บิกีนี
บิกีนี (อังกฤษ: bikini) โดยทั่วไปคือชุดว่ายน้ำสองชิ้นซึ่งประกอบด้วยท่อนล่างในลักษณะกางเกงชั้นในที่ปกปิดช่วงขาหนีบและบั้นท้ายของผู้หญิง และท่อนบนลักษณะเสื้อชั้นในที่ปกปิดหน้าอก ซึ่งเปิดเผยร่างกายในส่วนกลางลำตัว รวมทั้งสะดือและเอว[1][2] ขนาดของบิกีนีชิ้นล่างมีหลากหลายตั้งแต่ปกปิดเต็ม จนถึงที่เปิดเผยแบบ ธองหรือจีสตริง
บิกีนีในยุคใหม่ทำให้เป็นที่นิยมโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เรอาร์ และนักออกแบบแฟชั่น ฌัก แอ็ง ณ กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2489 การริเริ่มนำมาใช้ก่อให้เกิดข้อขัดแย้ง และหลายประเทศทางตะวันตกมีการห้ามในบริเวณชายหาดและพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง โดยทางสำนักวาติกันได้ประกาศให้เป็นสิ่งผิดศีลธรรม[3] บิกีนีได้รับความนิยมขึ้นโดย บรีฌิต บาร์โด และเออร์ซูล่า แอนเดรส และได้กลายมาเป็นที่ใช้กันทั่วไปในประเทศตะวันตกในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึง 2512)
บิกีนีรูปแบบดั้งเดิมที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้ความหมายเชิงบวกโดยใช้คำที่แสดงความหลากหลายในการอธิบายรูปแบบของชุดที่หลายหลายเช่นกัน รูปแบบต่าง ๆ นี้ถูกใช้เพื่อการส่งเสริมทางการโฆษณาเป็นหลัก และเพื่อการจัดหมวดหมู่ในอุตสาหกรรมซึ่งไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับคนทั่วไป โดยถูกเรียกรวมว่าเป็นบิกีนีรูปแบบต่าง ๆ บิกีนีรูปแบบต่าง ๆ มักมีชื่อที่ลงท้ายด้วย –กีนี และ –อีนี เช่น ไมโครกีนี แทงกีนี ไตรกีนี พิวบิกีนี แบนโดกีนี และ สเกิร์ตตินี คำที่ใช้เรียก และคำที่สร้างขึ้นใหม่ได้ถูกนำมาใช้โดยไม่เกี่ยวกับบิกีนีแบบดั้งเดิมที่หมายถึงชุดว่ายน้ำสองชิ้นของผู้หญิง เช่น นำไปใช้อธิบายถึงแบบชุดชั้นในผู้ชายและผู้หญิง ไปจนถึงบิกีนี แวกซ์ และ คำอธิบายอื่น ๆ โมโนกีนี หมายถึงชุดว่ายน้ำชิ้นเดียวแบบเปลือยท่อนบนของผู้หญิง และ บิกีนีผู้ชาย (เรียก แมนกีนี) อาจหมายถึงกางเกงว่ายน้ำของผู้ชาย[2] หรือ ชุดชั้นในแบบ บิกีนี สลิงบิกีนี คือชุดว่ายน้ำชิ้นเดียวที่ตัดส่วนเนื้อผ้าออกไปมาก
กำเนิดและการพัฒนาของคำ
[แก้]การออกแบบชุดว่ายน้ำแบบสองชิ้นปรากฏขึ้นในสมัยคลาสสิก[4] ส่วนการออกแบบยุคใหม่ออกสู่สายตาสาธารณชนครั้งแรก ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2489[5] วิศวกรเครื่องกลชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เรอาร์ ได้เปิดเผยการออกแบบชุดที่เขาเรียกว่า “บิกีนี” โดยนำชื่อมาจากเกาะบิกีนีอะทอลล์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก[6][7] ซึ่งก่อนหน้านั้นสี่วัน สหรัฐอเมริกาได้เริ่มทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก เป็นส่วนของโครงการ โอเปอเรชั่น ครอสโรด ชื่อภาษาอังกฤษของเกาะมาจากชาวเยอรมันชื่อ บิกีนี ที่ตั้งให้เกาะอะทอลล์ขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมัน นิวกีนี ซึ่งเป็นการรับเอาคำของภาษามาร์แชลมาใช้ จากชื่อ พิกินนี ([pʲi͡ɯɡɯ͡inʲːii̯]), หมายถึง ผิวของมะพร้าว เรอาร์ หวังว่าชุดว่ายนู้ปแบบที่เปิดเผยของเขาจะสามารถสร้างปรากฏการณ์นิยมอย่างดังระเบิดได้ทั้งทางการตลาดและในเชิงวัฒนธรรม เช่นเดียวกับการระเบิดที่เกาะบิกีนีอะทอลล์[8] Réard hoped his swimsuit's revealing style would create an "explosive commercial and cultural reaction" similar to the explosion at Bikini Atoll.[9][10][11][12][13] ชื่อสำหรับชุดของเขาจึงเป็นที่ติดหูของสื่อมวลชนและสาธารณชน[11]
ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงทางภาษา เช่น bilingual และ bilateral ที่มีคำนำภาษาละตินว่า “bi-” (แปลว่า “สอง” ในภาษาละติน) คำว่า บิกีนี กลายคำมาจากคำสองส่วน [bi+kiji] โดย รูดิ เกิร์นไรค ผู้แนะนำ โมโนกีนี ในปี พ.ศ. 2507[14][15][16] Later swimsuit designs like the tankini and trikini further cemented this false assumption.[17] ชุดว่ายน้ำรูปแบบต่อมา เช่น แทงกีนี และ ไตรกีนี ยิ่งทำให้ยึดติดกับการทึกทักความหมายที่ผิดนี้มากขึ้น เวลาต่อมา คำในหมวด –กีนี (ตั้งชื่อโดยนักเขียน วิลเลียม ซาไฟร์[18]) รวมถึงหมวดคำ –อินี (ตั้งชื่อโดยดีไซเนอร์ แอนน์ โคล[19]) บิกีนีได้กลายมาสู่รูปแบบที่หลากหลาย โดยมากมักจะมีชื่อเฉพาะที่แปลกใหม่[20] ไม่ว่าจะเป็น โมโนกีนี (นูโมกีนี หรือ ยูนิกีนี) ซีกีนี แทงกีนี คามิกีนี ไฮกีนี (ฮิปกีนี) มินิกีนี และ ไมโครกีนี
ประวัติ
[แก้]ยุคโบราณ
[แก้]จุดเริ่มต้นของชุดว่ายน้ำสองชิ้นสามารถย้อนไปถึงยุคโบราณที่เมือง ชาตัลเฮอยืค ในภาพแสดงเทพธิดาทรงเสือดาวสองตัว โดยสวมชุดแต่งกายในลักษณะคล้ายบิกีนี[4] และในสมัยจักรวรรดิเกรโก-โรมัน ซึ่งปรากฏภาพชุดแต่งกายเหมือนบิกีนีที่นักกีฬาหญิงสวมใส่ บนโกศและภาพวาดในสมัย 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช[21] ในภาพชุด Coronation of the Winner งานโมเสกบนพื้นของโรมันวิลลาในซิซิลี ซึ่งอยู่ในช่วงยุคไดโอเคลเตียน (ค.ศ. 286-305) แสดงภาพหญิงสาวที่ร่วมการแข่งขันยกน้ำหนัก ขว้างจักร และ เลี้ยงลูกบอลในชุดคล้ายบิกีนี (แบนโดกีนี ในสมัยปัจจุบัน)[5][22] ภาพโมเสก ที่ถูกพบในวิลลาโรมานา เดล คาซาเล ของซิซิลี แสดงภาพหญิงสาวสิบคนซึ่งถูกเรียกชื่อดูไม่เข้ากับยุคสมัยว่า “บิกีนี เกิร์ล” [23][24] โบราณคดีโรมัน ค้นพยภาพวาดเทพีวีนัส ในเครื่องแต่งกายที่คล้ายกัน ในปอมเปอี ภาพวาดของเทพีวีนัสได้ถูกค้นพบในคาซาเดลลาเวเนเร[25][26][27] ในห้องทำงานของบ้านฟีลิกซ์จูเลีย[28] และในสวนกลางอาคารของ เวีย เดล แอบบอนแดนซา[29]
ก่อนจะมาเป็นบิกีนี
[แก้]การว่ายน้ำหรืออาบน้ำกลางแจ้งไม่ได้รับการสนับสนุนจากคริสเตียนตะวันตก ส่งผลให้อุปสงค์หรือความต้องการชุดว่ายน้ำหรือชุดอาบน้ำมีน้อยจนกระทั่งศตวรรษที่ 18 ชุดอาบน้ำสำหรับศตวรรษที่ 18 คือชุดเสื้อคลุมยาวกรอมเท้า ในแบบเสื้อตัวหลวมที่มีแขนยาวทำมาจากขนแกะหรือผ้าสักหลาด ความพอประมาณหรือความสุภาพจึงไม่ถูกคุกคาม[30]
ในปี พ.ศ. 2450 แอนเนตต์ เคลเลอร์แมน นักว่ายน้ำและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ถูกจับกุมที่ชายหาดบอสตัน จากการสวมใส่ชุดว่ายน้ำชิ้นเดียวแขนกุดที่รัดรูปปกปิดจากคอถึงนิ้วเท้าโดยเป็นชุดที่เธอรับแบบมาจากอังกฤษ[30] ถึงแม้ว่าชุดว่ายน้ำสำหรับผู้หญิงจะเป็นที่ยอมรับกันในบางส่วนของยุโรปในปี พ.ศ. 2453 แล้วก็ตาม[31] ในปี พ.ศ. 2456 คาร์ล แจนแซ่น ดีไซเนอร์ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากการแข่งขันว่ายน้ำหญิงในโอลิมปิก ได้ออกแบบชุดว่ายน้ำสองชิ้นชุดแรกขึ้น ชุดรัดรูปชิ้นเดียวที่ท่อนล่างเป็นขาสั้น และท่อนบนเป็นแขนสั้น[32]
ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2463 และปี พ.ศ. 2473 ผู้คนเริ่มเปลี่ยนจาก “การลงเล่นน้ำ” ไปเป็น “การอาบแดด” ที่โรงอาบน้ำ และ สปา การออกแบบชุดว่ายน้ำจึงเปลี่ยนจากการเน้นด้านการใช้งานไปเป็นเพื่อประดับตกแต่ง เรยอน ถูกนำมาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2463 ในการผลิตชุดว่ายน้ำแบบรัดรูป[33] หากแต่ความทนทานโดยเฉพาะเมื่อเปียกน้ำยังคงเป็นปัญหา[34] มีการนำผ้ายืด และ ผ้าไหม มาใช้บ้าง ในปี พ.ศ. 2473 ผู้ผลิตได้ลดระดับคอเสื้อให้ต่ำลง เอาแขนเสื้อออก และปรับด้านข้างให้กระชับตัวขึ้น ด้วยผ้าแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะผ้ายางเลเท็กซ์ และ ผ้าไนล่อน[35] ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา ชุดว่ายน้ำค่อย ๆ รัดรูปมากขึ้นโดยมีสายคล้องไหล่ที่สามารถปลดลงได้เพื่อการทำให้ผิวสีแทน[36]
ชุดว่ายน้ำของผู้หญิงในช่วงยุคปี พ.ศ. 2473 และ ปี พ.ศ. 2483 รวมไปถึงการเพิ่มสัดส่วนของช่วงหน้าท้องที่เปิดเผยมากขึ้น นิตยสารวัยรุ่นในช่วงปลายยุคปีพ.ศ. 2483 และ ปี พ.ศ. 2493 ได้แสดงชุดว่ายน้ำรูปแบบเดียวกันที่เปิดเผยช่วงหน้าท้อง อย่างไรก็ตามแฟชั่นที่เปิดหน้าท้องนี้ คงไว้สำหรับชายหาดและงานที่ไม่เป็นทางการ โดยมองว่าไม่สุภาพสำหรับการสวมใส่ในที่สาธารณะ[37] ฮอลลีวุดสนับสนุนชุดที่เย้ายวนใจนี้ในภาพยนตร์ เช่น ลูกสาวเนปจูน ซึ่ง เอสเทอร์ วิลเลียม ใส่ชุดที่ดูยั่วยวนมีชื่อ เช่น สองแง่สองง่าม (ดู-บล' อังทาง-ดร') และ เด็กน้อยที่รัก (ฮันนี ไชด์)[38]
บิกีนี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2489 ณ กรุงปารีส นักออกแบบแฟชั่น ฌัก แอ็ง ได้เปิดตัวชุดว่ายน้ำสองชิ้นที่เรียกว่า อะตอม ตามชื่อหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร[11] ซึ่งเขาโฆษณาว่าเป็นชุดว่ายน้ำที่เล็กที่สุดในโลก ท่อนล่างของชุดว่ายน้ำนี้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะปิดสะดือของผู้สวมใส่ได้
