บุรเกาะอ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หญิงสวมบุรเกาะอ์ที่อัฟกานิสถาน ค.ศ. 2010

บุรเกาะอ์[1] (อาหรับ: برقع) รู้จักในประเทศอัฟกานิสถานว่า จาดรี (ปาทาน: چادري) หรือในเอเชียกลางว่า ปารันจา (รัสเซีย: паранджа́; ตาตาร์: пәрәнҗә) เป็นสิ่งห่อหุ้มเสื้อผ้าชั้นนอกที่คลุมร่างกายและใบหน้าที่สวมใส่โดยผู้หญิงในธรรมเนียมอิสลามบางประเทศ แบบอาหรับของบุรเกาะอ์คือ บูชิยะฮ์ และมักมีสีดำ

บางครั้ง คำว่า บุรเกาะอ์ ถูกรวมเข้ากับ นิกอบ อธิบายให้กระจ่างคือ นิกอบเป็นผ้าปิดหน้าที่ยังคงเห็นตา ในขณะที่บุรเกาะอ์จะคลุมทั้งร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า เหลือแค่ส่วนตาข่ายที่ให้ผู้ใส่มองเห็นข้างหน้า และไม่ควรสับสนกับฮิญาบที่คลุมหัว, คอ และหน้าอกทุกส่วนหรือบางส่วน แต่ไม่คลุมใบหน้า[2]

ปัจจุบันมี 14 ประเทศที่ห้ามสวมบุรเกาะอ์ ได้แก่ ออสเตรีย, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, ทาจิกิสถาน, ลัตเวีย,[3] บัลแกเรีย,[4] แคเมอรูน, ชาด, สาธารณรัฐคองโก, กาบอง, โมร็อกโก, เนเธอร์แลนด์[5] และจีน[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. มาจากคำว่า อาหรับ: برقع, บุรกุอ์ หรือ บุรเกาะอ์ และ อูรดู: بُرقع และออกเสียงว่า [ˈbʊrqʊʕ, ˈbʊrqɑʕ]
  2. Vyver, James (17 August 2017). "Explainer: Why do Muslim women wear a burka, niqab or hijab?". Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020. Some Muslim women wear niqabs, which are often confused with the burka.
  3. "A European government has banned Islamic face veils despite them being worn by just three women". 21 April 2016. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.
  4. "Bulgaria the latest European country to ban the burqa and [niqab in public places]". 30 September 2016. Smh.com.au: accessed 5 December 2016.
  5. Halasz; McKenzie, Stephanie; Sheena (27 June 2018). "The Netherlands introduces burqa ban in some public spaces". No. 27 June 2018. CNN. CNN. สืบค้นเมื่อ 9 August 2018.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Phillips, Tom (13 January 2015). "China bans burqa in capital of Muslim region of Xinjiang". The Telegraph. No. 13 January 2015. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]