บางกอกกังฟู
บางกอกกังฟู | |
---|---|
กำกับ | ยุทธเลิศ สิปปภาค |
เขียนบท | ยุทธเลิศ สิปปภาค |
อำนวยการสร้าง | |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ทิวา เมยไธสง |
บริษัทผู้สร้าง | ฟิล์ม อาร์อัส |
ผู้จัดจำหน่าย | อาร์เอส |
วันฉาย | 1 กันยายน พ.ศ. 2554 |
ประเทศ | ไทย |
ทำเงิน | 14 ล้านบาท |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
บางกอกกังฟู (Bangkok Kung-Fu) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแอ็คชั่น-ดราม่า กำกับโดย ยุทธเลิศ สิปปภาค นำแสดงโดย วิศวะ ไทยานนท์, อารักษ์ อมรศุภศิริ, มาริโอ้ เมาเร่อ, อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม และ จริญญา ศิริมงคลสกุล ฉายวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดจำหน่ายโดย ฟิล์มอาร์อัส[1] ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 14.01 ล้านบาท[2]
นักแสดง
[แก้]นักแสดงหลัก
[แก้]- อารักษ์ อมรศุภศิริ รับบท โป้ง เป็นใบ้พูดไม่ชัด เนื่องจากสมัยเด็กแม่โป้งบอกให้เขาออกไปด้านนอก เขาจึงถูกแก็งขอทานจับตัวไว้ และถูกตัดลิ้น โดยแป๊ะและเขาถูกช่วยโดยอาจารย์ผู้วิชาหัตถ์มจุราช จากนั้นโป้งก็สามารถฆ่าน้องหัวหน้าพรรคสุริยันต์ ทำให้พี่ของน้องหัวหน้าพรรคโกรธจึงมาล้างแค้น เมื่อนาสามารถปราบหัวหน้าพรรคสุ.ย.ได้สำเร็จ โป้งจึงกลับบ้านพร้อมกับภาพต่อแม่ของตัวเอง
- อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม รับบท ชิ ชายตาบอด เนื่องจากสมัยเด็กหนีออกจากบ้านเด็กกำพร้าและถูกพวกขอทานจับตัว พร้อมกับน้องชาย2คนคือ กา นา และสุดท้ายชิถูกส้มโอหัวหน้าแก็งแทงตาด้วยไม้เสียบลูกชิ้นจนตาบอด จากนั้นอาจารย์ผู้วิชาหัตถ์มจุราชมาช่วยเขาไว้ ชิมีวิชาดรรชนีปิดสวรรค์ ชิมักจจะใส่แว่นและพกไม้เท้าของคนตาบอดอยู่ตลอดเวลา แต่สุดท้ายชิก็ค้องตาย เพราะหัวหน้าพรรคสุริยันต์ปล่อยพลังใส่เขาเมื่อหัวหน้าพรรคตายพี่น้องของชิจึงตั้งสุสานไว้ให้เขา
- วิศว ไทยานนท์ รับบท กา ชายหูหนวก เนื่องจากสมัยเด็กหนีออกจากบ้านเด็กกำพร้าและถูกพวกขอทานจับตัว พร้อมกับพี่ชายชิและน้องชายนา กาถูกขนุนตบบ้องหูจนหูหนวก และถูกอาจารย์ผู้วิชาหัตถ์มจุราชช่วยไว้ เขามีวิชาฝ่ามือเปิดนรก เมื่อหัวหน้าพรรคตาย กาจึงจัดการส้มโอโดยใช้ไม้แทงจนตาย เมื่อเรื่องราวจบลงกาตัดสินใจเดินทางไปที่อื่น แต่เขากลับลืมลูกแก้วไว้ที่บ้านและลูกแก้วนั้นเป็นสำคัญมาก เขาจึงกลับมาเอา
- มาริโอ้ เมาเร่อ รับบท นา เป็นโรคเอ๋อ เนื่องจากสมัยเด็กหนีออกจากบ้านเด็กกำพร้าและถูกพวกขอทานจับตัว พร้อมพี่ชาย2คนคือ ชิ กา นาถูกตบหัวจนทำให้สติไม่ดี เขาถูกอาจารย์ผู้วิชาหัตถ์มจุราชช่วยไว้ นานั้นเป็นแค่เด็กเฝ้าวัด นาถูกทำร้ายอย่างหนักจนต้องถ่ายพลังจันทรา แต่สุดท้ายนาตายและได้วิชาฝ่ามือจันทราสามารถจัดการหัวหน้าพรรคได้ นานำดอกไม้มอบให้กับกอหญ้า ก่อนจะกลับวัด
- จริญญา ศิริมงคลสกุล เป็น กอหญ้า
ชื่อแต่ละชื่อจริงๆแล้วหมายถึง นิ้วทั้ง 5 ได้แก่ โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย ซึ่งบ่งบอกนิสัยของแต่ละตัวละครได้เป็นอย่างดี
นักแสดงสมทบ
[แก้]- สุชารัตน์ มานะยิ่ง เป็น บีบี
