ข้ามไปเนื้อหา

ชาอีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาอีร์ (มลายู: syair, شعير) เป็นรูปแบบวรรณกรรมที่แพร่หลายตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ปรับรูปแบบมาจากร้อยกรองภาษาอาหรับ-เปอร์เซีย จะยาวกี่บทก็ได้ แต่ละบทประกอบไปด้วยคำพื้นฐาน 4 คำ สัมผัสแบบกลอนหัวเดียว บทชาอีร์ที่เก่าที่สุดพบบนเสาหินหลุมฝังศพของพระราชาในอาเจะฮ์ เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย เขียนด้วยอักษรโบราณในสุมาตรา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เป็นภาษามลายูโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า ชาอีร์ มาจากคำภาษาอาหรับว่า เชียะอร์ ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีความหมายครอบคลุมกวีนิพนธ์อาหรับ/อิสลามทุกแบบ อย่างไรก็ตาม กวีนิพนธ์มลายูที่เรียกว่า ชาอีร์ มีความแตกต่างและไม่ได้มีต้นแบบมาจากกวีนิพนธ์อาหรับหรือกวีนิพนธ์เปอร์เซีย-อาหรับ[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stefan Sperl & C. Shackle (1996). Qasida Poetry in Islamic Asia and Africa: Classical Traditions and Modern Meanings (Studies in Arabic Literature). Brill. p. 363. ISBN 978-90-04-10452-5.
  • รัตติยา สาและ. "ภาษาและวรรณกรรมมลายู." ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการ. มลายูศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2550, หน้า 85–106.