ในช่วงเวลาเดียวกัน หลุยส์ เรอาร์ ได้ออกแบบชุดว่ายน้ำสองชิ้นของเขาเองเพื่อมาแข่งขันกัน โดยเขาเรียกว่า เดอะบิกีนี [39] ชุดบิกีนีของเรอาร์ เหนือกว่าอะตอมของแอ็งที่ความสั้นกะทัดรัด เป็นชุดในรูปแบบเสื้อชั้นในและผืนผ้าสามเหลี่ยมสองชิ้นที่ต่อกันด้วยสายผ้า โดยชิ้นล่างได้ตัดผ้าส่วนบนแบบขแงแอ็งออกไป ด้วยขนาดรวมของผ้า 30 ตารางนิ้ว (200 ซ.ม.2) ด้วยลายพิมพ์แบบหนังสือพิมพ์ซึ่งใช้คำโฆษณาว่า “เล็กกว่าชุดว่ายน้ำที่เล็กที่สุด” [40][41]
หลังจากที่ไม่สามารถหานางแบบมาแสดงชุดที่วาบหวิวของเขาได้[42] เรอาร์ได้ว่าจ้าง มิเชอลิน เบอร์นาร์ดินี นักเต้นระบำเปลื้องผ้า วัย 19 ปี จาก คาสิโน เดอ ปารีส[43] โดยเบอร์นาร์ดินีได้รับจดหมายจากผู้ที่ชื่นชอบถึง 50,000 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย[6][32]
เรอาร์ กล่าวว่า “เช่นเดียวกับ [อะตอม] ระเบิด บิกีนีนั้นมีขนาดเล็กและมีอำนาจทำลายล้างสูง[44] ไดอาน่า วรีแลนด์ นักเขียนแวดวงแฟชั่นได้กล่าวถึงบิกีนีว่าเป็น ระเบิดอะตอมของแฟชั่น [44] ในงานโฆษณาเขาได้กล่าวว่าชุดว่ายน้ำไม่อาจเป็นบิกีนีที่แท้จริงได้ “หากไม่สามารถดึงรอดผ่านแหวนแต่งงานได้” [6] เลอ ฟิกาโร นักหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส เขียนว่า “ผู้คนถวิลหาความสุขง่าย ๆ จากทะเล และแสงแดด สำหรับผู้หญิงแล้ว การได้ใส่ชุดบิกีนีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการหลุดพ้นเป็นอิสระ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หากแต่เป็นการเฉลิมฉลองในอิสรภาพและการกลับคืนสู่ความสุขในชีวิต” [32]
ความสำเร็จของบิกีนีในช่วงแรกนี้ส่วนหนึ่งจึงมาจากการจำกัดปริมาณการใช้ผ้าภายหลังสงคราม[45]ดีไซน์ของเรอาร์เป็นที่นิยมส่งให้ธุรกิจของเขารุ่งเรืองในประเทศฝรั่งเศส จากข้อมูล WordIQ.com เป็นเวลานานกว่า 15 ปีที่ บิกีนีจะได้รับการยอมรับในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2494 บิกีนีถูกสั่งห้ามในเวทีการประกวดมิสเวิลด์ ในปี พ.ศ. 2500 บรีฌิต บาร์โด ใส่บิกีนีในภาพยนตร์ And God Created Woman ซึ่งสร้างตลาดสำหรับชุดว่ายน้ำในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2503 เพลงของไบรอัน ไฮแลนด์ Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ทำให้เกิดการซื้อบิกีนีอย่างมากมาย และในที่สุดบิกีนีก็เป็นที่นิยม ในปี พ.ศ. 2506 ภาพยนตร์ Beach Party นำแสดงโดย แอนเน็ต ฟูนิเซลโล และ แฟรงกี้ อวาลอน นำมาซึ่งภาพยนตร์หลายเรื่องที่มีบิกีนีเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมร่วมสมัย แม้ว่าดีไซน์ของแอ็ง จะเป็นชุดแบบแรกที่ปรากฏบนชายหาด แต่ชุดว่ายน้ำสองชิ้นรูปแบบของเรอาร์กลับเป็นบิกีนีแบบที่ติดตลาด[46][5] เมื่อชุดเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก คำเรียกนี้จึงกลายมาเป็นคำทั่วไปหรือคำสามัญที่ใช้สำหรับชุดว่ายน้ำสองชิ้นแทนที่แต่ดั้งเดิมใช้เรียกชื่อตราสินค้า
การต่อต้านจากสังคม
[แก้]เลน่า เลนเส็ก หนังสือ The Beach: The History of Paradise on Earth ปี พ.ศ. 2541[47]
แม้ชุดจะได้รับความสำเร็จช่วงเริ่มแรกในประเทศฝรั่งเศส ผู้หญิงทั่วโลกก็ยังคงยึดติดกับชุดว่ายน้ำชิ้นเดียวแบบดั้งเดิม และเมื่อยอดขายหยุดนิ่ง เรอาร์ก็กลับไปออกแบบและขายชุดทรงหลวม[48] แบบถูกธรรมเนียม ในปี พ.ศ. 2493 นิตยสารไทม์ สัมภาษณ์ เฟรด โคลด์[32] นักธุรกิจชุดว่ายน้ำชาวอเมริกัน ผู้เป็นเจ้าของบริษัทชุดว่ายน้ำตลาดแมส Cole of California[49] กล่าวว่าเขารู้สึก “รังเกียจบิกีนีที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส” เรอาร์เองก็เคยกล่าวว่า “ชุดว่ายน้ำสองชิ้นนี้เปิดเผยทุกอย่างของผู้หญิงยกเว้นเพียงชื่อกลางของเธอ”[50] ในปี พ.ศ. 2493 นิตยสารแฟชั่นโมเดิร์นเกิร์ล เขียนว่า “ไม่จำเป็นจะต้องเปลืองคำไปกับสิ่งที่เรียกว่าบิกีนี เพราะมันยากเกินจะคิดว่าผู้หญิงที่รู้จักกาลเทศะหรือมีสมบัติผู้ดีคนไหนจะใส่ชุดเช่นนี้[5][32]
ในปี พ.ศ. 2494 อีริค มอเรย์ ได้จัดการประกวดบิกีนี เพื่อประกวดสาวงาม และโฆษณาชุดว่ายน้ำในงานประจำปีของเทศกาลอังกฤษ สื่อมวลชนให้การตอบรับการประกวดอย่างดีโดยเรียกงานนี้ว่า มิสเวิลด์[51][52] ซึ่งมอเรย์ได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า[53] เมื่อ กิกิ ฮาแกนสัน ผู้ชนะการประกวดจากประเทศสวีเดนได้รับการสวมมงกุฎในชุดบิกีนี หลายชาติที่เคร่งในศาสนาได้ขู่ที่จะถอนตัวแทนประจำชาติออก เพื่อคลายความโกรธที่เกิดขึ้น มอเรย์จึงสั่งห้ามบิกีนีในการประกวดนางงาม และเปลี่ยนเป็นชุดราตรีแทน[54]ฮาแกนสันจึงเป็นผู้ชนะการประกวดมิสเวิลด์คนเดียวที่ได้รับการสวมมงกุฎในชุดบิกีนี และหลังจากนั้นบิกีนีก็ถูกสั่งห้ามจากเวทีการประกวดสาวงามในหลายประเทศทั่วโลก[55][56] ชุดว่ายน้ำถูกประกาศให้เป็นสิ่งซึ่งผิดศีลธรรมโดยวาติกัน และถูกสั่งห้ามในประเทศแถบชายฝั่งแอตแลนติกฝรั่งเศส[3] เช่น สเปน เบลเยี่ยม อิตาลี โปรตุเกส และ ออสเตรเลีย อีกทั้งยังถูกห้ามหรือไม่สนับสนุนในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา[57][58] National Legion of Decency กลุ่มโรมันคาทอลิกซึ่งควบคุมดูแลเนื้อหาของสื่อในสหรัฐอเมริกาได้กดดันฮอลลีวุดจากการนำเสนอบิกีนีในภาพยนตร์ต่าง ๆ[59] ในช่วงปี พ.ศ. 2473 มีการเริ่มใช้ระบบการเซ็นเซอร์ที่เรียกว่า Hays production code สำหรับภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมาถูกยกเลิกในปีช่วงปี พ.ศ. 2503 ที่อนุญาตให้แสดงชุดว่ายน้ำสองชิ้นแต่มิให้เปิดเผยส่วนสะดือ ในปี พ.ศ. 2502 แอนน์ โคล ผู้ออกแบบชุดว่ายน้ำรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ไม่มีอะไรมากกว่า จี-สตริง มันเป็นความสุภาพเรียบร้อยในขั้นสุด”[60]
การพุ่งสู่ความนิยม
[แก้]ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2493 ดาราฮอลลีวุด เช่น เอวา การ์ดเนอร์ ริต้า เฮย์เวิร์ท ลาน่า เทอเนอร์ [61][62] อลิซาเบธ เทย์เลอร์ [63] ทิน่า ลูอิส [64] มาริลีน มอนโร[65] เอสเทอร์ วิลเลียม และ เบ็ตตี้ เกรเบิล[66] ได้สร้างชื่อด้วยภาพลักษณ์ที่เร่าร้อนจากการสวมใส่บิกีนีถ่ายแบบ ภาพโปสเตอร์ของ เฮย์เวิร์ท และ วิลเลียมได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา[32] ในยุโรป บรีฌิต บาร์โด ถูกถ่ายภาพขณะสวมชุดบิกีนีที่ชายหาดในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน ในปี พ.ศ. 2496 เช่นเดียวกับภาพของ อานิต้า เอคเบิร์ก และ โซเฟีย ลอเรน ภาพถ่ายในรูปแบบที่เย้ายวนใจของนักแสดงหรือนางแบบชื่อดังกลายเป็นที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่งผลสำคัญให้บิกีนีพุ่งสู่ความนิยมในกระแสหลัก
เดอะการ์เดียนรายงานว่า ภาพของบาร์โดทำให้ เซนต์โทรเปส กลายเป็นเมืองหลวงแห่งบิกีนีของโลก โดยมีบาร์โดเป็นต้นแบบของสาวงามในชุดว่ายน้ำแห่งเมืองกาน ภาพถ่ายของบาร์โดช่วยส่งให้งานเทศกาลเป็นที่รู้จัก ขณะเดียวกันงานเมืองงานก็ถือเป็นจุดหักเหสำคัญของหน้าที่การงานของเธอในปี พ.ศ. 2495 บาร์โดใส่บิกีนีในภาพยนตร์ Manina, the Girl in the Bikini (พ.ศ. 2495 ฉายประเทศฝรั่งเศสในชื่อ Manina, la fille sans voiles) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญด้วยชุดว่ายน้ำของเธอที่ดูจะเกินควรไป ในปี พ.ศ. 2496 ที่งานเทศกาลเมืองกาน บาร์โด มาร่วมงานพร้อมสามีและผู้จัดการ โรเจอร์ วาดิม ได้รับความสนใจจากช่างภาพด้วยการสวมบิกีนีบนชายหาดทางตอนใต้ของฝรั่งเศส นิตยสารโว้ก เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2496 ลงภาพชุดโดยบริษัทแคลิฟอร์เนีย ไมว่าจะเป็น โคลด์ ออฟ แคลิฟอร์เนีย คาลเท็กซ์ แคทาลิน่า แอนด์ โรส แมรี่ รีดส์ เพลงของไบรอัน ไฮแลนด์ "Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini" ขึ้นอันดับ 1 ของ ชาร์ตบิลบอร์ด ในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2503 บอกเล่าเรื่องราวของหญิงสาวที่เขินอายที่จะใส่บิกีนีบนชายหาดโดยคิดว่ามันโป๊เปลือยเกินไป นิตยสารเพลย์บอย ขึ้นปกชุดบิกีนีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 นิตยสารสปอร์ต อิลัสเตรท ฉบับชุดว่ายน้ำ ได้เปิดตัวในสองปีต่อมาด้วยปกของ บาเบ็ทท์ มาร์ช ในชุดบิกีนีสีขาว
