ข้ามไปเนื้อหา

ปลากดอเมริกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากดอเมริกัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Ictaluridae
สกุล: Ictalurus
สปีชีส์: I.  punctatus
ชื่อทวินาม
Ictalurus punctatus
(Rafinesque, 1818)
ชื่อพ้อง
  • Silurus punctatus Rafinesque, 1818

ปลากดอเมริกัน (อังกฤษ: Channel catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ictalurus punctatus อยู่ในวงศ์ปลากดอเมริกัน (Ictaluridae)

ลักษณะ

[แก้]

มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลากด (Bagridae) และปลาในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) รวมกัน มีหัวขนาดใหญ่ ปากกว้าง มีหนวด 4 คู่ คู่ที่รูจมูกสั้น คู่ที่ริมฝีปากและคางยาว ลำตัวเรียวยาวและแบนข้างที่ส่วนท้าย มีเงี่ยงที่ครีบหลังและครีบอก ครีบไขมันมีขนาดเล็กและสั้น ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง ด้านท้องมีสีจาง มีประสีดำกระจายอยู่ห่าง ๆ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 20 เซนติเมตร ครีบมีสีคล้ำ

ถิ่นที่อยู่

[แก้]

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีและตอนใต้ของแคนาดา นิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่รัฐมิสซิสซิปปี นับเป็นรัฐที่มีการเลี้ยงปลากดอเมริกันมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยมีพื้นที่บ่อเลี้ยงอยู่มากถึง 250,000 ไร่[1]

การนำเข้า

[แก้]

สำหรับในประเทศไทยถูกนำเข้ามาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1990 โดยสถาบันพัฒนาแห่งเอเซีย (AIT) และกรมประมง โดยนำพันธุ์ปลามาครั้งแรก 50 คู่ ใน และสามารถเพาะพันธุ์ได้ในปี ค.ศ. 1991[2] โดยมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลากดหลวง" ซึ่งปัจจุบันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในการเพาะขยายพันธุ์เลี้ยงในกระชังและเขื่อนเก็บน้ำในหลายพื้นที่ เช่น ที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์[3] หรือที่จังหวัดนครสวรรค์[4] เป็นต้น แต่ก็มีจำนวนประชากรบางส่วนที่หลุดรอดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยหลุดออกมาครั้งแรกหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี ค.ศ. 1995 [4]

นอกจากนี้แล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตัวที่เป็นปลาเผือก

อ้างอิง

[แก้]
  1. เลี้ยงปลากดหลวงในบ่อซีเมนต์กลมและระบบน้ำไหลผ่าน, "ทิศทางเกษตร". หน้า 28 เกษตร เดลินิวส์ฉบับที่ 23,679: วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 แรม 2 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย
  2. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=149919&NewsType=1&Template=1
  3. รายการเช้านี้...ที่หมอชิต: วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางช่อง 7
  4. 4.0 4.1 หน้า 69 หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ictalurus punctatus ที่วิกิสปีชีส์