1–3
- ↑ Muhammad Haji Salleh 2011, p. 78
- ↑ Muhammad Haji Salleh 2011, p. 78
ข้อมูล
[แก้]- Daillie, Francois-Rene (1988). Alam Pantun Melayu: Studies on the Malay pantun. Dewan Bahasa dan Pustaka. ISBN 978-9836203106.
- Ding, Choo Ming (2008). "The Role of Pantun as Cultural Identity for Nusantara in 21st Century and Beyond". Southeast Asia Journal. 18 (2).
- Harun Mat Piah (2007). Pantun Melayu : bingkisan permata. Yayasan Karyawan. ISBN 978-9814459884.
- Hirsch, Edward (2014). A Poet's Glossary. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0151011957.
- Kassim Ahmad (1966). Characterisation in Hikayat Hang Tuah: A General Survey of Methods of Character-portrayal and Analysis and Interpretation of the Characters of Hang Tuah and Hang Jebat. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka, Kementerian Pelajaran Malaysia.
- Liaw, Yock Fang (2013). A History of Classical Malay Literature. ISEAS-Yusof Ishak Institute. ISBN 978-9814459884.
- Matusky, Patricia; Tan, Sooi Beng (2004), The Music of Malaysia: The Classical, Folk and Syncretic Traditions, Routledge, ISBN 978-0754608318
- Abels, Birgit (2011). Austronesian soundscapes : performing arts in Oceania and Southeast Asia. Amsterdam University Press. ISBN 978-9089640857.
- Muhammad Haji Salleh (2011). "Sailing the Archipelago in a boat of rhymes: Pantun in the Malay world". Wacana. 13 (1).
- Muhammad Haji Salleh (2018). Pantun: The poetry of passion. University of Malaya Press. ISBN 9789831009765.
- Overbeck, Hans Friedrich (1922). "The Malay Pantun". Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society. Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 85.
- Sim, Katharine (1987). More than a Pantun: Understanding Malay Verse. Singapore: Times Publishing International.
- Wilkinson, R. J. (1908). Papers on Malay subjects : Life and Customs. 1. Kuala Lumpur: F.M.S. Govt. Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-27. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.
- Winstedt, Richard Olaf (1969). A history of classical Malay literature. Oxford University Press. ASIN B0006CJ8PU.
- Wright, Arnold (1908). Twentieth Century Impressions of British Malaya: Its History, People, Commerce, Industries, and Resources. Lloyd's Greater Britain Publishing Company.
- Za'aba (1962). Ilmu Mengarang Melayu (Malay Writing Skills). Dewan Bahasa dan Pustaka.
- Tengku Ritawati (2018). "Pantun in The Text of Nyanyian Lagu Melayu Asli". Harmonia: Journal of Arts Research and Education. Department of Education Drama, Dance and Music, Universitas Islam Riau, Indonesia. 18 (1).
- รัตติยา สาและ. "ภาษาและวรรณกรรมมลายู." ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการ. มลายูศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2550, หน้า 85–106.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 20 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 686.
- Heer, Nicholas (6 August 2008). "A Famous Pantun from Marsden's Malayan Grammar" (PDF). Washington University.
- Pantun.com