เออร์ซูล่า แอนเดรส สวมบทบาทฮันนีไรเดอร์ ในปี พ.ศ. 2505 ในภาพยนตร์เจมส์บอนด์ ดร.โน สวมบิกีนีสีขาวซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักว่า “ดร.โน บิกีนี” ได้รับการพูดถึงว่าเป็นบิกีนีที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล และเป็นสัญลักษณ์ในโลกภาพยนตร์ และประวัติศาสตร์วงการแฟชั่น[67][68][69] แอนเดรสกล่าวว่าเธอเป็นหนี้บุญคุณบิกีนีขาวชุดนั้น “บิกีนีชุดนี้ทำให้ฉันประสบความสำเร็จ จากการแสดงเป็นสาวบอนด์ ในภาพยนตร์ ดร.โน ฉันได้มีอิสระที่จะเลือกบทบาทการแสดงในอนาคต และยังได้รับอิสระทางการเงินอีกด้วย” [67][70] ในปี พ.ศ. 2544 แอนเดรส ขาย ดร.โน บิกีนี ที่เธอใส่ในภาพยนตร์ในงานประมูลชุดไปด้วยราคา 35,000 ปอนด์ (61,500 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปี พ.ศ. 2508 หญิงคนหนึ่งกล่าวกับนิตยสารไทม์ ว่า “เกือบจะถือว่าโบราณ ถ้าไม่ใส่บิกีนี” จากนั้นสองปีต่อมา นิตยสารก็เขียนว่า หญิงสาวร้อยละ 65 ให้การยอมรับบิกีนี[61] ราเควล เวลซ์ ใส่บิกีนีหนังกวางในภาพยนตร์ in One Million Years B.C. (พ.ศ. 2509) ซึ่งส่งให้เธอดังเป็นสาวโปสเตอร์ทันที บทบาทของเธอในบิกีนีขนสัตว์ส่งให้เธอเป็นสัญลักษณ์ในแวดวงแฟชั่น และรูปภาพของเธอในชุดบิกีนีกลายเป็นภาพโปสเตอร์ที่ขายดีที่สุด[83] เวลซ์ ปรากฏกายในโฆษณาในฐานะ “ผู้สวมใส่บิกีนีชุดแรกของมวลมนุษยชาติ” และต่อมาบิกีนีขนสัตว์ก็กลายเป็นรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบในช่วงยุค พ.ศ. 2503 ในปี พ.ศ. 2554 นิตยสารไทม์ จัดอันดับให้บิกีนี B.C. ของเวลซ์ เป็น “หนึ่งในสิบของบิกีนียุควัฒนธรรมร่วมสมัย” [67][70]
ปี พ.ศ. 2510 ในงานภาพยนตร์ An Evening in Paris [71] เป็นที่จดจำจนถึงทุกวันนี้เพราะนักแสดงสาวบอลลีวู้ด ชาร์มิล่า ทากอร์ ได้กลายเป็นนักแสดงหญิงอินเดียคนแรกที่ใส่บิกีนีในภาพยนตร์[72] เธอยังได้ถ่ายแบบในชุดบิกีนีในนิตยสาร Filmfare[73][74] ซึ่งชุดได้สร้างความตกตะลึงในกลุ่มชาวอินเดียที่อนุรักษนิยม[75] แต่ยังได้สร้างกระแสต่อไปโดยซีแนท อามัน ใน Heera Panna (พ.ศ. 2516) และ Qurbani (พ.ศ. 2523)[76] ดิมเพิ่ล กาปาเดีย ใน Bobby (พ.ศ. 2516) และ ปาร์วีน บาบิ ใน Yeh Nazdeekiyan (พ.ศ. 2525)[76][77]
การยอมรับจากมวลชน
[แก้]ปี พ.ศ. 2540 เจมี่ ฟอกซ์ นางงามแมริแลนด์ กลายเป็นผู้เข้าประกวดคนแรกใน 50 ปี ที่เข้าแข่งในชุดว่ายน้ำสองชิ้นในช่วงการประกวดชุดว่ายน้ำรอบคัดเลือกของเวทีการประกวดมิสอเมริกา.[78] ถึงแม้ว่าชุดว่ายน้ำแบบชิ้นเดียวจะกลับมานิยมในช่วงปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2541[79] บริษัทของเรอาร์ปิดลงในปี พ.ศ. 2531[80] สี่ปีหลังจากที่เขาเสียชีวิต[81] ในช่วงปลายศตวรรษ บิกีนีกลายเป็นชุดว่ายน้ำที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก โอลิวิเย่ร์ เซราท นักประวัติศาสตร์ด้านแฟชั่นชาวฝรั่งเศสกล่าวถึงเหตุนี้ว่าเป็นเพราะ “พลังของผู้หญิง ไม่ใช่พลังของแฟชั่น” เขาอธิบายว่า “การปลดปล่อยเป็นอิสระของชุดว่ายน้ำมักถูกเชื่อมโยงไปยังการปลดปล่อยสู่อิสรภาพของผู้หญิง”[5] ถึงแม้แบบสำรวจหนึ่งจะชี้ว่าบิกีนีร้อยละ 85 ไม่เคยสัมผัสกับน้ำเลย[82] เหล่านักแสดงสาวในภาพยนตร์แอคชั่น นางฟ้าชาลี Full Throttle และBlue Crushได้สร้างให้ชุดว่ายน้ำสองชิ้นกลายเป็น “ความเท่าเทียมในสหศวรรษกับชุดเกราะ” จีน่า เบลลาฟอนเต้ กล่าวในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์[32]
ที่เมืองหูหลูเต่า ในเขตมณฑลเหลียวหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สร้างสถิติโลกจากการเดินพาเหรดบิกีนีที่ใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2555 ด้วยผู้ร่วมงาน 1,085 คน และมีการถ่ายรูปผู้หญิง 3,090 คน[83][84] เบ็ธ ดินคัฟ ชาร์ลตัน ผู้ร่วมวิจัยแห่งสถาบัน Costume Institute of the Metropolitan Museum of Art กล่าวว่า “บิกีนีแสดงถึงการก้าวกระโดดทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงร่างกาย ข้อคำนึงทางศีลธรรม และทัศนคติทางเพศ” [32] ในช่วงต้นยุคปี พ.ศ. 2543 บิกีนีกลายเป็นธุรกิจทีสร้างรายได้ 811 ล้านดอลลลาร์ต่อปี อ้างอิงจาก NPD Group บริษัทด้านข้อมูลผู้บริโภคและธุรกิจค้าปลีก,[85] และได้จุดประกายให้เกิดธุรกิจใหม่ เช่น บิกีนีแวกซ์ และ การทำผิวสีแทน[86]
รูปแบบหลากหลายของบิกีนี
[แก้]คำว่า “บิกีนี” เริ่มแรกถูกนำไปใช้กับชุดว่ายน้ำที่เปิดเผยส่วนสะดือของผู้สวมใส่ แต่ปัจจุบันนี้วงการแฟชั่นใช้คำว่าบิกีนีกับชุดว่ายน้ำสองชิ้นทุกรูปแบบ[87] แฟชั่นบิกีนียุคใหม่ได้จำแนกลักษณะของดีไซน์เรียบง่ายคือ ผ้าสามเหลี่ยมสองชิ้นในรูปแบบเสื้อชั้นในที่ปกปิดหน้าอก และผ้าชิ้นที่สามในรูปแบบกางเกงชั้นในที่อยู่ต่ำกว่าสะดือที่ปกปิดช่วงขาหนีบและบั้นท้าย[1] การปกปิดร่างกายอาจหลากหลาย จากแบบที่เปิดเผยอย่าง พิวบิกีนี ไมโครกีนี และ สตริง บิกีนี ไปจนถึงดีไซน์ที่ปกปิดมากขึ้น เช่น แทงกีนี สเกิร์ตตินี และ แบนโดกีนี[88]
บิกีนีสามารถ และมีการทำมาจากวัสดุผ้าทุกรูปแบบ เส้นใยผ้า และวัสดุอื่น ๆ ที่นำมาทำบิกีนีนั้นเป็นส่วนสำคัญของดีไซน์[89] T ผ้าฝ้ายทำให้ชุดว่ายน้ำใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และเพิ่มการยืดของผ้าจากแบบที่เรียบง่ายในยุคปี พ.ศ. 2503 ในช่วงแรกบิกีนียุคใหม่ทำมาจากผ้าฝ้ายและผ้ายืด ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2503 ดูปองท์ เปิดตัวไลคร่า (สเปนเด็กซ์) ซึ่งเปลี่ยนวิธีการออกแบบ และการสวมใส่บิกีนีอย่างสิ้นเชิง เคลลี่ คิโลเร็น เบนซิมอน อดีตนางแบบ และผู้เขียนหนังสือ เดอะ บิกีนี กล่าวว่า “ไลคร่าทำให้มีผู้หญิงที่อยากใส่บิกีนีมากขึ้น มันไม่หย่อนยาน ไม่โป่งนูน มันปกปิดและเปิดเผย ทำให้ไม่เหมือนกับชุดชั้นในอีกต่อไป”[90] ผ้าอื่น ๆ เช่น กำมะหยี่ หนัง และผ้าถักไหมพรมถูกนำมาใช้ในช่วงต้นยุคปี พ.ศ. 2513[1]
ความหลากหลายของบิกีนีได้รวมถึงรูปแบบต่าง ๆ ที่เปิดเผยไม่มากก็น้อย เช่น สตริง บิกีนี โมโนกีนี (เปลือยท่อนบน) ซีกีนี (โปร่งใส) แทงกีนี ([[แขนกุด]ท่อนบน บิกีนีท่อนล่าง) แคมิบิกีนี (ชุดชั้นในท่อนบน บิกีนีท่อนล่าง) ฮิกีนี (หรือฮิปกีนี) “แกรนนี บิกีนี” (บิกีนีท่อนบน ขาสั้นท่อนล่าง) ธอง มินิกีนี ไมโครกีนี มินิมินี สลิงช็อต แบบผูกด้านข้าง และรูปหยดน้ำตา[20][91] ในการแสดงแฟชั่นครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2528 มีการแสดงชุดแบบสองชิ้นกับเสื้อแขนกุด แทนแบบที่ใช้เกาะอก ชุดที่เหมือนบิกีนีด้านหน้า และแบบชิ้นเดียวด้านหลัง สายรั้งกางเกง มีระบายเป็นชั้น ๆ และแบบเปิดสะดือผ่าลึก[92] เครื่องประดับเหล็กและหินมักถูกใช้เพื่อตกแต่งรูปลักษณ์ตามรสนิยม และเพื่อตอบสนองความต้องการ ผู้ผลิตหลายรายทำชุดบิกีนีตามสั่งให้แก่ลูกค้าโดยใช้เวลาเพียงเจ็ดนาที[93] บิกีนีที่แพงที่สุดในโลกถูกออกแบบในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดย ซูซาน โรเซ่น ประกอบด้วยเพชร 150 กะรัต (30 กรัม) ซึ่งมีราคา 20 ล้านปอนด์[94]
รูปแบบหลัก
[แก้]Variant | Image | First | Description |
---|---|---|---|
แบนโดกีนี | แบนโดกีนี (หรือแบนดินี)[95]คือ บิกีนีท่อนล่างโดยมีเกาะอกท่อนบน (ไม่มีสายเหนือบ่า)[96][97]เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วอีกครั้งในกลุ่มสาวรุ่น[98] แบบเกาะอกส่วนบนมียอดขายมากกว่าแทงกีนีแบบธรรมดา [99]บางครั้งชุดแบบเดียวกันก็เรียกว่า แบนโดกีนี และ แทงกีนี [100] | ||
ไมโครกีนี | 2538 | ไมโครกีนี รวมไปถึง มินิกีนี และ มินิมินี คือชุดบิกีนีชิ้นเล็กสุด[101] ออกแบบสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชายโดยมากจะมีผ้าขนาดที่พอจะปกปิดอวัยวะเพศได้เท่านั้น และปกปิดหัวนมสำหรับผู้หญิง ถ้ามีสายเพิ่มก็เพียงใช้เพื่อยึดผ้าเข้ากับตัวผู้สวมใส่ รูปแบบอื่นของไมโครกีนีใช้ที่ติดหรือเส้นลวดเพื่อยึดผ้าให้อยู่เหนืออวัยวะเพศ ไมโครกีนีทำให้ผู้สวมใส่อยู่ในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตในแง่ความสุภาพเรียบร้อย และอยู่ในช่องว่างระหว่างชุดว่ายว่ายน้ำที่เปลือยกาย และอนุรักษนิยม[102] | |
โมโนกีนี | 2507 | โมโนกีนี (ยูนิกีนีหรือนูโมกีนี) คือ ชุดว่ายน้ำผู้หญิงชิ้นเดียวเหมือนกับท่อนล่าง[103] ปัจจุบันคำว่าโมโนกีนีใช้กับชุดว่ายน้ำแบบใดก็ตามที่เปลือยท่อนบน[104] โดยเฉพาะบิกีนีท่อนล่างที่ไม่มีท่อนบน[105] | |
พิวบิกีนี | 2528 | ดีไซเนอร์ รูดิ เกิร์นไรค เผยโฉม พิวบิกีนี ชุดว่ายน้ำซึ่งออกแบบมาเพื่อเปิดเผยบริเวณหัวหน่าวของผู้สวมใส่ ในปี พ.ศ. 2528[106]โดยท่อนล่างมีลักษณะธอง [107] โดยด้านหน้าของพิวบิกีนีเป็นผ้ารูปทรง V ผืนเล็กที่อยู่ต่ำกว่าหัวหน่าวของผู้หญิง โดยเปิดเผยขนหัวหน่าว และบางส่วนของอวัยวะเพศ.[108] | |
สเกิร์ตตินี | สเกิร์ตตินี มีลักษณะบิกีนีท่อนบน และกระโปรงท่อนล่างซึ่งนับเป็นการคิดค้นบิกีนีในรูปแบบใหม่ที่ปกปิดมากขึ้น[109] ชุดว่ายน้ำสองชิ้นที่มีแถบกระโปรงเคยเป็นที่นิยมในอเมริกาก่อนที่รัฐบาลสั่งลดการใช้ผ้าสำหรับตัดชุดว่ายน้ำลงร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2486 เป็นการปันส่วนในช่วงสงคราม[110]ในปี พ.ศ. 2554 หนังสือพิมพ์เดลี่กราฟ จัดให้บิกีนีกระโปรงเป็นหนึ่งในสิบแบบของชุดว่ายน้ำแห่งฤดูกาล [111] | ||
