รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบหนึ่งที่ใช้รถโดยสาร ให้บริการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากรถโดยสารประจำทางทั่วไป โดยพัฒนารูปแบบการเดินรถ ตัวรถโดยสาร ตารางการเดินรถ ระบบขนส่งอัจฉริยะ และที่สำคัญคือจะมีช่องทางวิ่งแยกออกมาจากถนนปกติเป็นช่องทางเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีคุณภาพของบริการเทียบเท่ากับระบบขนส่งมวลชนระบบราง ในความเร็วและความจุผู้โดยสารที่เทียบเท่ากับระบบรถไฟฟ้ารางเบา ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถโดยสารประจำทางที่ประหยัดกว่า ทั้งยังสามารถจัดเส้นทางการเดินรถได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง[1]
ชื่อเรียกของระบบขนส่งรูปแบบนี้มีหลากหลายเช่นในทวีปอเมริกาเหนือนิยมเรียกว่า bus rapid transit หรือ บีอาร์ที (BRT) ในทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เรียกว่า "บัสเวย์" (อังกฤษ: busway) หรือมีการเรียกว่า รถโดยสารคุณภาพ (quality bus)
ความเร็วของระบบขนส่งรูปแบบนี้จะอยู่ประมาณ 30 - 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา[2]
คุณสมบัติที่สำคัญของระบบประเภทนี้[แก้]
- มีช่องทางเดินรถแยกต่างหาก
- ช่องทางเดินรถจะมีช่องทางเฉพาะที่ไม่ปะปนกับรถประเภทอื่น มีทางเข้า-ออกจำกัดเฉพาะจุดที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นเพียงการตีเส้นแบ่งจากช่องทางปกติเป็นช่องเดินรถมวลชน (diamond lane หรือ high-occupacy vehicle lane) หรือมีการกั้นช่องทางอย่างชัดเจน ซึ่งทางวิ่งเฉพาะจะช่วยให้การเดินรถเป็นไปอย่างรวดเร็วและแน่นอน
- เส้นทางเดินรถ
- เป็นการปรับปรุงจากโครงข่ายถนนเดิมที่มีอยู่แล้วและสามารถเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ให้กลายเป็นเส้นทางรถประจำทางที่มีจุดจอดไม่มากเกินไป เส้นทางไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น และรถประจำทางที่รับส่งภายในย่านต่าง ๆ ได้
- ความถี่ในการเดินรถ
- เดินรถด้วยความถี่สูงและเหมาะสมตลอดเวลาทำการ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการให้บริการดีกว่าระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น และระบบมีโอกาสรองรับกลุ่มผู้โดยสารได้อย่างหลากหลาย
- ระบบขนส่งอัจฉริยะ
- มีศูนย์ควบคุมการเดินรถที่สามารถติดตามตำแหน่งของรถแต่ละคันได้ด้วยระบบจีพีเอส จึงสามารถให้บริการข้อมูลการเดินรถแก่ผู้โดยสารที่สถานี หรือบริการข้อมูลทางโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างทันสถานการณ์ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลรถที่กำลังมาถึงสถานี, การเดินรถล่าช้า และการวางแผนการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร
- มาตรการให้ความสำคัญแก่รถโดยสารประจำทาง
- เป็นผลจากระบบขนส่งอัจฉริยะ ทำให้สามารถกำหนดให้รถในเส้นทางที่ต้องเดินรถผ่านทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรได้รับสัญญาณไฟเขียวโดยอัตโนมัติ
- ระบบเก็บค่าโดยสาร
- มีเทคโนโลยีบัตรโดยสารที่ทันสมัย มีการเก็บค่าโดยสารจากสถานีก่อนขึ้นรถ ดังนั้นการจ่ายค่าโดยสารแต่ละครั้งจึงสามารถใช้เดินทางเชื่อมต่อทั่วถึงทั้งระบบ
- รถโดยสาร
- มีประตูขึ้น-ลงหลายจุด ขึ้นลงสะดวก พื้นเสมอกับชานชาลา ภายในโอ่โถง จุผู้โดยสารได้มาก รูปทรงทันสมัย เครื่องยนต์ใช้พลังงานสะอาด ก่อมลพิษน้อย
- สถานี
- การออกแบบเน้นความสะดวกสบายและปลอดภัยทั้งภายในสถานีและทางเดินเข้าสู่สถานี มีประตูกั้นเพื่อความปลอดภัยขณะรถเทียบชานชาลา มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ สามารถเดิน หรือใช้จักรยาน หรือโดยสารรถรับส่ง หรือขับรถส่วนตัวมาจอดที่จุดจอดแล้วจร (park and ride) เพื่อเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวกสบาย รูปลักษณ์มีความโดดเด่น ภูมิทัศน์โดยรอบสวยงาม
- การใช้ประโยชน์ที่ดิน
- มีการใช้ที่ดินสอดคล้องกับกิจกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร
- ภาคการตลาด
