บ้านพี่น้อง
형제복지원 | |
ถัดไป | Siloam's House[1] |
---|---|
ก่อตั้ง | 1960 |
ยุติ | 1988 |
วัตถุประสงค์ | บริการคุ้มครองเด็ก, สวัสดิการ (อย่างเป็นทางการ) |
ที่ตั้ง | |
หัวหน้า | ปาร์คอินเก็น |
บุคลากรหลัก | ช็อน ดู-ฮวัน |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | 형제복지원 |
ฮันจา | 兄弟福祉院 |
อาร์อาร์ | Hyeongje bokjiwon |
เอ็มอาร์ | Hyŏngje bokchiwŏn |
บ้านพี่น้อง (อังกฤษ: Brothers' Home) (เกาหลี: 형제복지원) เป็น ค่ายกักกัน (อย่างเป็นทางการเรียกว่าเป็นสถานสงเคราะห์) ที่ตั้งอยู่ในเมือง ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 โดยสถานที่นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแรงบันดาลใจหรือพื้นฐานของซีรีส์ เน็ตฟลิกซ์ เรื่อง สควิดเกม เล่นลุ้นตาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว [ต้องการอ้างอิง]
บ้านพี่น้องนี้เป็นสถานที่ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีใต้ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว[2] และได้รับการขนานนามจากสื่อต่าง ๆ ของเกาหลีว่า "ออสช์วิตซ์แห่งเกาหลี" (Korea's Auschwitz)[3]
ความเป็นมา
[แก้]ในช่วงทศวรรษ 1950 สาธารณรัฐเกาหลียังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูจากความเสียหายที่เกิดจากสงครามเกาหลี[4] โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นโยบายสวัสดิการของรัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การจัดหาที่พักพิงสำหรับเด็กกำพร้า เนื่องจากเด็กกำพร้าถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับชื่อเสียงระดับชาติของเกาหลีใต้[5]: 175
ในทศวรรษ 1960 คณะรัฐบาลทหารของปาร์ค จุง-ฮี ได้ดำเนินนโยบาย “ทำความสะอาด” สังคม โดยจัดการกับผู้ที่ถูกมองว่าเป็น “สัญลักษณ์ของความยากจนและความไร้ระเบียบในเมือง”[1] และขยายไปสู่การจับกุมคนไร้บ้านทั่วไป[5]: 176
ภายใต้กฎหมายของเกาหลีใต้ในยุคนั้น คนเร่ร่อน (เกาหลี: 부랑인; ฮันจา: 浮浪人) ถูกนิยามว่าเป็นบุคคลที่ "ขอทาน, ขายหมากฝรั่ง หรือค้าขายสินค้าอย่างรบเร้าตามสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น สถานที่ท่องเที่ยว, สถานีรถไฟ, ป้ายรถประจำทาง หรือบริเวณที่พักอาศัย โดยไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน"[6]
ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา เมืองใหญ่ เช่น โซล ปูซาน และแทกู เริ่มก่อสร้างสถานกักกันคนเร่ร่อน[1] ขณะที่กฎหมายด้านสังคมสงเคราะห์ปี 1970 (구 사회복지사업법) ได้กำหนดให้คนเร่ร่อนที่มีอายุระหว่าง 18–65 ปีมีสิทธิรับ "บริการสังคมสงเคราะห์"[5]: 176–7
ในปี 1975 กระทรวงมหาดไทยของเกาหลีใต้ประกาศคำสั่งกระทรวงหมายเลข 410 (내무부훈령 제410호) ซึ่งกำหนดให้เทศบาลและตำรวจท้องถิ่นจัดตั้ง "ทีมลาดตระเวนคนเร่ร่อน" เพื่อออกปฏิบัติการตรวจจับเป็นประจำทุกเดือน[5]: 190
นโยบายดังกล่าวทวีความเข้มงวดมากขึ้นเมื่อเกาหลีใต้เตรียมตัวจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1986 และโอลิมปิกโซล 1988[7] โดยอดีตประธานาธิบดีชอน ดู-ฮวาน ออกคำสั่งในปี 1981 ให้จัดการ “กวาดล้าง” การขอทานและดูแลคนไร้บ้าน[8]: 5
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hae-nam Park; Il-hwan Kim; Jae-hyung Kim; Ji-hyun Choo; Jong-sook Choi; Jun-chol So; Kwi-byung Kwak; Sang-jic Lee (June 15, 2023). "'Big Brother' at Brothers Home: Exclusion and Exploitation of Social Outcasts in South Korea". The Asia-Pacific Journal: Japan Focus.
- ↑ "Child victims of Brothers Home still search for justice". CNN. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ Multiple sources:
- 박수지 (September 7, 2014). [단독] '한국판 아우슈비츠' 형제복지원 특별법 곧 재발의. The Hankyoreh (ภาษาเกาหลี).
- 윤수한 (August 24, 2022). 한국의 '아우슈비츠' 형제복지원‥657명 사망 첫 확인. MBC (ภาษาเกาหลี).
- 백준무 (August 25, 2022). 35년 만에 드러난 '한국판 아우슈비츠'의 진상... 정부가 묵인한 '국가 범죄'였다. Segye Ilbo (ภาษาเกาหลี).
- 뉴스1 (November 20, 2018). '한국판 아우슈비츠' 형제복지원, 30년 만에 다시 심판대...배상길 열리나. The Dong-A Ilbo (ภาษาเกาหลี).
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTHK
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Jae Hyung, Kim (2023). 한국 집단수용시설의 법제도화와 인권침해, 그리고 국가 책임 [The Institutionalization of Collective Detention Centers in South Korea, Human Rights Violations, and the Responsibility of the State]. 기억과 전망. 48: 169–206. doi:10.31008/MV.48.5 – โดยทาง KISS.
- ↑ 이소영 (June 18, 2017). "(5)명랑사회를 위한 '부랑인 청소'...결국 우리도 공모자였다". Kyunghyang Shinmun (ภาษาเกาหลี).
"일정한 주거 없이 관광업소, 접객업소, 역, 버스정류소 등 많은 사람들이 모이거나 통행하는 곳과 주택가를 배회하거나 좌정하여 구걸 또는 물품을 강매함으로써 통행인을 괴롭히는 걸인, 껌팔이, 앵벌이." 이들은 우리 법이 '부랑인'이라 정의했던 대상이다.
- ↑ 김, 욱, "노숙인 (露宿人)", 한국민족문화대백과사전 [Encyclopedia of Korean Culture] (ภาษาเกาหลี), Academy of Korean Studies, สืบค้นเมื่อ 2025-01-08
- ↑ 민경락 (2011-11-03). "<노숙인법에서 '부랑인'은 왜 사라졌을까> | 연합뉴스". 연합뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2025-01-08.