สลิงบิกีนี | สลิงบิกีนี (รู้จักกันว่า สลิงกีนี บิกีนีสายหรือชุดว่ายน้ำแบบสาย) เป็นชุดต่อกันหรือชุดแบบชิ้นเดียวซึ่งเปิดเผยด้านข้างลำตัว และบั้นท้ายส่วนใหญ่เหมือนกับธองเช่นเดียวกับโมโนกีนี เมื่อออกแบบให้ผู้ชายใส่ โดยปกติสายดึงจะเหมือนบิกีนีชิ้นล่างซึ่งสายด้านข้างดึงขึ้นข้างบนเพื่อปกปิดหน้าอกและดึงขึ้นไปเหนือบ่าหรือคล้องรอบคอ ขณะที่สายคู่ที่สองจะพันรอบกลางลำตัว (รู้จักในชื่อ เพรทเซล บิกีนี หรือ ชุดว่ายน้ำเพรทเซล)[112] พร้อมกันกับการเกิดขึ้นของไลคร่า ชุดว่ายน้ำสายปรากฏในช่วงต้นยุคปี พ.ศ. 2533 และเป็นที่นิยมมากกว่าในแถบชายหาดยุโรป[113] สลิงบิกีนีเปิดตัวในกระแสหลักในปี พ.ศ. 2537 และหลายเป็นความนิยมทันทีในร้านค้าใหญ่ ๆ ของนครนิวยอร์ก [114] | ||
สตริงบิกีนี | 2517 | สตริงบิกีนี (หรือแบบผูกข้าง) ได้ชื่อมาจากรูปแบบชุดที่ประกอบด้วยผ้าสามเหลี่ยมสองชิ้นที่ติดกันตรงส่วนขาหนีบ ไม่ใช่ด้านข้าง โดยมีเส้นบาง ๆ ผูกรอบเอวเชื่อมทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน การแสดงชุดสตริงบิกีนีครั้งแรกเกิดขึ้นโดย เกล็น โทโรริช นักประชาสัมพันธ์ และภรรยาของเขา เพอเร็ต-ดูฮอน นางแบบแฟชั่น ในงานเปิดตัวของแหล่งช็อปปิ้ง เลอ เปอติส เซ็นเตอร์ ในย่านฝรั่งเศสของนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียน่า ในปี พ.ศ. 2517 สตริงบิกีนีเป็นหนึ่งในแบบชุดบิกีนีที่เป็นที่นิยม[115] | |
แทงกีนี | 2541 | แทงกีนีเป็นชุดว่ายน้ำที่รวมเอาแขนกุด และบิกีนีท่อนล่าง ในช่วงปลายยุคปี พ.ศ. 2533 [96][116][117] ที่ส่วนใหญ่ทำจากสเปนเด็กซ์และผ้าฝ้าย หรือไลคร่ากับไนล่อน [118]อีกรูปแบบคือแคมกีนี ที่มีสายสปาเก็ตตี้แทนสายแขนกุดเหนือบิกีนีท่อนล่าง[119] | |
ไตรกีนี | 2510 | ไตรกีนี ปรากฏครั้งแรกสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2510 ถูกนิยามว่าเป็นผ้าเช็ดหน้าและจานรองเล็ก ๆ สองใบ โดยกลับมาอีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในรูปแบบบิกีนีท่อนล่างและสายโยงผ้าสามเหลี่ยมสองชิ้นที่ปกปิดหน้าอก[120] ไตรกีนีชิ้นบนโดยมากจะเป็นผ้าสองส่วนที่แยกกัน[121] ชื่อของชุดว่ายน้ำแบบนี้มาจากคำว่าบิกีนี โดยแทนที่คำว่า “bi” ที่หมายความว่า “สอง” ด้วย “tri” ที่แปลว่า “สาม” [122] Dolce & Gabbana ออกแบบไตรกีนีในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2548 ในแบบโลหะมันวาวสามชิ้นซึ่งแทบจะปกปิดส่วนสำคัญไม่ได้[123]และมีแบบที่ขายสามชิ้นเป็นผ้าที่ต่อกันเป็นผืนเดียว[124] เรียกว่า บิกีนีไร้สาย[125] หรือ บิกีนีไม่มีสาย [126][127]จากผู้ผลิตหลายราย ชุดว่ายน้ำแบบนี้มักเป็นการรวมกันของชิ้นผ้าที่ปิดหัวนมที่เข้ากับชิ้นผ้าในส่วนล่าง |
ชุดชั้นในบิกีนี
[แก้]ชุดชั้นในบางแบบทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มชุดชั้นในบิกีนีด้วยความเหมือนกันทั้งขนาดและรูปแบบในส่วนท่อนล่างของชุดว่ายน้ำบิกีนี สำหรับผู้หญิง ชุดชั้นในบิกีนีหมายถึงชุดชั้นในแบบรัดรูป ชิ้นเล็กหรือแบบที่เปิดเผยส่วนสัดซึ่งให้การปกปิดช่วงกลางลำตัวน้อยกว่ากางเกงชั้นในทั่วไป สำหรับผู้ชาย บอกีนีคือชุดชั้นในซึ่งมีขนาดเล็กและเปิดเผยสัดส่วนมากกว่ากางเกงในขาสั้น บิกีนีอาจเอวต่ำหรือเว้าสูง แต่ส่วนใหญ่จะต่ำกว่าเอว มักอยู่ระดับสะโพก และโดยมากไม่มีกระเป๋าหรือชายกางเกง วงขาจะอยู่ตรงต้นขา บิกีนีสายจะมีส่วนหน้าและส่วนหลังซึ่งต่อกันตรงเป้ากางเกงโดยไม่เชื่อมต่อตรงเอว และไม่มีผืนผ้าด้านข้างทั้งสอง[128] ชุดว่ายน้ำ และชุดชั้นในมักมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันเนื่องจากสวมใส่แนบชิดร่างกาย ข้อแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองอย่างคือชุดว่ายน้ำนำให้ชุดชั้นในเปิดเผยต่อสาธารณะ[129] ชุดว่ายน้ำยังคงมีรูปแบบใกล้เคียงกับชุดชั้นใน[130] และขณะเดียวกันทัศนคติที่มีต่อบิกีนีก็เริ่มเปลี่ยนแปลง ชุดชั้นในถูกออกแบบไปสู่ขนาดที่เล็กลง ไม่มีตะเข็บซึ่งเน้นที่ความสบายเป็นอันดับแรก[131]
ประวัติ
[แก้]ขณะที่ชุดว่ายน้ำพัฒนาไป ชุดชั้นในก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ระหว่างปี พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2483 ความยาวของชุดว่ายน้ำก็เริ่มเปลี่ยนไปตามการออกแบบชุดชั้นใน[132] ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2463 ผู้หญิงเริ่มละทิ้งเสื้อยกทรงรัดรูป ขณะที่บริษัทคาโดลในกรุงปารีสเริ่มพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “สายรัดหน้าอก” [133] ในช่วงยุคมหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก กางเกงชั้นในและเสื้อยกทรงได้ริเริ่มทำขึ้น โดยใช้เส้นด้ายที่ยืดหยุ่นหลายแบบทำให้ชุดชั้นในพอดีตัวเหมือนผิวหนังชั้นที่สอง ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2473 รูปแบบของชุดชั้นในทั้งสำหรับผู้หญิงและผู้ชายได้รับอิทธิพลมาจากชุดว่ายน้ำทางยุโรป ถึงแม้ว่าช่วงเอวจะยังอยู่เหนือสะดือ แต่ช่วงขาก็ถูกยกเป็นโค้งจากเป้ากางเกงไปยังสะโพก กางเกงในนี้เป็นต้นแบบของกางเกงชั้นในแบบต่าง ๆ ตลอดช่วงศตวรรษ[134] ขนาดคัพยกทรงได้ถูกใช้เป็นมาตรฐานในปี พ.ศ. 2478 ยกทรงที่เสริมโครงลวดเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2481 ในช่วงต้นยุคปี พ.ศ. 2463 กางเกงสแกนต์ซึ่งเป็นกางเกงชั้นในแบบหนึ่งของผู้ชายเผยโฉมด้วยขอบขาที่สูง และมีระดับต่ำกว่าเอว[134] ฮาเวิร์ด ฮิวจ์ ออกแบบยกทรงดันทรงที่สวมใส่โดย เจน รัสเซล ใน The Outlaw ในปี พ.ศ. 2486 ในปี พ.ศ. 2493 เมดเดนฟอร์ม เปิดตัวยกทรงที่ดันทรงอย่างเป็นทางการครั้งแรก[133]
ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2503 ชุดว่ายน้ำบิกีนีส่งผลต่อรูปแบบของกางเกงชั้นใน และพอดีกับการมาของกางเกงยีนส์และกางเกงเอวต่ำ ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2513 พร้อมกับการมาของกางเกงยีนส์รัดรูป กางเกงในแบบธองกลายเป็นที่นิยม สายกางเกงทำให้ขอบเส้นกางเกงในหายไปทั้งส่วนหลังและส่วนสะโพก ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2523 รูปแบบกางเกงชั้นในฝรั่งเศสทำให้ขอบเอวกลับขึ้นไปสู่ระดับเอวปกติ และยกช่วงขอบขาขึ้นสูง (กางเกงในแบบฝรั่งเศสขอบสูงระดับเอว ขอบขาสูง และด้านหลังมักเต็มตัว[135]) เช่นเดียวกับยกทรงและชุดชั้นในแบบอื่น ๆ ในช่วงปลายศตวรรษ ผู้ผลิตมักทำตลาดกางเกงชั้นในที่ออกแบบมาเพื่อยั่วยวนทางเพศ[134] ในช่วงยุคนี้เป็นยุคของการโฆษณาที่ให้ความสำคัญทางเพศ และเป็นเชิงอีโรติกของร่างกายผู้ชายโดยตราสินค้า เช่น คาลวิน ไคลน์ โดยเฉพาะช่างภาพ บรูซ เวเบอร์ และ เฮิร์บ ริตต์ ชุดชั้นในของผู้ชายถูกดัดแปลงและบรรจุหีบห่อเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก ชุดว่ายน้ำและชุดกีฬาได้รับอิทธิพลจากภาพถ่ายกีฬา และฟิตเนส[136] ต่อมาชุดว่ายน้ำได้พัฒนาจากขนสัตว์ที่มีน้ำหนักไปเป็นผ้ารัดรูปที่ทันสมัย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นการผสมผสานระหว่างชุดกีฬา ชุดชั้นใน และชุดออกกำลัง ส่งผลให้เกิดแฟชั่นที่สลับเปลี่ยนกันได้ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2533[137]
บิกีนีกีฬา
[แก้]มีหลักฐานว่าผู้หญิงโรมันเล่น Expulsim Ludere หรือแฮนด์บอลยุคเริ่มแรก โดยส่วมใส่ชุดซึ่งถูกระบุว่าเป็น บิกีนี[138] บิกีนีกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดของกีฬาผู้หญิงหลายประเภทซึ่งก่อให้เกิดการต่อต้านอยู่บ้าง[138] บิกีนีเป็นเครื่องแบบกีฬาที่เป็นทางการของวอลเลย์บอลชายหาด และเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มนักกีฬา เมืองปอร์โตเซกูโร
วอลเลย์บอลชายหาด
[แก้]ในปี พ.ศ. 2537 บิกีนีกลายมาเป็นเครื่องแบบของการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดหญิงในโอลิมปิก ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่การกีฬาบางคนจะมองว่าเป็นการใช้เพื่อหาประโยชน์ และใช้งานไม่ได้จริงในอากาศที่หนาวเย็น[139] ผู้แข่งขัน เช่น นาตาลี คุก[140] และ ฮอลลี แมคพีค[141] เห็นด้วยกับถ้อยแถลงของ FIVB ที่ว่าชุดเครื่องแบบนี้เหมาะกับกีฬาที่เล่นบนทรายในช่วงอากาศร้อน แต่กระนั้นนักกีฬาโอลิมปิกชาวอังกฤษ เดนิส จอห์น ได้โต้แย้งว่าระเบียบของเครื่องแบบนี้มีเพื่อให้เกิดความเซ็กซี่ และเรียกร้องความสนใจ[142]