- มีชื่อหรือสัญลักษณ์ของระบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่
ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในประเทศไทย[แก้]
- รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินงานโดย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ได้แก่ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์
- โครงการระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System - CTS) เกิดขึ้นจากข้อเสนอของเทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาโครงการ
- บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) ได้เปิดเดินรถโดยสารขนส่งมวลชนสาย R3 ระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่-นิมมานเหมินท์-คูเมืองเชียงใหม่ โดยจะเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 5 เมษายน 2561 ตั้งแต่เวลา 6.00 - 24.00 น. [3]
- โครงการระบบขนส่งมวลชนเมืองขอนแก่น อยู่ระหว่างการศึกษาของเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [4]
- โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต และหาดใหญ่ อยู่ระหว่างการศึกษาโดย สนข.
รายชื่อเมืองในต่างประเทศที่มีระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ[แก้]
ทวีปเอเชีย[แก้]
- เซบูซิตี ประเทศฟิลิปปินส์ (โครงการ)
- จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย : TransJakarta
- นะโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น : Guideway Bus Shidami Line หรือ สาย Yutorito (Yutreet)
- เจียอี้ ประเทศไต้หวัน : Chiayi BRT เชื่อมระหว่างตัวเมือง สถานีรถไฟ และสถานีรถไฟความเร็วสูงไต้หวันเจียอี้
- ไฮฟา ประเทศอิสราเอล : Metronit (โครงการ)
- เตหะราน ประเทศอิหร่าน
- เซจง ประเทศเกาหลีใต้
- อัมมาน ประเทศจอร์แดน
- ฮานอย ประเทศเวียดนาม
- กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย : รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์
จีน[แก้]
- ปักกิ่ง : BRT บนถนน Nan Zhongzhouxian
- ฉงชิ่ง
- ต้าเหลียน
- กว่างโจว (โครงการ)
- หางโจว: สาย B1
- จี๋หนาน (โครงการ)
- คุนหมิง
- เซี่ยงไฮ้: บีอาร์ที เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ Shanghai West
- เหอเฟย์
- เซินเจิ้น (โครงการ)
- อู๋ซี : (โครงการ 5 เส้นทาง)
- เซียะเหมิน : Xiamen BRT
- ซีอาน : (โครงการ)
- เฉิ่นหยาง: (โครงการ 6 เส้นทาง)
- ฉางโจว
อินเดีย[แก้]
- ปูเน รัฐมหาราษฏระ: Pune Bus Rapid Transit
- นิวเดลี: Delhi Bus Rapid Transit
- อินโดร์ รัฐมัธยประเทศ
- อัห์มดาบาด รัฐคุชราต: Ahmedabad BRTS
- รัฐกัว: SkyBus Goa
- Vijayawada รัฐอานธรประเทศ: Vijayawada BRTS (โครงการ)
- Visakhapatnam รัฐอานธรประเทศ: Visakhapatnam BRTS (โครงการ)
- มุมไบ รัฐมหาราษฏระ: BRTS (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- เจนไน รัฐทมิฬนาฑู: Chennai BRTS และ Chennai RBTW (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- บังคาลอร์ รัฐกรณาฏกะ: Bangalore BRTS (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- Mangalore รัฐกรณาฏกะ (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
ทวีปอเมริกาเหนือ[แก้]
แคนาดา[แก้]
- แคลกะรี รัฐแอลเบอร์ตา: Calgary Transit เก็บถาวร 2007-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กาตีโน รัฐควิเบก: Société de Transport de l'Outaouais (STO) Rapibus
- Halifax Regional Municipality รัฐโนวาสโกเชีย: Metro Transit's MetroLink
- มิสซิสซอกา รัฐออนแทรีโอ: Mississauga Transit (โครงการ)
- มอนทรีออล รัฐควิเบก: Montreal Bus Rapid Transit (STM BRT) สาย 505 "Express Pie IX"
- กรุงออตตาวา รัฐออนแทรีโอ: Ottawa Transitway (เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชน OC Transpo ร่วมกับระบบรางขนาดเบา)
- Saint John รัฐนิวบรันสวิก: ComeX
- แวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย: TransLink R1, R2, R3, R4, R5 และ 99 B-Line Rapidbus[ลิงก์เสีย]
- Waterloo Regional Municipality รัฐออนแทรีโอ: iXpress ในระบบรถประจำทาง Grand River Transit
- York Regional Municipality รัฐออนแทรีโอ: Viva
เม็กซิโก[แก้]
- กัวดาลาฮารา รัฐฮาลิสโก: Macrobus
- เลออน รัฐกวานาวาโต: Optibus
- เม็กซิโกซิตี รัฐเฟเดอรัลดิสตริกต์ : Metrobús
สหรัฐอเมริกา[แก้]
- แอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก: Rapid Ride
- ออสติน รัฐเท็กซัส: Capital Metrorapid เก็บถาวร 2007-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์: MBTA Silver Line
- ชิคาโก รัฐอิลลินอย: Busway[ลิงก์เสีย] เชื่อมต่อใจกลางเมืองชิคาโกกับ ศูนย์การประชุมแมคคอร์มิค เพลส (McCormick Place)
- คลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ: Health Line เก็บถาวร 2017-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด: Downtown Express (I-25 HOV) เก็บถาวร 2006-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ดิมอยน์ รัฐไอโอวา: Des Moines Area Regional Transit Authority Rapid Transit Corridor study เก็บถาวร 2007-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยูจีน รัฐออริกอน: Emerald Express (EmX)
- ฟอร์ตคอลลินส์ รัฐโคโลราโด: MAX เก็บถาวร 2008-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โฮโนลูลู รัฐฮาวาย: TheBus
- ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส: ช่องทางรถมวลชน (HOV) เก็บถาวร 2008-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี: Metro Area Express (MAX)
- ลาสเวกัส รัฐเนวาดา: Metropolitan Area Express (MAX)
- ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย: El Monte Busway, LACMTA Orange Line, Harbor Freeway Transitway, Metro Rapid
- ไมแอมี รัฐฟลอริดา: South Miami-Dade Busway เก็บถาวร 2006-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มินนีแอโพลิส-เซนต์พอล รัฐมินนิโซตา: University of Minnesota transit เก็บถาวร 2005-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน} Metro Transit
- โอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย: AC Transit บีอาร์ทีสาย 72R[ลิงก์เสีย]
- ออเรนจ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย: Bus Rapid Transit เก็บถาวร 2008-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา: Lynx
- ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา: RAPID เก็บถาวร 2005-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย: Ardmore Busway
- พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย: Port Authority เก็บถาวร 2008-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาย East Busway, South Busway และ West Busway
- พรอวิเดนซ์ รัฐโรดไอแลนด์: East Side Bus Tunnel
- แซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย: Super Loop
- แซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย: Santa Clara Valley Transportation Authority บีอาร์ทีสาย 522 เก็บถาวร 2011-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แซนตามอนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย: Big Blue Bus บีอาร์ทีสาย 3
- ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน: Downtown Seattle Transit Tunnel
- แทมปา รัฐฟลอริดา: HART BRT (โครงการ, 1 ใน 2 เส้นทางจะเปิดให้บริการในปี 2010)
ทวีปอเมริกาใต้[แก้]
- บาร์กีซีเมโต ประเทศเวเนซุเอลา: Transbarca (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- กอนเซปซีออน ประเทศชิลี: รถโดยสาร Bio Bus (ระบบผสมกับรถไฟฟ้า Bio Tren)
- กูรีตีบา ประเทศบราซิล: Rede Integrada de Transporte (RIT)
- โฟลเรียนอโปลิส ประเทศบราซิล: Sistema Integrado de Transporte (SIT) ) ,
