ปนีร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปนีร
ชื่ออื่นปานีร์, ชานะ, เชนะ
ประเภทชีส
แหล่งกำเนิดเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
ส่วนผสมหลักนมที่ต้มจนตกตะกอน
ข้อมูลอื่นเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนจากนม

ปนีร (ปัญจาบ: ਪਨੀਰ; ฮินดีและเนปาล: पनीर; อาร์มีเนีย: Պանիր; อูรดู: پنير; เคิร์ด: پەنییر; เปอร์เซีย: پنير; ตุรกี: peynir) หรือที่นิยมสะกดเป็น ปานีร์ เป็นชีสสดชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยในอินเดียภาคเหนือเรียกเชนะ

คำว่าปนีรมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเปอร์เซีย[1] คำในภาษาตุรกี peynir, คำในภาษาเปอร์เซีย panir, คำในภาษาอาเซอร์ไบจาน panir, และคำในภาษาอาร์เมเนีย panir (պանիր) ล้วนมาจากคำว่า "paneer" ซึ่งหมายถึงเนยชนิดหนึ่ง จุดกำเนิดของปานีร์ยังเป็นที่โต้เถียง ทั้งอินเดียในยุคพระเวท ชาวอัฟกัน ชาวอิหร่าน ชาวเบงกอล และชาวอินเดียเชื้อสายโปรตุเกส[2]

การเตรียม[แก้]

ปานีร์ (ทำมือ)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 183 g
พลังงาน182 กิโลจูล (43 กิโลแคลอรี)
10 g
น้ำตาล10 g
2 g
7 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(6%)
44 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(23%)
230 มก.
เหล็ก
(0%)
0 มก.
โซเดียม
(6%)
87 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: nutritiondata.com

ปานีร์เตรียมโดยการเติมอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู กรดซิตริกหรือโยเกิร์ต[3] ลงในนมที่ร้อนเพื่อแยกเคิร์ดออกจากหางนม ส่วนที่เป็นเคิร์ดจะนำมากดน้ำออก นำมาแช่ในน้ำเย็น 2–3 ชั่วโมง การเตรียมปานีร์มีรายละเอียดอื่นๆต่างกันไปตามท้องถิ่น ในเนปาล จะนำส่วนที่เป็นเคิร์ดมาห่อผ้าแล้วทับด้วยของแข็งเช่น หิน แล้วตัดเป็นก้อนลูกเต๋าเพื่อใช้ใส่ในแกง ในอาหารเบงกอลและอาหารอินเดียตะวันออกอื่นๆ เคิร์ดจะถูกนวดด้วยมือจนมีลักษณะคล้ายแป้งโดเรียก ছানা sana ใน ภาษาอัสสัม, ছানা chhana ใน ภาษาเบงกอล หรือ ଛେନା chhena ใน ภาษาโอริยา และ ภาษาไมถิลี ในบริเวณต่อไปนี้ sana/chhana/chhena ถูกแยกออกจาก โปนีร์ ซึ่งเป็นชีสที่มีลักษณะกึ่งแข็งมีรสเค็ม มีเกลือปริมาณสูง

อาหาร[แก้]

ปานีร์เป็นเนยชนิดที่ใช้ทำอาหารได้หลากหลายทั้งในอินเดียและปากีสถาน รวมทั้งในเนปาลและบังกลาเทศ บางครั้งหุ้มด้วยแป้งโด ทอดแล้วกินกับผักโขมหรือถั่ว ปานีร์ที่เรียก chhana นำไปปั้นเป็นก้อนกลมแล้วต้มในน้ำเชื่อม

อ้างอิง[แก้]

  1. The Indian Historical Quarterly, Volume 2, Issues 1-2. Ramanand Vidya Bhawan. 1985. p. 236.
  2. Timothy G. Roufs and Kathleen Smyth Roufs (2014). Sweet Treats around the World: An Encyclopedia of Food and Culture. ABC-CLIO. p. 168. ISBN 9781610692212.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Adiraja Dasa. The Hare Krishna book of Vegetarian Cooking. Bhaktivedanta Book Trust, 1989, ISBN 0-902677-07-1