ในปี พ.ศ. 2542 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้กำหนดมาตรฐานชุดเครื่องแบบวอลเลย์บอลชายหาดให้ชุดว่ายน้ำเป็นเครื่องแบบจำเป็นสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง[143] ซึ่งทำให้เกิดความขุ่นเคืองของนักกีฬาหลายคน[144] ตามกฎระเบียบของ FIVB ผู้เล่นวอลเลย์บอลชายหาดหญิงสามารถเลือกเล่นโดยใส่ชุดกางเกงขาสั้นหรือชุดว่ายน้ำแบบชิ้นเดียว[145][146] แต่ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะใส่บิกีนี[141] ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2555 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติประกาศอนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น (ยาวไม่เกิน 3 ซ.ม. (1.2 นิ้ว) เหนือเข่า) และเสื้อมีแขนในการแข่งขันโอลิปิก ณ กรุงลอนดอน ริชาร์ด เบเกอร์ โฆษกของสหพันธ์ กล่าวว่า “มีหลายประเทศในกลุ่มที่มีเงื่อนไขทางศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเครื่องแบบจึงต้องปรับให้ยืดหนุ่นได้กว่านี้” [147] ในช่วงการแข่งขัน อากาศในลอนดอนในช่วงปี พ.ศ. 2555 หยาวเย็นมากจนบางครั้งผู้เข้าแข่งขันต้องใส่เสื้อเชิ้ต และกางเกงเลกกิ้ง[148] ในปี พ.ศ. 2549 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่โดฮา ประเทศการ์ตา มีประเทศในกลุ่มมุสลิมเพียงประเทศเดียวในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เนื่องจากข้อกังวลว่าชุดเครื่องแบบไม่เหมาะสม โดยทีมอิรักปฏิเสธที่จะสวมบิกีนี[149]
การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดกลายมาเป็นกีฬาทางโทรทัศน์ที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้า ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2543 ที่ชายหาดบอนดิ ประเทศออสเตรเลีย เนื่องมาจากความดึงดูดทางเพศของผู้เล่นหญิงสาวในชุดบิกีนี พอ ๆ กับความสามารถทางกีฬาของพวกเธอ[150] คิมเบอร์ลี่ บิสเซล ทำการศึกษาถึงมุมกล้องที่ใช้ในช่วงการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดในโอลิมปิก ปี พ.ศ. 2547 พบว่า ร้อยละ 20 ของมุมกล้องโฟกัสไปที่หน้าอกของผู่หญิง และ ร้อยละ 17 ที่บริเวณบั้นท้าย บิสเซล กล่าวเป็นทฤษฎีว่า รูปลักษณ์ของผู้เล่นสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากกว่าความสามารถทางกีฬาที่แท้จริง[151][152] ความนิยมของวิดีโอเกม Dead or Alive: Xtreme Beach Volleyball สำหรับ เอกซ์บอกซ์ ก็เนื่องมาจากหญิงสาวในบิผ้าชิ้นน้อย[153] ในปี พ.ศ. 2550 มีผู้คลั่งไคล้โหวตให้แก่ผู้เข้าแข่งขันใน ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ดีวาส์ หลังจากดูพวกเธอเล่นวอลเลย์บอลชายหาดในบิกีนีชุดจิ๋ว[154]
ในช่วงการแข่งขันโอลิมปิกปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักเต้นวาบหวิวจากกานาเรียส ได้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม แต่ก็เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายจากผู้แข่งขันหญิง[155][156] ในช่วงเวลาพักครึ่งระหว่างการแข่งขันกลุ่มคนในชุดบิกีนีได้วิ่งเข้าไปที่บริเวณชายหาดและเต้นประกอบเพลง เทคโน-ป๊อป นักกีฬาชาวออสเตรเลีย นิโคล แซนเดอสัน กว่าวว่า “มันเป็นการไม่ให้เกียรติผู้เล่นหญิง ฉันเชื่อว่าผู้ชมชายคงจะชอบมัน แต่ฉันคิดว่ามันเป็นการล่วงละเมิดกันไปสักนิด” [157]
กรีฑา
[แก้]ผู้หญิงที่แข่งกรีฑามักใส่บิกีนีที่มีขนาดเดียวกับประเภทวอลเลย์บอลชายหาด เอมี่ เอคัฟ นักกระโดดสูงชาวอเมริกัน ใส่บิกีนีหนังสีดำแทนที่จะใส่ชุดวิ่งในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2543[158] ฟลอเรนซ์ กริฟฟิธ จอยเนอร์ นักวิ่งที่สวมชุดผสมกันระหว่างบิกีนีท่อนล่างกับกางเกงรัดรูปหนึ่งข้าง ในการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2531 ซึ่งส่งให้เธอเป็นที่สนใจมากกว่าการทำลายสถิติวิ่งแข่ง 200 เมตรหญิง[159]
การแข่งขันเซาท์แปซิฟิกเกมส์ ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการปรับระเบียบอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่กางเกงขาสั้นที่เปิดเผยน้อยกว่า และเสื้อกีฬาสั้นแทนที่จะใส่บิกีนี.[160] ในการแข่งขันกีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันตก ปี พ.ศ. 2549 ผู้จัดการแข่งขันได้สั่งห้ามการใส่บิกกีนีท่อนล่างสำหรับนักกีฬาหญิง และขอให้ใส่กางเกงขาสั้นที่ยาวหน่อย[161]
เพาะกาย
[แก้]ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2493 ถึง กลางยุคปี พ.ศ. 2513 การประกวดของผู้ชายมักถูกเสริมด้วยการประกวดความงามของผู้หญิงหรือการแสดงบิกีนี ผู้ชนะจะได้รับตำแหน่ง เช่น นางงามรูปร่างสวย นางงามร่างกายแข็งแรง และ มิสอเมริกานา และเป็นผู้มอบถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดฝ่ายชาย[162] ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2523 เริ่มมีการประกวดมิสโอลิมเปียในสหรัฐอเมริกา และในสหราชอาณาจักร สมาพันธ์นักเพาะการสมัครเล่นแห่งชาติ (NABBA - National Amateur Body Building Association) ได้เปลี่ยนชื่อ มิสบิกีนี อินเตอร์เนชั่นแนล ไปเป็น มิสยูนิเวิร์สหรือนางงามจักรวาล ในปี พ.ศ. 2529 การประกวดมิสยูนิเวิร์สได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน “ร่างกาย” (เพื่อเน้นร่างกายที่มีกล้ามเนื้อ) และ “รูปร่าง” (การแสดงรูปร่างผู้หญิงสวมส้นสูงตามประเพณีนิยม) [163] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สมาพันธ์เพาะกายและฟิตเนสสากล (IFBBF - International Federation of BodyBuilding & Fitness) ได้แนะนำการประกวดบิกีนีหญิงสำหรับผู้ที่ไม่อยากสร้างกล้ามเนื้อไปถึงระดับแข่งขันอาชีพ[164]
มีการออกกฎของชุดแต่งกาย “กางเกงว่ายน้ำ” (บิกีนีขาสั้น) สำหรับผู้ชาย และบิกีนีสำหรับผู้หญิง[165] นักเพาะกายหญิงในอเมริกาถูกสั่งห้ามสวมใส่ธองหรือชุดว่ายน้ำ T-back ในการแข่งขันซึ่งออกอากาศทางโทรทัศน์ ถึงแม้จะมีการอนุญาตให้สำหรับองค์กรฟิตเนสบางแห่งในกิจกรรมที่จัดแบบปิด[166] สำหรับผู้ชาย มีการกำหนดเครื่องแต่งกายไว้ “เฉพาะชุดว่ายน้ำขาสั้น (ไม่ใช่ขาสั้น กางเกงที่ตัดออก หรือ กางเกงสปีโด้)” กฎแบบเดียวกันโดย Family, Career and Community Leaders of America – FCCLA รัฐเวอร์จิเนีย สั่งห้ามบิกีนีชิ้นเล็ก หรือ ชุดแบบธองสำหรับผู้หญิง และระบุ “กางเกงว่ายน้ำ” สำหรับผู้ชาย (“ไมใช่สปีโด้”)
กีฬาประเภทอื่น ๆ
[แก้]สมาพันธ์บิกีนีบาสเกตบอล เป็นสมาคมบาสเกตบอลหญิงอเมริกัน ตั้งขึ้นโดย เซดริก มิตเชล และ เอ. เจ. แมคอาเธอร์ ในปี พ.ศ. 2555[167] ผู้เล่นสวมใส่สปอร์ตบรา และ กางเกงขาสั้นทรงผู้ชาย ในช่วงการแข่งขัน ผู้บรรยายมีความรู้สึกที่หลากหลายทั้งตลก[168] น่ารังเกียจ[169] และเป็นธุรกิจที่ชาญฉลาด[170] สตริง บิกีนี และเสื้อผ้าชิ้นน้อยแบบอื่น ๆ เป็นสิ่งแกติในกีฬากระดานโต้คลื่น ในปี พ.ศ. 2544 วิกกี้ บอตไรท์ มือวางอันดับ 16 ในการแข่งขันสควอซหญิง และถูกตั้งฉายาว่า 'Lancashire Hot Bot' ถูกสั่งห้ามโดย สมาพันธ์นักกีฬาสควอซหญิงนานาชาติ (WISPA) จากการสวมใส่ชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอ คือ ธอง และ สปอร์ตบราในการแข่งขันบริติชโอเพ่นแชมเปี้ยนชิพ[171] ในปี พ.ศ. 2547 อเล็กซานเดอร์ พัทแนม ลงแข่งวิ่งลอนดอนมาราธอน ในชุดธองและระบายรูปต้นไม้เขตร้อนเพื่อต่อต้านการโค่นต้นไม้ในคองโก[172]
บิกีนีผู้ชาย
[แก้]คำว่าบิกีนีผู้ชายมักใช้อธิบายถึงชุดว่ายน้ำเฉพาะแบบของผู้ชาย บิกีนีผู้ชายสามารถมีขาเว้าสูงหรือขอบข้างต่ำ สายด้านข้างหรือผูกข้าง และโดยมากจะไม่มีกระดุมหรือชายด้านหน้า บิกีนีจะไม่เหมือนกับกางเกงว่ายน้ำทั่วไปคือไม่มีขอบเอวที่ชัดเจน ชุดที่มีส่วนสะโพกกว้างน้อยกว่า 1.5 นิ้วพบเห็นได้น้อยสำหรับชุดกีฬา และโดยมากจะสวมใส่เพื่อสันทนาการ แฟชั่น และการอาบแดด กางเกงว่ายน้ำเป็นชุดมาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาเพาะกาย นักดนตรีพังก์ร็อกชายแสดงบนเวทีโดยใส่ชุดบิกีนีของผู้หญิง[173] ภาพยนตร์บอลลีวู้ด Hera Pheri ในปี พ.ศ. 2543 แสดงภาพชายอาบแดดในชุดบิกีนีซึ่งมักมองผิดเป็นผู้หยิงจากระยะไกล[174]
ชุดว่ายน้ำมักแสดงในชุดเสื้อผ้าของจีออร์จีโอ อาร์มานี Dolce & Gabbana และ พอลสมิท โดยมักเป็นสีดำ และเล็กพอดีตัว กลับไปสู่รูปแบบในยุคปี พ.ศ. 2473 และ 2483 โฆษณาของ จานนี เวอร์ซาเช แสดงภาพผู้เล่นน้ำในไมอามีที่ดูสง่างามตัดกับชุดว่ายน้ำกึ่งกีฬา กางเกงขาสั้นเหนือเข่าตัวหลวมสีสดใส หรือกางเกงขาสั้น ดีไซเนอร์ชาวกรีก นิโคส อโพสโตพูลูส ออกแบบชุดที่แตกต่างออกไป (สำหรับทั้งสองเพศ แต่เน้นไปที่ผู้ชาย) เพื่อสร้างสรรค์โครงสร้างร่างกาย ตัดและเย็บติดเข้ากับโครงร่างและลักษณะของเพศ[175] บิกีนีส่วนบนของผู้ชายก็มีปรากฏ[176]
แมนกีนี ไม่ใช่รูปแบบหนึ่งของบิกีนี แม่มันจะมีชื่อเช่นนี้ แต่เป็นประเภทหนึ่งของชุดว่ายน้ำแบบสายที่ใส่โดยผู้ชาย ทำให้เป็นที่นิยมโดย ซาชา บารอน โคเฮน ซึ่งใส่ในภาพยนตร์ โบแรต[177][178]
