บุญช่วง เด่นดวง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บุญช่วง เด่นดวง | |
---|---|
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (77 ปี) |
อาชีพ |
|
คู่สมรส | ทองเจริญ ดาเหลา |
บุญช่วง เด่นดวง หรือ บุญช่วง ดาเหลา (พ.ศ. 2488-ปัจจุบัน) ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555 เป็นผู้มีความสามารถโดดเด่นด้านการแสดงหมอลำกลอนที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน เป็นเพื่อนสนิทรุ่นเดียวกับฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 และเป็นผู้คงไว้ซึ่งเชื้อสายตระกูล "ดาเหลา" ซึ่งเป็นสายสกุลหมอลำกลอนอันมีชื่อเสียงจากเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534 , บุญเพ็ง ไฝผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2540 และทองเจริญ ดาเหลา ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2555
ประวัติ[แก้]
บุญช่วง เด่นดวง เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านกระจาย ตำบลป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรของนายพรหมมา เด่นดวง ชาวบ้านทุ่งมน ซึ่งมีอาชีพหมอลำกลอนเช่นกัน ในช่วงชีวิตวัยเยาว์เมื่อสำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว ก็ออกมาช่วยบิดามารดาทำนา และทำไร่ปอ ตลอดจนเลี้ยงน้อง ๆ ที่บ้านของตน
บุญช่วง เด่นดวง เป็นผู้ชื่นชอบหมอลำ และลิเกพื้นบ้านตั้งแต่เยาว์วัย วันหนึ่งได้ออกไปเลี้ยงวัวที่ทุ่งนา ขณะนั้นจึงทำให้นึกคิดว่าอยากจะเป็นหมอลำที่เก่งกาจสามารถออกทำการแสดงอย่างหมอลำ และลิเกพื้นบ้านบ้าง
พ.ศ. 2503 ได้ผกผันชีวิตมาเป็นเรียนรู้หมอลำเพลินกับนางทองดำ เด่นดวง ผู้เป็นพี่สาว จนพัฒนาขึ้นเป็นนางเอกหมอลำเพลิน และหมอลำเรื่องต่อกลอน โดยลำเรื่องแรกคือ ลำเรื่องเศรษฐีนกเอี้ยง และลำเรื่องจันทร์ตราทองแดงลำดับต่อมา
พ.ศ. 2507 ได้เดินทางเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ในสำนักงานของหมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534 และหมอลำคำภา ฤทธิทิศ ซึ่งเป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครูหมอลำที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งเปิดสำนักงานฯ ตั้งอยู่ข้างวัดแจ้ง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี การฝึกฝนอยู่ในสำนักงานแห่งนี้ บุญช่วง เด่นดวง ได้พัฒนาตนเอง เรียนรู้ ต่อยอด ฝึกฝนจากครูอาจารย์ และด้วยสติปัญญาของตนเอง จึงมีลักษณะการขับลำที่โดดเด่น เหนือชั้นเชิงเพื่อนร่วมสำนักงานด้วยกัน จนสามารถออกรับงานการแสดงกับหมอลำอาวุโสหลายคน เช่น หมอลำวังสถาน หมอลำเปลี่ยน วิมลสุข เป็นต้น จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วภาคอีสาน และสปป.ลาว
ชีวิตครอบครัว[แก้]
บุญช่วง เด่นดวง ได้สมรสกับทองเจริญ ดาเหลา ศิลปินพื้นบ้าน (หมอลำ) ซึ่งเป็นหลานอาของหมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่
- นายดนัย ดาเหลา
- นายชัยวัฒน์ ดาเหลา
ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 6 บ้านหนองแก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี คุณแม่บุญช่วงยังได้รับเกียรติใด้ดำรงตำแหน่งกรรมการตัดสินการประกวดศิลปะการแสดงหมอลำของหลายๆ หน่วยงานอีกด้วย[1]
การศึกษา[แก้]
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านกระจาย ตำบลป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2551 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฎศิลป์และละคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ตำแหน่ง และหน้าที่[แก้]
- อาจารย์พิเศษ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- ที่ปรึกษาสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ประกอบอาชีพหมอลำ จังหวัดอุดรธานี
รางวัล และการเชิดชูเกียรติ[แก้]
- ได้รับโล่ศิลปินดีเด่นภาคอีสาน ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ได้รับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นแห่งปี รางวัลเพชรสยาม สาขานาฎการพื้นบ้านประจำปี พ.ศ. 2549 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เนื่องในวโรกาสสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
- ได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555 จากสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น[2]
ผลงาน[แก้]
- หมอลำบุญช่วง เด่นดวง มีผลงานกลอนลำมากมาย ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ของประชาชนทั่วภาคอีสาน และฝั่งสปป.ลาว
- เป็นวิทยากรสาธิตการขับลำหมอลำกลอนและบันทึกเสียงให้แก่นิสิตระดับปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการประกวดหมอลำกลอนย้อนยุค ชิงถ้วยพระราชทาน สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี และสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
- ร่วมแสดงงานแสง สี เสียง เรื่องสินไช ในวาระ 72 ปี เทศบาลนครขอนแก่น
- ตลอดจนมีผลงานด้านลำกลอน 12 ชุด เช่น คุยเฟื่องเรื่องซาอุ ประวัติพระธาตุพนม ประวัติเวียงจันทร์ สะพานทองสองฝั่งโขง ลำเพลินนกยูงทอง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เต้ยท่องเที่ยวไทย เป็นต้น[3]