- กัวเตมาลาซิตี ประเทศกัวเตมาลา: Transmetro
- ลิมา ประเทศเปรู: El Metropolitano (บนเกาะกลางทางพิเศษสาย Paseo de la República, อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- เมรีดา ประเทศเวเนซุเอลา: Trolmérida
- ปอร์ตูอาเลเกร ประเทศบราซิล: Portais da Cidade
- กีโต ประเทศเอกวาดอร์: Unidad Operadora del Sistema Trolebús (มีแผนปรับปรุงเป็นระบบรางขนาดเบา)
- กวายากิล ประเทศเอกวาดอร์: Metrovia
- เซาเปาลู ประเทศบราซิล: Expresso Tiradentes
- ซานเตียโก ประเทศชิลี: Transantiago
โคลอมเบีย[แก้]
- โบโกตา: TransMilenio
- คาลี: MIO (Masivo Integrado de Occidente) (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- เมเดยิง: Metroplus (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- บาร์รังกียา: Transmetro (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- บูการามังกา: Metrolinea (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- การ์ตาเคนา: Transcaribe (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- เปเรย์รา: Megabús
ทวีปออสตราเลเชีย/โอเชียเนีย[แก้]
- ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์: Northern Busway
ออสเตรเลีย[แก้]
- แอดิเลด: O-Bahn Busway
- บริสเบน: South-East Busway, Inner-Northern Busway, Northern Busway, Eastern Busway และ Boggo Road Busway
- เพิร์ท: Causeway (เส้นทาง East Perth-Victoria Park) และ Beaufort Street Inglewood
- ซิดนีย์: Liverpool-Parramatta T-way, North-West T-way และ M2 Bus Corridor
ทวีปยุโรป[แก้]
- Almere ประเทศเนเธอร์แลนด์: MAXX Almere
- ไอนด์โฮเวิน ประเทศเนเธอร์แลนด์: Phileas
- ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี: HOCHBAHN
- กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์: Bussi-Jokeri เก็บถาวร 2008-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สคิพฮอล ประเทศเนเธอร์แลนด์: Zuidtangent
- อิสตันบูล ประเทศตุรกี: Metrobus
ฝรั่งเศส[แก้]
- ดูแอ: Le Tram เก็บถาวร 2008-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอวรี: TICE
- น็องซี: STAN
- น็องต์: BusWay
- นิส: Ligne d'azur
- ปารีส: Trans-Val-de-Marne (TVM)
- แร็งส์: (สาย H เตรียมปรับปรุงเป็นเส้นทางรถราง Tramway de Reims ในปี 2010)
- รูอ็อง: Transport Est-Ouest Rouennais (TEOR) เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สหราชอาณาจักร[แก้]
ทวีปแอฟริกา[แก้]
- เลกอส ประเทศไนจีเรีย: Lagbus เป็นระบบบีอาร์ทีแห่งแรกในแอฟริกา
แอฟริกาใต้[แก้]
- เคปทาวน์: Integrated Rapid Transit (IRT) (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
- โจฮันเนสเบิร์ก
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ What is Bus Rapid Transit? Select Bus Service website, NY Metropolitan Transit Authority. Retrieved 2010-3-12
- ↑ Characteristics of BRT for decision making. เก็บถาวร 2016-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน page ES-5. Federal Transit Administration (August 2004).
- ↑ https://pantip.com/topic/37531082 วันนี้เปิดตัว "รถเมล์เชียงใหม่" สาย R3 สนามบิน-นิมมาน-เมืองเก่า -Pantip]
- ↑ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Characteristics of Bus Rapid Transit for Decision-Making เก็บถาวร 2015-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National BRT Institute, U.S. Department of Transportation (อังกฤษ)
- โครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT กรุงเทพมหานคร
- ภาพและวิดีโอแสดงความก้าวหน้าของโครงการ BRT กรุงเทพมหานคร เก็บถาวร 2007-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งเมืองขอนแก่น เก็บถาวร 2007-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- RTC Chiangmai Smart Bus