รูปร่างบิกีนี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2493 เฟรด โคลด์ นักธุรกิจชุดว่ายน้ำชาวอเมริกัน ผู้เป็นเจ้าของบริษัท Cole of California กล่าวกับนิตยสารไทม์ว่า บิกีนีถูกออกแบบมาเพื่อผู้หญิงตัวเล็ก เพราะสาวฝรั่งเศสมีขาที่สั้น ชุดว่ายน้ำจึงต้องทำให้สูงขึ้นด้านข้างเพื่อให้ขาพวกเขาดูยาวขึ้น[32] เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานความเห็นว่าบิกีนีเหมาะสำหรับคนที่ไม่อ้วนหรือไม่ผอมเกินไป[179] ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2503 เอมิลี่ โพส นักเขียนด้านมารยาทสังคมกล่าวว่า “บิกีนีเหมาะกับร่างกายที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น และไม่ใช่สำหรับคนอายุน้อยมาก” [180] ในหนังสื่อ เดอะ บิกีนี เคลลี่ คิโลเร็น เบนซิมอน และ นอร์มา คามาลี นักออกแบบชุดว่ายน้ำ กล่าวว่า “ใครก็ตามที่มีหน้าท้อง ไม่ควรใส่บิกีนี” [180] จากนั้น นักออกแบบบิกีนีรวมถึงมาเรีย มิลล์ จึงสนับสนุนผู้หญิงทุกวัย และรูปร่างทุกแบบให้สวมใส่ ในช่วงยุคปี พ.ศ. 2513 จึงเห็นรูปร่างที่ผอมเพรียวในอุดมคติอย่าง เชอรีล ทีค ผู้มีโครงร่างเป็นที่นิยมในช่วงยุคศตวรรษที่ 21
ความนิยมของฟิตเนสในช่วงปี พ.ศ. 2523 นำไปสู่การก้าวกระโดดของการพัฒนาการของบิกีนี มิลล์ กล่าวว่า “ช่วงขาเว้าสูงมาก ขณะที่ด้านหน้าลงต่ำมาก และสายก็เล็กบางมาก” [181] นิตยสารผู้หญิงใช้ค่ำเช่น “หน้าท้องบิกีนี”[182] และมีโปรแกรมออกกำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้าง “ร่างกายบิกีนี” [183] “บิกีนีฟิตเนส” ชิ้นเล็กผลิตขึ้นโดยไลคร่าเพื่อตอบสนองร่างกายที่แข็งแกร่ง[184] ทำให้เห็นชัดเจนโดย แอล แมคเฟอร์สัน ซึ่งขึ้นปกสปอร์ต อิลัสเตรทฉบับชุดว่ายน้ำหกครั้ง[86] ภาพยนตร์ เช่น Blue Crush และ รายการโทรทัศน์ เช่น เซิร์ฟเกิร์ล ได้รวมแนวคิดของนางแบบบิกีนี และนักกีฬาเข้าด้วยกัน ยิ่งเน้นย้ำอุดมคติรูปร่างที่ดี[185]
แบบสอบถามหนึ่งของ ไดเอต เชฟ บริการส่งอาหารของสหราชอาณาจักร ที่รายงานโดย เดลิเมล และ ทูเดย์โชว์ และถูกล้อเลียนโดยนิตยสารมอร์ ว่าผู้หญิงควรหยุดใส่บิกีนีเมื่อมีอายุ 47 ปี[186][187][188] เทศกาลสปริงเบรก เป็นสัญญาณเริ่มต้นของฤดูกาลสวมใส่บิกีนี[189] trigger many with eating disorders because of the over-promotion of the bikini body ideal.[185] ซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคการกินผิดปกติ เนื่องมากจากการโปรโมตร่างกายในอุดมคติสำหรับบิกีนี[185]
ในปี พ.ศ. 2536 ซูซี่ เมนเกส บรรณาธิการแฟชั่นของ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอราล ทรีบูน แนะนำว่า ผู้หญิงควรปฏิวัติตัวเองจาก “รูปร่างในอุดมคติ” และ การเปิดเผยบิกีนี เธอเขียนว่า “ที่จริงแล้ว บนชายหาดหรือบนถนน หญิงสาวที่อายุน้อยที่สุดและสวยที่สุด (ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในคนที่กล้าเปิดเผย) ตัดสินใจได้ว่าการเปิดเผยเช่นนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว” [66] อย่างไรก็ตาม แกเบรียล รีซ นักวอลเลย์บอลชายหาดมืออาชีพ กล่าวว่า “ความมั่นใจเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้บิกีนีเซ็กซี่ได้”[190][180]
การทำบิกีนีแวกซ์
[แก้]การทำบิกีนีแวกซ์ คือ การกำจัดขนบนร่างกายบริเวณส่วนหัวหน่าว และรอบบริเวณ (รู้จักกันในชื่อ บิกีนีไลน์) โดยมากในผู้หญิง โดยการใช้แวกซ์ สำหรับชุดว่ายน้ำบางรูปแบบ ขนบริเวณหัวหน่าวอาจเห็นได้บริเวณเป้ากางเกงชุดว่ายน้ำ[191] บิกีนีไลน์ร่างเส้นจากบริเวณหัวหน่าวของผู้หญิงซึ่งปกติจะถูกปกปิดด้วยท่อนล่างของชุดว่ายน้ำ การทำแวกซ์ มักเข้าใจว่าเกี่ยวกับขนบริเวณอวัยวะเพศที่อยู่เกินขอบของชุดว่ายน้ำ[191] ขนบริเวณอวัยวะเพศที่มองเห็นได้มักไม่เป็นที่ยอมรับได้ และถูกมองว่าน่าอับอาย และบ่อยครั้งที่จะถูกกำจัด[191] ด้วยขนาดของบิกีนีที่เล็กลง โดยเฉพาะหลังช่วงปี พ.ศ. 2488 ทำให้การทำบิกีนีแวกซ์เป็นเรื่องในความนิยม[191]
การทำผิวบิกีนีแทน
[แก้]การสวมใส่บิกีนีกลางแดดทำให้ผิวที่ไม่ถูกปกปิดกลายเป็นสีแทน และทำให้เกิดเส้นผิวสีแทน ซึ่งแบ่งผิวในส่วนหน้าอกที่ซีดจาง บริเวณขาหนีบ และบั้นท้าย ออกจากผิวสีแทนในส่วนอื่น ๆ[192]
บิกีนีทำให้ร่างกายส่วนที่ถูกเปิดเผยได้รับอันตรายได้จากแสงอาทิตย์ UVB การโดนแสงมากทำให้ผิวไหม้ และอาจเกิดเป็นมะเร็งผิวหนัง เป็นหนึ่งในอันตรายด้านต่าง ๆ[66] สำหรับมนุษย์แล้ว อาจก็ให้เกิดผลเฉียบพลัน และผลเรื้อรังต่อ ผิวหนัง ตา และระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย[193] ยิ่งไปกว่านั้น แสง UVC อาจก่อให้เกิดผลเสียต่ในเชิง การกลายพันธุ์ของเซลล์ หรือก่อสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง[194] จากสาเหตุนี้องค์การแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่สวมใส่บิกีนีปกป้องผิวหนังของตนโดยการใช้ครีมกันแดดซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีที่แสดงให้เห็นว่าป้องกันหนูจากเนื้องอกผิวหนังได้ อย่างไรก็ตาม สารเคมีในครีมกันแดดอาจก่อให้เกิดสารอันตรายหากโดนแสงขณะสัมผัสเซลล์สิ่งมีชีวิต[195][196][197] และปริมาณของครีมกันแดดซึ่งซึมผ่านผิวหนังอาจทำให้เกิดผลเสียได้[198][199][200] บริษัทเคมี BASF ได้ใช้ เทคโนโลยีนาโน เพื่อทำให้บิกีนีปกป้องแสงแดดได้ดีขึ้นโดยขณะที่ชุดเปียกจะปกป้องแสงได้น้อยลง
ระเบียงภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMMOA
- ↑ 2.0 2.1 "Bikini". Merriam-Webster. February 13, 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Alac, Patrik (2012). Bikini Story (first ed.). Parkstone International. p. 52. ISBN 9781780429519.
- ↑ 4.0 4.1 Agrawala, P.K. (1983). Goddesses in Ancient India (first ed.). Atlantic Highlands, N.J.: Humanities Press. p. 12. ISBN 0-391-02960-6.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Kathryn Westcott, "The Bikini: Not a brief affair", BBC News, 2006-06-05
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Bikini Introduced". A&E Television Networks. สืบค้นเมื่อ September 17, 2008.
- ↑ Cocozza, Paula (June 10, 2006). "A little piece of history". The Guardian. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ September 17, 2008.
- ↑ "Anatomy of an A-Bomb Test, 1946". Time Magazine. October 31, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ November 21, 2012.
In July 1946, the United States conducted two atomic tests at Bikini Atoll in the Pacific.
- ↑ "The History of the Bikini". Time. July 3, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ "Tiny Swimsuit That Rocked the World: A History of the Bikini". Randomhistory.com. May 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "Swimsuit Trivia – The Surprising History of the Bikini". Swimsuit-style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011.[ไม่แน่ใจ ]
- ↑ Brij V. Lal; Kate Fortune (2000). The Pacific Islands: an Encyclopedia. University of Hawaii Press. p. 259. ISBN 978-0-8248-2265-1. สืบค้นเมื่อ July 5, 2011.
- ↑ Ruth Foster (June 2007). Nonfiction Reading Comprehension: Social Studies, Grade 5. Teacher Created Resources. p. 130. ISBN 978-1-4206-8030-0. สืบค้นเมื่อ July 5, 2011.
- ↑ Gold, David L. (2009). Studies in Etymology and Etiology. Universidad de Alicante. p. 101. ISBN 84-7908-517-7.
- ↑ Harper, Douglas. "bikini". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ August 7, 2013.
- ↑ "John Ayto, "Movers and Shakers: A Chronology of Words that Shaped Our Age"
- ↑ Gurmit Singh; Ishtla Singh (2013). The History of English. Routledge. pp. 13–14. ISBN 978-1-4441-1924-4.
- ↑ William Safire, No Uncertain Terms, page 291, Simon & Schuster, 2003, ISBN 0-7432-4955-0
- ↑ Trish Donnally, ""Inis" Are In", San Francisco Chronicle, May 18, 1999
- ↑ 20.0 20.1 Blake, Barry J. (2007). Playing with Words: Humour in the English Language. Equinox. p. 59. ISBN 1-84553-330-5.
- ↑ James, Peter J.; Thorpe, I. J.; Thorpe, Nick (1994). Ancient Inventions. Ballantine Books. p. 279. ISBN 0-345-40102-6.
- ↑ "Villa Romana del Casale". Val di Noto. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ Guttmann, Allen (1991). Women's Sports: A History. Columbia University Press. p. 38. ISBN 0-231-06957-X.