- นิสา บุญสันเที๊ยะ เป็น วาว
- เหมือนฝัน บัณฑิตสกุล เป็น แม่โป้ง
- หน่อย เชิญยิ้ม เป็น ส้มโอ
- สายเชีย วงศ์วิโรจน์ เป็น ขนุน
- ราเชนทร์ โสดี เป็น น้อยหน่า(นักแสดงรับเชิญ)
- ปราโมทย์ เทียนชัยเกิดศิลป์ รับบท มาร์ค
- ไพบูลย์ อนันต์สุวรรณ รับบท อาจารย์
- ต่อพงศ์ กุลอ่อน เป็น แป๊ะ(นักแสดงรับเชิญ)
- ธนวัฒน์ แก่อก เป็น แหลม
- ศักดิ์สิทธิ์ ทิศานุรักษ์ เป็น หมอจีน
- พงศ์เทพ อนุรัตน์ เป็น กรรมการประกวดความสามารถ
- ปวีณ์นุช แพ่งนคร เป็น กรรมการประกวดความสามารถ[3]
งานสร้าง
[แก้]บางกอกกังฟู เป็นภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น-ดราม่าที่มีกลิ่นอายของความรัก โดยถ่ายทอดเรื่องของสังคมเล็กๆ ในสภาพสังคมของเมืองไทย โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการดูแล หรือขาดความอบอุ่น แม้ว่าจะอยู่ในสังคมที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่ความผูกพันจากการอบรมสั่งสอนที่ดี และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ทำให้เด็กเหล่านั้นสามารถเอาตัวรอดได้
ยุทธเลิศ สิปปภาค คิดและเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้นานหลายปีแล้ว โดยมีแรงบันดาลใจจากความชอบส่วนลึกๆ เพราะเป็นคนชอบดูหนังแนวกำลังภายใน โดยเฉพาะหนังการต่อสู้แบบกังฟูและที่สำคัญประเทศไทยยังไม่ค่อยมีหนังในลักษณะนี้ บางกอกกังฟู จึงเป็นหนังไทยกำลังภายในเต็มรูปแบบที่เอาวิชากำลังภายในของจีนมาเป็นองค์ประกอบของเรื่อง
บางกอกกังฟู เป็นผลงานลำดับที่ 14 ของผู้กำกับยุทธเลิศ และเป็นการร่วมงานครั้งที่ 3 กับอาร์เอส ในนาม ฟิล์มอาร์อัส หลังจากงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง มือปืน โลก/พระ/จัน ซึ่งเป็นผลงานเรื่องแรกที่ทำรายได้อย่างมหาศาล ในปี พ.ศ. 2544 และเรื่อง สามย่าน ในฐานะหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์(ร่วมกับ พิง ลำพระเพลิง และ โก๊ะตี๋ อารามบอย) ในปี พ.ศ. 2553 โดยเป็นการระดมนักแสดงและนักร้องวัยรุ่นแถวหน้าของเมืองไทย ได้แก่ เป้ อารักษ์, มาริโอ้ เมาเร่อ, แบงค์ แบล็ควานิลลา, โทโมะ เค-โอติก และ แก้ว เฟย์ฟางแก้ว ร่วมด้วยนักแสดงสมทบอีกมากมาย
เดิมภาพยนตร์วางตัวนักแสดงนำคนหนึ่งคือ ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ แต่หลังจากที่ฟิล์มถอนตัวจากหนังเรื่องนี้ ทางทีมงานและผู้กำกับจึงปรับแก้ไขบทภาพยนตร์ทั้งหมด แล้วหานักแสดงใหม่ สุดท้ายจึงได้ โทโมะ เค-โอติก มาแสดงแทน[4]
เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]- ว้าวุ่น ร้องโดย แก้ว (เฟย์ฟางแก้ว)
- ขอคืน ร้องโดย แก้ว (เฟย์ฟางแก้ว)
- คิดถึงเธอ ของ แร็พเตอร์
- ท่าเดียว ของ ไวตามินเอ
- ไม่ใช่อิจฉา ของ เฟย์ ฟาง แก้ว
- Give Me Fight ร้องโดย แบล็ก แจ็ค
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บางกอกกังฟู thaicinema.org
- ↑ สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2554 siamzone.com
- ↑
- เด็กชาย วัลลภ โชติพงษ์ เป็น กาตอนเด็ก
- ข้อมูล บางกอกกังฟู
- ↑ 'บางกอกกังฟู' ลงตัวดึง 'โทโมะ'เสริมทัพ[ลิงก์เสีย]