- ↑ Villa Romana del Casale. World Heritage Sites. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ Pompeian Households. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "Stoa Image Gallery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "The Stoa Consortium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ Beard, Mary; Henderson, John (2001). Classical Art. Oxford University Press. p. 116. ISBN 0-19-284237-4.
- ↑ MacDougall, Elisabeth B.; Feemster, Wilhelmina Mary (1979). Ancient Roman Gardens. Dumbarton Oaks. p. 38. ISBN 0-88402-100-9.
- ↑ 30.0 30.1 Claudia B. Kidwell, Women's Bathing and Swimming Costume in the United States, Smithsonian Institution Press, City of Washington, 1968
- ↑ Liz Conor, The spectacular modern woman: feminine visibility in the 1920s, page 152, Indiana University Press, 2004, ISBN 0-253-34391-7
- ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 32.5 32.6 32.7 32.8 Hoover, Elizabeth D. (5 July 2006). "60 Years of Bikinis". American Heritage Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-09. สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
- ↑ Sydelle, John. "The Swimsuit Industry". The Houston Chronicle. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ Kadolph, Sara J. and Langford, Anna L. (2001). Textiles (9 ed.). Prentice Hall. ISBN 0-13-025443-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Vintage Swimwear Timeline". Glamoursurf.com. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ "History of the Bikini". Carnival.
- ↑ Claudia Mitchell, Jacqueline Reid-Walsh (2008). Girl Culture: Studying girl culture : a readers' guide Volume 1 of Girl Culture: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 702. ISBN 9780313339097.
- ↑ Sandhu, David (August 4, 2003). "Nottingham: Bathed in nostalgia". London: The Telegraph.
- ↑ Adam Sage, "Happy birthday: the 'shocking and immoral' bikini hits 60[ลิงก์เสีย]", เดอะไทมส์, 2006-04-16
- ↑ Paula Cocozza, "A little piece of history", The Guardian, 2006-06-10
- ↑ The Bikini Turns 60 เก็บถาวร 2016-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1946 to 2006: 60 Years of Bikini Bathing Beauties, Lilith E-Zine
- ↑ Alac, Patrik (2012). Bikini Story. New York: Parkstone International. p. 72. ISBN 9781780429519.
- ↑ Rosebush, Judson. "Michele Bernadini: The First Bikini". Bikini Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 19 September 2007.
- ↑ 44.0 44.1 Judson Rosebush, "1945–1950: The Very First Bikini". Bikini Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ November 25, 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGunn
- ↑ Weisgall 1994, pp. 264–265.
- ↑ Lena Lenček, The Beach: The History of Paradise on Earth, page 100, Penguin Group (USA) Incorporated, 1999, ISBN 9780140278026
- ↑ Sage, Adam (April 16, 2006). "Happy birthday: the 'shocking and immoral' bikini hits 60". London: The Times. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Christine Schmidt, The Swimsuit: Fashion from Poolside to Catwalk, page 2, Bloomsbury Academic, 2012, ISBN 0857851233
- ↑ Louise Southerden, Surf's Up: The Girl's Guide to Surfing, page 14, Allen & Unwin, 2008, ISBN 9781741768312
- ↑ Stein; Meriwether, Lee (2006). Beauty Queen. Chronicle Books. p. 45. ISBN 0-8118-4864-7.
- ↑ Dewey, Susan (2008). Making Miss India Miss World. Syracuse University Press. p. 46. ISBN 0-8156-3176-6.
- ↑ Lovegrove, Keith (2002). Pageant: The Beauty Contest. teNeues. p. 1967. ISBN 3-8238-5569-7.
- ↑ Shin, Han (2004). Beauty with a Purpose. iUniverse. p. 193. ISBN 0-595-30926-7.
- ↑ Magnanti, Brooke (June 7, 2013). "Miss World bikini ban: why it's no victory for feminists". London: Telegraph. สืบค้นเมื่อ August 22, 2013.
- ↑ Divine, Jeff (2005). Surfing USA!: An Illustrated History of the Coolest Sport of All Time. MVP Books. p. 60. ISBN 978-0-89658-690-1.
{{cite book}}
:|first1=
ไม่มี|last1=
(help) - ↑ "The History of the Bikini". Time. July 3, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ August 17, 2013.
- ↑ Lena Lanček and Gideon Bosker, Making Waves: Swimsuits and the Undressing of America, page 90, Cronicle Books, 1989, ISBN 9780877013983
- ↑ Salamone, Frank A. (2001). Popular Culture in the Fifties. University Press of America. p. 76. ISBN 0-7618-2103-1.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWOJSI
- ↑ 61.0 61.1 Turner, Julia (July 29, 2013). "A Brief History of the Bikini". Slate. สืบค้นเมื่อ August 27, 2013.
- ↑ "Photos: On this day–July 5, 1946–the first bikini goes on sale". New Haven Register. July 5, 2013. สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
- ↑ "Photos: On this day–July 5, 1946–the first bikini goes on sale". New Haven Register. July 5, 2013. สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
- ↑ "Photos: On this day–July 5, 1946–the first bikini goes on sale". New Haven Register. July 5, 2013. สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
- ↑ "Photos: On this day–July 5, 1946–the first bikini goes on sale". New Haven Register. July 5, 2013. สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
- ↑ 66.0 66.1 66.2 Suzy Menkes, "Runways: Remembrance of Thongs Past", The New York Times, July 18, 1993
- ↑ 67.0 67.1 67.2 Bennett, Will (January 13, 2011). "Former Bond girl to sell Dr No bikini". London: The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ May 16, 2011.
- ↑ Bensimon, Kelly Killoren (June 5, 2006). The Bikini Book. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-51316-3. สืบค้นเมื่อ May 16, 2011.
- ↑ Lindner, Christoph (August 4, 2009). The James Bond Phenomenon: A Critical Reader. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-8095-1. สืบค้นเมื่อ May 16, 2011.
- ↑ 70.0 70.1 Weekes, Karen (April 5, 2007). Women know everything!: 3,241 quips, quotes, & brilliant remarks. Quirk Books. p. 419. ISBN 978-1-59474-169-2. สืบค้นเมื่อ May 16, 2011.
- ↑ Stuff Reporter, "Being Sharmila, all through life เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Hindu, April 3, 2006
- ↑ Lalit Mohan Joshi & Gulzar, Derek Malcolm, Bollywood, page 20, Lucky Dissanayake, 2002, ISBN 0-9537032-2-3
- ↑ B. K. Karanjia, Blundering in Wonderland, page 18, Vikas Publishing House, 1990, ISBN 0-7069-4961-7
- ↑ Sharmila Tagore เก็บถาวร 2014-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, First Indian actress to wear bikini
- ↑ Various writers, Rashtriya Sahara, page 28, Sahara India Mass Communication, 2002
- ↑ 76.0 76.1 Ghosh, Avijit (July 2, 2006). "Bollywood's unfinished revolution". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "That itsy bitsy thing". Times of India. June 16, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-12. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "Photos: On this day – July 5, 1946 – the first bikini goes on sale". New Haven Register. สืบค้นเมื่อ August 22, 2013.
- ↑ Cornwell, Rupert; John Lichfield (June 17, 2006). "Boom and Bust: The nuclear age and the bikini age". London: The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ September 30, 2008.
- ↑ Rubin, Sylvia (July 2, 2006). "Fashion shocker of '46: the naked belly button". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ August 28, 2013.
- ↑ Cornwell, Rupert; John Lichfield (June 17, 2006). "Boom and Bust: The nuclear age and the bikini age". London: The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ September 30, 2008.
- ↑ Jayne Dawson, "Sexy at 60 เก็บถาวร 2013-05-05 ที่ archive.today", July 25, 2006
- ↑ Largest Bikini Parade, Official Website: Guinness Book of World Records
- ↑ Largest Bikini Photo Shoot, Official Website: Guinness Book of World Records
- ↑ Sylvia Rubin, "Fashion shocker of '46: the naked belly button เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", San Francisco Chronicle, July 2, 2006
- ↑ 86.0 86.1 Lorna Edwards, "You've still got it, babe, The Age, June 3, 2006
- ↑ Patton, Susan Ruiz (September 11, 1997). "A Bikini Isn't The Choice Of Miss Pa. For The First Time In 77 Years, Contestants In Miss America Pageant Can Choose Their Swimwear. Heather Busin Prefers One-piece". McCalls. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-13. สืบค้นเมื่อ August 27, 2013.
- ↑ "Swimsuit Styles - Bikini". Swimsuit-Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.[ไม่แน่ใจ ]
- ↑ Rosebush, Judson. "Materials". Bikini Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
- ↑ Rubin, Sylvia (July 2, 2006). "Fashion shocker of '46: the naked belly button / But the bikini wasn't a hit until Sixties". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ David Diefendorf & James Randi, Amazing ... But False!: Hundreds of "Facts" You Thought Were True, But Aren't, page 33, Sterling, 2007, ISBN 1-4027-3791-2
- ↑ Fashion Correspondent, "Swimsuits take some inspiration from the past", Philadelphia Inquirer, November 10, 1985
- ↑ Siobhan Morrissey, "Bikinis made in teeny-weeny time, Palm Beach Post, page 1D, August 28, 1991
- ↑ Dawson, Jayne (July 25, 2006). "Sexy at 60". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ Kelly Killoren Bensimon, The Bikini Book, Assouline, 2006, ISBN 2-84323-825-0
- ↑ 96.0 96.1 Becky Homan, "Tankini goes over the top", St. Louis Post-Dispatch, April 3, 1999
- ↑ Patricia Marx, "On and Off the Avenue: Itsy Bitsy Teeny Weeny เก็บถาวร 2009-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", page 32, The New Yorker, August 31, 2009, Volume 85, Issues 26, New Yorker Magazine Inc.
- ↑ "Just chillin, This season's swimsuits boast new flirty styles, retro looks", Ocala Star-Banner, June 1, 2005
- ↑ Rena Fulka, "Seasonal style", The Star (Tinley Park), June 14, 2007
- ↑ Becky Homan, "Tankini goes over the top", Page 42, St. Louis Post-Dispatch, April 3, 1999
- ↑ Microkini เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Merriam-Webster's Open Dictionary
- ↑ Mistrík, Erich, Pseudo-Concrete Ideals Of A Good Life, Human Affairs (2/2008), Department of Social & Biological Communication, Slovenská Akadémia Vied, Slovakia
- ↑ The Concise Oxford Dictionary (2004 ed.)
- ↑ "Everything Bikini". Everything Bikini. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
- ↑ "Bikini Science". Bikini Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
- ↑ Elizabeth Gunther Stewart, Paula Spencer & Dawn Danby, The V Book: A Doctor's Guide to Complete Vulvovaginal Health, page 104, Bantam Books, 2002, ISBN 0-553-38114-8
- ↑ Ellen Shultz, บ.ก. (1986). Recent acquisitions: A Selection, 1985-1986. New York: Metropolitan Museum of Art. p. 48. ISBN 978-0870994784.
- ↑ Metroland
- ↑ Nada Manley, "Beauty & the Beach: The perfect swimsuit is out there - honestly", The Daytona Beach News-Journal, March 17, 2005
- ↑ Bikini Introduced, This Day in History, History Channel
- ↑ Justine Picardie, The Closet Thinker: bathing beauties เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Telegraph Online, July 3, 2011
- ↑ Jenny Pate, History of the swimsuit เก็บถาวร 2008-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Article Dashboard
- ↑ Slingshot Suspender Bikinis: A History เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lve to know swimsuits, Glam Publisher Network
- ↑ Fashion Correspondent, "Itsy bitsy teenie weenie ... trivia think swimsuits. If two-pieces and t-backs are all that come to mind ... think again", Miami Herald, page 1G, July 15, 1995
- ↑ Valerie Steele, Encyclopedia of Clothing and Fashion, page 121, Charles Scribner's Sons, 2005, ISBN 0-684-31396-0
- ↑ Alisha Davis, "It Rhymes With Bikini เก็บถาวร 2009-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Newsweek, May 4, 1998
- ↑ "Tankini". Oup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ March 14, 2013.
- ↑ Anne D'Innocenzio, "Big fish rule a bigger pond เก็บถาวร 2010-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Women's Wear Daily, January 24, 2000
- ↑ Kathryn Bold, "Summer Sizzle Top to Bottom เก็บถาวร 2012-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Los Angeles Times, page 1, March 21, 1996
- ↑ William Safire, No Uncertain Terms, page 291, Simon & Schuster, 2004, ISBN 0-7432-5812-6
- ↑ John Ayto, Ian Crofton & Ebenezer Cobham Brewer, Brewer's Dictionary of Modern Phrase & Fable, page 78, Weidenfeld & Nicolson, 2006, ISBN 0-304-36809-1
- ↑ Robert L. Chapman & Harold Wentworth, New Dictionary of American Slang, page 446, Harper & Row, 1986, ISBN 0-06-181157-2.
- ↑ Associated Press, "Free and easy เก็บถาวร 2009-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Age (Australia), 2004 -06-29
- ↑ John Karl, "Under cover Designers are wrapping swimsuits with stylish designs เก็บถาวร 2009-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sarasota Herald Tribune, 200-02-08
- ↑ "Pastease website - Strapless Bikini". Pastease.com.au. สืบค้นเมื่อ March 14, 2013.
- ↑ bikini no string bikinis. "The Bikini website - No String Bikini gallery". The-bikini.com. สืบค้นเมื่อ March 14, 2013.
- ↑ Bikini. Micro (January 8, 2013). "No String Bikini". Bikinidotmicro.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ March 14, 2013.
- ↑ "The History of Underwear". Boxerbriefs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-18. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
- ↑ Jennifer Craik, The Face of Fashion: Cultural Studies in Fashion, page 133, Routledge, 1993, ISBN 9781134940561
- ↑ Christine Schmid, The Swimsuit: Fashion from Poolside to Catwalk, page 6, A&C Black, 2013, ISBN 9780857851246
- ↑ Dan Parker, The Bathing Suit: Christian Liberty Or Secular Idolatry, page 170, Xulon Press, 2003, ISBN 9781591607533
- ↑ Muriel Barbier, Shazia Boucher, The Story of Lingerie, page 139, Parkstone International, 2012, ISBN 9781780429700
- ↑ 133.0 133.1 Anthony Napoleon, Awakening Beauty", page 130, Virtualbookworm Publishing, 2003, ISBN 9781589393783
- ↑ 134.0 134.1 134.2 Daniel Delis Hill, As Seen in Vogue: A Century of American Fashion in Advertising, page 158, Texas Tech University Press, 2007, ISBN 9780896726161
- ↑ Lisa Cole, Lingerie, the Foundation of a Woman's Life, page 45, Choice Publications, 2005, ISBN 9780971180345
- ↑ Christine Schmid, The Swimsuit: Fashion from Poolside to Catwalk, page 19, A&C Black, 2013, ISBN 9780857851246
- ↑ Christine Schmid, The Swimsuit: Fashion from Poolside to Catwalk, page 102, A&C Black, 2013, ISBN 9780857851246
- ↑ 138.0 138.1 Laura Grae Kilborn, "The Marketing Of Female Athletes", Denver Post, August 11, 1998
- ↑ "Aussies opt for bikini cover-up". BBC News. January 5, 2000.
- ↑ "Natalie Cook defends bikini". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-08. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ 141.0 141.1 "Olympic Uniforms: Less Clothing Means Better Results". ABC News.
- ↑ Post (March 13, 2012). "Denise Johns: There is more to beach volleyball than girls in bikinis". London: Timesonline.co.uk. สืบค้นเมื่อ August 1, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Bikini blues – Beach volleyball makes the swimsuit standard". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-09. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "Beach Volleyball". Australian Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
- ↑ "FIVB: Official BEACH VOLLEYBALL Rules 2009–2012" (PDF).
Rule 5.1.1: "A player's equipment consists of shorts or a bathing suit. A jersey or 'tank-top' is optional except when specified in Tournament Regulations
- ↑ "FIVB: Olympic Beach Volleyball Tournaments Specific Competition Regulations Regulations 24.2 and 24.4" (PDF).
- ↑ "London 2012 Olympics: female beach volleyball players permitted to wear less revealing uniforms". Telegraph. March 27, 2012. สืบค้นเมื่อ August 1, 2012.
- ↑ "Beach volleyball but not beach weather: Aussies lose close match as cold bites". Canberra Times. July 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 1, 2012.
- ↑ Associated Press, In Doha, beach volleyball bikinis create cultural clash, Ynet News, March 12, 2006; Retrieved: March 12, 2008
- ↑ Stuff Writer, "Beach volleyball a popular spectator sport", ESPN, August 16, 2004
- ↑ Bissell, Kimberly; Andera Duke (2007). "Bump, Set, Spike: An Analysis of Commentary". Journal of Promotion Management. 13: 35–53. doi:10.1300/J057v13n01_04.
- ↑ Gray, Emma (August 2, 2012). "Beach Volleyball Photos Focus On Women's Body Parts -- Not Their Athletic Skills". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ August 17, 2013.
- ↑ Charles Harold, GAME THEORY; It's Hot-Potato Season: Call In the String Bikinis, New York Times, August 7, 2003; Retrieved: March 12, 2008
- ↑ "WWE Diva Search". Propeller News. September 18, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2008.
- ↑ Associated Press, Beach volleyball's bikini cheerleaders stir up a storm เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NBC sports, August 17, 2004; Retrieved: March 12, 2008
- ↑ "Beach volleyball's bikini cheerleaders stir up a storm". NBC sports. August 17, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2008.
- ↑ "Olympic briefs". The Guardian. August 17, 2004. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
- ↑ Staff Correspondent, "Hype Hopes Today's Olympians need more than athletic prowess to win gold", Fort Worth Star-Telegram, August 6, 2000
- ↑ Anne Marie Balsamo, Technologies of the gendered body, page 46, Duke University Press, 1996, ISBN 0-8223-1698-6
- ↑ "No bikinis for beach volleyball players". The News. August 31, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ March 12, 2008.
- ↑ "Unveiling the spirit of the sporting women". The Economic Times. December 1, 2006.
- ↑ Maria R. Lowe, Women of Steel: Female Bodybuilders and the Struggle for Self-definition, page 57, NYU Press, 1998, ISBN 9780814750940
- ↑ Sarah Grogan, Body Image: Understanding Body Dissatisfaction in Men, Women and Children, page 63, Routledge, 2007, ISBN 9781134245673
- ↑ Tanya Bunsell, Strong and hard women: an ethnography of female body building, Routledge, 2013, ISBN 9781136250859
- ↑ Francois Fortin, Sports: The Complete Visual Reference, page 360, Québec Amerique, 1996, ISBN 9782764408971
- ↑ Maria R. Lowe, Women of steel: female bodybuilders and the struggle for self-definition, page 191, New York University Press, 1998, ISBN 0-8147-5094-X
- ↑ Sentenac, Hannah (September 25, 2012). "Bikini Basketball Exists and It's Coming to Miami". Miami New Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ Grossfeld, Stan (November 2, 2012). "Despite great gains, is there now a Title IX stall?". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ IBTimes Staff Reporter (September 28, 2012). "Bikini Basketball League Coming In November After Lingerie Football League Success". International Business Times. สืบค้นเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ Yandoli, Krystie (October 2, 2012). "Bikini Basketball League Is an Insult to Title IX". The Nation. สืบค้นเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ All thong wrong เก็บถาวร 2002-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC Sports Online
- ↑ "Mara-thong" Man runs from Congo loggers เก็บถาวร 2008-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Rainforest Foundation
- ↑ A. W. Richard Sipe, A Secret World, page 25, Psychology Press, 1990, ISBN 0-87630-585-0
- ↑ Ruth Vanita, Queering India, page 207, Routledge, 2002, ISBN 0-415-92950-4
- ↑ Menkes, Suzy (July 18, 1993). "Runways: Remembrance of Thongs Past". The New York Times.
- ↑ Sarah Karnasiewicz, Here she comes, "Mr. Saugus High School", Salon.com
- ↑ Fricker, Martin (August 6, 2013). "Mankini-wearing charity walkers stoned in Birmingham and rescued by police". The Daily Mirror. MGN Ltd, part of Trinity Mirror plc. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
Steven and Jason, wearing the revealing costume made famous by comedy creation Borat ...
- ↑ Willmott, Chris (August 9, 2013). "Pelted with stones as charity bid turns sour". Solihull Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
Two animal lovers who went on a sponsored walk wearing comedy mankinis ... the skimpy outfit made famous in the 2006 film Borat ...
- ↑ Claudia Mitchell, Jacqueline Reid-Walsh, Girl Culture: Studying girl culture : a readers' guide, page 183, ABC-CLIO, 2008, ISBN 978-0-313-33909-7
- ↑ 180.0 180.1 180.2 Turner, Julia (May 31, 2011). "A Brief History of the Bikini: How the tiny swimsuit conquered America". Slate. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
- ↑ The Bikini turns 60! from the Lilith Gallery of Toronto เก็บถาวร 2016-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved February 9, 2009.
- ↑ Alex Kuczynski, "Looking for Health News? A Bikini Belly? There's More to Read", The New York Times, June 21, 2001
- ↑ Jennifer Nicole Lee, "Get A Bikini-Worthy Body", CBS News, Feb 1, February 1, 2007
- ↑ Stuart B. Chirls, "Americans head for the water - in, on and under เก็บถาวร 2012-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Daily News Herald, July 31, 1989
- ↑ 185.0 185.1 185.2 Claudia Mitchell and Jacqueline Reid-Walsh, Girl Culture: An Encyclopedia (Vol. 1), page 183, Greenwood Publishing Group, 2007, ISBN 9780313084447
- ↑ "We're too old to wear bikinis on the beach at 47, and 35 is the cut-off age for a miniskirt, say women". Daily Mail UK. London. May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ "Stop wearing bikinis after 47? Survey finds age a factor in fashion". Today.com. May 13, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
- ↑ Lesley Kennedy, "Are You Too Old to Rock a Bikini? เก็บถาวร 2014-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", More, 2011-03-13
- ↑ Jacklyn Zeman, Jackie Zeman's Beauty on the Go, page 70, Simon and Schuster, 1986, ISBN 9780671543266
- ↑ James Kitchling, "Short History of Bikinis and Swimsuits เก็บถาวร 2017-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Articles Central, August 2, 2008
- ↑ 191.0 191.1 191.2 191.3 Heinz Tschachler, Maureen Devine, Michael Draxlbauer; The EmBodyment of American Culture; pp 61–62; LIT Verlag, Berlin-Hamburg-Münster; 2003; ISBN 3-8258-6762-5.
- ↑ Angela Taylor (October 17, 1979). "Tan-Through Fabric Lets Sun Shine In". เดอะนิวยอร์กไทมส์. p. 55.
- ↑ "Health effects of UV radiation".
- ↑ C.Michael Hogan. 2011. Sunlight. eds. P.saundry & C.Cleveland. Encyclopedia of Earth.
- ↑ Xu, C.; Green, Adele; Parisi, Alfio; Parsons, Peter G (2001). "Photosensitization of the Sunscreen Octyl p-Dimethylaminobenzoate b UVA in Human Melanocytes but not in Keratinocytes". Photochemistry and Photobiology. 73 (6): 600–604. doi:10.1562/0031-8655(2001)073<0600:POTSOP>2.0.CO;2. PMID 11421064.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Knowland, John; McKenzie, Edward A.; McHugh, Peter J.; Cridland, Nigel A. (1993). "Sunlight-induced mutagenicity of a common sunscreen ingredient". FEBS Letters. 324 (3): 309–313. doi:10.1016/0014-5793(93)80141-G. PMID 8405372.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Damiani, E.; Greci, L.; Parsons, R.; Knowland (1999). "Nitroxide radicals protect DNA from damage when illuminated in vitro in the presence of dibenzoylmethane and a common sunscreen ingredient". Free Radic. Biol. Med. 26 (7–8): 809–816. doi:10.1016/S0891-5849(98)00292-5. PMID 10232823.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Chatelaine, E.; Gabard, B.; Surber, C. (2003) Skin Penetration and Sun Protection Factor of Five UV Filters: Effect of the Vehicle, Skin Pharmacol. Appl. Skin Physiol., 16:28–35 doi:10.1159/000068291
- ↑ Hanson Kerry M.; Gratton Enrico; Bardeen Christopher J. (2006). "Sunscreen enhancement of UV-induced reactive oxygen species in the skin". Free Radical Biology and Medicine. 41 (8): 1205–1212. doi:10.1016/j.freeradbiomed.2006.06.011. PMID 17015167.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ R. Bissonnette, MD, FRCPC, Innovaderm Research, Montreal, QC, Canada, Update on Sunscreens
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bikini Science: A comprehensive site on the bikini เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Metropolitan Museum of Art exhibition—The Bikini
- Photos: On this day – July 5, 1946 – the first bikini goes on sale (Bikinis from 1946 to 2013.)
- The California Swimsuit เก็บถาวร 2004-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Two-Piece Be With You: LIFE Celebrates the Bikini เก็บถาวร 2014-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน